Discover3 ใต้ร่มโพธิบท
3 ใต้ร่มโพธิบท
Claim Ownership

3 ใต้ร่มโพธิบท

Author: ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

Subscribed: 65Played: 810
Share

Description

เรียนรู้หัวข้อธรรมะ ที่เป็นแผนที่แม่บท เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยสูตร 15+45 คือนั่งสมาธิ 15 นาที แล้วตามด้วยการอธิบายหัวข้อธรรมะ 45 นาที เพื่อให้ตกผลึกความคิดเป็นสัมมาทิฏฐิ มีปัญญาเดินทางแผนที่คำสอนได้. New Episode ทุกวันพุธ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org

Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

308 Episodes
Reverse
“นิวรณ์ 5” ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา เป็นกิเลสประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในช่องทางใจระหว่างการปฏิบัติสมาธิภาวนา เป็นเครื่องขวางกั้น ทำให้จิตขุ่นมัว ไม่เป็นสมาธิการจะระงับนิวรณ์ได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การมีสติ” ระลึกรู้ถึงนิวรณ์ที่เกิดขึ้น และการใช้ “กำลังของสติ” ไม่ให้จิตน้อมไปตามความคิดเหล่านั้น นั่นจะทำให้นิวรณ์อ่อนกำลังและดับไป นอกจากนี้ การไม่ตั้งความพอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การเจริญพรหมวิหาร4 รวมถึงการเจริญโพชฌงค์7 ก็ทำให้นิวรณ์ระงับได้เช่นเดียวกันทั้งนี้ในการเจริญสมาธิภาวนา เราอาจใช้นิวรณ์เป็นกรอบนิมิตได้ว่า สมาธิช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อจิตสงบ หรือช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อการพิจารณาให้เกิดปัญญาได้อีกด้วย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ตัณหา ได้ชื่อว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์ และเป็นที่มาของปัญหาต่างๆในชีวิตของคนเรา การมาเจริญภาวนาในสัญญา 7 ประการนี้ คือเมื่อมีการพิจารณาให้มากในสัญญาเหล่านี้ จิตจะไม่หวนกลับกำเริบและมีนิพพานเป็นที่สุดปัญหาของตัณหาและกิเลสแก้โดยสัญญา 7 ประการ ดังนี้ยินดีในเพศตรงข้าม(เมถุนธรรม) แก้โดย พิจารณา อสุภสัญญารักตัวกลัวตาย (รักชีวิต) แก้โดยพิจารณา มรณสัญญาติดในรสอาหาร แก้โดย พิจารณา อาหาเรปฏิกูลสัญญาความวิจิตรแห่งโลก แก้โดย พิจารณา สัพพโลเกอนภิรตสัญญาลาภสักการะ และความสรรเสริญ แก้โดย พิจารณา อนิจจสัญญาความเฉื่อยชา เกียจค้าน ท้อถอย ประมาท ไม่ประกอบความเพียร แก้โดย พิจารณา อนิจเจทุกขสัญญา (ความเห็นทุกข์เป็นสิ่งไม่เที่ยงทั้งหลาย)ทิฐิ และมานะ แก้โดย พิจารณา ทุกเขอนัตตสัญญา (เห็นความเป็นอนัตตาในความทุกข์นั้น) Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ธรรม 4 ประการที่เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป หรือ สัทธรรมปฏิรูป คือ1.บทพยัญชนะ อรรถแห่งบทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี2. ภิกษุเป็นคนว่ายาก3.ผู้เป็นพหูสูต ไม่ถ่ายทอดสูตรแก่ทายาท4.