Discover7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)
7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)
Claim Ownership

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

Author: ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

Subscribed: 59Played: 416
Share

Description

การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org

Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

298 Episodes
Reverse
Q : คาถาใดใช้ขจัดมาร และพระไพรีพินาศ ศัตรูพินาศจริงหรือ?A : มารคือสิ่งที่จะมาขัดขวางให้เราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่สำเร็จ ท่านสอนว่ามารมี 5 ประเภท คือมารที่เป็นคน กิเลสมาร มารที่เป็นขันธ์และกรรมก็เป็นมาร วิสัยของมารคือจะคอยขัดขวางล้างผลาญความดี หากเราไม่ให้อาหารแก่มาร เช่น ใครมาด่ามาว่า เราก็ยังดำรงตนอยู่ในมรรค 8 ได้ ไม่โกรธไม่ขัดใจ ไม่ด่าตอบ นั่นคือจิตเราไม่ไปตามกระแสของมาร มารก็จะทำอะไรเราไม่ได้ ไม่ใช่ว่ามารไม่มี และหากเราเห็นพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งแล้วเรายังระลึกถึงคำสอนของท่านอยู่รวมลงในองค์ 8 อันประเสริฐ มารทำอะไรเราไม่ได้ก็จะไปเอง Q : วิธีชนะมารที่ตัวเรา?A : ชนะมารได้ด้วยการไม่ให้อาหารมารไม่ทำตาม มารพอเราไม่ไปตามอำนาจของมันเดี๋ยวมันก็ไปเอง การชนะมารคือชนะตัวเราเอง พอเราควบคุมจิตเราให้อยู่ในธรรมะได้ ทรงอยู่ในธรรมได้ เราชนะตรงนี้ได้ เราก็จะชนะทุกอย่าง Q : เพิ่มพลังให้จิต? A : วิธีเพิ่มพลังให้จิตเรามีกำลัง คือให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เป็นผู้ที่มีกำลังใจสูง เข้าใจว่ามีทุกข์มีสุข ให้ทำความดีต่อไป Q : นอนสวดมนต์ได้หรือไม่?A : หากเราทำกิริยาใด ๆ แล้วประกอบด้วยความขี้เกียจ นั่นเป็นบาป เราควรตั้งอยู่ในกิริยาที่สำรวมเหมาะสม Q : กระดูกกับความดี?  A : การที่เราจะระลึกถึงบรรพบุรุษหรือใครที่ทำดีกับเราเป็นสิ่งที่ทำได้ การระลึกถึงผู้มีพระคุณต่อเราเรียกว่าเทวตานุสติ Q : พูดความจริงกับบาปA : หากมีเจตนาโกหกนั่นเป็น “บาป” เช่น เห็นบอกไม่เห็น ได้ยินบอกไม่ได้ยิน คือมีเจตนาโกหก หรืออีกนัยยะหนึ่งคือพอมีคนถามถึงความไม่ดีของคนอื่นด้วยเจตนาที่จะให้เขาระวัง ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เขาแตกกัน ซึ่งหากเขาแตกกันอันนี้เป็นบาป สิ่งที่เราควรทำคือหากเขาไม่ถามก็ไม่ต้องพูดเลย หรือถ้าเขาถามก็ให้พูดนิดเดียว ถ้าเขาถามจี้ก็ให้พูดหลีกเลี้ยวลดหย่อน พูดให้น้อย พูดจากหนักให้เป็นเบา เราจึงจะเป็นคนดี ถ้าเราทำเช่นนี้ความชั่วจะไม่ขยายผล Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q: การยอมรับความจริงเป็นทางออกของหลายปัญหาจริงหรือไม่?A : ทุกข์ เวทนา นั้น มันไม่ได้เป็นของจริง เปรียบดังพยับแดดที่เหมือนจะมีจริงแต่มันไม่มีจริง พอเราเข้าใจว่ามันไม่ใช่ความจริง ยอมรับด้วยปัญญา เราก็จะไม่ทุกข์อีกต่อไป ให้เรานำธรรมะมาทำ มาปฏิบัติ มาใช้ในชีวิตประจำวัน พยามเดินตามมรรค อย่าออกนอกมรรค Q: การสะสมอาสวะใหม่ให้เข้ามาอยู่ในจิตใจจึงจะได้ผล?A : ไม่ใช่ว่าเป็นการสะสมอาสวะใหม่ แต่ที่จริงแล้วเป็นอาสวะเก่ามันลอกออก เพราะอาสวะมันเป็นสิ่งสะสม มีกามาสวะ คือ เมื่อเราชอบพอสิ่งใด กามาสวะก็จะเพิ่มพูน ปฏิฆาสวะ คือเมื่อเราไม่พอใจขัดใจ ปฏิฆาสวะก็จะเพิ่มพูน และอวิชชาสวะ คือเมื่อไม่เข้าใจสถานการณ์ ง่วงซึม เห็นแก่ตัว อวิชชาสวะก็จะเพิ่มพูน แต่หากมีสถานการณ์ที่มากระตุ้นให้เกิดอาสวะเดิม แล้วเราไม่ทำตามเดิม เรามาเดินตามมรรค ปฏิบัติตามมรรคได้ อาสวะเดิมมันก็จะหลุดลอกออกทันที Q: การมีปีติ สงบ มีสมาธิ หรือการไม่ยินดียินร้าย อันไหนดีกว่ากัน สุขจากภายในคือสุขจากสมาธิใช่หรือไม่? A : สุขในภายในคือสุขจากสมาธิ (สมาธิ 9 ขั้น) สมาธิ มี 2 ส่วน คือสมถะและวิปัสสนา แยกต่อไปอีก ได้ 3 ส่วน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แยกต่อไปอีกได้ 8 ส่วน คือมรรค 8 สมถะและวิปัสสนา เรียกอันเดียวกันว่า “สติ” เมื่อมีสติแล้ว ก็จะทำให้เกิดสมาธิเกิดปัญญาได้ คือทำแล้วจะรวมลง ลงรับกันทั้งหมด ส่วนไม่ยินดียินร้ายน่าจะเน้นมาเรื่องอุเบกขา (สมาธิขั้นที่ 3 ขึ้นไป) Q: ฝึกที่จะไม่พูดในสิ่งที่ไม่จำเป็นเป็นอย่างไร?A: สิ่งที่ไม่จำเป็นต้องพูด คือ คำโกหก หลอกลวง เพ้อเจ้อ นินทา ไม่มีสาระหาแก่นสารไม่ได้ ส่อเสียด ยุยงให้แตกกัน รวมถึงคำหยาบทั้งหลาย  Q: การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของยาก?A: ท่านตรัสไว้ 2 นัยยะ นัยยะแรก ท่านเปรียบเทียบกับเต่าตาบอดอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยน้ำทะเล ทุก 100 ปี จะโผล่หัวขึ้นมาครั้งเดียว แล้วโผล่หัวขึ้นมาพอดีกับรูในแอกไม้ไผ่ที่มีอยู่รูเดียว นั่นเป็นความยากที่จะเป็นไปได้ นัยยะที่สอง การที่สัตว์นรกจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ยากกว่าเต่าตาบอดตัวที่ท่านได้กล่าวมาแล้ว และสิ่งที่ยากกว่านี้อีกประการหนึ่ง คือ การที่จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น คำสอนของท่านคงอยู่ได้นาน เพราะฉะนั้น หากตอนนี้เราได้ในสิ่งที่ได้มายาก เราเป็นมนุษย์ มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น และคำสอนของท่านยังคงอยู่ นั่นเป็นเรื่องที่ยากที่สุดแล้ว เราสามารถใช้โอกาสที่ได้มายากนี้ ทำตามคำสอนของท่านได้ Q: ทำไมคนเราเกิดมาจึงต่างกัน?A: สิ่งที่จะจำแนกสัตว์ให้ทรามหรือประณีต คือ กรรมและวิบาก|ผลของกรรมซึ่งจุดนี้เราสามารถแก้ไขได้ หากมีสิ่งมากระตุ้นแล้วเรายังตั้งอยู่ในมรรคได้ แม้เรามามืดเราก็ไปสว่างได้หรือมาสว่างแล้วไปสว่างได้ Q: ขันติกับอุเบกขาต่างกันอย่างไร?A: ขันติ คือ ความอดทน อดทนต่อทุกขเวทนา ต่อความลำบาก ต่อความร้อนความหนาว ต่อคำด่าคำว่า เป็นลักษณะการกระทำที่เราแสดงออก ส่วนอุเบกขาพูดถึงเวทนา ถ้าเป็น “นาม” หมายถึงเป็นเวทนาที่นิ่ง ๆ เฉย ๆ ไม่ได้จะสุขหรือทุกข์ ถ้าเป็น “กิริยา” คือ การวางเฉยในสุข ในทุกข์ และในสิ่งที่ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : อย่าเห็นแก่สั้นอย่าเห็นแก่ยาว (การผูกมิตร)A : การให้ทานเป็นหนึ่งในสังคหวัตถุ 