Discoverเศรษฐสาร on Podcast
Claim Ownership
35 Episodes
Reverse
ในปี 2566 เศรษฐกิจไทยลุ่มๆ ดอนๆ แต่อุตสาหกรรมธนาคารไทยมีกำไรกว่าสองแสนล้านบาท นี่หมายความว่าธนาคารพาณิชย์ค้ากำไรเกินควรหรือไม่? กำไรมาจากไหน? และธนาคารแห่งประเทศไทยควรมีบทบาทใดในสถานการณ์นี้? คุยกับอาจารย์วศิน ศิวสฤษดิ์ ใน เศรษฐสาร on Podcast EP.34
ช่วงหลังนี้ เรามักได้ยินคำพูดจำพวก "เด็กยุคใหม่เปลี่ยนไป" หรือ "เด็กยุคใหม่ต่างจากคนยุคก่อน" กันเยอะขึ้น เศรษฐศาสตร์ on Podcast EP นี้จะพาไปสอบถามความเห็นของเจ้าหน้าที่คณะเศรษฐศาสตร์ มธ พี่ดวงใจ มาน้อย และพี่ภัชรินทร์ ตะวัน เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของคนยุคใหม่ผ่านกิจกรรมเกี่ยวกับนักศึกษาที่เกิดขึ้นในคณะเศรษฐศาสตร์
หนังสือ "ประวัติชีวิตและแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ระดับโลก" ทั้งเล่ม 1 และเล่ม 2 โดย อ.ภราดร ปรีดาศักดิ์ แนะนำให้เรารู้จักที่มาที่ไปของนักเศรษฐศาสตร์ผู้มีอิทธิพลต่อวงการเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เศรษฐสาร on Podcast EP. นี้ก็จะพาผู้ฟังไปคุยกับ อ.ภราดร เพื่อทราบว่าหนังสือเล่มนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร และ อ.ภราดร ชอบนักเศรษฐศาสตร์คนไหนเป็นพิเศษ
“การที่องค์การยูเนสโก UNESCO) ปนะกาศขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลกทำให้ผู้คนสงสัยว่าผลทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นมีในแง่มุมใดบ้าง นี่คือสาขาหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่าเศรษฐศาสตร์วัฒนธรรม คุยกับอาจารย์สิทธิกร นิพภยะ เพื่อรู้จักว่าเศรษฐ์ศาสตร์วัฒนธรรมคืออะไรได้ในเศรษฐสาร on podcast ep.31”
ข่าวการเปลี่ยนเกณฑ์สำหรับผู้มีสิทธิ์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพื่อลดภาระทางการคลังกำลังได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวาง การเปลี่ยนเกณฑ์เป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่? ภาระทางการคลังที่ว่าหนักหนาเพียงใด? และรัฐบาลมีทางเลือกอื่นๆ ในการดูแลผู้สูงอายุหรือไม่? อาจารย์เอื้อมพร พิชัยสนิธ ตอบปัญหาเหล่านี้ในเศรษฐสาร on Podcast ep.30
อาหารแปรรูปเป็นสินค้าออกสำคัญของประเทศไทยมายาวนาน แต่อาหารแปรรูปกำลังเผชิญกับความท้าทายใดบ้างเมื่อกระแสโลกเปลี่ยนแปลง? การผลิตและพัฒนาอาหารแห่งอนาคตคือก้าวสำคัญที่ผู้ประกอบการพึงกระทำเพื่อคงความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างไร? และนโยบายรัฐมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการส่งออกอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคตของไทยได้อย่างไร? คุยกับ อ.วานิสสา เสือนิล ในเศรษฐสาร on Podcast EP29
ภาคเกษตรมีความสำคัญกับเศรษฐกิจไทยมานาน นโยบายมากมายถูกริเริ่มและนำมาใช้เพื่อส่งเสริมภาคเกษตร ยุทธศาาสตร์การพัฒนาภาคเกษตรที่ระบุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติเป็นอย่างไร? นโยบายทั้งหลายสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์หรือไม่? ที่ผ่านมานโยบายทั้งหลายมีปัญหาใดบ้าง? และนโยบายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตควรมีลักษณะอย่างไร? คุยกับอาจารย์ปิยะวงศ์ ปัญจะเทวคุปต์ในเศรษฐสาร on Podcast Ep28
ทุนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ มากมาย รวมถึงด้านฟุตบอลด้วย พบกับความทรงจำเกี่ยวกับฟุตบอลของอาจารย์ตฤณ ไอยะรา และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแวดวงฟุตบอลในช่วงกว่า 30 ปีที่ผ่านมา
เมื่อไม่ได้ประเมิน benefit/cost และ ไม่ได้มีการกำกับดูแลที่รัดกุม ภาวะสุญญากาศจึงทำให้ต้นทุนค่าเสียโอกาส และต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของความเสียหายที่เกิดขึ้น น่าจะสูงกว่าประโยชน์ที่เกิดขึ้นเฉพาะกลุ่ม ซึ่งมีผู้ได้ประโยชน์หลัก คือ นายทุน และ ธุรกิจใต้ดิน
ดังนั้น สิ่งสำคัญ คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับสังคมว่า กัญชาเป็นยาเสพติด กัญชาไม่ได้รักษามะเร็ง และ เราควรกำกับดูแล ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นธุรกิจสีเทาตามสภาพเป็นจริงในปัจจุบัน แต่ควรสามารถเก็บภาษีเป็นรายได้เข้ารัฐ เหมือนในประเทศพัฒนาแล้ว
