Discover101 In Focus
101 In Focus
Claim Ownership

101 In Focus

Author: 101 Podcast

Subscribed: 1Played: 9
Share

Description

รายการที่จะเก็บไฮไลต์ผลงานเด่นของ The101.world มาเล่าสู่กันฟังทุกสัปดาห์ โดยกองบรรณาธิการ The101.world
252 Episodes
Reverse
ในระยะไม่กี่ปีมานี้ หนึ่งในปรากฏการณ์ที่ชาวไทยเกือบทุกคนต้องเคยประสบพบเจอด้วยตัวเอง คือสายเรียกเข้าของ ‘คอลเซ็นเตอร์’ ที่โทรมาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือหน่วยงานอื่นๆ เพื่อหลอกให้ผู้หลงเชื่อโอนเงินให้ด้วยวิธีการต่างๆ จนนำไปสู่ความเสียหายมหาศาลที่ยากจะตามเงินคืนและไม่สามารถนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีได้ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการหลอกลวงทางออนไลน์ ที่นับวันจะยิ่งมีวิธีการหลอกที่แยบยลขึ้นและหลายรูปแบบขึ้น ข่าวผู้เสียหายจากการถูกหลอกลวงที่มีให้เห็นแทบจะรายวัน เป็นภาพสะท้อนว่าการหลอกลวงทางออนไลน์ได้กลายเป็นปัญหาใหญ่อันดับต้นๆ ของสังคมไทยที่ยังแก้ไม่ตก และเรียกได้ว่าเป็นภัยคุกคามใหม่ไปทั่วโลก101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนเปิดโลกของปัญหามิจฉาชีพออนไลน์ เข้าใจให้มากขึ้นว่าอะไรคือรากเหง้าของปัญหา และมองไปยังทางออก ทั้งในระดับรัฐ ภูมิภาค และระดับโลก ผ่านหลากผลงานในสปอตไลต์ ‘มิจ Call: (ไม่)ยินดีที่รู้จัก Online Scam’ดำเนินรายการโดย วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา บรรณาธิการ The101.world และ เพ็ญพิชชา มุ่งงาม กองบรรณาธิการ The101.world
ชัยชนะของ โดนัลด์ ทรัมป์ จากการเลือกตั้งเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชาวอเมริกัน และในภาพที่กว้างขึ้น ก็ย่อมหมายถึงการสั่นสะเทือนของระเบียบโลกที่เราคุ้นชินกันด้วย ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาเผชิญหน้ากับปัญหาเศรษฐกิจหนักหน่วงมาโดยตลอด ทั้งค่าครองชีพที่สวนทางกับค่าแรง และภาวะคนรุ่นใหม่ว่างงานไม่อาจเป็นเจ้าของสินทรัพย์ใดๆ ได้ รวมทั้งบรรยากาศโหยหาความยิ่งใหญ่ เกรียงไกรของ ‘พญาอินทรี’ ในฐานะผู้นำโลกที่ทรัมป์ให้สัญญาไว้ว่าจะทำให้สหรัฐฯ กลับมาอีกครั้งภายใต้แนวคิด Make America Great Again
ทั่วโลกกำลังเฝ้าลุ้นการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ ว่าใครจะขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ ระหว่างกมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีคนปัจจุบันและผู้แทนจากพรรคเดโมแครต และโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีและผู้แทนจากพรรครีพับลิกันเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของศึกเลือกตั้ง 101 In Focus ชวนฟังความเห็นของบรรดานักวิชาการว่าคนอเมริกันคิดอย่างไร ปัจจัยหรือนโยบายอะไรที่จะมีผลต่อการตัดสินใจของประชาชน และการเลือกตั้งครั้งนี้สำคัญต่อทิศทางสหรัฐฯ และโลก รวมถึงไทยอย่างไรดำเนินรายการโดย วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา บรรณาธิการ The101.world และ เพ็ญพิชชา มุ่งงาม กองบรรณาธิการ The101.worldอ่านได้ที่ ‘การเมืองแยกขั้ว อเมริกันชนแบ่งข้าง’ อ่านพลวัตเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024 กับ ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์https://www.the101.world/pongkwan-sawasdipakdi-interview/“ไทยยังไม่ได้ประโยชน์จากสงครามการค้าเท่าที่ควร” : จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ กับข้อแนะนำถึงเศรษฐกิจไทย และทิศทางหลังเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024https://www.the101.world/juthathip-jongwanich-interview/และรอติดตามบทสัมภาษณ์ ผศ.ดร.กัลยา เจริญยิ่ง เร็วๆ นี้
