DiscoverPrachatai Podcast
Prachatai Podcast
Claim Ownership

Prachatai Podcast

Author: prachataipodcast

Subscribed: 57Played: 529
Share

Description

ประชาไท พอดแคส | Prachatai Podcast | ใต้โต๊ะนักข่าว
264 Episodes
Reverse
หลังจากภาพยนตร์ “หลานม่า” (2024) เรียกน้ำตาผู้ชม และถูกกล่าวถึงล้นหลาม สัปดาห์นี้ภาวิน มาลัยวงศ์ และชานันท์ ยอดหงษ์ พูดถึงภาพยนตร์หลานม่า กับสิ่งประกอบสร้างความรู้สึก และความเป็นจีนโพ้นทะเล ที่ภาพยนตร์ต้องการนำเสนอ นอกจากนี้ยังแนะนำหนังสือ เป็นจีนเพราะรู้สึก : ประวัติศาสตร์เสื่อผืนหมอนใบที่เพิ่งสร้าง (2566) โดย สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์ ที่ใช้เป็นกรอบวิเคราะห์และช่วยมองภาพยนตร์หลานม่าด้วย โดยทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย เรื่องที่เกี่ยวข้อง โค้งสุดท้ายผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียม | หมายเหตุประเพทไทย EP.520 พม่า สงคราม และการสร้างสหพันธรัฐที่ไม่รู้จบ | หมายเหตุประเพทไทย EP.519 [Live] อ่านสถาปัตยกรรมอำนาจผ่านการออกแบบรัฐสภา | หมายเหตุประเพทไทย EP.518
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ประภาภูมิ เอี่ยมสม และชานันท์ ยอดหงษ์ พูดถึงร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ. .... หรือที่เรียกว่า “ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม” ซึ่งมีผลแก้ไขเนื้อหาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ในเรื่องของการจดทะเบียนสมรส ที่เดิมกำหนดให้เป็นชายและหญิง เปลี่ยนเป็นระหว่างบุคคลกับบุคคล โดยร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมดังกล่าวเพิ่งผ่านสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 27 มีนาคม ที่ผ่านมา และอยู่ในระหว่างการพิจารณาในชั้นของวุฒิสภา ซึ่งหากการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวผ่าน จะส่งผลให้ไทยเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย ถัดจากไต้หวันและเนปาล ที่มีกฎหมายแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกัน ผลของการแก้ไขกฎหมายจะส่งผลสำคัญอย่างไรทั้งในมิติด้านสังคมและครอบครัว และมีเรื่องไหนที่ยังเป็นข้อถกเถียงกัน ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี พูดคุยกับ ชานันท์ ยอดหงษ์ ตั้งประเด็นรัฐสภาไทยแห่งใหม่ "สัปปายะสภาสถาน" ที่ประชาชนผู้ไปติดต่อรัฐสภาต่างสะท้อนถึงรูปร่างหน้าตาของรัฐสภาที่ใหญ่โตโอ่อ่า แต่กลับเข้าถึงยาก พร้อมชวนพิจารณาการออกแบบที่ประชุมรัฐสภาในที่ต่างๆ ทั่วโลก ว่ามีผลกับพฤติกรรม และการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภา รวมทั้งรูปแบบการปกครอง และความสัมพันธ์เชิงอำนาจอย่างไร ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย เรื่องที่เกี่ยวข้อง ความรุนแรงทางการเมือง และการเมืองเรื่องความทรงจำ | หมายเหตุประเพทไทย EP.517 หอยนางรมในวรรณกรรมกับจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม | หมายเหตุประเพทไทย EP.516
