Discover8 Minute History
8 Minute History
Claim Ownership

8 Minute History

Author: THE STANDARD

Subscribed: 4,739Played: 57,627
Share

Description

พอดแคสต์สำหรับคนที่ชื่นชอบเรื่องราวประวัติศาสตร์ในทุกมุมโลก เราจะพาไปเรียนรู้เรื่องราวในอดีตภายใน 8 นาที เพื่อถอดบทเรียนว่าเราจะสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้างจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
301 Episodes
Reverse
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/dCjer5390n0 8 Minute History เอพิโสดนี้ พาไปเจาะลึกเวียดนามในยุคสงครามเย็น ซึ่งสหรัฐอเมริกาเริ่มเข้ามามีบทบาทในเวียดนามใต้ เป้าหมายหลักคือ การจำกัดอิทธิพลคอมมิวนิสต์ที่มีฐานอยู่ในเวียดนามเหนือและมีจีนคอยหนุนหลัง ก่อนจะกลายเป็นชนวนสำคัญของสงครามครั้งใหม่ที่ยืดเยื้อไปอีกนับสิบปี
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด youtu.be/xrlD5BeIAgk 8 Minute History เอพิโสดนี้ พาไปเจาะลึกสถานการณ์ของเวียดนามหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งแต่การต่อรองกับฝรั่งเศสในการปกครองเวียดนามเหนือ-ใต้ การร่วมเป็นพันธมิตรกับจีนในยุคเหมาเจ๋อตง จนนำไปสู่จุดพีคในสมรภูมิเดียนเบียนฟู ซึ่งฝรั่งเศสตัดสินใจยกธงขาวในที่สุด
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/6aBiFjcE7Y4 8 Minute History ประเดิมซีรีส์ใหม่ 5 ตอนรวด ว่าด้วยชะตากรรมของ ‘เวียดนาม’ ช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ต้องรับมือกับเจ้าอาณานิคมทั้งฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ทำให้ประเทศบอบช้ำจากไฟสงครามร่วมสามทศวรรษ เริ่มเอพิโสดแรกด้วยการย้อนบริบทของเวียดนามในยุคที่ฝรั่งเศสเริ่มเข้ามาล่าอาณานิคมในเอเชียอาคเนย์ อิทธิพลของญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ไปจนถึงเส้นทางชีวิตและแผนกอบกู้ชาติของโฮจิมินห์
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด youtu.be/4zlM20Y9P1M 8 Minute History พาย้อนประวัติศาสตร์การค้นหาและผลิตพลังงานบนน่านน้ำของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา ไม่นานนี้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นประเด็นอีกครั้ง เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าเต็มไปด้วยแหล่งก๊าซธรรมชาติ ทว่ายังไม่มีฝ่ายใดลงมือสำรวจและนำมาใช้ประโยชน์ได้ เพราะการเจรจายืดเยื้อมาหลายสิบปีโดยยังไม่มีข้อสรุป  ทางออกของปัญหานี้มีอะไรบ้าง และแนวทางความร่วมมือที่เคยประสบความสำเร็จในอดีตเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ เดินทางมาถึงตอนจบของมหากาพย์แก๊งค้ายาโคลอมเบีย  หลังจากประธานาธิบดีคนใหม่ชนะการเลือกตั้งในปี 1990 พันธกิจสำคัญของรัฐบาลโคลอมเบียคือการไล่ล่าตัวเอสโกบาร์มาดำเนินคดีให้ได้ ซึ่งสุดท้ายพวกเขาก็ทำสำเร็จด้วยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งจากกลุ่มเครือญาติของผู้ที่ถูกเอสโกบาร์สังหาร กลุ่มปฏิบัติการ Search Bloc รวมถึงไส้ศึกที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งกันเองภายในกลุ่มเมเดยิน
8 Minute History เอพิโสดนี้ ว่าด้วยเรื่องราวของโคลอมเบีย ในยุคที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของแก๊งมาเฟียยักษ์ใหญ่ นำโดย Pablo Escobar ที่เหิมเกริมถึงขั้นไล่เก็บกวาดศัตรูทางการเมืองอย่างอุกอาจคนแล้วคนเล่า ตั้งแต่นักการเมืองคู่แข่ง เจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง ไปจนถึงสื่อมวลชน จนทำให้โคลอมเบียตกอยู่ในสภาวะ ‘รัฐล้มเหลว’
8 Minute History ยังอยู่กันที่เรื่องราวของสงครามยาเสพติดในอเมริกา โดยเอพิโสดนี้จะโฟกัสไปที่การขยายอิทธิพลของแก๊ง Medellin และ Pablo Escobar ตั้งต้นจากแก๊งค้ายาในโคลอมเบีย ลามไปสู่การเป็นองค์กรอาชญากรรมที่ไม่เกรงกลัวใคร โดยหนึ่งในหมากสำคัญคือการที่ Pablo Escobar ตัดสินใจลงเล่นการเมือง พร้อมสั่งสมฐานเสียงจากการสร้างภาพลักษณ์ ‘โรบินฮู้ด’ ที่ต่อสู้เพื่อคนทุกข์ยาก
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนมหากาพย์สงครามยาเสพติดในอเมริกา ซึ่งกินเวลายาวนานกว่าสามทศวรรษ ตั้งต้นจากช่วงปลายทศวรรษ 1960 ที่วัฒนธรรมฮิปปี้เบ่งบาน ประกอบกับผลพวงจากสงครามเวียดนาม ซึ่งทหารจำนวนมากเลือกใช้ยาเสพติดในการผ่อนคลายความเครียด  หมุดหมายสำคัญคือการประกาศ War on Drugs ในยุคประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เพื่อต่อกรกับกลุ่มผู้ผลิตและค้ายาในอเมริกาใต้ โดยเฉพาะ ปาโบล เอสโกบาร์ ราชายาเสพติดผู้ร่ำรวยที่สุดในประวัติศาสตร์โลก
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนประวัติศาสตร์อิตาลีในแง่มุมของ Soft Power ซึ่งประกอบไปด้วย 4 อุตสาหกรรมหลัก คือ แฟชั่น, อาหาร, เฟอร์นิเจอร์ และยานยนต์ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่คนทั่วไปอาจไม่คุ้นเคยนักคือ กลุ่มของเฟอร์นิเจอร์ระดับลักชัวรี ซึ่งหลายแบรนด์มีประวัติศาสตร์ยาวนานไม่ต่ำกว่าร้อยปี  เริ่มต้นจากงานฝีมือ สู่ยุคเฟื่องฟูของอุตสาหกรรมอิตาลี หน้าตาของแบรนด์และผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีอะไรบ้าง คุณค่าและความแตกต่างแบบอิตาลีคืออะไร แล้วมันส่งอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมด้าน Home and Living ทั่วโลกในปัจจุบันอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
พูดถึงประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น หนึ่งในกรอบเวลาที่ควรค่าแก่การศึกษาคือช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ถึงต้นศตวรรษที่ 17 ซึ่งญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนผ่านจากยุคเซนโกคุไปสู่ยุคโชกุน โดยมีหมุดหมายสำคัญคือการเดินทางเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีจากชาติตะวันตกสองชาติคือดัตช์และโปรตุเกส เหตุการณ์ดังกล่าวถูกนำมาถ่ายทอดเป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ‘Shogun’ โดย James Clavell ในปี 1975 และได้รับการดัดแปลงเป็นซีรีส์ฟอร์มยักษ์อีกครั้งในปี 2024  8 Minute History เอพิโสดนี้ จะช่วยปูพื้นฐานประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นในช่วงเวลาดังกล่าวแบบเจาะลึก ตั้งแต่การช่วงชิงอำนาจภายใน การเข้ามาเผยแพร่ศาสนาและวิทยาการของชาวตะวันตก ไปจนถึงการก่อกำเนิด Western Samurai ในราชสำนักญี่ปุ่น