พระเถระเป็นผู้เดินในทางทราม หากมีการสืบทอดบทพยัญชนะ กันมาอย่างดีคือจำเนื้อหาได้ถูกต้อง ออกเสียงอักขระชัดเจน รู้ความหมายอย่างถูกต้องก็จะทำให้พระสัทธรรมแท้ยังคงอยู่และเจริญขึ้นได้ โดยการกล่าวสวดบทพยัญชนะนี้จะต้องแม่นยำทั้งบท(ตัวหนังสือ) และพยัญชนะ(การออกเสียง) การสวดมนต์นี้จึงเป็นรูปแบบของการรักษาศาสนาอย่างหนึ่ง บทสวดธชัคคสูตร(ธะชัคคะสุตตัง) เป็นบทสวดที่กล่าวถึงวิธีระงับความกลัว โดย พระพุทธเจ้ากล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตนานมาแล้วที่เทวดารบกับอสูรโดยท้าวสักกะได้บอกกับเหล่าเทวดาว่า หากเกิดความกลัวหวาดสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าขึ้น ให้มองไปที่ยอดธงของหัวหน้าเทวดาทั้ง 4 จะทำให้ความกลัวหายไป แต่พระพุทธเจ้ากล่าวว่าความกลัวของเหล่าเทวดาก็ยังมีอยู่ เหตุเพราะหัวหน้าเทวดาทั้ง 4 ยังมีราคะ โทสะ โมหะอยู่ พระพุทธเจ้าจึงกล่าวต่อภิกษุว่าหากภิกษุไปอยู่ป่า อยู่โคนไม้ อยู่เรือนว่าง หากระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ภัยความกลัว ความสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าจะไม่มี เหตุเพราะผู้มีกิเลสสิ้นไปแล้ว ก็จะไม่สะดุ้งหวาดกลัวภัยอันตรายใดๆเลย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
“โลกบาล” เป็นหลักคุ้มครองรักษาโลก ที่ช่วยให้มนุษย์อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข อันประกอบด้วยหลักธรรม 2 ประการที่จะมาคู่กันเสมอในจิตใจ ที่จะทำให้บุคคลทำแต่ความดี คือหิริและโอตตัปปะ “หิริ” แปลว่าความละอายต่อบาป และ “โอตตัปปะ” แปลว่าความกลัวต่อบาปบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะ มีสติสัมปชัญญะ มีการสำรวมอินทรีย์ ศีลสมบูรณ์ เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงถึงพระนิพพานได้ในที่สุด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ขณะ หรือเวลา หรือโอกาส ใน 4 อย่างนี้ ได้แก่ การที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น การที่ได้เกิดในพื้นที่หรือประเทศที่มีคำสอนของพระพุทธเจ้า การที่มีสัมมาทิฎฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) และการที่มีอายตนะ 6 อย่างครบสมบรูณ์ (ไม่พิการ)…โอกาสดีทั้ง 4 ประการ ที่ได้ยากขนาดนี้เกิดขึ้นแล้ว อย่าไปรีรอ อย่าให้ล่วงเลยไปเสีย โอกาสนี้ไม่ได้มีอยู่เรื่อย ๆ ตอนนี้อยู่ในช่วงโปรโมชั่น ครั้งนึงครั้งเดียวคือตอนนี้แหละ ตรงนี้แหละ ช่องที่เราอยู่ในกัปนี้ ที่ยังมีคำสอนพระพุทธเจ้าโคตมอยู่ในตอนนี้ เพราะมันไม่แน่ว่าชาติหน้าที่เราเกิดมาอาจจะไปเบียดเสียดยัดเยียดอยู่ในนรก เกิดเป็นสัตว์ที่เกิดในของโสโครก เป็นสัตว์เดรัจฉาน ไปเกิดเป็นสัตว์ในอรูปพรหม หรือแม้แต่ไปเกิดในประเทศที่ไม่มีคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่… มันไม่แน่ไม่นอนว่าโอกาสหน้าที่จะมาต่อไป มันจะมีหรือไม่ แต่ถ้ามีอยู่ตอนนี้ รีบเลย คือให้เป็นโสดาปัตติผลให้ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติตามธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ ผลที่จะพึงหวังได้ คือความผาสุก ซึ่งจะปรากฏเป็นความเบาบางของกิเลส นำไปสู่การสิ้นสุดของการเวียนว่ายตัดภพชาติให้น้อยลงไปตามลำดับ การเดินตามทางนั้นเป็นมรรค เมื่อมาถึงจุดหมายปลายทางแล้วเรียกว่าผลและมีนิพพานเป็นที่สุดแห่งการประพฤติปฏิบัติพึงเห็นโทษของการเวียนว่ายตายเกิดว่า เป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี พึงเห็นคุณของพระธรรมคำสอน ว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ และน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติเพื่อที่สุดแห่งพรหมจรรย์ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
"กิเลส" เป็นเหตุแห่งทุกข์ต้องละเสีย จึงอ้างอิงในส่วนของอังคุตตรนิการ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในหมวด 6 ว่าด้วยวิธีการละกิเลส อาศัยธรรมหมวด 5 เป็นเหตุทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสได้ กล่าวคือ การฟังธรรม การเทศน์สอน การทบทวน การคิดใคร่ครวญในธรรม หรือการทำสมาธิ ธรรม 5 อย่างนี้ เมื่อปฏิบัติให้บ่อยแม้ข้อใดข้อหนึ่งก็จะเกิดความรู้ในอรรถธรรมมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความปราโมทย์ ปีติ ทำให้กายระงับ และจิตเป็นสุข มีสติและสมาธิตั้งมั่นเป็นอารมณ์อันเดียว ซึ่งจิตที่มีสติตั้งมั่นนี้เองเป็นเหตุปัจจัยหมวด 6 ว่าด้วยการละกิเลส คือการสำรวม การพิจารณาก่อนเสพสิ่งต่าง ๆ การงดเว้นสิ่งควรงด การอดทน การละเรื่องกาม พยาบาท เบียดเบียน รวมถึงการภาวนาเพื่อให้เกิดโพชฌงค์ด้วย จะเห็นว่าธรรม 2 หมวดนี้ สอดคล้องรับกัน เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์หรือมรรค 8 นั่นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
อินทรีย์ 5 และพละ 5 นั้น ต่างมีองค์ประกอบ 5 ประการ คือศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา หากจะเปรียบเทียบ สติ ย่อมเทียบได้กับหัวธนู วิริยะ คู่กับ สมาธิ ช่วยพยุงธนูไว้ ศรัทธา คู่กับ ปัญญา พยุงด้านปลายของธนู หากอินทรีย์หรือพละตัวใดมากไป ธนูนั้นย่อมขาดความสมดุล ไม่สามารถแล่นตรงสู่เป้าหมายได้กล่าวได้ว่าอินทรีย์ 5 และพละ5 นั้น เหมือนกันโดยองค์ธรรมเพียงแต่ใช้อธิบายคนละนัยยะ คือความเป็นใหญ่ และความไม่หวั่นไหวเปรียบเสมือนแม่น้ำใหญ่ที่มีเกาะอยู่กึ่งกลาง แบ่งแม่น้ำออกเป็นสองสาย แม่น้ำทั้งสองที่ถูกแบ่งนั้น ย่อมเป็นสายน้ำเดียวกัน และไหลบรรจบกันในที่สุด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
“สัตบุรุษหรือสัปปบุรุษ” หมายถึง คนดี เป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ตามจูฬปุณณมสูตร คือผู้มี “ศรัทธา หิริ โอตัปปะ พหูสุต ความเพียร สติมั่นคง และปัญญา” โดยทั่วไปเราจะพิจารณาว่าใครเป็นคนดี ก็โดยเทียบกับคุณธรรมที่กล่าวนี้ จากมิตรสหายที่บุคคลนั้นคบหา จากความคิด การให้คำปรึกษา วาจา4 การกระทำ ทิฐิความเห็น และทานที่ให้นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของ “อุบาสกธรรม7” คือคุณสมบัติของชาวพุทธที่ดี และ”กัลยาณมิตรธรรม7” คือคุณสมบัติของมิตรแท้ และ “สัปปุริสธรรม7” ในธัมมัญญสูตร อันเป็นคุณสมบัติของสัตบุรุษ ที่เปรียบดั่งคุณธรรมของพระเจ้าจักรพรรดิคุณธรรมเหล่านี้ ศึกษาเพื่อเป็นบรรทัดฐาน พัฒนาจุดที่ยังมีน้อยอยู่ หรือหากมีคุณสมบัติเหล่านี้แล้ว ก็รักษาคงไว้เพื่อความดีงาม และความเจริญต่อไป Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
