ในปี 2566 เศรษฐกิจไทยลุ่มๆ ดอนๆ แต่อุตสาหกรรมธนาคารไทยมีกำไรกว่าสองแสนล้านบาท นี่หมายความว่าธนาคารพาณิชย์ค้ากำไรเกินควรหรือไม่? กำไรมาจากไหน? และธนาคารแห่งประเทศไทยควรมีบทบาทใดในสถานการณ์นี้? คุยกับอาจารย์วศิน ศิวสฤษดิ์ ใน เศรษฐสาร on Podcast EP.34
ช่วงหลังนี้ เรามักได้ยินคำพูดจำพวก "เด็กยุคใหม่เปลี่ยนไป" หรือ "เด็กยุคใหม่ต่างจากคนยุคก่อน" กันเยอะขึ้น เศรษฐศาสตร์ on Podcast EP นี้จะพาไปสอบถามความเห็นของเจ้าหน้าที่คณะเศรษฐศาสตร์ มธ พี่ดวงใจ มาน้อย และพี่ภัชรินทร์ ตะวัน เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของคนยุคใหม่ผ่านกิจกรรมเกี่ยวกับนักศึกษาที่เกิดขึ้นในคณะเศรษฐศาสตร์
หนังสือ "ประวัติชีวิตและแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ระดับโลก" ทั้งเล่ม 1 และเล่ม 2 โดย อ.ภราดร ปรีดาศักดิ์ แนะนำให้เรารู้จักที่มาที่ไปของนักเศรษฐศาสตร์ผู้มีอิทธิพลต่อวงการเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เศรษฐสาร on Podcast EP. นี้ก็จะพาผู้ฟังไปคุยกับ อ.ภราดร เพื่อทราบว่าหนังสือเล่มนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร และ อ.ภราดร ชอบนักเศรษฐศาสตร์คนไหนเป็นพิเศษ
“การที่องค์การยูเนสโก UNESCO) ปนะกาศขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลกทำให้ผู้คนสงสัยว่าผลทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นมีในแง่มุมใดบ้าง นี่คือสาขาหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่าเศรษฐศาสตร์วัฒนธรรม คุยกับอาจารย์สิทธิกร นิพภยะ เพื่อรู้จักว่าเศรษฐ์ศาสตร์วัฒนธรรมคืออะไรได้ในเศรษฐสาร on podcast ep.31”
ข่าวการเปลี่ยนเกณฑ์สำหรับผู้มีสิทธิ์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพื่อลดภาระทางการคลังกำลังได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวาง การเปลี่ยนเกณฑ์เป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่? ภาระทางการคลังที่ว่าหนักหนาเพียงใด? และรัฐบาลมีทางเลือกอื่นๆ ในการดูแลผู้สูงอายุหรือไม่? อาจารย์เอื้อมพร พิชัยสนิธ ตอบปัญหาเหล่านี้ในเศรษฐสาร on Podcast ep.30
อาหารแปรรูปเป็นสินค้าออกสำคัญของประเทศไทยมายาวนาน แต่อาหารแปรรูปกำลังเผชิญกับความท้าทายใดบ้างเมื่อกระแสโลกเปลี่ยนแปลง? การผลิตและพัฒนาอาหารแห่งอนาคตคือก้าวสำคัญที่ผู้ประกอบการพึงกระทำเพื่อคงความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างไร? และนโยบายรัฐมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการส่งออกอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคตของไทยได้อย่างไร? คุยกับ อ.วานิสสา เสือนิล ในเศรษฐสาร on Podcast EP29
ภาคเกษตรมีความสำคัญกับเศรษฐกิจไทยมานาน นโยบายมากมายถูกริเริ่มและนำมาใช้เพื่อส่งเสริมภาคเกษตร ยุทธศาาสตร์การพัฒนาภาคเกษตรที่ระบุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติเป็นอย่างไร? นโยบายทั้งหลายสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์หรือไม่? ที่ผ่านมานโยบายทั้งหลายมีปัญหาใดบ้าง? และนโยบายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตควรมีลักษณะอย่างไร? คุยกับอาจารย์ปิยะวงศ์ ปัญจะเทวคุปต์ในเศรษฐสาร on Podcast Ep28
ทุนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ มากมาย รวมถึงด้านฟุตบอลด้วย พบกับความทรงจำเกี่ยวกับฟุตบอลของอาจารย์ตฤณ ไอยะรา และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแวดวงฟุตบอลในช่วงกว่า 30 ปีที่ผ่านมา