ในช่วงเดือนที่ผ่านมามีการประกาศผลรางวัลโนเบลประจำปี 2024 รวม 6 สาขา หนึ่งในรางวัลที่สร้างข้อวิพากษ์วิจารณ์ตามมาคือรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ผู้ได้รับรางวัล ได้แก่ ดารอน อาเซโมกลู, ไซมอน จอห์นสัน และเจมส์ โรบินสัน.งานวิจัยของพวกเขาค้นคว้าถึงสาเหตุของความแตกต่างในความมั่งคั่งระหว่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยเรื่อง ‘สถาบัน’ (institution) กับกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว.101 In Focus สัปดาห์นี้จึงชวนทำความเข้าใจสิ่งที่พวกเขาศึกษาจนนำมาสู่รางวัลโนเบล และชวนสำรวจข้อถกเถียงที่เกิดขึ้นในแวดวงวิชาการ.ดำเนินรายการโดย วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world และสมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world……………….อ่านเพิ่มเติม- ‘ประชาธิปไตย’ บนเส้นทางของสามนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลhttps://www.the101.world/three-nobel-economists-on-democracy/- บทบาทของ ‘สถาบัน’ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว: รางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ 2024https://www.the101.world/2024-nobel-prize-in-economics/
'พญานาค' สิ่งมีชีวิตกึ่งเทพรูปร่างคล้ายงูใหญ่ คือหนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยอดนิยมที่อยู่ร่วมกับสังคมไทยมายาวนาน พญานาคปรากฏอยู่แทบทุกหนแห่งในภาคอีสาน ไม่ว่าจะพระพุทธรูป รูปปั้นริมน้ำโขง ซุ้มประตูเมือง เสาไฟ ล็อกเก็ตบูชา ยันเสื้อสกรีนและภาพหน้าจอมือถือ! .ทั้งนี้ นอกจากจะสะท้อนถึงแรงศรัทธาและความเชื่อที่แนบแน่นเป็นเนื้อเดียวกับผู้คน ร่องรอยของศรัทธาในพญานาคยังสะท้อนถึงเศรษฐกิจมูเตลู กล่าวคือเป็นความศรัทธาที่นำมาซึ่งมูลค่าทางเศรษฐกิจ.101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนทุกคนทัวร์นาคาวิถีแบบ 'บลูทูธ' (แบบเสมือนว่าไปจริงๆ) เพื่อสำรวจและทำความเข้าใจศรัทธาความเชื่อเรื่องพญานาคของผู้คนลุ่มน้ำโขง รวมถึง 'เศรษฐกิจมูเตลู' กล่าวคือความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจและปฏิบัติการทางจิตวิญญาณในสังคมไทย โดยเฉพาะในยุคที่ใครหลายคนรู้สึกไม่มั่นคงและต้องการที่พึ่งยึดเหนี่ยว.ดำเนินรายการโดย ชลธิชา ทักษิณาเวศน์ กองบรรณาธิการ The101.world และและปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการอาวุโส The101.world