มงคลชีวิต 4 ข้อสุดท้ายนี้เป็นภูมิจิตของผู้ที่ไกลจากกิเลส กล่าวคือจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม คือ เมื่อถูกโลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์มากระทบก็ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่น่าพอใจน่าปรารถนานั้น และเมื่อถูกฝ่ายอนิฏฐารมณ์มากระทบก็ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนานั้น จิตจะเข้าถึงความคงที่อย่างนี้ได้ ต้องประกอบด้วยปัญญาที่เห็นการทำงานของขันธ์ที่เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์จิตไม่โศก คือจิตที่หลุดจากบ่วงสิเน่หา เพราะความโศกเกิดจากความรัก จะไม่ให้โศกก็อย่าให้มีความรัก ความรักเปรียบเหมือนยางเหนียวทำให้จิตติดอารมณ์นั้น พอความรักหายไปก็เศร้าโศก จิตพระอรหันต์ท่านไม่มีรักเพราะฉะนั้นจึงไม่โศกจิตปราศจากธุลี ธุลี คือความเศร้าหมองของจิตที่เกิดจากเทือกของกิเลส (ราคะ โทสะ โมหะ) จะกำจัดกิเลสได้ด้วย อริยมรรคมีองค์8 จิตหมดธุลี คือจิตที่พ้นแล้วจากกิเลสจิตเกษม เป็นจิตที่ถึงแดนเกษมคือแดนที่ปลอดภัยจากกิเลสเครื่องกวนใจ ตัดเครื่องผูกรัด คือกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ พ้นแล้วจาก ความเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ในทางปฏิบัติเราจำเป็นต้องรู้เรื่องอริยสัจไว้บ้าง เพราะเวลาที่เราไปรับรู้เห็นนิมิตอะไรมา เราอาจจะหลงหรือเข้าใจผิดสำคัญว่าตนมีคุณวิเศษหรือได้บรรลุธรรมแล้วพระพุทธเจ้าได้สละความสุขส่วนพระองค์เพื่อที่จะออกค้นหาศาสตร์ความจริงที่จะช่วยให้คนพ้นจากทุกข์ ความแก่ ความตาย ซึ่งศาสตร์ที่พระองค์ค้นพบนี้เรียก “อริยสัจ 4”การเห็นอริยสัจ (ญาณในอริยสัจ 4) ที่แท้จริงนั้นต้องมีปริวัฏฏ์ 3 มีอาการ 12 จึงจะเป็นความพ้นทุกข์ที่แท้จริง คือเป็นจิตที่พ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิง เป็นความแจ้งในนิพพานนิพพานธาตุ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ สอุปาทิเสสนิพพาน คือ ยังมีชีวิตอยู่ อินทรีย์ห้ายังอยู่ เสวยเวทนาอยู่ และอนุปาทิเสสนิพพาน คือการดับภพและเวทนาได้สิ้นเชิง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ในคำสอนของพระพุทธเจ้า การบำเพ็ญตบะ คือการเพียรเผากิเลส เพียรกำจัดกิเลสออกไป จะมุ่งเน้นมาในจิตใจ ชนิดของกิเลสนั้นมีทั้งที่เป็นฝ่ายกุศล คือกิเลสอย่างละเอียดทำให้เกิดโมหะเช่นบุญ ทำให้เกิดการยึดถือเมาบุญได้ และฝ่ายอกุศลได้แก่ ราคะ โทสะ กิเลศทั้งสองนี้ ทำให้เราเวียนไปสูง-ไปต่ำ วนอยู่ในวัฏฏะนี้การบำเพ็ญตบะจึงจำเป็นต้องอาศัยความอดทนอย่างยิ่งในการเผากิเลสที่อยู่กับเรามานานให้หลุดลอกออกไป ถ้าเราอดทนไม่ได้ก็คือ “ตบะแตก”การอดทนนั้นต้องประกอบด้วยปัญญาวิธีทำตบะ คือข้อปฏิบัติทั้งหมดที่ฝืนความต้องการของกิเลส ได้แก่ สัลเลขธรรม-การขัดเกลากิเลส และธุดงควัตร13-การกำจัดกิเลส ตบะในชีวิตประจำวันทำได้ด้วยการมีสติ สำรวมอินทรีย์ มีหิริโอตตัปปะจะเป็นเหตุให้เกิดอินทรีย์สังวร มีศีล สมาธิ ปัญญา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