เมื่อไม่ได้ประเมิน benefit/cost และ ไม่ได้มีการกำกับดูแลที่รัดกุม ภาวะสุญญากาศจึงทำให้ต้นทุนค่าเสียโอกาส และต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของความเสียหายที่เกิดขึ้น น่าจะสูงกว่าประโยชน์ที่เกิดขึ้นเฉพาะกลุ่ม ซึ่งมีผู้ได้ประโยชน์หลัก คือ นายทุน และ ธุรกิจใต้ดิน ดังนั้น สิ่งสำคัญ คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับสังคมว่า กัญชาเป็นยาเสพติด กัญชาไม่ได้รักษามะเร็ง และ เราควรกำกับดูแล ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นธุรกิจสีเทาตามสภาพเป็นจริงในปัจจุบัน แต่ควรสามารถเก็บภาษีเป็นรายได้เข้ารัฐ เหมือนในประเทศพัฒนาแล้ว คุยกับ อ.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย เกี่ยวกับนโยบายกัญชาของประเทศไทยใน เศรษฐสาร on Podcast EP26
พรรคเพื่อไทยประกาศนโยบายที่จะใช้สู้ศึกเลือกตั้งที่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ คือการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ 600 บาท นโยบายนี้จะเป็นไปได้หรือไม่? มีผลดีและผลเสียกับเศรษฐกิจอย่างไร? ฟังความคิดเห็นของ อ.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ได้ใน เศรษฐสาร on Podcast ep. 25
ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม APEC (Asia - Pacific Economic Cooperation) ว่าแต่ APEC คืออะไร? และที่ผ่านมาส่งผลอย่างไรต่อการค้าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค? ผู้นำทั้งหลายทำอะไรบ้างในการประชุม APEC? และการประชุมรอบนี้จะมีผลอย่างไรต่อทิศทางเศรษฐกิจในอนาคต? คุยกับคุณศิวศิลป์ จุ้ยเจริญ นักวิจัยประจำสถาบันอาณาบริเวณศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน เศรษฐสาร on Podcast ep.24
คงไม่มีใครปฏิเสธว่าประเทศจีนคือมหาอำนาจของโลกที่กำลังมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้การนำของสีจิ้นผิง (Xi Jinping) และ Xinomics เศรษฐกิจจีนมีกลยุทธ์อย่างไรและกำลังมุ่งสู่ทิศทางใด? เศรษฐกิจจีนจะส่งผลต่อพวกเราในแง่มุมใดบ้าง? คุยกับ รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น เพื่อหาคำตอบได้ในเศรษฐสาร on Podcast ep.23
#ยกเลิกหนี้ กยศ. เป็นไปได้หรือไม่? เหมาะสมหรือไม่? มีจุดใดที่ กยศ. สามารถปรับปรุงเพื่อสร้างประโยชน์ทางการศึกษาแก่คนไทยได้มากขึ้น? คุยกับอาจารย์ชัยยุทธ์ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ เกี่ยวกับ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และปัญหาการศึกษาไทย
ในยุคที่คนอายุยืนขึ้นแต่คนเกิดน้อยลง สังคมไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมสูงอายุ (aging society) สภาพรายได้และหนี้สินของครัวเรือนสูงอายุไทยเป็นอย่างไรบ้าง คุยกับอาจารย์อลงกรณ์ ธนศรีธัญญากุล เพื่อหาคำตอบใน เศรษฐสาร on Podcast ep.21
stagflation หรือที่เราเรียกกันใน EP. นี้ว่าภาวะ "เฝื่อย" (เฉื่อย+เฟ้อ) คืออะไร? เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะนี้แล้วหรือยัง? ธนาคารแห่งประเทศไทยทำอะไรในภาวะนี้บ้าง? หาคำตอบได้ในเศรษฐสาร on Podcast ep. 20 "Stagflation" กับอาจารย์ธีรวุฒิ ศรีพินิจ
อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีความเป็นมาอย่างไร? รัฐบาลมีบทบาทอย่างไร? และจะรับมือกับความท้าทายในอนาคตอย่างไร? คุยกับอาจารย์เกรียงไกร เตชกานนท์ในเศรษฐสาร on podcast ep.19
ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยไปถึงไหนแล้ว?คุยกับ ผศ.ดร.ภูรี สิรสุนทร ถึงสถานการณ์ปัจจุบันและทิศทางในอนาคตของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
การเมืองไทยเป็นไงมาไงและไปยังไงต่อ คุยกับอาจารย์พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ เรื่องเศรษฐกิจการเมืองไทยตั้งแต่อดีตจนถึง 2565
หัวลำโพง สถานที่ประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานครจะเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร? ไปฟัง อ.ถิรภาพ ฟักทอง เล่างานวิจัยที่เสนอว่าหัวลำโพงและพื้นที่รอบด้านควรจะถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นอะไรใน เศรษฐสาร on padcast ep.16
คุยกับอ.พรเทพ เบญญาอภิกุล เรื่องการควบรวมกิจการระหว่าง TRUE กัย DTAC ดำเนินรายการโดย อ.วีระวัฒน์ ภัทรศักดิ์กำจร