Discoverเรื่องเล่าจากแดนจิงโจ้ (Australia: The Land Down Under)
เรื่องเล่าจากแดนจิงโจ้ (Australia: The Land Down Under)
Claim Ownership

เรื่องเล่าจากแดนจิงโจ้ (Australia: The Land Down Under)

Author: Book Chieocharnpraphan

Subscribed: 1Played: 13
Share

Description

รายการที่บอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจและประสบการณ์การใช้ชีวิตในประเทศออสเตรเลีย
30 Episodes
Reverse
เรื่องเล่าจากแดนจิงโจ้ Ep.30 APEC ในความทรงจำ บอกเล่าเรื่องราวและเหตุการณ์สำคัญของการประชุม APEC ในอดีต โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับออสเตรเลีย ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มและเสนอการก่อตั้ง APEC เมื่อปี ค.ศ. 1939 หรือ พ.ศ. 2532 ทั้งประเด็นดราม่าที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) ระหว่างออสเตรเลียกับมาเลเซีย การประชุมเอเปกเมื่อปี ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) ที่เชื่อมโยงไปยังนโยบายต่างประเทศของออสเตรเลีย รวมทั้งประเด็นด้านความมั่นคงที่สอดแทรกอยู่ในเนื้อหาของการประชุมเอเปกหลายครั้ง #APEC #APEC2022 #APECinmyMemories #Australia #เรื่องเล่าจากแดนจิงโจ้
สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 (Queen Elizabeth II) ทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ (Head of State) ของออสเตรเลียเป็นเวลายาวนานกว่า 70 ปี และทรงเป็นประมุขของสหราชอาณาจักรพระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนออสเตรเลียตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2470) เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของออสเตรเลียกล่าวคำสาบานตนหรือคำปฏิญาณเข้ารับตำแหน่ง จะต้องกล่าวว่า จะซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 รัชทายาท และผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ตามกฎหมายเสมอ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 สวรรคต เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ฟิลลิป อาร์เธอร์ จอร์จ (Charles Philip Arthur George) เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อมาเป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 (King Charles III) พระองค์ย่อมทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของออสเตรเลียต่อจากพระราชมารดาด้วย โดยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งเครือรัฐออสเตรเลีย (Governor-General of the Commonwealth of Australia) ท่านปัจจุบัน คือ พลเอก เดวิด เฮอร์ลีย์ (The Honourable General David Hurley AC DSC (Rtd)) ได้อ่านคำประกาศหน้าอาคารรัฐสภา (Australian Parliament House) ว่า พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ของออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกเครือจักรภพจะยอมรับนับถือพระมหากษัตริย์ของสหราชอาณาจักรเป็นประมุข ในบรรดาสมาชิกอื่นที่ไม่ใช่สหราชอาณาจักรจำนวน 55 ประเทศ มีเพียง 14 ประเทศเท่านั้น ที่ยอมรับนับถือพระมหากษัตริย์ของสหราชอาณาจักรเป็นประมุขของตนด้วย นอกเหนือจากออสเตรเลียก็ยังมี นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ตูวาลู