4 เราสามารถรับและซื้อของให้กลับเพื่อผูกมิตร มิตรภาพมีค่าควรรับไว้ ทั้งนี้ให้ตรวจสอบสภาวะจิตว่าเราเป็นคนตระหนี่ไหม คือเค้าซื้อของให้แล้วไม่อยากซื้อให้กลับหรือไหม การให้ทานเป็นการลดความตระหนี่ เราควรรักษามิตรภาพไว้หากเขามีศรัทธากับเรา เราก็ดูว่าเราจะเป็นเนื้อนาบุญได้ไหม หรือแนะนำให้หยอดกระปุกชวนทำบุญร่วมกัน / คำว่า “อย่าเห็นแกสั้นอย่าเห็นแก่ยาว” หมายถึง อย่าแตกร้าวจากมิตรให้เร็วนัก อย่าจองเวรให้ยืดเยื้อนัก Q : คุณสมบัติของเนื้อนาบุญเปรียบกับช้างทรงของพระราชาA : อดทนต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต้องเป็นช้างที่รู้ประหารคือกำจัดสิ่งที่เป็นอกุศล รู้รักษาคือสำรวมอินทรีย์ รู้ไปคือไปทางนิพพาน รู้ฟังคือฟังธรรมะ และรู้อดทนคืออดทนต่อเวทนาคำด่าคำว่า Q : ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์อุเบกขา วิมุต ต่างกันอย่างไร? A : “ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์” มาจากศัพท์คำว่า “อทุกขมสุข” เป็นเวทนา คือถ้ามีผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกที่บอกไม่ได้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์มากระทบ ก็จะมีความรู้สึกที่จะบอกไม่ได้ว่าสุขหรือทุกข์เกิดขึ้น “อุเบกขา” คือความวางเฉย เป็นเวทนาที่เป็นหนึ่งในสติปัฎฐานสี่ เป็นหนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ “วิมุตติ” คือพ้นไม่เพลิน อยู่เหนือจากอุเบกขาขึ้นไป เมื่อวางได้จึงพ้น / ความต่างของอุเบกขาและวิมุตติคืออุเบกขา เป็นหนึ่งในสติปัฏฐานสี่หนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ ความเหมือนก็คือเป็นเวทนาเหมือนกัน มีความเพลินเหมือนกัน มีสติอยู่ด้วยเหมือนกัน / เมื่อเราเจริญสติปัฏฐานสี่ให้มากทำให้มากแล้ว เราจะมีองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรมคือโพชฌงค์ พอมีโพชฌงค์แล้วอาศัยวิเวก วิราคะ นิโรธ น้อมไปด้วยความสลัดคืน วิชชาและวิมุตติจะเกิดขึ้น Q : นั่งสมาธิพอจิตตั้งมั่นแล้วจะเหมือนมีหนอนไต่เป็นเพราะเหตุใด และจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร? A : พิจารณากรณีที่ 1 เป็นนิมิตว่าให้เราเห็นความเป็นปฏิกูลในกายนี้คือไม่น่ายินดี ให้รักษาสติเห็นตามจริงอย่าตกใจ หากตกใจให้ตั้งสติขึ้นใหม่ ให้มีกำลังกล้าเผชิญหน้าว่ากายเราเป็นแบบนี้ กรณีที่2 หากเราเพิ่งเริ่มต้นปฏิบัติ อาการนี้คือการปรุงแต่งทางกาย เป็นเครื่องทดสอบให้ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ให้ดี รู้เฉย ๆ แต่ไม่ตามรู้ ก็สักแต่ว่ารู้ พอสอบผ่านแล้วจะไม่คันอีก Q : การนั่งสมาธิทดแทนการหลับได้หรือไม่? A : ในการนอน 4 ประเภท หนึ่งในนั้นเรียกว่าการนอนอย่างตถาคต คือตื่นอยู่ในสมาธิ ไม่ง่วง ไม่หลับ จิตสว่างอยู่ ร่างกายได้รับการพักผ่อนอยู่ในสมาธิ ส่วนคนที่นอนไม่หลับคือง่วง เหนื่อยเพลีย แต่นอนไม่หลับ Q : การทำสมาธิใกล้คนนอนมีผลกับคนนอนหรือไม่?A : หากเป็นการขยับร่างกาย ก็อาจมีผลต่อคนที่นอนใกล้ได้ หากเราทำสมาธิแล้วให้เราแผ่เมตตา ผลที่ได้ไม่ใช่แค่คนใกล้ คนไกลก็ได้ประโยชน์ด้วย ได้ทั้งข้ามภพข้ามชาติด้วย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : กายคตาสติหรือการตั้งสติไว้ในกายทำอย่างไร? A : กายคตาสติคือการตั้งสติไว้ในกาย ใช้กายเป็นฐานที่ตั้งของสติ สามารถทำได้หลายรูปแบบเช่นนัยยะของการนั่งสมาธิแล้วพิจารณากาย การพิจารณากายในอิริยาบถ การพิจารณากายในความเป็นปฏิกูล หรือพิจารณากายจากสถานที่ / การตั้งสติสัมปชัญญะไว้ในกาย คือรู้ตัวทั่วพร้อมรอบคอบในอาการต่าง ๆ ในทุกอิริยาบถ หากเรามีอาการทางกาย เช่น การไอ อย่าให้จิตเราไม่พอใจขยะแขยงเกลียดชังไปกับอาการหรืออิริยาบถนั้น ๆ ให้เรารับรู้อยู่แต่ไม่คิดไปตาม ไม่เพลินไปตามความคิด ไม่เพลินไปตามอาการนั้นอิริยาบถนั้นการปรุงแต่งนั้น ให้รู้ตัวทั่วพร้อมมีสติสัมปชัญญะอยู่กับการไอ Q : รู้สึกผิดที่ไม่ได้ดูแลพ่อแม่ด้วยตัวเองควรวางใจอย่างไร?A : หน้าที่ที่เหมาะสมสำหรับลูกที่ควรกระทำคือเลี้ยงดูบิดามารดา การเลี้ยงดูมี 2 รูปแบบ คือการดูแลทางอามิสคือทางกาย และการตอบแทนที่จะพอเหมาะสม คือการให้ท่านมีศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา คือมี “โสตาปัตติยังคะ 4” ถึงพอจะเหมาะสมกัน ในเรื่องของการดูแลเราสามารถทำเองก็ได้หรือจัดให้ก็ได้ ในเรื่องของสภาพจิตใจต้องดูแลท่าน หมั่นไปเยี่ยมประดิษฐานท่านให้มีศีล ศรัทธา จาคะ และปัญญา ให้เรามองว่าเป็นโอกาสที่เราจะสร้างบุญใหญ่แล้วให้มีความมั่นใจทำจริงแน่วแน่จริง ธรรมะจะคุ้มครองผู้ปฏิบัติธรรมแน่นอน Q : ทำบุญที่ไหนก็ตามเทียบไม่ได้กับทำบุญกับพ่อแม่A : บุญที่เกิดจากการให้ทานอยู่ที่ลักษณะ 3 อย่างคือ ผู้ให้ผู้รับและสิ่งของที่ให้ผู้ให้คือเราผู้รับคือพ่อแม่หากเปรียบพ่อแม่เป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์ท่านไม่มีกิเลสแล้วแต่พ่อแม่ยังมีกิเลสอยู่นัยยะของการเกิดบุญจึงต่างกันอย่างไรก็ตามท่านสอนให้เราทำดีกับพ่อแม่อยู่แล้วเพราะเรามีพ่อแม่เพียงคนเดียวไม่ว่าท่านจะต่อว่าเราอย่างไรเราก็ควรตอบแทนบุญคุณท่านให้เห็นว่าเป็นโอกาสที่เราจะได้ฝึกความอดทนฝึกปัญญาแก้ปัญหาให้เราตั้งอยู่ในความดีทำดีต่อไป Q : การดูแลผู้ป่วยหนัก เราควรทำจิตใจอย่างไรจึงจะผ่านวิกฤติไปได้?A : คุณสมบัติของผู้ที่จะพยาบาลได้ง่ายก็คือ 1) รู้ว่าอะไรเป็นความสบาย 2) รู้ประมาณในความสบาย 3) ทานยาตามเวลา 4) บอกอาการตามความเป็นจริง 5) มีความอดทนต่อเวทนานั้น ๆ หากเราต้องจัดคนมาดูแลหรือดูแลเอง ให้พิจารณาว่ามีคุณสมบัติเหล่านี้หรือไม่ ไม่เห็นแก่อามิสสิ่งของ ไม่รังเกียจที่จะนำอุจจาระปัสสาวะไปทิ้ง สามารถพูดให้คนไข้มีความอาจหาญ ร่าเริง ทรงอยู่ในธรรมได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : คอร์สออนไลน์ที่สอนให้บรรลุธรรมเป็นไปได้หรือไม่?A : การบรรลุธรรมได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเหตุเงื่อนไขและปัจจัยเหตุแห่งการบรรลุธรรม คือการปฏิบัติตามมรรค 8 และเราจะไม่สามารถบรรลุธรรมได้แม้จะปฏิบัติตามมรรค 8 แล้วก็ตาม คือมีความเคลือบแคลงเห็นแย้งไม่ลงใจในมรรคในข้อปฏิบัติ หากเราได้ยินได้ฟังเรื่องใดมา