8 Minute History เอพิโสดนี้ เล่าถึงช่วงเวลาที่ความสนใจในวิทยาการตะวันตกในจีนได้เลือนหายไปจากการผลัดแผ่นดินแต่ละสมัย ประกอบกับความพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นทำให้จีนเข้าสู่ยุคมืด หยุดนิ่งทางการพัฒนาประเทศ  กลับกันกับเพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่นที่เร่งปฏิรูปประเทศอย่างสุดแรง หลังประจักษ์ถึงความก้าวหน้าของวิทยาการตะวันตก จนสามารถกลายมาเป็นประเทศมหาอำนาจในเอเชียได้ในที่สุด
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนประวัติศาสตร์ช่วงศตวรรษที่ 16 ซึ่งชาติตะวันตกอย่างดัตช์และโปรตุเกสเริ่มขยายอิทธิพลมายังตะวันออกไกล โดยมีปราการด่านแรกคือเกาะมาเก๊า ซึ่งเป็นเสมือนประตูสู่แผ่นดินจีน การที่ชาติตะวันตกจะเข้ามาสานสัมพันธ์กับจีนนั้น แม้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สุดท้ายพวกเขาก็ทำได้สำเร็จ ด้วยการใช้วิทยาการและองค์ความรู้จากฝั่งตะวันตกที่เหนือกว่ามาเป็นข้อแลกเปลี่ยน  ทว่านั่นก็ไม่ต่างจากดาบสองคม เพราะแม้จีนจะได้ประโยชน์ แต่นั่นก็เป็นการยอมรับกลายๆ ว่า พวกเขาล้าหลังกว่าชาติตะวันตกอยู่หลายก้าว
8 Minute History เอพิโสดนี้ ยังคงตามติดเบื้องหลังโศกนาฏกรรมช็อกโลกในโอลิมปิก ปี 1972 ที่เมืองมิวนิก หลังจากกลุ่ม ‘กันยาทมิฬ’ หรือ Black September บุกเข้าควบคุมตัวประกันชาวอิสราเอลได้สำเร็จ นำไปสู่การประกาศข้อเรียกร้องให้ทางการอิสราเอลปล่อยตัวชาวปาเลสไตน์ สนามโอลิมปิกจึงแปรเปลี่ยนเป็นสนามการเมืองอันคุกรุ่นและยากที่จะคาดเดา   เหตุการณ์ตึงเครียดในวันที่ 5-6 กันยายน 1972 ลุกลามจนกลายเป็นโศกนาฏกรรมครั้งประวัติศาสตร์ และต้องใช้เวลากว่าครึ่งศตวรรษในการชำระล้างตราบาปที่เกิดขึ้น
ในวาระที่มหกรรมกีฬาโอลิมปิกใกล้เวียนมาอีกครั้ง 8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนเบื้องหลังโศกนาฏกรรมช็อกโลกในโอลิมปิก ปี 1972 ที่เมืองมิวนิก ในขณะที่เจ้าภาพอย่างเยอรมนีตะวันตกตั้งใจใช้งานนี้เพื่อลบภาพจำแย่ๆ จากการเป็นเจ้าภาพครั้งก่อนที่จัดขึ้นภายใต้การเรืองอำนาจของนาซี สิ่งที่พวกเขาไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีกลุ่มก่อการร้ายชาวปาเลสไตน์ลักลอบเข้าไปในหมู่บ้านนักกีฬาเพื่อจับนักกีฬาชาวอิสราเอลเป็นตัวประกัน ก่อนลงเอยด้วยเหตุการณ์น่าสลดในตอนท้าย   อะไรคือมูลเหตุจูงใจเบื้องหลังเหตุการณ์นี้ และฝั่งเจ้าภาพมีวิธีรับมือสถานการณ์ดังกล่าวอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
จากโรงรถในเมืองเชเซนา ประเทศอิตาลี สู่ผู้นำนวัตกรรมด้านสุขภาพระดับโลก เริ่มขึ้นจากแนวคิดตั้งต้นอย่าง ‘Wellness is everyone’s business’ ทำให้ Technogym ขับเคลื่อนด้วยการผสาน 3 แนวคิดหลักคือ Innovation, Performance และ Design เข้าไว้ด้วยกัน จนกลายเป็นผู้นำนวัตกรรมด้านสุขภาพในหลากหลายมิติ 8 Minute History ซีรีส์ Brand Journey เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จักกับ ‘Technogym’ แบรนด์ที่เป็นผู้นำด้าน Luxury Wellness สัญชาติอิตาลีแท้ๆ ที่เป็นผู้บุกเบิกนวัตกรรมด้านการออกกำลังกายหลายประเภท รวมถึงเป็นพาร์ตเนอร์ร่วมกับมหกรรมกีฬานานาชาติอย่างโอลิมปิก ฟุตบอลโลก และฟอร์มูลาวัน (Formula One) มาหลายทศวรรษ