แคนาดา และประเทศที่เป็นเกาะในทะเลแคริเบียน ประกอบด้วย แอนติกาและบาร์บูดา บาฮามาส เบลิส เกรนาดา จาไมกา เซนต์ลูเซีย สหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิส รวมทั้งเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ประเทศอื่น ๆ เช่น สิงคโปร์ แม้จะเป็นสมาชิกเครือจักรภพ แต่ก็มีประมุขแห่งรัฐของตนเอง คือ ประธานาธิบดี มาเลเซีย ก็มีประมุขแห่งรัฐ คือ สมเด็จพระราชาธิบดี หรือที่ภาษามาเลเซีย เรียกว่า Yang di-Pertuan Agong เป็นต้น ส่วนประเด็นที่ว่า ในอนาคต ออสเตรเลียจะเปลี่ยนประมุขแห่งรัฐจากพระมหากษัตริย์ของ สหราชอาณาจักรไปเป็นประธานาธิบดีหรือไม่นั้น ส่วนตัวคิดว่า เกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และต้องมีการออกเสียงประชามติ โดยใช้เกณฑ์เสียงข้างมากสองระดับ (Double Majority) ในปี ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) เคยมีการลงประชามติเรื่องนี้ และแพ้ไปด้วยคะแนน 45.13 ต่อ 54.87% แม้คะแนนจะดูสูสีใกล้เคียงกัน แต่เมื่อไปพิจารณารายมลรัฐ จะพบว่า แพ้ทั้ง 6 มลรัฐ อีกทั้งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ยังประกาศชัดเจนแล้วว่า ในสมัยแรกของรัฐบาลพรรคแรงงาน หรือ Australian Labor Party จะไม่ผลักดันให้มีการลงประชามติในเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด และเมื่อถึงการเลือกตั้งสมัยหน้า ในปี ค.ศ. 2025 ถ้าพันธมิตรที่นำโดยพรรคเสรีนิยม หรือ Liberal Party of Australia ชนะการเลือกตั้ง ก็เท่ากับปิดประตูตายเรื่องนี้ไปได้เลย #queenelizabeth #queenelizabethii #australia #commonwealth #เรื่องเล่าจากแดนจิงโจ้ #Australiathelanddownunder
ออสเตรเลียแก้ไขกฎหมายการสมรสกำหนดนิยามว่า การสมรส คือ การสมัครใจที่จะใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างผู้ชายคนหนึ่งกับผู้หญิงคนหนึ่งเท่านั้น ส่งผลให้เพศเดียวกันไม่สามารถสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย 13 ปีผ่านไป หลังการต่อสู้เรียกร้องที่ยาวนาน ในที่สุด รัฐบาลตัดสินใจให้มีการสำรวจความเห็นของประชาชนผ่านทางไปรษณีย์ พบว่า ร้อยละ 61.6 สนับสนุนการแต่งงานของเพศเดียวกัน ขณะที่ร้อยละ 38.4 คัดค้าน แต่ในการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการแต่งงานนั้น รัฐสภาออสเตรเลียได้เพิ่มเติมบทบัญญัติคุ้มครองนักพรต นักบวช หรือผู้ประกอบพิธีทางศาสนา มีสิทธิปฏิเสธไม่ทำพิธีสมรสให้คู่รักเพศเดียวกันได้ถ้าการสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกันขัดกับหลักความเชื่อทางศาสนาของตน นี่คือ การประนีประนอมระหว่างเสียงข้างมากและเสียงข้างน้อยในสังคมประชาธิปไตยที่เจริญแล้ว ทุกคนต่างรู้สึกว่า ตัวเองได้บางสิ่งบางอย่างที่ต้องการ และไม่ได้ถูกบังคับให้เปลี่ยนความเชื่อหรือศรัทธาของตัวเองไปมากนัก ถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียมที่แท้จริงได้แล้วครับ เพราะความรักหรือการแต่งงานไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบเผ่าพันธุ์มนุษย์อย่างเดียว #pridemonth #สมรสเท่าเทียม #samesexmarriage #marriageequality #rainboweconomy #softpower #loveislove #LGBTQ+