ปฏิเสธไม่ได้ว่าข่าวใหญ่ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมานี้คือสถานการณ์น้ำท่วมในภาคเหนือ ซึ่งก่อความเสียหายมากมายต่อชีวิตและทรัพย์สิน สถานการณ์ดังกล่าวจุดประเด็นให้เรากลับมาทบทวนว่าน้ำท่วมและภัยธรรมชาติต่างๆ นั้นเป็นสัญญาณเตือนถึงวิกฤตภาวะโลกรวน (climate change) ที่เรากำลังเผชิญ .101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนสนทนาประเด็นภาวะโลกรวน ไล่เรียงตั้งแต่การทำความเข้าใจสถานการณ์น้ำท่วม อ่านวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่มีต่อสังคมไทย โดยเฉพาะในด้านสาธารณสุข ตลอดจนข้อเสนอแนะว่าการดำเนินนโยบายของไทยนั้นยังมีช่องว่างอะไร และต้องทำอย่างไรจึงจะรับมือกับภาวะโลกรวนได้อย่างยั่งยืน.ดำเนินรายการโดย ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world และเพ็ญพิชชา มุ่งงาม กองบรรณาธิการ The101.world
กระบวนการยุติธรรมไทยใช้หลัก ‘สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์’ กล่าวคือในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิดจนกว่าจะมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด โดยหลักการดังกล่าวถูกรับรองไว้ตั้งแต่ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 จนมาถึงปัจจุบัน แต่ในคดีการเมือง หลักการดังกล่าวไม่ถูกนำมาปฏิบัติใช้และทำให้ผู้ต้องหาหลายคนถูกจับกุมและไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว จนอาจกล่าวได้ว่าในคดีการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐมัก ‘สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผิด’.101 In Focus สัปดาห์นี้ พาไปสำรวจชีวิตของสามผู้ต้องหาคดีการเมืองที่ต้องติดคุก และไม่ได้รับสิทธิประกันตัว ไม่ว่าจะเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112, คดีระเบิด และคดีชายชุดดำ  ที่สะท้อนสภาวะอันผิดปกติของระบบยุติธรรมของประเทศไทย.ดำเนินรายการโดย ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา กองบรรณาธิการ The101.world และวจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world
101 In Focus สัปดาห์นี้ พบกับการแนะนำหนังสือในโปรเจกต์ ‘ความน่าจะอ่าน 2024 – Readcovery’ จากลิสต์หนังสือทั้งหมด 100 กว่าเล่ม คัดสรรโดยบรรดาเจ้าของสำนักพิมพ์ บรรณาธิการ ร้านหนังสือ รวมถึงนักวาดภาพประกอบ สู่ Top Highlights ทั้งสี่เรื่องที่ ‘น่าจะอ่าน’ ที่สุดประจำปีนี้ ได้แก่1.2475 นักเขียนผีแห่งสยาม ผู้เขียน : สะอาดและพชรกฤษณ์ โตอิ้ม2.ติดบ้าน (Daheim) ผู้เขียน : Judith Hermann ผู้แปล : นันทนา อนันต์โกศล 3.รถไฟขนเด็ก (Il treno dei bambini) ผู้แต่ง : Viola Ardone ผู้แปล : นันธวรรณ์ ชาญประเสริฐ 4.วรรณาคดี: อัตชีวประวัติของวรรณา ทรรปนานนท์ ผู้เขียน : ศรีดาวเรืองเรื่องไหนเป็นอย่างไร สนุก เข้มข้น ตราตรึงใจแค่ไหน ฟังได้เลยตอนนี้ดำเนินรายการโดย ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ บรรณาธิการ The101.world และปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการอาวุโส The101.world
เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีคลิปนักเรียนกลุ่มหนึ่งยืนเข้าแถวหน้าเสาธงและร้องเพลงชาติพม่าถูกเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ไทยหลายแพลตฟอร์ม ซึ่งนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง ต่อมา กระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่งให้มีการตรวจสอบและนำมาสู่การสั่งปิด