“ขันติ” ความอดทน คือ การรักษาภาวะปกติไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบอย่างไรก็ตาม เช่นเมื่อถูกกระทบให้ลุ่มหลงก็ไม่ลุ่มหลงไปตามหรือถูกกระทบให้ไม่พอใจขยะแขยงก็อดทนอยู่ในภาวะเดิมไว้ได้ ความอดทนนั้นจะมีลักษณะของความอดกลั้นไว้ไม่คิดที่จะก่อทุกข์ให้ผู้อื่นและตนเองก็มีความเบิกบานแจ่มใสอยู่เป็นนิตย์ด้วย ซึ่งความอดทนไม่เหมือนกับดื้อด้าน หรือเก็บกด เพราะความอดทนนั้นจะประกอบด้วยปัญญา มีความเพียรชำระสิ่งที่เป็นอกุศลออกจากจิตใจของเราความอดทนแบ่งได้เป็น 4 ระดับ คือ 1.จากภายนอกกระทบ เช่นอากาศร้อน หนาว จากทุกขเวทนาในกาย เช่น เจ็บป่วย 3.อดทนต่อความเจ็บใจ เช่น คำพูดล่วงเกิน 4.อดทนต่ออำนาจของกิเลส ซึ่งหมายเอา 2ข้อหลังนี้มาเป็นอุบายในการฝึกความอดทน ให้ดูคุณธรรมจาก เตมิยชาดก ปุณโณวาทสูตร เวปจิตติสูตรเรื่องของความอดทนคือขันตินั้นจะทำให้จิตใจของเรามีความก้าวหน้าขึ้นไป เป็นเหมือนการบ่มให้คุณธรรมดีๆเติบโตได้มากยิ่งขึ้น เป็นคุณธรรมของนักปราชญ์บัณฑิตที่เมื่อรักษาแล้วจะเป็นมงคลในชีวิตเรานั่นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
มงคลชีวิตข้อ19 “อารตี วิรตี ปาปา” การงดเว้นจากบาป คำว่า “บาป”ตรงกันข้ามกับ “บุญ” บุญท่านเคยบอกว่าเป็นชื่อของความสุขแสดงว่าบาปนั้นก็จะเป็นชื่อของความทุกข์ แต่ต้องดูให้ลึกซึ้งคือให้ดูถึงภายในจิต บุญหรือบาปนั้นสะสมไว้ภายในจิต ไม่ได้สะสมไว้ในอาการของจิต ดังนั้นบาปคืออกุศลต่างๆที่ทำให้จิตเสีย ทำให้จิตตกต่ำ ทำให้จิตเกิดทุกข์นั่นเองการจะงดเว้นจากบาปได้นั้นต้องอาศัยหลักธรรมคือ “หิริ” ความละอาย รังเกียจบาป และ“โอตตัปปะ”ความกลัวต่อบาป หากมีหิริและโอตตัปปะแล้วก็จะยังผลให้เรางดเว้นจากการทำบาปได้นั่นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
“งาน” คือ อะไรก็ได้ที่เป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีวิธีการปฏิบัติ และจะเกิดความเป็นมงคลได้นั้น คุณธรรมในการทำงานให้สำเร็จ คือ อิทธิบาท 4การเจริญอิทธิบาท 4 ต้องเข้าใจให้ถูก ต้องมีองค์ประกอบอีก 2 อย่าง คือ “ธรรมเครื่องปรุงแต่ง” หรือเป้าหมาย และประกอบด้วย “สมาธิ” ที่จะมาเชื่อมกับกิจแต่ละอย่างๆ คือ“ฉันทะ” ความพอใจความเต็มใจ ที่ทำให้เริ่มลงมือทำ“วิริยะ” ความเพียร ความกล้า ความกระตือรือร้น ความมีระเบียบวินัย ทำให้งานสำเร็จได้“จิตตะ” ความใส่ใจ ถูกต้อง ตรวจสอบ ทำให้งานมีความต่อเนื่อง“วิมังสา” การพินิจพิเคราะห์ แยกแยะพิจารณา เปลี่ยนแปลงให้งานนั้นๆ ดีขึ้นด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ตั้งไว้แล้ว จะทำให้การทำการงานนั้น ไม่ย่อหย่อน ไม่เกียจคร้าน ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่สยบในภายใน แต่สำเร็จ “การงานไม่อากูล” ลุล่วงไปได้นั่นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