ออสเตรเลียมีการรณรงค์ให้ยกเลิกการเก็บภาษีผ้าอนามัยอัตรา 10% และประสบความสำเร็จเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) นอกจากนี้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) รัฐบาลจะแจกผ้าอนามัยฟรีให้แก่นักเรียนหญิงในโรงเรียนรัฐบาลเดือนมิถุนายนนี้เป็นต้นไปครับ ดังนั้น การที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครท่านใหม่ อาจารย์ชัชชาติมีนโยบายแจกผ้าอนามัยฟรีให้นักเรียนหญิงในโรงเรียน กทม. จึงสมควรได้รับการสนับสนุนอย่างยิ่ง ขณะเดียวกัน รัฐบาลกลางก็ควรพิจารณายกเลิกการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผ้าอนามัย รวมทั้งขยายการแจกผ้าอนามัยฟรีไปทั่วประเทศโดยอาจเริ่มต้นจากผู้มีรายได้น้อยหรือกลุ่มเปราะบางก่อนก็ได้ครับ
บอกเล่าประสบการณ์ที่น่าประทับใจจากการติดตามเพื่อนชาวออสเตรเลียไปเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 2013 (พ.ศ. 2556) ข้อค้นพบคือ ระบบการเมืองโดยเฉพาะการเลือกตั้งของออสเตรเลียตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ (Trust) ระหว่างรัฐกับประชาชนอย่างแท้จริง #การเมืองออสเตรเลีย #AustralianPolitics #การเลือกตั้ง #PreferentialVotingSystem #Trust
ระบบจัดลำดับความชอบ (Preferential Voting System) ผู้ชนะการเลือกตั้งแต่ละเขตต้องได้คะแนนเกิน 50% ของจำนวนบัตรดีในเขตเลือกตั้งนั้น ซึ่งในหลายกรณีอาจต้องนับคะแนนหลายรอบกว่าจะได้ผู้ชนะ และมีโอกาสเป็นไปได้ที่ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดจากการนับในครั้งแรกจะแพ้การเลือกตั้งในท้ายที่สุด รายละเอียดเชิญติดตามรับชมได้เลยครับ
ระบบเลือกตั้ง ส.ส. ของออสเตรเลียคือ ระบบ Preferential Voting System ภาษาไทยแปลว่า จัดลำดับความชอบ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องเขียนหมายเลข 1 ในกล่องหน้าชื่อผู้สมัครที่ตัวเองชอบที่สุดหรืออยากให้ ส.ส. มากที่สุดแล้วไล่ลงไปเรื่อย ๆ จนถึงหมายเลขสุดตามจำนวนผู้สมัครในเขตนั้น ข้อดีประการหนึ่งของระบบนี้ คือ ช่วยให้เกิดความโปร่งใสว่า พรรคการเมืองไหนอยู่ฝั่งเดียวกันบ้าง เพราะพรรคการเมืองออสเตรเลียจะออก How to Vote card แนะนำประชาชนว่า ควรเรียงลำดับผู้สมัครอย่างไร แต่จะนำมาใช้กับประเทศไทยได้หรือไม่ ยังมีข้อกังวลเนื่องจากผู้สมัคร ส.ส. เขตของไทยมีจำนวนมากในแต่ละเขตครับ #เรื่องเล่าจากแดนจิงโจ้ #Australiathelanddownunder #การเมืองออสเตรเลีย #จัดลำดับความชอบ #preferentialvotingsystem
Ep.22 [การเมือง] ไม่มีทางลัดสำหรับนักการเมืองออสเตรเลีย รัฐธรรมนูญออสเตรเลียกำหนดให้รัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีต้องมีที่นั่งในรัฐสภา จะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ หมายความว่า รัฐธรรมนูญออสเตรเลียห้ามแต่งตั้งคนนอกหรือผู้เป็นรัฐมนตรีโดยเด็ดขาด ดังนั้น ถ้านักการเมืองออสเตรเลียมีความใฝ่ฝันอยากเป็นรัฐมนตรี จึงไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากต้องไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตใดเขตหนึ่ง และเจริญก้าวหน้าทางการเมืองตามลำดับขั้นตอนเท่านั้น ไม่มีทางลัดหรือทางด่วนใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่า จะยิ่งใหญ่หรือมีอิทธิพลมามากขนาดไหนก็ตาม