จากตอนที่แล้ว เราเล่าถึงประวัติการขุดคลอง เส้นทางการค้าสำคัญของโลก เช่นคลองคีล ประเทศเยอรมนี, คลองคอรินท์ ประเทศกรีซ และคลองสุเอซ ประเทศอียิปต์  8 Minute History เอพิโสดนี้ เล่าเรื่องอีกหนึ่งคลองสำคัญที่มีลักษณะใกล้เคียงกับโครงการ ‘คลองกระ’ ของไทยเรามากที่สุดคือ คลองปานามา พร้อมเฉลยสาเหตุที่การขุด ‘คลองกระ’ หรือ ‘คอคอดกระ’ ไม่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท จนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ในตอนนี้ของ 8 Minute History พามาย้อนแผนการขุด ‘คลองกระ’ หรือ ‘คอคอดกระ’ ในยุคของปรีดี พนมยงค์ เป็นการลดทางที่ซับซ้อนผ่านช่องแคบมะละกาถึง 1,200 กิโลเมตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้าทางทะเล และส่งเสริมเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในภูมิภาค  ถึงแม้โครงการนี้จะไม่สำเร็จในยุคนั้น แต่แนวคิดนี้กลายเป็นแรงบันดาลใจสำคัญสำหรับการวางแผน และพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานทางทะเลของบริเวณนี้ในอนาคต
8 Minute History เอพิโสดนี้ ปิดท้ายเรื่องราวของ ‘อาจารย์ฝรั่ง’ ศิลป์ พีระศรี ด้วยเบื้องหลังการตั้งชื่อและถือสัญชาติไทย การวางรากฐานมหาวิทยาลัยศิลปากร ไปจนถึงผลงานประติมากรรมเด่นๆ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ท่านและบรรดาลูกศิษย์ร่วมกันสร้างสรรค์
ในตอนที่แล้ว เราได้เกริ่นถึงการเดินทางของศิลปะอิตาเลียนมายังสยามประเทศ ผ่านผลงานของสถาปนิกและจิตรกรชาวอิตาเลียนหลายคน เช่น Mario Tamagno, Annibale Rigotti, Galileo Chini รวมถึง Corrado Feroci ที่ได้รับชื่อไทยว่า ศิลป์ พีระศรี ในเวลาต่อมา 8 Minute History เอพิโสดนี้ จะพามาทำความรู้จักกับ Corrado Feroci ในมุมที่ลึกขึ้น ตั้งแต่การวางรากฐานด้านศิลปะตะวันตกในไทย การใช้เทคนิค Iconographic (ประติมานวิทยา) ในการปั้นประติมากรรม อาทิ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ซึ่งแม้ไม่เคยเห็นพระองค์จริง แต่ผลงานของท่านกลับแม่นยำ จนได้รับคำชมจากรัชกาลที่ 7 ว่า “ดีมาก เหมือนมาก”
สถานีรถไฟหัวลำโพง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พระที่นั่งอนันตสมาคม ล้วนเป็นประติมากรรมอิตาเลียน หากแต่เราอาจไม่ทันสังเกตว่าศิลปะอิตาเลียนเหล่านี้หาชมได้ยากในแถบเอเชียตะวันออก แล้วเหตุใดมาอยู่กลางกรุงสยามได้ 8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนวันวานสู่ยุครัชกาลที่ 5 เปิดประตูต้อนรับศิลปินอิตาเลียนมากมายเข้ามาสู่สยามประเทศ ทั้ง Mario Tamagno, Annibale Rigotti, และ Galileo Chini รวมถึง Corrado Feroci ซึ่งต่อมาได้รับการเชิดชูในนามศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งไม่เพียงแต่มีคุณูปการต่อวงการศิลปะร่วมสมัยอย่างมหาศาล แต่ยังเป็นหลักฐานของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ของสองประเทศที่อยู่คนละซีกโลก
loading
Comments 
Download from Google Play
Download from App Store