โดยให้เหตุผลไว้ว่าศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติดังกล่าวจัดตั้งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงฯคลิปไวรัลดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเดียวกับที่รัฐบาลไทยยื่นตราสารถอนข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งว่าด้วยเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิง อันจะมีผลให้เด็กทุกคนได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้สื่อออนไลน์จำนวนหนึ่งได้ส่งต่อข้อมูลที่บิดเบือนไปว่าการถอนข้อสงวนฯ จะทำให้เด็กซึ่งเป็นลูกหลานแรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในไทยได้รับรองสัญชาติไทยทันทีความเคลื่อนไหวบนโลกออนไลน์เหล่านี้นำไปสู่การโหมกระพืออคติต่อคนข้ามชาติและมีกระแสเรียกร้องให้ยุติการให้ความช่วยเหลือลูกหลานของคนกลุ่มนี้ สะท้อนให้เห็นอคติอันฝังรากลึกที่ทำให้การเลือกปฏิบัติยังเกิดขึ้นในสังคมไทย101 In Focus สัปดาห์นี้ จึงชวนสำรวจชีวิตอันไร้หลักประกันและเรื่องราวการต่อสู้ของเด็กข้ามชาติและเด็กไร้สัญชาติ ทั้งกรณีเด็กที่เกิดในไทยแต่ไม่ได้รับการรับรองสัญชาติ และลูกหลานแรงงานข้ามชาติที่ติดตามพ่อแม่มาทำงาน ในวันที่อคติยังไม่เลือนหายไป จะผลักดันอย่างไรให้เด็กข้ามชาติและเด็กไร้สัญชาติเข้าถึงโอกาสในชีวิตได้อย่างเท่าเทียมดำเนินรายการโดย เพ็ญพิชชา มุ่งงาม และ ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world…อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่:“เราไม่ได้มีเวลาทั้งชีวิตเพื่อรอบัตรประชาชนใบเดียว” : ชีวิตไร้หลักประกัน ฝันที่ถูกกั้นขวาง บนเส้นทางการต่อสู้ของ ‘เด็กไร้สัญชาติ’https://www.the101.world/stateless-children-struggle-for-rights/“สัญชาติไม่ควรตัดโอกาสทางการศึกษาของใคร” ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติ มหาชัย พื้นที่เติบใหญ่ของลูกแรงงานพม่าhttps://www.the101.world/migrant-children-training-center-mahachai/‘ศูนย์การเรียนสามเณรไร้รัฐ’ การศึกษาใต้ร่มกาสาวพัสตร์ที่ไร้เส้นพรมแดนhttps://www.the101.world/stateless-novices-education/
สนามกอล์ฟ สนามม้า เวทีมวย ที่พักตากอากาศ โรงไฟฟ้า สถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ ฯลฯเหล่านี้ล้วนเป็นประเภทธุรกิจที่หน่วยงานภายใต้กองทัพไทยดำเนินการอยู่ ขณะเดียวกันกองทัพไทยเองยังครอบครองที่ดินและทรัพย์สินต่างๆ ที่เอื้อต่อการเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ อีกจำนวนมหาศาลจนไม่อาจนับได้ถ้วน จนเกิดคำถามมากมายว่าการถือครองทรัพย์สินและธุรกิจเหล่านี้จำเป็นกับกองทัพขนาดไหน และรายได้ที่ได้มาถูกนำไปใช้กับอะไรกันแน่ แต่ที่ผ่านมา การจะได้คำตอบจากกองทัพในเรื่องเหล่านี้ก็กลับเป็นที่ยากเย็น101 In Focus ตอนนี้ ชวนสำรวจอาณาจักรธุรกิจของกองทัพไทยว่ายิ่งใหญ่ขนาดไหน กระทบกับผลประโยชน์ของชาติและประชาชนอย่างไร และอะไรที่ทำให้ธุรกิจกองทัพถูกตรวจสอบได้ยากยิ่งกว่าหน่วยงานรัฐอื่นๆ โดยอิงจากผลงานซีรีส์จำนวน 5 ตอนของ รศ.ดร. พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯดำเนินรายการโดย วจนา วรรลยางกูร และ วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา บรรณาธิการ The101.worldอ่านเพิ่มเติมที่ https://www.the101.world/military-owned-businesses-1/https://www.the101.world/military-owned-businesses-2/https://www.the101.world/military-owned-businesses-3/https://www.the101.world/military-owned-businesses-4/https://www.the101.world/military-owned-businesses-5/