แต่เมื่อย้อนกลับมาพิจารณารัฐธรรมนูญของประเทศไทยเกือบทุกฉบับ อย่างน้อยก็ตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เป็นต้นมา แม้ว่า จะสร้างทางลัดสำหรับการเข้าสู่เส้นทางการเมือง คือ การมี ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อแล้ว ก็ยังอนุญาตให้มีการแต่งตั้งคนนอกเป็นรัฐมนตรีได้อยู่ตลอดเวลา นายทุนทั้งหลายจึงสามารถแต่งตัวสวยหล่ออยู่ที่บ้าน รอเทียบเชิญเป็นรัฐมนตรีได้โดยไม่ต้องลงเลือกตั้งใด ๆ และไม่ต้องผ่านกระบวนการคัดสรรและตรวจสอบโดยพี่น้องประชาชน นี่คือ ทางด่วนสำหรับการเข้าสู่ตำแหน่งฝ่ายบริหารของประเทศไทย ที่จำเป็นต้องยกเลิกในอนาคตถ้าเราอยากจะสร้างรัฐธรรมนูญที่เป็นธรรมและเป็นประชาธิปไตย ถ้าจะประนีประนอมกัน อย่างน้อย ก็ขอให้มีบทบัญญัติกำหนดให้แต่งตั้งรัฐมนตรีจาก ส.ส. หรือผู้สมัครส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งก็ได้ อย่างน้อยประชาชนก็ได้เห็นรายชื่อผู้มีโอกาสเป็นรัฐมนตรีในอนาคตครับ #เรื่องเล่าจากแดนจิงโจ้ #Australiathelanddownunder #รัฐมนตรีคนนอก #Australianpolitics #MinistersToSitInParliament #รัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น 
ออสเตรเลียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา เช่นเดียวกับประเทศไทย รัฐธรรมนูญและกฎหมายทุกฉบับของออสเตรเลียไม่มีแม้แต่ตัวอักษรเดียวที่กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด 3 ท่านแรก ดำรงตำแหน่งยาวนานเกินกว่า 8 ปีทั้งสิ้น นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในออสเตรเลียดำรงตำแหน่งถึง 18 ปี 167 วัน ชนะการเลือกตั้ง 7 ครั้ง แต่ในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ออสเตรเลียมีนายกรัฐมนตรีถึง 7 ท่าน บางท่านพ้นจากตำแหน่งเพราะการเลือกตั้ง และตัวเองสอบตก บางท่านพ้นจากตำแหน่งเพราะพรรคการเมืองของตัวเองไม่ไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งอีกต่อไป ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ระบบรัฐสภานั้น มีระบบการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีได้ง่ายอยู่แล้ว ดังนั้น การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีไว้เพียง 8 ปี จึงเป็นสิ่งแปลกปลอมของระบบนี้ ดังนั้น ถ้าเรามองข้ามตัวบุคคลไป ในอนาคต ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในมาตรานี้ ใครก็ตามที่มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตราบใดที่ยังได้รับความไว้วางใจจากประชาชนและสภาผู้แทนราษฎร ก็สมควรได้ดำรงตำแหน่งต่อไปครับ #เรื่องเล่าจากแดนจิงโจ้ #นายกรัฐมนตรี #วาระการดำรงตำแหน่ง #8ปี #AustraliaTheLandDownUnder #ระบบรัฐสภา #ParliamentarySystem
อาณานิคม South Australia เป็นดินแดนแห่งแรกของโลกที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรได้ในปี ค.ศ. 1894 และออสเตรเลียเป็นประเทศเอกราชประเทศแรกของโลกที่ให้โอกาสผู้มีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเต็มที่ในปี ค.ศ. 1902 แม้จะจำกัดอยู่เฉพาะผู้หญิงผิวขาวก็ตาม คลิปนี้พาไปแนะนำผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสำคัญของประเทศออสเตรเลียครับ #การเมือง #ระบบรัฐสภา #เรื่องเล่าจากแดนจิงโจ้ #Australiathelanddownunder #WomenInPolitics #WomenSuffrage