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ประภาภูมิ เอี่ยมสม และต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี พูดถึงการเมืองเรื่องความทรงจำ โดยภายหลังเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านหลังเหตุนั้น ไม่ได้มีเพียงแค่การนำคนผิดมาลงโทษ แต่รวมถึงการค้นหาความจริง และการเยียวยาในหลายมิติ และอีกประการหนึ่งก็จะพิจารณาด้วยว่าเหตุการณ์ที่เกิดไปแล้ว ถูกจดจำเล่าถึงอย่างไร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอดีตอาจจดจำ มองเห็น เหตุการณ์ดังกล่าวแตกต่างกัน การเมืองเรื่องความทรงจำจึงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การเลือกจำ การจำ การลืมก็เป็นการเมืองของความทรงจำเช่นกัน โดยกรณีของสังคมไทยที่ยกเป็นกรณีศึกษาได้ เช่น กรณีคนเสื้อแดง และเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 #หมายเหตุประเพทไทย #ความทรงจำ #Politicsofmemory
Soft power คำนี้หมายถึงอะไรยังถกเถียงกันไม่จบ แต่เมื่อเพื่อไทยขึ้นเป็นรัฐบาลได้ไม่นานก็ตั้งคณะกรรมการด้านพัฒนาซอฟท์พาวเวอร์แห่งชาติซึ่งประกอบด้วยอนุกรรมการชุดต่างๆ หนึ่งในนั้นคือคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านหนังสือ จะมากจะน้อยบรรดาหนอนหนังสือคงคาดหวังว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในแวดวงหนังสือ  #BookBar ชวน ธีรภัทร เจริญสุข หนึ่งในคณะอนุกรรมการฯ มาสนทนาถึงสิ่งที่อนุฯ จะทำในอนาคตกับความฝันถึงสถาบันหนังสือแห่งชาติที่จะเป็นกลไกทำงานต่อเนื่องที่รับงบประมาณมาสานงานเพื่อวงการหนังสือไทย #PrachataiPodcast #BookBar #Prachatai #softpower #หนงสือ #book
ประภาภูมิ เอี่ยมสม และภาวิน มาลัยวงศ์ ชวนอาจารย์มิ่ง ปัญหา จากสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองวรรณกรรมอังกฤษและจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมผ่านการบริโภคหอยนางรม ทั้งนี้ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 การเพาะเลี้ยง การบริโภคหอยนางรมของชาวตะวันตก เป็นที่นิยมของทุกชนชั้น ไม่ว่าจะยากดีมีจน หากแต่การแบ่งชนชั้นอยู่ที่วิธีปรุง หรือสถานที่รับประทาน หอยขนาดเล็กหรือใหญ่ อย่างน้อยในศตวรรษที่ 19 ผู้ดีมีฐานะย่อมไม่แคะหอยนางรมกินที่แผงขายหอยริมท่าเรือ อย่างไรก็ตามมีจุดเปลี่ยนในศตวรรษที่ 20 เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นเร่งอัตราบริโภคหอยนางรมมากขึ้นจนหอยนางรมจากฟาร์มเพาะเลี้ยงโตไม่ทัน ทำให้ปริมาณหอยนางรมลดน้อยลง และกลายเป็นของแพง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงนี้ปรากฏชัดในงานวรรณกรรม และแนวคิดต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในโลกตะวันตก ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย
#PrachataiPodcast คุยกับ ‘ภูมิ’ ธนิสร์ วีระศักดิ์วงศ์ เจ้าของนามปากกา ‘สะอาด’ ที่มาพร้อมกับผลงานชิ้นใหม่ นิยายกราฟิกอิงประวัติศาสตร์ “2475 นักเขียนผีแห่งสยาม” ที่จะมาเล่าให้ฟังตั้งแต่จุดเริ่มต้นของนิยายกราฟิก ที่หยิบยกเรื่องราวประวัติศาสตร์ 2475 การหายไปของบางตัวละคร มุมมองของเขาต่อคณะราษฎร และการเมืองไทยในปัจจุบัน Prachatai Podcast ‘since 2475’  เป็นรายการที่พาย้อนไปในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เพื่อทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ ในมิติต่างๆ ความคิด ความฝัน และผลกระทบจากวันนั้นจนถึงปัจจุบัน #PrachataiPodcast #since2475
