Discoverสารคดีพิเศษ ปลายจวัก
สารคดีพิเศษ ปลายจวัก
Claim Ownership

สารคดีพิเศษ ปลายจวัก

Author: Thai PBS Podcast

Subscribed: 16Played: 47
Share

Description

"สารคดีพิเศษ ปลายจวัก" ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 18.30 - 19.00 น. สดทาง www.thaipbspodcast.com/radio และแอปพลิเคชัน: Thai PBS Podcast 

รายการนี้เป็นรายการที่ขยายผลต่อจากละครน้ำดีที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส มาเป็นรายการทาง Podcast พร้อมกับวิทยากรและราชบัณฑิตที่มีความรู้เรื่องราวของ อาหารเพื่อเป็นสะพานเชื่อมในยุคนี้ ย้อนกลับคืนสู่อดีต ได้เห็นแง่มุมความงาม ความปราณีตของการคัดสรรเมนูเลิศรส ที่ไม่เพียงมีความอร่อยแต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการบันทึกความเป็นไปของบ้านเมืองในยุคนั้น เปิดเผยแง่มุมที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนจากหลากหลายเรื่องราวในประวัติศาสตร์  ได้ที่ Facebook, Twitter และ Instagram: Thai PBS Podcast

13 Episodes
Reverse
“ล้านนา” ไม่ได้มีเสน่ห์เฉพาะวิถีชีวิตของผู้คน แต่อาหารการกินก็เป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ที่ไม่แพ้ถิ่นแดนอื่นใด   พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และทางตอนเหนือของไทย ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมล้านนาอย่างมาก แต่ในเวลาเดียวกันดินแดนแถบนี้ก็ยังมีการผสมผสานจากชนชาติอื่นๆ ในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะชาวจีน ผ่านการค้าและชาวจีนที่อพยพมาตั้งรกรากที่นี่  ต่างเลือก “รับ ปรับ ใช้” จนทำให้กลายเป็นการรังสรรค์เมนูใหม่ๆที่ไม่ทิ้งกลิ่นอายรสชาติเดิม           สูตรอาหาร ไม่ได้ผูกขาดเพียงหนึ่งเดียว แต่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพพื้นที่ วัตถุดิบที่มีรวมทั้งขึ้นอยู่กับผู้ปรุงที่ต้องการให้รสชาติถูกปากและใจอย่างไร อาหารยังเกี่ยวพันกับการเมืองและเป็นเครื่องแสดงอำนาจ ฐานะ ความสามารถในการเข้าถึงวัตถุดิบและความหมายอื่นๆของสถานะทางสังคม  โสภิต  หวังวิวัฒนา คุยกับคุณมนัสวัฑฒก์ ชุติมา (ขิม) ผู้บริหาร ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ผู้สืบสายตระกูล จากหลวงอนุสารสุนทร คหบดีพ่อค้าผู้มีบทบาทสำคัญเมื่อกว่า 100 ปีที่เชียงใหม่ 
อาหาร  สร้างและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เป็นแหล่งรวมของภูมิปัญญา การแบ่งปันองค์ความรู้จากหลากหลายสังคมเพื่อหลอมรวมเข้าด้วยกันจนกระทั่งกลายเป็นเมนูหนึ่งจาน อาหาร  ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงให้ท้องอิ่ม แต่ยังมีความหมายอื่น ๆหลากหลายมุมมอง คุณดวงพร ทรงวิศวะ  ผู้ดำเนินรายการ “กินอยู่คือ” ทางไทยพีบีเอส มาไขความคิด อาหารไทยแท้ ๆ มีจริงหรือไม่ และจะกินอย่างไรให้ปลอดภัย  ปลอดโรค  ชวนคุยโดย  โสภิต  หวังวิวัฒนา 