ออสเตรเลียมีพรรคการเมืองใหญ่ 2 ขั้วที่สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นมาเป็นรัฐบาล ขั้วหนึ่ง คือ พรรคแรงงาน หรือ Australian Labor Party ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดและมีสมาชิกกว้างขวางที่สุดของออสเตรเลีย อีกขั้วหนึ่งเรียกว่า The Coalition ประกอบด้วยพรรคการเมือง 4 พรรคที่จับมือกันเหนียวแน่นทั้งยามเป็นรัฐบาลและฝ่ายค้าน คือ Liberal, Nationals, Liberal-National ที่รัฐควีนส์แลนด์ และ Country Liberal ที่ Northern Territory รวมทั้งยังมีพรรคการเมืองขนาดเล็ก เช่น Australian Greens, Centre Alliance, Pauline Hanson's One Nation แม้แต่พรรคของผู้ก่อตั้ง Wikileaks ก็เคยมีมาแล้ว (แม้จะถูกยุบไปแล้วก็ตาม) แต่ละขั้วมีลักษณะเด่นอย่างไร รับฟังได้จากคลิปนี้ครับ #การเมือง #ระบบรัฐสภา #เรื่องเล่าจากแดนจิงโจ้ #Australiathelanddownunder #AustralianLaborParty #ALP #TheCoalition #Liberal #Nationals #LiberalNationalParty #LNP #CountryLiberalParty #AustralianFederalElection #ScottMorrison #AnthonyAlbanese
ออสเตรเลียจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ คลิปนี้จึงนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบบรัฐสภาของประเทศออสเตรเลียที่อาจจะแตกต่างจากประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ที่ปกครองด้วยระบบรัฐสภา เช่น กลไกที่เปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีแนะนำให้ผู้สำเร็จราชการยุบสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพร้อมกันได้เรียกว่า double dissolution  หรือการที่ออสเตรเลียไม่เคยมีปัญหา ส.ส. ส.ว. เสียบบัตรแทนกันเพราะการลงคะแนนใช้วิธีที่แสนจะธรรมดามาก ๆ ติดตามรับชมรับฟังกันได้เลยครับ #การเมือง #ระบบรัฐสภา #เรื่องเล่าจากแดนจิงโจ้ #Australiathelanddownunder
รับฟังสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษของผมพร้อมคำแปลในการแข่งขันรายการ Three-Minute Thesis Competition เมื่อปี ค.ศ. 2013 หรือ พ.ศ. 2556 บอกเล่าเรื่องราวหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับออสเตรเลียภายใน 3 นาทีครับ Listen to my speech in the Three-Minute Thesis Competion 2013 about Australia-Thailand strategic partnership #เรื่องเล่าจากแดนจิงโจ้ #Australiathelanddownunder #Threeminutethesiscompetition #หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ #strategicpartnership #AustraliaThailandrelations
เรื่องเล่าจากแดนจิงโจ้ Ep. 17 ไปเรียนต่อออสเตรเลียแล้วได้อะไร? ทักษะทางวิชาการของผมที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมากจากการศึกษาต่อในประเทศออสเตรเลีย คือ Conceptual Thinking ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ แปลเป็นภาษาไทยว่า การคิดเชิงมโนทัศน์ ช่วยให้สามารถจับประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ หรือ "แก่น" ของเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน รวมทั้งมีการกำหนดเป้าหมายในการสื่อสารที่ชัดเจนเสมอ กิจกรรมหนึ่งที่ช่วยฝึกฝนทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์ได้เป็นอย่างดีคือ Three-Minute Thesis Competition นำเสนองานวิจัยภายให้ผู้คนทั่วไปได้เข้าใจภายใน 3 นาที #เรียนต่อออสเตรเลีย #ConceptualThinking #การคิดเชิงมโนทัศน์ #Three-MinuteThesisCompetition #เรื่องเล่าจากแดนจิงโจ้ #Australia-TheLandDownUnder #ANU #UniversityofCanberra 