คนทำหนังไทย เหมือนใช้ชีวิตในตำบลกระสุนตก -คำกล่าวนี้อาจไม่เกินจริง เพราะไม่ว่าจะทำอะไร คนทำหนังไทยก็เหมือนต้องรอรับคำพิพากษาจากคน (ยัง) ไม่ได้ดูหนังอยู่เสมอ (?).อ่านเพิ่มเติมที่.- คนทำหนังไทย ทำอะไรก็ผิดเสมอ แม้แต่แค่ทะเยอทะยานก็ยังผิดhttps://www.the101.world/its-hard-being-thai-filmmakers/
ปัญหาน้ำท่วมกลับมาเยือนประเทศไทยอีกครั้งและผลกระทบเริ่มกินวงกว้างรุนแรงขึ้นเรื่อยๆข้อถกเถียงหนึ่งในแวดวงการเมืองคือเรื่องการจัดสรรงบประมาณสร้างฝาย คำถามใหญ่คือฝายเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการบริหารจัดการน้ำหรือไม่ ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งแก้ได้ด้วยฝายเท่านั้นหรือ หากเป็นเช่นนั้นทำไมประเทศไทยยังมีปัญหาการบริหารทรัพยากรน้ำอยู่ ในเมื่อเรามีฝายและเขื่อนจำนวนนับไม่ถ้วน101 In Focus สัปดาห์นี้ชวนหาคำตอบว่าฝายเป็นยาสามัญประจำบ้านแก้ปัญหาน้ำจริงหรือไม่ ทิศทางนโยบายบริหารจัดการน้ำของภาครัฐกำลังหลงทางอย่างไร และอะไรเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้เรารับมือน้ำท่วมได้ไม่ดีเท่าที่ควรดำเนินรายการโดย วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world และปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการอาวุโส The101.world……อ่านเพิ่มเติมที่- เมื่อฝายไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน แต่รัฐบาลกำลังปูพรมสร้างฝายทั่วประเทศwww.the101.world/check-dam/- “ภาคอีสานถูกกระทำจากนโยบาย” สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์: ทรัพย์ในดิน สินในน้ำที่คนอีสานไม่เคยเป็นเจ้าของwww.the101.world/santiparp-interview/- บทเรียนน้ำท่วมอีสานครั้งใหญ่ เกี่ยวอะไรกับการแก้รัฐธรรมนูญwww.the101.world/crisis-of-flood-and-constitution/
ภายในชั่วระยะเวลาสั้นๆ นับจากเปิดตัวในประเทศไทยเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2567 กิตติศัพท์ของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซหน้าใหม่จากประเทศจีนอย่าง ‘TEMU’ ได้กลายเป็นประเด็นที่หลายคนจับตามอง ทั้งเรื่องราคาที่ถูกแสนถูก คุณภาพสินค้าจากโรงงานจีน ไปจนถึงผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อยในไทยแต่พ้นไปจากปรากฏการณ์ข้างต้น อีกหนึ่งแง่มุมสำคัญและยังเป็นโจทย์ให้ขบคิดในระยะยาว คือเรื่องการกำกับดูแลแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ทั้งการต่อต้านอำนาจผูกขาด การคุ้มครองผู้บริโภค และการเปิดโอกาสให้แพลตฟอร์มรายเล็กเข้ามาร่วมแข่งขันอย่างเป็นธรรมในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์มไทยได้ 101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนคุยตั้งแต่การทำความรู้จักเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม ธรรมชาติของการดำเนินธุรกิจและการผูกขาด กรอบการวางนโยบายกำกับดูแล แนวคิดและช่องว่างในการจัดเก็บภาษีแพลตฟอร์มต่างชาติที่ยังประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบันดำเนินรายการโดย สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world และภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ บรรณาธิการ The101.world