ประเพณีการแต่งงานของไทยสมัยโบราณ มีทั้งความประณีต ละเอียดและซับซ้อนแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เป็นพิธีการสำคัญที่ต้องพิถีพิถัน แม้ว่าความรักจะไม่มีพรหมแดน เชื้อชาติและศาสนา ไม่อาจขวางกั้นได้ แต่หลายครั้ง ความรักก็ถูกกีดกันจากการเมืองและความมั่นคงช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระเพทราชา เคยมีกฎหมายห้ามคนสยามแต่งงานกับคนต่างชาติ (ในความหมายคือ ฝรั่งเศส) เพราะตอนนั้นมีความบาดหมากกับชาวฝรั่งเศส ที่น่าสนใจคือ ชาวจีนและอินเดีย ไม่ได้ถูกนับให้รวมเป็นชาวต่างชาติด้วย ในขณะที่รักต่างเชื้อชาติ ก็ยังมีอุปสรรคเรื่องการปรับตัวของสาวที่ต้องเสียสละเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมายังสยาม เพื่อคนที่รักฟังเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเพณีการแต่งงานและวัฒนธรรมไทยที่น่าสนใจ กับ ศ.กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม ราชบัณฑิต 
ในยุคที่ดนตรีไทยเฟื่องฟู ไดัรับความนิยมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เชื้อพระวงศ์ เจ้านายชั้นสูง ต่างอุปถัมภ์เลี้ยงดูวงดนตรีไทย โดยไม่ต้องทำมาอาชีพอื่น ๆ เพียงมุ่งมั่นซ้อมดนตรีให้เต็มที่ จนกระทั่งมาถึงการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมดนตรีไทยเมื่อ พ.ศ. 2481 - 2500 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี มีทัศนะต่อดนตรีไทยว่าเป็นของโบราณคร่ำครึและไม่เป็นศิวิไลซ์ ประวัติศาสตร์ดนตรีของไทยที่มีกลิ่นอายดนตรีจากวัฒนธรรมร่วมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเป็นมาน่าสนใจอย่างไร
เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสทวีปยุโรป เพื่อเรียนรู้ภูมิศาสตร์วัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ เพื่อนำเอาความรู้มาประยุกต์พัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้า ทั้งการนำเทคโนโลยีการคมนาคมมาใช้ในการก่อสร้างถนนและรถไฟ ตลอดจนการส่งเสริมการศึกษาภาษาต่างประเทศผ่านเจ้าของภาษา ภูมิศาสตร์วัฒนธรรมที่ปรากฎให้เห็นในละครปลายจวัก มีอะไรสอดแทรกและน่าสนใจบ้าง
คุณสุทธิพงษ์ สุริยะ  นักออกแบบแบรนด์ธุรกิจอาหาร การเกษตร และผู้ก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ อาสาสมัครทำงานให้กับ “โครงการหลวง” เพื่อทำให้อาหารและผลผลิตจากโครงการ ฯ เข้าถึงคนรุ่นใหม่และคนหนุ่มสาว เป็นเจ้าของสโลแกน  “จาก Local สู่เลอค่า” ได้รับ  13 รางวัล จากการส่งหนังสือเกี่ยวกับอาหารเข้าแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ  หลากหลายสาขา เช่น Local, Innovative, Design, Corporate, People Cuisine, Healthy และ Tourism
ทุกความเปลี่ยนแปลงล้วนมีความหมายและมีคุณค่าในสิ่ง ๆ นั้น การเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยยังคงเกิดึ้นในหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านสถาปัตยกรรม เช่น วัดวาอาราม โบราณสถาน หรือแม้กระทั่งบ้านเรือน ซึ่งสะท้อนเรื่องการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน จากบ้านที่ทำด้วยไม้ไผ่ซี่ มุงหลังคาด้วยจาก สู่บ้านเรือนไทยหลังใหญ่โตของข้าราชบริพาน จนเข้าสู่การนำสถาปัตยกรรมจากชาติตะวันตกมาใช้จนถึงปัจจุบัน กับผู้รอบรู้ในเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ
สมุนไพร คือบริวารแห่งป่า ยาสามัญประจำบ้านที่อยู่คู่ผู้คนมาทุกยุคทุกสมัย ตลอดจนความสำคัญของแพทย์หลวงในราชสำนัก การมาของหมอจีนกับหมอฝรั่ง และ ยาสมุนไพรที่อยู่คู่คนไทยกับยาฝรั่งที่เป็นยารักษาโรคสมัยใหม่ รวมถึงเรื่องราวของการทำคลอดของคนไทยที่อาศัยหมอตำแย กับความแตกต่างการคลอดกับแพทย์สมัยใหม่จากตะวันตก เรียนรู้ประวัติและวิวัฒนาการทางการแพทย์ไปพร้อมกัน กับผู้รอบรู้ในเรื่องนี้ ศ.ดร.ภก.ชยันต์ พิเชียรสุนทร 
การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอาหารไทยโบราณในปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สามารถศึกษาผ่านวรรณคดีของไทย เช่น ขุนช้างขุนแผน หรือ กาพย์เห่ชมเครื่องคราวหวาน ที่ประพันธ์ผ่านตัวอักษรในรูปของบทเสภาโครงฉันท์กาพย์กลอน ซึ่งมีทั้งชาวบ้านและชาววัง อาหารยามสงบและสงคราม ก็ศึกษาได้ผ่านปาจิตกุมาร อ่านวรรณคดีไทยยุคหลังกรุงศรีอยุธยาหลายเรื่องรวมกัน ไม่ต่างอะไรกับนามานุกรมอาหารไทยเลย กับราชบัณฑิตผู้รอบรอบในเรื่องนี้ ศ. สุกัญญา สุจฉายา พร้อมด้วยการขับเสภาและทำนองเสนาะจาก อ.วัฒนะ บุญจับ และ ดร.เทวี บุญจับ 
“ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” นี่คือสำนวนที่สะท้อนถึงแฟชั่น การแต่งกาย เสื้อผ้าหน้าผม ที่สืบเนื่องจากยุคสมัยเก่าก่อนกาลสู่ปัจจุบัน เรื่องราวของผ้าไทย ทุกผืนผ้า ทุกรอยต่อ ทุกการถักทอ ล้วนแฝงเรื่องราวไว้นานัปการ ตลอดจนทรงผม เครื่องนุ่ง เครื่องห่ม ความงามภายนอกเหล่านี้ เมื่อศึกษาอย่างละเอียดจากหัวจรดเท้า ย่อมแฝงความนัยคือเรื่องราวในอดีตได้เป็นอย่างดี กับราชบัณฑิตผู้รอบรู้ในเรื่องนี้ ศ. เกียรติคุณ สุรพล วิรุฬห์รักษ์
จากภัณฑารักษ์มาสู่งานออกแบบอาหาร (food stylist ) และนักประวัติศาสตร์อาหาร ทำไมเขาถึงหลงใหลในเสน่ห์ของอาหารไทยโบราณโดยเฉพาะอาหารชาววัง ในอาหารหนึ่งจาน ไม่เพียงแค่ทำให้อิ่มท้อง แต่ยังต้องทำให้งามน่าชม แล้วยังมีเรื่องราวที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง รวมทั้งการทำหน้าที่บันทึกประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาหนึ่งของอดีตไว้ด้วย 
เชฟบุ๊ค-บุญสมิทธิ์ จากรายการ food work  ท่องเที่ยวไปทั่วไทยเพื่อชิมอาหารท้องถิ่น เสน่ห์อาหารไทยอยู่ตรงไหน และมีความแหวกแนว โดดเด่นไม่ซ้ำใครอย่างไร  ชวนฟังเชฟบุ๊คส์เล่าเรื่องอาหารแปลก ๆแล้ว เชื่อเถอะว่าคุณจะอยากตามรอยสถานที่ที่เชฟบุ๊คไปเที่ยว เพื่อได้ชิมอาหารเหล่านั้นสักครั้งในชีวิต
ว่าด้วยจุดเริ่มต้นของบทประพันธ์ “ปลายจวัก” กว่าจะเป็นละครพีเรียดที่เต็มอิ่มด้วยรสรัก เต็มอิ่มด้วยรสล้ำจากอาหารไทยหลากหลายเมนู อะไรคือแรงบันดาลใจให้คุณสรรัตน์ สร้างสรรค์บทประพันธ์เรื่องนี้ ทำไมต้องเป็นเรื่องราวของอาหาร ทำไมต้องเป็นสมัยรัชกาลที่ 5 ความตั้งใจตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้ปลายจวักเป็นละครพีเรียดที่ละเมียดละไมในทุกกระบวนการ และนี่คือจุดเริ่มต้นของละครเรื่องนี้
Comments 
loading
Download from Google Play
Download from App Store