เราต้องใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองใคร่ครวญเทียบเคียงกับคำสอนของท่าน ศรัทธาและปัญญาต้องไปคู่กันเสมอQ : การออกเสียงปาฬิภาษาในพระไตรปิฎกให้แม่นยำสำคัญต่อการบรรลุธรรมอย่างไร?A : ในวิมุตยายตนสูตร 5 ประการที่เกี่ยวกับการบรรลุธรรมคือการฟัง, การแสดงธรรม, การสวด|สาธยายหมายถึงการสวดการออกเสียง "สัชฌายะ" การตรึกตรองและการทำสมาธิเมื่อเราปฏิบัติตามแล้ว จะทำให้จิตมีปิติ ปราโมทย์ สุข จิตตั้งมั่นมีความเพียรบรรลุธรรมได้ ดังนั้นการออกเสียงสัชฌายะให้ถูกต้องตามอักขระจึงมาตรงกับการสาธยายโดยพิสดาร จะทำให้เรารู้แจ้งอัตถะรู้แจ้งธรรมะได้ดี จะมีความเข้าใจบางประการเกิดขึ้นจากการได้ยินเสียงนั้นQ : ฌาน 4 มีคุณสมบัติอย่างไร?A : คุณสมบัติของฌาน 4 คือ มีแต่อุเบกขาล้วน ๆ การจะไปดูนรกสวรรค์ได้ก็ไปด้วยกำลังของฌานคือสมาธิ จะทำให้เกิดญาณคือความสามารถนี้ ซึ่งกำลังของญานจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าสมาธิน้อยหรือมากQ : ลักษณะของการตรัสรู้ธรรมเป็นอย่างไร?A : โพธิปักขิยธรรม เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค ลักษณะธรรมะของท่านเปรียบเหมือนจุ่มแห เมื่อเราปฏิบัติตรงนี้ก็จะดึงส่วนอื่นเข้ามาด้วย เราทำส่วนไหนได้ก็ทำส่วนนั้น ทำจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งหมด ทำธรรมะในจิตของเราให้เข้ากัน ก็จะทำให้เกิดการตรัสรู้ธรรมได้Q : ต้องเดินอานาปานสติถึงขั้นไหนจึงเกิดปีติสุข?A : เราฝึกเพื่อให้มีสติ ไม่ได้จะเอาอย่างอื่นจะเกิดอย่างอื่นหรือไม่เราไม่ได้เอาตรงนั้น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : กิเลสมักเกิดขึ้นในใจ ในรูปแบบของความคิด ก่อนที่จะออกมาเป็นคำพูดหรือการกระทำใช่หรือไม่?    A : กิเลสเกิดจากจิตที่มีอวิชชาแฝงอยู่แล้วไม่มีสติรักษาเมื่อมีผัสสะมากระทบก็จะปรุงแต่งไปตามสิ่งที่พอใจหรือไม่พอใจออกมาในรูปแบบความคิดคำพูดการกระทำและเมื่อปรุงแต่งออกไปแล้วก็จะมีอาสวะกลับเข้ามาในจิต Q : มีสติ หมั่นตามเห็นความคิด (สัญญา) ที่ผ่านเข้ามา และเลือกที่จะไม่ตามมันไป จะช่วยให้เราไม่ตามและขูดเกลากิเลสได้ใช่หรือไม่?A : การที่เราแยกแยะได้รู้ว่าสิ่งนี้ดีสิ่งนี้ไม่ดีความรู้นั้นเป็น “สัมมาทิฐิ” เมื่อเรามีปัญญามีความเพียรมีสติสมาธิกิเลสก็จะอยู่ไม่ได้ Q: แนวทางจากคำถามข้างต้น คือ มรรค8 คือ สัมมาสังกัปปะ ใช่หรือไม่?A : ล้วนเป็นแนวทางของมรรค8 ตามกันมา เราทำอันใดอันหนึ่งก็จะตามกันมาหมด ซึ่ง มรรค8 คือ ทางเดียว ที่มีองค์ประกอบ 8 อย่าง ไม่ใช่ทาง 8 สาย  Q: การเข้าฌานกับขณิกสมาธิ, อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ เกี่ยวกันอย่างไร?A : ฌานคือกิริยาการเพ่งจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งส่วนขณิกสมาธิ, อุปจารสมาธิ, อัปปนาสมาธินั้นเป็นระดับความลึกของสมาธิถ้าทำได้ไม่นานจัดเป็น “ขณิกสมาธิ” ถ้าพอจะเป็นที่อยู่ได้จัดเป็น “อุปจารสมาธิ” ถ้าทำสมาธิได้ลึกซึ้งนานจัดเป็น “อัปปนาสมาธิ” Q : สามารถตั้งสติหรือสมาธิจนถึงรอยต่อที่เราจะหลับไป