ปฏิเสธไม่ได้ว่าพัฒนาการของปัญญาประดิษฐ์ (AI) เปลี่ยนแปลงการทำงานของมนุษย์ไม่มากก็น้อย กล่าวคือเอไอสามารถทำได้ตั้งแต่วิเคราะห์ข้อมูล คำนวณข้อมูล เขียนโค้ด (code) แต่งเพลง ไปจนถึงแต่งกลอน.และที่สำคัญ เอไอเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงานของสื่อมวลชน ตามมาด้วยคำถามสำคัญเรื่องคุณค่างานข่าวและจริยธรรมสื่อ ซึ่งสื่อมวลชนไทยในปัจจุบันอยู่ในภาวะ ‘สุญญากาศ’ ที่ไม่มีแนวปฏิบัติด้านเอไออย่างเป็นทางการเหมือนอย่างสำนักข่าวต่างประเทศ.101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนสนทนาว่าด้วยเรื่องเอไอและสื่อมวลชน ตั้งแต่วิธีการใช้เอไอในห้องข่าวไทยโดยรวม การใช้เอไอในห้องข่าวไทยพีบีเอส รวมถึงปัญหาทีสื่อและสังคมไทยต้องเผชิญเมื่ออยู่ในภาวะสุญญากาศ.ดำเนินรายการโดย ชลธิชา ทักษิณาเวศน์ กองบรรณาธิการ The101.world และ ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world..อ่านเพิ่มเติมที่สุญญากาศทางจริยธรรมสื่อ? : สำรวจห้องข่าวไทย ในวันที่เอไอทำได้(แทบ)ทุกอย่างhttps://www.the101.world/ai-ethics-guideline-in-thai-media/.แย่งงาน หลายใจ และใดๆ ที่เอไอทำได้: คุยเรื่องเอไอในฐานะจุดเปลี่ยนวัฒนธรรมมนุษย์ กับ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุลhttps://www.the101.world/arthit-suriyawongkul-interview/
ภายใต้เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ โลกแห่งความเหลื่อมล้ำนี้ไม่ได้มีแค่นายทุนและชนชั้นกรรมาชีพอีกต่อไป คำถามคือเราจะเข้าใจความสัมพันธ์ทางชนชั้นในปัจจุบันได้อย่างไรกาย สแตนดิง (Guy Standing) อดีตศาสตราจารย์ประจำวิทยาลัยบูรพคดีและแอฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน และที่ปรึกษาคนสำคัญของพรรคแรงงานอังกฤษ เป็นผู้พัฒนาแนวคิด ‘Precariat’ (ชนชั้นเสี่ยง) เพื่ออธิบาย 'ชนชั้นใหม่' ที่ไร้สวัสดิการ ไร้สัญญาจ้าง มีรายได้ไม่แน่นอน และสูญเสียเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตไปกับการทำงาน 101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนสนทนาว่าด้วยหลักคิดของ กาย สแตนดิง ต่อความเหลื่อมล้ำ ชนชั้นเสี่ยง และข้อเสนอรูปธรรมของเขาต่อการพัฒนาหลังยุคเสรีนิยมใหม่ เพื่อความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง  ดำเนินรายการโดย สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world และ ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world ………………. อ่านเพิ่มเติมความเหลื่อมล้ำ ชนชั้นเสี่ยง และทางเลือกการพัฒนาหลังยุคเสรีนิยมใหม่ : บทสนทนาว่าด้วยความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ กับ กาย สแตนดิง https://www.the101.world/guy-standing-interview/  ‘เกษียร เตชะพีระ’ มองการเมืองไทยยุคหลังฉันทมติภูมิพล https://www.the101.world/kasian-tejapira-interview/  ‘Precarious Thailand’ มองอนาคตสังคมไทยจากประวัติศาสตร์กดขี่ กับ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ https://www.the101.world/attachak-sattayanurak-interview/
เชื่อได้ว่าช่วงเวลานี้ สายตาทุกคู่ต่างจับจ้องและถนนทุกสายต่างต้องมุ่งตรงไปยังกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากมีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม ถึง 11 สิงหาคม 2567 ภายใต้สโลแกน ‘Games wide open’.ผู้คนต่างสนใจและเฝ้าดู ‘พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024’ ซึ่งมีทั้งขบวนพาเหรดนักกีฬา โชว์ตระการตามากมายที่บอกเล่าเรื่องราว ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของฝรั่งเศส โดยมีแม่น้ำแซนเป็นฉากหลัง หนึ่งในโชว์ที่ถูกพูดถึงอย่างมากบนโลกออนไลน์คงหลีกหนีไม่พ้นโชว์ ‘Liberté’ ซึ่งมีเนื้อหาหลักพูดถึงเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญของประเทศฝรั่งเศสอย่าง ‘การปฏิวัติฝรั่งเศส’ ซึ่งมีนักร้องประสานเสียงที่แต่งกายเป็นพระนางมารี อองตัวเนต หัวขาดร่วมอยู่ด้วย101 In Focus สัปดาห์นี้ชวนผู้ฟังย้อนเวลาเพื่อทำความเข้าใจบริบทของเหตุการณ์ที่เรียกร้องการปฏิรูปในช่วงเวลานั้น ก่อนที่จะจบลงด้วยการปฏิวัติ ตลอดจนจุดกำเนิดของเพลงชาติฝรั่งเศสอย่าง ‘ลา มาร์เซยแยส’ (La Marseillaise) ว่ามีความสำคัญอย่างไร.ดำเนินรายการโดย ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา กองบรรณาธิการ The101.world และภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ บรรณาธิการ The101.world.อ่านเพิ่มเติม- จดหมายถึงพระมหากษัตริย์: เสียงเรียกร้องให้ปฏิรูป ก่อนการปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส ปี 1789https://www.the101.world/letter-to-the-king-french-evolution-1789/.- ‘ลา มาร์เซยแยส’ และ ‘เลือดไม่บริสุทธิ์’ ที่ไหลท่วมรอยไถของเราhttps://www.the101.world/la-marseillaise/
ตลอดสองสัปดาห์ที่ผ่านมา หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญระดับโลกที่ถูกติดตามอย่างใกล้ชิดมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้นข่าวการลอบยิงอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ขณะปราศรัยหาเสียงที่รัฐเพนซิลเวเนีย เมื่อ 13 กรกฎาคม ที่ผ่านมาเพียงไม่กี่นาทีหลังเกิดเหตุ ภาพทรัมป์ชูกำปั้น มีเลือดเปรอะใบหน้า ยืนอยู่ท่ามกลางเจ้าหน้าที่อารักขารายล้อม โดยมีผืนธงชาติอเมริกันโบกสะบัดกลางท้องฟ้าเป็นฉากหลัง ถูกเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ภาพดังกล่าวถูกกล่าวขานว่าทรงพลังจนอาจส่งผลต่อการเมืองสหรัฐฯ ทั้งองคาพยพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่การเลือกตั้งใกล้มาถึง101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนพูดคุยถึงพลังของภาพทรัมป์ชูกำปั้นที่หลายคนยกให้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของการเมืองอเมริกัน และฉากต่อไปการเลือกตั้งสหรัฐฯ จะเป็นอย่างไรหลัง โจ ไบเดน ส่งไม้ต่อให้ กมลา แฮร์ริส ขึ้นเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีดำเนินรายการโดย เพ็ญพิชชา มุ่งงาม และ พิมพ์ชนก พุกสุข กองบรรณาธิการ The101.world…อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่:ภาพหนึ่งใบที่จะเปลี่ยนภูมิทัศน์การเมืองอเมริกันครั้งใหญ่ไปตลอดกาลhttps://www.the101.world/the-iconic-images-of-donald-trump/“กมลา แฮร์ริส” กับอนาคตการเมืองสหรัฐฯ : ความหลากหลายของคนอเมริกัน v ความเป็นหนึ่งของคนผิวขาวhttps://www.the101.world/kamala-harris/