เพื่อระลึกถึงการจากไปของ “วินัย ไกรบุตร” หมายเหตุประเพทไทย [Live] เทปนี้พูดถึงภาพยนตร์นางนาก (2542) ที่แสดงนำโดย วินัย ไกรบุตร และอินทิรา เจริญปุระ กำกับโดย นนทรีย์ นิมิบุตร ทั้งนี้ภาพยนตร์นางนาก (2542) ซึ่งอิงกับเรื่องผีแม่นาคพระโขนง ผลิตและฉายในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ได้รับเสียงตอบรับทั้งในเชิงรายได้และรางวัลทั้งในและนอกประเทศ และในอีกด้านหนึ่งก็สะท้อนกระแสโหยหาอดีต และโหยหาความเป็นไทยของสังคมไทยในช่วงที่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจในเวลานั้น ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย [Live] อ่านบทความประกอบ (1) อิทธิเดช พระเพ็ชร, จาก “โหยหา” ถึง “โมโห”: อ่านอาการสังคม ในภาพยนตร์ไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง (พ.ศ. 2540-2546), ใน วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (2018): กรกฎาคม-ธันวาคม 2561 [อ่านบทความ] (2) ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์, “ความสมจริงของ (หนัง) นางนาก และความผิดปกติของสังคมไทยหลังพิษเศรษฐกิจ 2540”, ใน The101.world, 27 กรกฎาคม 2564 [อ่านบทความ]
ประชาไทชวนฟังพอดแคส "BookBar" พอดแคสของคนบ้าบุ๊ค คุยหนังสือ มองสังคม ทบทวนการเมืองและวัฒนธรรมที่ถูกบอกเล่าผ่านตัวอักษร โดยในตอนที่ 1 พบกับ ฟาโรห์ จักรภัทรานน แอดมินเพจ The Common Thread และผู้เขียนหนังสือ ‘ไม่มีใครเกิดมาเป็นปีศาจ’ มนุษย์มักก่นด่าปีศาจ แต่เพิกเฉยต่อสิ่งที่สร้างปีศาจขึ้นมา มันอาจเป็นความธรรมดาสามัญเพราะปีศาจมองเห็นได้ง่ายดายกว่าปัจจัยที่ก่อกำเนิดปีศาจ BookBar สทนากับฟาโรห์ จักรภัทรานน แอดมินเพจ The Common Thread และผู้เขียนหนังสือ ‘ไม่มีใครเกิดมาเป็นปีศาจ’ บอกเล่าเรื่องราวของ 9 ฆาตกรต่อเนื่องที่เคยขวัญคนทั้งสังคม เขาไม่ต้องการเน้นวิธีการฆ่าหรือการไล่ล่าชวนตื่นเต้น แต่ชวนสำรวจชีวิตและหลุมดำที่ก่อกำเนิดปีศาจเหล่านี้ ไม่ต้องเห็นใจฆาตกร แค่อยากให้เข้าใจที่มาที่ไป มองหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดปีศาจขึ้นอีก และป้องกันตัวเองจากสถานการณ์ที่น่าสงสัย ติดตามเนื้อหาของประชาไทได้ที่ Facebook: https://www.facebook.com/Prachatai Instagram: https://www.instagram.com/prachatai_ig/ YouTube: https://www.youtube.com/@prachatai Twitter: https://twitter.com/prachatai TikTok: https://www.tiktok.com/@prachatai_tiktok #PrachataiPodcast #BookBar #Prachatai #ไมมีใครเกิดมาเป็นปีศาจ #หนงสือ #book