คุยกับ อ.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย เกี่ยวกับนโยบายกัญชาของประเทศไทยใน เศรษฐสาร on Podcast EP26
พรรคเพื่อไทยประกาศนโยบายที่จะใช้สู้ศึกเลือกตั้งที่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ คือการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ 600 บาท นโยบายนี้จะเป็นไปได้หรือไม่? มีผลดีและผลเสียกับเศรษฐกิจอย่างไร? ฟังความคิดเห็นของ อ.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ได้ใน เศรษฐสาร on Podcast ep. 25
ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม APEC (Asia - Pacific Economic Cooperation) ว่าแต่ APEC คืออะไร? และที่ผ่านมาส่งผลอย่างไรต่อการค้าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค? ผู้นำทั้งหลายทำอะไรบ้างในการประชุม APEC? และการประชุมรอบนี้จะมีผลอย่างไรต่อทิศทางเศรษฐกิจในอนาคต? คุยกับคุณศิวศิลป์ จุ้ยเจริญ นักวิจัยประจำสถาบันอาณาบริเวณศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน เศรษฐสาร on Podcast ep.24
คงไม่มีใครปฏิเสธว่าประเทศจีนคือมหาอำนาจของโลกที่กำลังมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้การนำของสีจิ้นผิง (Xi Jinping) และ Xinomics เศรษฐกิจจีนมีกลยุทธ์อย่างไรและกำลังมุ่งสู่ทิศทางใด? เศรษฐกิจจีนจะส่งผลต่อพวกเราในแง่มุมใดบ้าง? คุยกับ รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น เพื่อหาคำตอบได้ในเศรษฐสาร on Podcast ep.23
#ยกเลิกหนี้ กยศ. เป็นไปได้หรือไม่? เหมาะสมหรือไม่? มีจุดใดที่ กยศ. สามารถปรับปรุงเพื่อสร้างประโยชน์ทางการศึกษาแก่คนไทยได้มากขึ้น? คุยกับอาจารย์ชัยยุทธ์ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ เกี่ยวกับ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และปัญหาการศึกษาไทย
ในยุคที่คนอายุยืนขึ้นแต่คนเกิดน้อยลง สังคมไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมสูงอายุ (aging society) สภาพรายได้และหนี้สินของครัวเรือนสูงอายุไทยเป็นอย่างไรบ้าง คุยกับอาจารย์อลงกรณ์ ธนศรีธัญญากุล เพื่อหาคำตอบใน เศรษฐสาร on Podcast ep.21
stagflation หรือที่เราเรียกกันใน EP. นี้ว่าภาวะ "เฝื่อย" (เฉื่อย+เฟ้อ) คืออะไร? เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะนี้แล้วหรือยัง? ธนาคารแห่งประเทศไทยทำอะไรในภาวะนี้บ้าง? หาคำตอบได้ในเศรษฐสาร on Podcast ep. 20 "Stagflation" กับอาจารย์ธีรวุฒิ ศรีพินิจ
อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีความเป็นมาอย่างไร? รัฐบาลมีบทบาทอย่างไร? และจะรับมือกับความท้าทายในอนาคตอย่างไร? คุยกับอาจารย์เกรียงไกร เตชกานนท์ในเศรษฐสาร on podcast ep.19
ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยไปถึงไหนแล้ว?คุยกับ ผศ.ดร.ภูรี สิรสุนทร ถึงสถานการณ์ปัจจุบันและทิศทางในอนาคตของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
การเมืองไทยเป็นไงมาไงและไปยังไงต่อ คุยกับอาจารย์พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ เรื่องเศรษฐกิจการเมืองไทยตั้งแต่อดีตจนถึง 2565
หัวลำโพง สถานที่ประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานครจะเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร? ไปฟัง อ.ถิรภาพ ฟักทอง เล่างานวิจัยที่เสนอว่าหัวลำโพงและพื้นที่รอบด้านควรจะถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นอะไรใน เศรษฐสาร on padcast ep.16
คุยกับอ.พรเทพ เบญญาอภิกุล เรื่องการควบรวมกิจการระหว่าง TRUE กัย DTAC ดำเนินรายการโดย อ.วีระวัฒน์ ภัทรศักดิ์กำจร
Comments
Top Podcasts
The Best New Comedy Podcast Right Now – June 2024The Best News Podcast Right Now – June 2024The Best New Business Podcast Right Now – June 2024The Best New Sports Podcast Right Now – June 2024The Best New True Crime Podcast Right Now – June 2024The Best New Joe Rogan Experience Podcast Right Now – June 20The Best New Dan Bongino Show Podcast Right Now – June 20The Best New Mark Levin Podcast – June 2024
United States