เป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่า การแข่งขันเทนนิสรายการ Australian Open ในปีนี้ (ค.ศ. 2022) ไม่มีนักเทนนิสชายเดี่ยวมือวางอันดับหนึ่งของโลก โนวัค ยอโควิช (Novak Djokovic) เข้าร่วมชิงชัยและป้องกันแชมป์ โดย ยอโควิช ถูกรัฐบาลออสเตรเลียยกเลิกวีซ่า และถูกเนรเทศออกนอกประเทศไปเรียบร้อยแล้ว มาฟังกันครับว่า ที่มาที่ไปของเรื่องนี้เป็นอย่างไร และเหตุการณ์นี้สะท้อนภาพความขัดแย้งทางการเมืองภายในของออสเตรเลียอย่างไรบ้าง #Australia #เรื่องเล่าจากแดนจิงโจ้ #AustralianOpen #NovakDjokovic #COVID19 #vaccine #immigration #border #federalstate
ในโอกาสที่ออสเตรเลียจะเปิดประเทศรับนักศึกษาต่างชาติอีกครั้ง ข้อมูลที่เราควรทราบ คือ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในออสเตรเลียจะเปิดรับนักศึกษาสองช่วง เรียกว่า มี two intakes คือ เราจะไปเรียนในช่วงต้นปี ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งถือเป็นภาคเรียนที่หนึ่ง หรือจะไปเรียนช่วงกลางปี ประมาณเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม ซึ่งถือเป็นภาคเรียนที่สองก็ได้ สำหรับเมืองที่อยู่ทางใต้ของประเทศออสเตรเลีย ตั้งแต่นครซิดนีย์ (Sydney) เมลเบิร์น (Melbourne) เพิร์ธ (Perth) อะเดอเลด (Adelaide) กรุงเแคนเบอร์รา (Canberra) โฮบาร์ต (Hobart) ถ้าเราไปช่วงต้นปี จะไปเจออากาศร้อนแห้ง ที่แผดเผาอย่างรุนแรง แต่ร่างกายจะมีโอกาสปรับตัวไปพร้อมกับอากาศที่เย็นลงเรื่อย ๆ จนหนาวที่สุดในช่วงกลางปีในเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม หนาวที่สุดที่ผมเคยเจอคือ -7 องศาเซลเซียสในกรุงแคนเบอร์ราและสนามหญ้าทั้งเมืองมีน้ำแข็งปกคลุมหมด แต่ถ้าไปช่วงกลางปี ก็อาจจะไปเจออุณหภูมิเลขตัวเดียวทันที แม้จะไม่เจอความร้อนแห้งที่ทรมาน แต่มีความเสี่ยงว่า ร่างกายอาจปรับตัวไม่ทันและเจ็บป่วย อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเดินทางไปช่วงเวลาใด ควรพิจารณานำกระติกน้ำเก็บอุณหภูมิหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า vacuum flask ไปด้วยหรือจะไปซื้อที่ห้างสรรพสินค้าในออสเตรเลียก็ได้ เพราะถ้าขาดอุปกรณ์ชิ้นนี้ไป ในฤดูร้อน โค้กที่ท่านซื้อจะกลายเป็นโค้กอุ่นอย่างรวดเร็ว และไม่ช่วยให้ท่านสดชื่นขึ้นได้เลย  #MitrMate #Australia #AustraliatheLandDownUnder #Climate #VacuumFlask #Intakes #University #StudyAbroad #InternationalStudents