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ภาวิน มาลัยวงศ์ และชานันท์ ยอดหงษ์ รีวิวภาพยนตร์ “แมนสรวง” (2023) ผลงานกำกับโดย กฤษดา วิทยาขจรเดช ร่วมกับชาติชาย เกษนัส และพันพัสสา ธูปเทียน และได้ นักรบ มูลมานัส เป็นผู้จัดวางและกำกับองค์ประกอบศิลป์ ทั้งนี้ “แมนสรวง” เป็นภาพยนตร์แนวระทึกขวัญที่มีเนื้อหาทางการเมือง มีฉากหลังเป็นการเมืองไทยสมัยรัชกาลที่ 3 ในห้วงที่พระนครเต็มไปด้วยผู้คนจากนานาชาติ และอิทธิพลของจีนตั่วเฮีย ซึ่งเป็นสมาคมลับของชาวจีนโพ้นทะเล โดย “แมนสรวง” แม้จะนำเสนอสังคมไทยช่วงต้นรัตนโกสินทร์แต่ไม่ได้เป็นภาพยนตร์แนวโหยหาอดีตแบบเรื่องอื่นๆ เทคนิคการเล่าเรื่องทำให้ผู้ชมย้อนกลับมาดูความเกี่ยวข้องเป็นไปกับสังคมไทยปัจจุบัน ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย
หมายเหตุประเพทไทย (Live) เทปนี้ พูดถึงเหตุการณ์ #วันกะเทยผ่านศึก ที่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างไม่มีที่มาที่ไป ด้านหนึ่งตอกย้ำการเมืองเรื่องวัฒนธรรมที่ดำรงอยู่ก่อนหน้านี้อย่างศึกนางงาม อีกด้านในส่วนของเหตุการณ์ที่สุขุมวิท ซอย 11 จำเป็นต้องพิจารณาเหตุการณ์นี้ในฐานะ social event ที่เราต้องอ่านอารมณ์และผัสสารมณ์ของสังคมที่มีต่อ social event ด้วย #หมายเหตุประเพทไทย #สุขุมวิท11
เรามักได้ยินคำพูดว่า “ไทยเป็นสวรรค์ของ LGBT” แล้วก็จะมีคนกันว่าจริงหรือไม่จริงยังไง แล้วก็จะมีการเทียบกันว่า การเหยียด LGBT+ ในไทยน้อยกว่าในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศมุสลิม หรือคริสต์แแนวอนุรักษ์นิยม แต่ก็มีงานหลายชิ้นที่สนับสนุนข้อโต้แย้งนี้ ที่ว่าจะสรุปว่าเพราะคนไทยเป็นชาวพุทธ การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มหลากหลายทางเพศในไทยน้อยกว่าก็สรุปง่ายเกินไป หมายเหตุประเพทไทยเทปนี้มาสำรวจว่า คนที่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อ LGBT+ ในไทยเขาเป็นใครบ้าง โดยแนะนำบทความที่ตีพิมพ์ในนิตยสารวิชาการ Journal of Homosexuality เมื่อปี 2023 “Measuring LGBT Discrimination in a Buddhist Country” ของกฤชกนก ศรีเมือง และพิริยะ ผลพิรุฬห์ ที่นำข้อมูลการสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และสุขภาพจิต ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2018 มาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างกว่า 27,855 คนต่อผู้หญิงข้ามเพศ ผู้ชายข้ามเพศ เกย์ และเลสเบี้ยน
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ พูดถึงผู้ชนะการประกวดมิสเจแปน คือ Karolina Shiino ซึ่งเป็นชาวยูเครน ที่เป็นพลเมืองแปลงสัญชาติเป็นญี่ปุ่น แม้ว่าจะอยู่ญี่ปุ่นมาตั้งแต่อายุ 5 ขวบ แต่ชัยชนะของเธอสร้างข้อโต้แย้งบนสื่อโซเชียลมากมายว่าเธอไม่เหมาะสม โดยหมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ประภาภูมิ เอี่ยมสม และภาวิน มาลัยวงศ์ จะชวนสำรวจประเด็นพหุวัฒนธรรม ความหลากหลายทางเชื้อชาติ กับการประกวดนางงามญี่ปุ่น
ท่ามกลางการดำเนินคดีและข้อถกเถียงเรื่องเสรีภาพในการพูด เสรีภาพการแสดงออก หมายเหตุประเพทไทย สัปดาห์นี้พูดถึงประเด็นเสรีภาพในการพูดแบบเบ็ดเสร็จ (Free Speech Absolutism) ซึ่งเป็นประเด็นถกเถียงในโลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักจากที่อีลอน มัสก์ ซื้อกิจการทวิตเตอร์ ทั้งนี้ Free Speech Absolutism มีข้อสนับสนุนและข้อท้วงติงอย่างไร รวมไปถึงผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน ทั้งหมดนี้ติดตามได้ใน #หมายเหตประเพทไทย [Live] วันอาทิตย์นี้เวลา 18.00 น.