อตฺตสมฺมาปณิธิ จ หมายถึง ตั้งตนไว้ชอบ ในที่นี้คือ การตั้งจิตเพื่อรักษากายและจิตใจให้อยู่ในทางที่เป็นกุศลธรรมในปัจจุบันซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงชี้ทางที่ปลอดภัยไว้ให้แล้ว คือ อริยมรรคมีองค์8 ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา การตั้งจิตไว้ถูกไม่ว่าจะเจอผัสสะที่น่าพอใจหรือไม่ นั่นจึงเป็นมงคล ท่านยังทรงตรัสให้เรานึกถึงศีล นึกถึงโสตาปัตติยังคะ4 ให้มีปีติสุข อันเกิดจากศรัทธาที่หยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ซึ่งจะช่วยให้ชนะอุปสรรคได้เช่นกัน ทั้งนี้หากตั้งจิตไว้ชอบแล้วก็จะสามารถไปถึงเป้าหมายทั้งชั้นต้น ชั้นกลาง ชั้นสูงสุดได้อย่างแน่นอน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ธรรมของสัตบุรุษ มีสัทธรรม 3 อย่างคือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธปริยัติ คือการศึกษาเล่าเรียนในระบบคำสอนที่เรารวบรวมมาโดยรอบแล้วนั่นคือคำสอนของพระศาสดามีองค์ 9 (นวังคสัตถุศาสน์)ได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูติธรรม เวทัลละปริยัติแบ่งตามรูปแบบการศึกษาได้ 3 อย่างดังนี้1.อลคัททูปริยัติ การศึกษาแบบเป็นงูพิษคือศึกษาธรรมเพื่อลาภสักการะ เพื่อข่มผู้อื่น2.นิสสรณัตถปริยัติ การศึกษาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการออกไปจากทุกข์ คือศึกษาเจาะจงลงไปในเรื่องที่จะออกจากทุกข์ได้3.ภัณฑาคาริกปริยัติ การศึกษาแบบขุนคลังคือการศึกษาเพื่อที่จะเก็บรักษาองค์ความรู้เหล่านั้นไม่ให้เสื่อมสูญไปปฏิบัติ คือ นำความรู้มาลงมือทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างที่ต้องการ การลงมือทำนั้นต้องไม่ยกตนข่มผู้อื่น การปฏิบัตินั้นมีได้หลายรูปแบบ การปฏิบัติต้องถูกต้องกับสิ่งนั้น ๆปฏิเวธ คือ การรู้ธรรมเป็นขั้นๆไป รู้ว่าธรรมนี้เป็นอย่างนี้ รู้แทงตลอดในธรรมเป็นขั้นเป็นขั้นขึ้นไป ในส่วนของปฏิเวธนี้ก็จะหมายถึงการบรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่งด้วยปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธนี้ ต้องมาด้วยกันจะมีผลแทงตลอดได้จะต้องลงมือปฏิบัติจะปฏิบัติได้ต้องรู้วิธีการว่าต้องทำอย่างไรไม่ให้เกิดความข้องความกังวลผลที่จะเกิดขึ้นก็จะเป็นขั้น ๆ ไป หมุนวนไปแบบนี้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ตัณหา เป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก มีความเป็นสภาวะขึ้นมา ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ เพราะฉะนั้นต้องประกอบด้วยการเกิดอีกให้เป็นสภาวะขึ้นมา เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา มีความกำหนัด มีความเพลิน โดยนัยยะนี้ได้แบ่งตัณหาเป็น 3 อย่างดังนี้1.กามตัณหา คือความกำหนัดยินดีพอใจและความเพลินในรูปผ่านทางตา เสียงผ่านทางหู กลิ่นผ่านทางจมูก รสผ่านทางลิ้น และโผฏฐัพพะผ่านทางกาย และความอยากได้กามคุณคือสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้งห้า2.ภวตัณหา คือ ความอยากในภาวะของตัวตนที่จะได้จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ความอยากมี อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป3.