แม้ว่าออสเตรเลียจะมีภาพลักษณ์เป็นผู้ช่วยของสหรัฐอเมริกาในการดำเนินนโยบายต่างประเทศมาโดยตลอด ภาพลักษณ์นี้ยิ่งถูกตอกย้ำมากขึ้นเมื่อออสเตรเลียประกาศข้อตกลง AUKUS ร่วมกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเพื่อต่อต้านอิทธิพลของจีน แต่เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์การทูตและการต่างประเทศออสเตรเลียในยุคร่วมสมัยจะพบว่า มีหลายช่วงเวลาที่ออสเตรเลียดำเนินนโยบายต่างประเทศที่สวนทางกับสหรัฐอเมริกาตั้งแต่สมัยนายกรัฐมนตรี Bob Hawke, Paul Keating และ John Howard ในช่วงทศวรรษ 1980 จนถึง ทศวรรษ 2000 เช่น การประกาศสนับสนุน ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก (WTO) แทนที่จะสนับสนุน ไมค์ มัวร์ จากประเทศนิวซีแลนด์ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา เป็นต้น นอกจากนี้ นักวิชาการชาวออสเตรเลีย Professor Hugh White ยังเสนอกลไก Concert of Asia เพื่อให้สหรัฐอเมริกายอมแบ่งปันอำนาจ (Power Sharing) กับจีนในภูมิอินโด-แปซิฟิก โดยไม่ต้องการเลือกข้างในกรณีที่ทั้งสองประเทศเกิดความขัดแย้งกันอีกด้วย ท่านที่สนใจรับฟังเรื่องราวของประเทศออสเตรเลียอย่างต่อเนื่องความยาว 3 ชั่วโมง สามารถรับฟังการให้สัมภาษณ์ของผมได้ในรายการปกิณกะการต่างประเทศออสเตรเลีย ทาง Facebook ของศูนย์ศึกษาการต่างประเทศ (International Studies Center) ได้ที่ link นี้ครับ https://bit.ly/3pHW5d0 ขอบคุณครับ
ออสเตรเลียเปลี่ยนเนื้อร้องเพลงชาติ Advance Australia Fair 1 คำ จาก For we are young and free เป็น For we are one and free ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นมา เพื่อสร้างความปรองดองสมานฉันท์ และยอมรับการดำรงอยู่ของชนพื้นเมืองออสเตรเลียหรือที่เรียกว่า Aborigines ตลอดระยะเวลากว่า 6 หมื่นปีที่ผ่านมา ออสเตรเลียอาจเป็นประเทศเกิดใหม่ แต่ผู้คนในดินแดนแห่งนี้ได้ดำรงคงอยู่มาตลอดเวลาอันยาวนานของประวัติศาสตร์แห่งมวลมนุษยชาติ
นำเสนอประเด็นของผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านข้อตกลง AUKUS ในประเทศออสเตรเลีย ผู้สนับสนุนเสนอว่า ออสเตรเลียจำเป็นต้องสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์เพื่อป้องปรามจีน ไม่ให้ก้าวร้าว รุนแรงไปมากกว่านี้ และบีบบังคับให้จีนหันมาใช้วิถีทางการทูตในการแก้ไขความขัดแย้งมากขึ้น ส่วนผู้คัดค้านแสดงความห่วงใยว่า การประกาศเลือกข้างสหรัฐฯ จะลดทอนทางเลือกทางยุทธศาสตร์ของออสเตรเลียลงอย่างเห็นได้ชัด ถ้าสหรัฐฯ ปะทะหรือแม้แต่ไปไกลถึงทำสงครามกับจีน ออสเตรเลียจะถูกลากเข้าไปในความขัดแย้งหรือต่อสู้ในสงครามของคนอื่น และโอกาสชนะก็มีน้อยมาก ๆ ด้วยครับ Professor Hugh White เสนอว่า ออสเตรเลียควรสนับสนุนสร้าง Concert of Asia มากกว่า เดี๋ยวไว้ในคลิปหน้าจะมาเล่ารายละเอียดของ Concert of Asia ให้ฟังกันต่อไปครับ
ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ประกาศข้อตลง AUKUS เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา โดยสหรัฐอเมริกาและอังกฤษจะสนับสนุนให้ออสเตรเลียสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ หรือที่เรียกกันว่า จำนวน 8 ลำที่คาดว่าจะใช้งานได้ในปี ค.ศ. 2040 (พ.ศ. 2583) เรามาดูกันว่า เรือดำน้ำมีประโยชน์ทางยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศออสเตรเลียอย่างไรและคำอธิบายที่ใช้ภาษาทางการทูตถึงเหตุผลความจำเป็นในการร่วมมือกันสร้างเรือดำน้ำนิวเคลียร์ให้ออสเตรเลียเป็นอย่างไรบ้าง อีกทั้ง การที่ผู้นำฝ่ายค้านของออสเตรเลียประกาศสนับสนุนข้อตกลง AUKUS นั้น มีนัยและข้อดีข้อเสียอย่างไร
loading
Comments 
Download from Google Play
Download from App Store