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ แนะนำบทความ "The Use of the Death Penalty for Drug Trafficking in the United States, Singapore, Malaysia, Indonesia and Thailand:  A Comparative Legal Analysis" ของ พ.ต.ท.ยิ่งยศ ลีชัยอนันต์ อดีตอาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจและ Dennis R. Longmire (อ่านบทความ) เปรียบเทียบการปราบปรามยาเสพติด กรณีของไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมไปถึงสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามการใช้โทษประหารชีวิต มีประเด็นเรื่องความไม่ได้สัดส่วนในการลงโทษ ขณะเดียวกันในสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ใช้ควบคุมยาเสพติดก็ไม่เคยสนับสนุนให้ใช้โทษประหารชีวิต ในช่วงท้ายของรายการจะยกตัวอย่างบทลงโทษประหารชีวิตในคดียาเสพติด อัพเดทนโยบายและท่าทีของรัฐไทยในการปราบปรามยาเสพติดอีกด้วย
จากคดีอาชญากรรมสะเทือนขวัญโดยเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้นในช่วงปีให้หลัง นำมาสู่กระแสถกเถียงในวงสังคมเกี่ยวกับการปรับแก้และบังคับใช้กฎหมายเยาวชน จนเลยไปถึงการติดแฮชแท็ก #ยกเลิกกฎหมายเยาวชน ทว่าข้อเรียกร้องดังกล่าวจะช่วยลดปัญหาอาชญากรเด็กได้จริงหรือไม่ อะไรคือปัจจัยในการที่เด็กก่ออาชญากรรม และทำไมการมีอยู่กฎหมายเยาวชนจึงสำคัญตามหลักการสิทธิมนุษยชน ติดตามได้ใน "เยาวชนกับคดีอาชญากรรม | หมายเหตุประเพทไทย EP.508" วันอาทิตย์ 4 ก.พ. 67 เวลา 18.00 น. #หมายเหตุประเพทไทย #อาชญากรรมเด็ก
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ภาวิน มาลัยวงศ์ และชานันท์ ยอดหงษ์ ชวนดูซีรีส์ Analog SQUAD ทีมรักนักหลอก (2024) เผยแพร่ทาง Netflix เมื่องานอุปโลกน์ครอบครัวสมมติเพื่อตบตาพ่อแม่ในวัยบั้นปลายกลายเป็นงานงอก นอกจากซีรีส์จะชวนสำรวจภาพอุดมคติ/มายาคติของความเป็นครอบครัวแล้ว ยังชวนคิดเรื่องความไม่สมบูรณ์แบบของโลกอะนาล็อกในทศวรรษ 1990 อีกด้วย ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการ #หมายเหตุประเพทไทย #AnalogSQUAD
หมายเหตุประเพทไทย [LIVE] สัปดาห์นี้ พูดถึงสถานะของเอกสารชุด “ปรีดี พนมยงค์” ที่หอคลังจดหมายเหตุกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส จากเอกสารในหอจดหมายเหตุ ได้ถูกให้ความหมายใหม่กลายเป็นตำนาน จดหมายลับ บันทึกลับ และมีมสูตรอาหารได้อย่างไร?
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ แนะนำบทความ “ปัญหาการดำรงอยู่ขององคมนตรีในรัฐธรรมนูญไทย : ข้อพิจารณาเรื่องที่มาและอำนาจหน้าที่ที่ไม่ใช่การถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์” ของจิรากิตติ์ แสงลี เผยแพร่ใน วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 51 ฉบับที่ 1 (2565) (อ่านบทความ) ทั้งนี้องคมนตรีซึ่งมีที่มาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และถูกยกเลิกไปหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ถูกรื้อฟื้นอีกครั้งภายหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2490 มีความลงหลักปักฐานและต่อเนื่องมาถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยรัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับบัญญัติรับรองการมีองคมนตรีไว้ ให้มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การกำหนดให้องคมนตรีมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ได้แก่ หน้าที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลฯ พ.ศ. 2467, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  ฯลฯ มีประเด็นในระบบกฎหมายและความสอดคล้องต่อระบอบประชาธิปไตย
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ชานันท์ ยอดหงษ์ และภาวิน มาลัยวงศ์ แนะนำบทความ “อิตถีลักษณ์คติ” ในเอกสารโบราณล้านนา: ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างหญิง-ชาย (2564) โดย พวงผกา ธรรมธิ สำนักวิชาศิลปศาสตร์; หน่วยวิจัยศิลปวัฒนธรรมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ว่าด้วยนรลักษณ์อวัยวะเพศหญิงในเอกสารโบราณของล้านนาโดยผู้วิจัยศึกษาจากพับสาและใบลานกว่า 30 ฉบับ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างเพศชายแลเพศหญิง โดยพบคติความเชื่อ 4 ลักษณะ ได้แก่ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ที่สะท้อนพฤติกรรมทางเพศ และความเชื่อเกี่ยวกับความงาม ฯลฯ
loading
Comments 
loading
Download from Google Play
Download from App Store