ในเดือนกรกฎาคมนี้ มีภาพยนตร์เฮอร์เรอร์เขย่าขวัญ ที่พูดถึงศาสนาอิสลามเข้าฉายในโรงในเวลาไล่เลี่ยกันอยู่สองเรื่อง เรื่องแรกคือ Grave Torture (2024) หนังยาวลำดับล่าสุดของ โจโค อันวาร์ (Joko Anwar) คนทำหนังชาวอินโดนีเซีย ที่ตั้งคำถามอันแหลมคมอย่าง ‘ศาสนาทำให้เราเป็นคนดีขึ้นหรือไม่’ ผ่านเรื่องของหญิงสาวที่เลือกลงหลุมไปกับคนตายบาปหนา และ ‘แดนสาป’ The Cursed Land (2024) โดย ภาณุ อารี ผู้กำกับ และ ก้อง ฤทธิ์ดี คนเขียนบท ที่พูดเรื่องคนมุสลิมกับความเป็นอื่น และประวัติศาสตร์เชิงพื้นที่ได้อย่างคมคายจุดร่วมของหนังทั้งสองเรื่อง เห็นจะเป็นการที่เลือกสำรวจประเด็นความศรัทธาผ่านศาสนาอิสลามและฌ็องหนังเฮอร์เรอร์ ซึ่งยิ่งขับเน้นประเด็นใหญ่ที่หนังทั้งสองเรื่องพูดถึงอย่างลงตัว
หลังจากที่ เอบรอฮีม รออีซี (Ebrahim Raisi) ประธานาธิบดีอิหร่านเสียชีวิตลงกะทันหันจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตก อิหร่านจึงต้องจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีแบบฉับพลัน โดยในการเลือกตั้งรอบตัดเชือกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่า มาซูด ปีเซชเคียน (Masoud Pezeshkian) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชนะการเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ความน่าสนใจของปีเซซเคียนคือเขาเป็นนักการเมืองสายปฏิรูป ซึ่งตรงกันข้ามกับประธานาธิบดีคนก่อนที่มาจากสายอนุรักษนิยมแข็งกร้าว จึงน่าจับตาอย่างยิ่งว่าการเมืองอิหร่านจะมาสู่การเปลี่ยนแปลงจริงไหม และจะส่งผลต่อการเมืองระหว่างประเทศที่กำลังคุกรุ่นหรือไม่? 101 In Focus ชวนมาคุยกันในเรื่องนี้ดำเนินรายการโดย วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา บรรณาธิการ The101.world และ พิมพ์ชนก พุกสุข กองบรรณาธิการ The101.world…อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.the101.world/arthit-thongin-interview/
หากใครเห็นภาพปรากฏการณ์ห้างแตกที่เกิดขึ้นจากน้องหมีเนยหรือ Butterbear ที่มีเหล่ามัมหมีหรือแฟนคลับมารอเจอมาสคอตร้านขนมเหมือนรอเจอดาราดัง คงตั้งคำถามว่าทำไมคนถึงทุ่มเทหัวใจให้น้องหมีเนยขนาดนี้.อีกคาแรกเตอร์หนึ่งที่ฮอตฮิตมาก่อนหน้านี้คือลาบูบู้ คาแรกเตอร์ที่ทำยอดขายกล่องสุ่มถล่มทลาย จนความนิยมกลายเป็นตัวคูณให้ราคาขายต่อพุ่งทะยาน.อะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้ตัวการ์ตูนหรือตุ๊กตาตัวหนึ่งโดนใจคน โดยเฉพาะตุ๊กตาที่ไม่ตรงขนบ ไม่ใสซื่อ กวนโอ๊ย ดูร้ายลึก ความนิยมที่เกิดขึ้นนี้กำลังบอกอะไรเรา.101 In Focus สัปดาห์นี้จึงคุยกันเรื่องประวัติศาสตร์ตุ๊กตา การสร้างความหมายทางสังคมของตุ๊กตาที่ไม่ตรงขนบและภาพแทนของคนแต่ละกลุ่มที่ปรากฏในตุ๊กตา.ดำเนินรายการโดย วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world และ ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world……………….อ่านเพิ่มเติม- จากลาบูบู้ถึงหมีเนย : เมื่อความหน้าร้ายกลายเป็นความน่ารักhttps://www.the101.world/labulu-butterbear-expression/- “Barbie (2023) เป็นเฟมินิสต์เกินไป (?)” : สำรวจประเด็นจิกกัดปิตาธิปไตยในโลกสีชมพูhttps://www.the101.world/barbie-2023/- Aggretsuko โลกห่วยๆ ที่บังคับให้เราอยู่รอดด้วยการเกรี้ยวกราดhttps://www.the101.world/aggretsuko-review/
loading