วิภวตัณหา คือ ความอยากในความพรากพ้นไปแห่งตัวตนจากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา ความไม่อยากเป็น อยากดับสูญส่วนตัณหา 108 นั้นมาจากคำว่าตัณหาวิจริตคือความนึกที่แผ่ซ่านด้วยอำนาจของตัณหาคือความเพลินซ่านไปแผ่ไป โดยแผ่ซ่านกระจายไปในขันธ์อันเป็นภายใน 18 อย่าง ขันธ์อันเป็นภายนอกอีก18อย่าง ทั้ง 2 นี้ รวม 36 อย่าง X 3 กาลคือ ปัจจุบัน อดีต และอนาคต จึงเป็นตัณหา 108 นั่นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
จรณะคือข้อปฏิบัติให้ถึงปัญญาข้อปฏิบัติที่ทำวิชชาให้เกิดขึ้นได้ ข้อปฏิบัตินี้มี 15 อย่าง จรณะมีความหมายเดียวกันกับเสขะปฏิปทาคือข้อปฏิบัติของผู้ที่ยังต้องฝึกต้องปฏิบัติต่อ ข้อปฏิบัติของผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรมขั้นสูง บุคคลที่ต้องการบรรลุธรรมจึงต้องปฏิบัติตามเสขะปฏิปทา ดังนั้นจรณะ15 ก็คือเสขะปฏิปทาที่มีเนื้อหาแจงออกเป็น 15 ประการ ตามนัยยะของเสขะปฏิปทาสูตร ประกอบด้วย 4 หมวดคือ ศีล1, อปัณณกปฏิปทา3,สัปปุริสัทธรรม 7 และฌาน4 ซึ่งแจกแจงได้ดังนี้1.ศีล ได้แก่ ศีล5 ศีล8 ศีล10 และศีล2272.อปัณณกปฏิปทา3 คือข้อปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม ได้แก่ 1.อินทรีสังวร(สำรวมอินทรีย์) 2.โภชเนมัตตันญุตา(รู้จักประมาณในการบริโภค) 3.ชาคริยานุโยค(การประกอบความเพียรอยู่ในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น)3.สัปปุริสัทธรรม7 ได้แก่ 1.มีศรัทธา 2.มีหิริ 3.มีโอตตัปปะ 4.เป็นพหูสูต 5.มีความเพียรอันปรารภแล้ว 6.มีสติ7. มีปัญญา4.ฌาน4 คือการเพ่ง,สมาธิ ได้แก่ 1.ปฐมฌาน(วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา) 2.ทุติยฌาน(ปีติ สุข เอกัคคตา) 3.ตติยฌาน(สุข เอกัคคตา) 4.จตุตถฌาน(อุเบกขา เอกัคคตา)จรณะ 15 อย่าง คือข้อปฏิบัติที่เจาะจงลงมาสำหรับบุคคลที่ยังไม่บรรลุธรรม เมื่อนำธรรมนี้ไปประพฤติปฏิบัติก็จะสามารถทำวิชชาให้เกิดขึ้นได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ขึ้นชื่อคำว่า “พร” เป็นสิ่งที่ใครๆก็ปรารถนาเพื่อต้องการให้เกิดความสุขความสมหวังในชีวิตทั้งนั้น ในที่นี้ได้รวบรวมพรดีๆ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจากสูตรต่างๆอันได้แก่ จักกวัตติสูตร อิฏฐสูตร และจูฬกัมมวิภังคะสูตร ได้ 9 ประการดังนี้ 1.มีอายุยืน 2.วรรณะงาม 3.มีความสุข 4.มีโภคะเงินทอง 5.มีสุขภาพแข็งแรงมีโรคน้อย 6.มียศถาบรรดาศักดิ์มีอำนาจใหญ่โต 7.การเกิดในตระกูลสูง 8.มีปัญญามีความฉลาดหลักแหลม 9.ตายแล้วได้เกิดในสวรรค์ ถ้า ใครได้รับพร 9 ข้อนี้ แม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งต้องดีต่อจิตใจแน่ แต่หากเราทำความเข้าใจในความหมายที่ลึกซึ้งลงไปตามนัยยะคำสอนของพระพุทธเจ้าจากพระสูตร พรทั้ง 9 ประการนี้ก็จะดีต่อเรายิ่งขึ้นไปอีก Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
loading
Comments 
loading
Download from Google Play
Download from App Store