ได้หรือไม่?A : ความตายเกิดขึ้นได้ตลอดไม่ใช่แค่เกิดขึ้นระหว่างรอยต่อตรงไหนมีผัสสะตรงนั้นมีรอยต่อเป็นกระแสเกิดและดับสิ่งสำคัญคือเมื่อกระแสดับแล้วจิตเราจะระลึกถึงอะไรคว้าอะไรเราจึงควรทำดีมีสติฝึกทำอยู่ตลอดตรงไหนที่กังวลใจก็ให้กำจัดอาสวะส่วนนี้ออกสมาธิเราก็จะเต็มก็จะไปขั้นสูงขึ้นไปได้อีก Q : ป่วยด้วยอาการทางสมองปุถุชนกับอริยะบุคคลต่างกันอย่างไร?A : เหมือนกันที่ทางกายบกพร่องทางสมองต่างกันที่อริยะบุคคลมีอุบายในการออกจากทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นทางกายนั้นท่านจะรักษาจิตไว้ได้ไม่ไปหาความสุขทางกามส่วนปุถุชนนั้นจะกังวลใจอยู่ไม่ผาสุกเพราะไม่มีสติรักษาไม่มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริง Q : ควรเตรียมตัวอย่างไร เพื่อไม่ให้จิตไปอบายภูมิ?A : เราต้องรักษาจิตเราให้ดีฝึกสติเห็นไปตามจริงอะไรที่ต้องบรรลุต้องทำให้ถึงเมื่อถึงเวลานั้นเราจะเป็นผู้ที่อยู่ผาสุกได้ Q : อนมตัคคปริยายสูตรน้ำตาเปรียบด้วยมหาสมุทรA : เราทุกข์เพราะไม่เห็นอริยสัจสี่ให้เราตั้งสติให้ดีเห็นในความเป็นจริงด้วยปัญญาว่าสิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์เป็นสิ่งที่ยึดถือไม่ได้ให้ระลึกถึงพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์และศีลสี่อย่างนี้จะพาให้เราสู่กระแสนิพพานเป็น “โสตาปัตติยังคะ4” ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : ที่มาของ “ข้าวก้นบาตรพระ” A : คืออาหารที่เหลือจากการพิจารณาของพระได้มาจากสัมมาอาชีวะเป็นอาหารที่เกิดจากบุญจากศรัทธาของผู้นำมาถวายจากผู้รับคือพระสงฆ์พิจารณาแล้วจึงบริโภคอาหารนี้จึงเป็นอาหารทิพย์ Q : รักษาจิตด้วยอัปปมัญญา พรหมวิหาร และทิศทั้ง 6 A : “อัปปมัญญา” คือ การพ้นที่อาศัยพรหมวิหาร 4 ได้แก่ 1) เมตตาเจโตวิมุต จะกำจัดความเบียดเบียน คิดให้เค้าได้ไม่ดี ในจิตใจเรา ผลคือจะทำให้เกิดความสุขที่หลุดพ้นสุขในภายใน (สุภวิโมกข์) 2) กรุณาเจโตวิมุต จะกำจัดความเบียดเบียน คิดให้เค้าได้ไม่ดี ผลคือ จะทำให้เกิด “อากาสานัญจายตนะ” 3) มุทิตาเจโตวิมุต จะกำจัดความไม่ยินดีในความสำเร็จของเขา ผลคือจะทำให้เกิด “วิญญานัญจายตนะ” 4) อุเบกขาเจโตวิมุต จะกำจัดราคะในจิตใจเราถ้าเขาได้ไม่ดี ให้เราวางเฉย อุเบกขา ผลคือจะทำให้เกิด “อากิญจัญญายตนะ” จะมีผล มีอานิสงค์ ละธรรมะที่เป็นเสี้ยนหนาม 4 ประการนั้นได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : ปัจจัยการบรรลุธรรม?A : ตัวเราสำคัญที่สุด เพราะการบรรลุธรรมอยู่ที่จิต ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ทั้งกัลยาณมิตรและสถานที่ที่มีผลทำให้กิเลสเพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นสิ่งที่รองลงมา ถ้าเราอยู่ที่ไหนแล้วปัจจัยสี่ไม่ดี จิตใจไม่สงบ อาสวะเพิ่ม เราไม่ควรอยู่ตรงนั้น แต่หากอยู่ที่ไหนแล้วปัจจัยสี่ดี จิตใจสงบ อาสวะที่ละไม่ได้ก็ละได้ ให้อยู่ตรงนั้นไปตลอดชีวิต Q : การสร้างศรัทธาขึ้นมาทำอย่างไร?A : ศรัทธามีทุกข์เป็นที่ตั้งอาศัย คนที่ถูกความทุกข์ครอบงำแล้วแสวงหาทางออกของทุกข์ ศรัทธาจะเกิด เมื่อเราแสวงหาทางออกด้วยศรัทธา คือ ศรัทธาใน “ธัมโม” หมายถึง กระบวนการวิธีการคือ มรรค8 ศรัทธาใน “พุทโธ” หมายถึง ผู้ที่บรรลุแล้วมีพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลาย ศรัทธาใน “สังโฆ” หมายถึง การปฏิบัติของตัวเราว่า ถ้าคนอื่นเค้าทำได้ เราก็ต้องทำได้ ศรัทธาแล้วมีความเพียร ทำจริง แน่วแน่จริง เกิดสมาธิ ตั้งทิฐิไว้ชอบ ก็จะทำให้เกิดปัญญา ปล่อยวางได้ บรรลุธรรมได้  Q : มีความคิดปรุงแต่งมากจะเรียกว่าฟุ้งซ่านไม่มีสมาธิ?A : อยู่ที่ว่าคิดปรุงแต่งแล้วกิเลสเพิ่มหรือลด ทั้งมิจฉามรรคหรือสัมมามรรคล้วนเป็นสังขตธรรม แต่ที่ไปคนละทาง สมาธิไม่ใช่ไม่คิดอะไรเลย มีลำดับขั้นของมัน Q : ศีล ศรัทธา ไม่ครบไม่มั่นคง จะเริ่มปฏิบัติได้อย่างไร?A : ศรัทธาจะเกิดเมื่อเห็นทุกข์ เห็นทุกข์ที่ควบคู่กับปัญญาจึงจะเห็นธรรม ควรมีกัลยาณมิตรแนะทางให้  Q : ใครเป็นอรหันต์ A : เป็นเรื่องยากที่ฆราวาสผู้ชุ่มอยู่ด้วยกามจะพึงรู้ จะดูแต่เพียงภายนอกไม่ได้ ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยวาจา กำลังจิตพึงรู้ได้เมื่อมีภัย ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการตอบ ที่สำคัญ คือ ตอบตัวเองได้หรือไม่ว่าเป็นอรหันต์หรือยัง  Q : เมื่อมีความกังวลใจ แล้วต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง จะมีวิธีพิจารณาอย่างไร?A : ความกังวลจะทำให้การตัดสินใจผิดพลาดได้ ควรมีศีล ศรัทธา สติตั้งไว้ พิจารณาปัจจุบัน ด้วยความเป็นของง่อนแง่น คลอนแคลน พอเราไม่กังวล เราจะละความยึดถือได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q: เป็นคนชอบคิดมาก ควรแก้ไขอย่างไร?A : ความคิดแยกเป็น 2 นัยยะ นัยยะแรกคือคิดเยอะ เช่น คิดด้านการงาน มีไอเดียในการคิดทำสิ่งต่าง ๆ ส่วนนัยยะที่สองคือคิดมาก เช่น ย้ำคิดย้ำทำ คิดปรุงแต่งมากเกินไป หดหู่ น้อยเนื้อต่ำใจ คิดวนลูป ไปในแนวอกุศล ซึ่งพอคิดมาก ๆ เข้า อาจจะเป็นซึมเศร้าได้ ซึ่งทั้งสองนัยยะนี้มีลักษณะที่เหมือนกัน คือ คิดมากเหมือนกัน วิธีแก้จึงเหมือนกัน คือ ให้เราตั้งสติ แยกจิตออกจากความคิดให้ได้ ท่านบอกว่า “หู ตา จมูก ลิ้น กาย มีใจเป็นที่แล่นไปสู่” เพราะฉะนั้น ทางใจจึงต้องมีสติเป็นตัวจัดระเบียบ เราจะเพิ่มพลังสติได้ ต้องใช้เครื่องมือ คือ “อนุสติ 10” เพื่อให้สติเรามีกำลัง เมื่อสติมีกำลัง จิตเราจะสามารถแยกออกจากความคิดได้จิต ใจ ความคิด เป็นคนละอย่างกัน แม้ความคิดจะมีมา มันก็จะไม่เนื่องกัน เปรียบดังน้ำกลิ้งบนใบบัว ความคิดนั้นมันจะมาสะเทือนจิตเราไม่ได้ คือ มีความคิดนั้นอยู่ แต่มันไม่เข้าถึงใจ คือไม่สะเทือนจิตQ: สติ สมาธิ ความสงบ สัมพันธ์กันอย่างไร?A : สติ สมาธิ ความสงบ เป็นนามธาตุที่เกิดขึ้นในช่องทางใจ / สติ หมายถึงการระลึกรู้ได้ในนามธาตุต่าง ๆ หรือระลึกรู้ได้ในนิวรณ์ 5 สติจะทำให้นิวรณ์ 5 อ่อนกำลัง เมื่ออ่อนกำลังแล้วจะทำให้เกิดความสงบเกิดขึ้นได้ (สมถะ)สติจะเกิดขึ้นก่อนสมาธิเสมอ สัมมาสติจะทำให้เกิดสัมมาสมาธิได้ สมาธิในความหมายที่ท่านทรงกำหนดไว้ จะประกอบด้วยสมถะ (ความสงบ) และ วิปัสสนา (การใคร่ครวญ ให้เกิดรู้แจ้งในสังขารทั้งหลาย)Q: การวางเฉยต่างจากการไม่ใส่ใจอย่างไร?A : แตกต่างกันตรงที่ปัญญา ความไม่ใส่ใจ จะมีโมหะเป็นตัวครอบงำอยู่ แต่อุเบกขา จิตจะประกอบด้วยปัญญา มีความ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาQ: การนั่งสมาธิโดยกำหนดอานาปานสติแล้วใคร่ครวญธรรมะไปด้วย ปฏิบัติแบบนี้ถูกหรือไม่?A : ไม่ผิด หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจะมีการสอดรับลงรับกันทั้งหมด อนุสติ 10 จึงเป็นอันเดียวกันทั้งสิ้นQ: ขณะภาวนาเกิดจิตฟุ้งซ่าน ควรหยุดการปรุงแต่งความคิดหรือปล่อยความคิดไปตามธรรมชาติ?A: เมื่อสติมีกำลังจะทำให้เกิด สมาธิ สมาธิประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา หากวิปัสสนาเกินกำลังของสมถะจะทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน และหากสมถะเกินกำลังของวิปัสสนา จะทำให้เกิดความเหนื่อยอ่อนเกียจคร้าน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : ทำไมการเสี่ยงทายหรือการบนบาน จึงเป็นการให้กําลังใจได้?A : กำลังใจเกิดได้เพราะศรัทธา กำลังใจหมายถึง “วิริยะ” แปลว่าความกล้า วิริยะหมายถึงกำลังใจ การที่จะลงมือทำได้ มีกำลังใจได้ ต้องมีศรัทธา ส่วนการบนบานนั้นเกี่ยวด้วยอามิส การอ้อนวอน ขอร้อง ดังนั้น การที่เราจะมีศรัทธาเรื่องอะไร ต้องมีปัญญามาด้วยเสมอ เพราะถ้ามีศรัทธาแล้ว จะเกิดการลงมือทำ ถ้าศรัทธาที่ไม่มีปัญญามาประกอบ การลงมือทำนั้นจะกลายเป็นเรื่องที่ผิดพลาดได้ ถ้ามีศรัทธาแล้วมีปัญญาประกอบ การลงมือทำนั้นจะเป็นเรื่องที่ถูกต้อง การลงมือทำคือ “สัมมาวายามะ” ลงมือทำตามมรรค 8 ปัญญาที่เอามาเปรียบเทียบ ก็ต้องเทียบกับอริยสัจสี่, มรรค8 เมื่อปัญญานั้น อยู่ในความเชื่อนั้น การลงมือทำนั้น จึงเป็นเรื่องที่เป็นกุศลธรรม Q : ศรัทธาเพิ่มกำลังใจ ให้ทำจริงแน่วแน่จริงA : เมื่อเรามีศรัทธาคือความเชื่อ ทำให้เกิดการลงมือจริงแน่วแน่จริง จะทำให้เกิดปัญญา เป็นกุศลธรรม แต่หากมีความเชื่อ แต่ไม่ลงมือทำ มีเพียงการอ้อนวอน ขอร้อง จะเป็นลักษณะของผู้ที่ประมาทในธรรม คือ การประมาทในเหตุ ถ้าเราต้องการผล แต่เราไม่สร้างเหตุ จะเป็นความขี้เกียจ ที่เอาแต่อ้อนวอนของร้องคือเอาแต่ผลไม่สร้างเหตุ ซึ่งเหตุและผลนั่นคือปัญญา ปัญญาจึงเป็นเหตุผลที่ต้องประกอบกับความเชื่อ ซึ่งความเชื่อ คือศรัทธาที่จะทำให้เกิดการลงมือทำในเหตุ เหตุที่ทำให้เกิดการลงมือทำจริงแน่วแน่จริง ไม่ประมาทในเหตุ ผลจึงออกมาเป็นการบรรลุธรรมได้  Q : การตามหาความจริงตามหลักกาลามสูตรA : ความเชื่อ การที่เราจะเชื่อว่าเรื่องนี้จริงหรือไม่จริงนั้น ในการตามหาความจริง เราต้องตั้งจิตไว้ก่อนว่าเรื่องนี้อาจจะไม่จริงก็ได้ หากเราจะตามรักษาซึ่งความจริง อย่าพึ่งปักใจเชื่อว่าสิ่งนี้เท่านั้น สิ่งอื่นเปล่า ทางสายกลาง ไม่ใช่ว่าสุดโต่งไปด้านใด ด้านหนึ่ง เราต้องตามดูเหตุ ประกอบด้วยปัญญา เราต้องมีปัญญาในการเห็น มีปัญญามาจับกับความเชื่อนี้ หากความเชื่อที่ว่าไม่จริงแล้วเกิดกิเลส ความเชื่อว่าไม่จริงก็ไม่ถูก เพราะฉะนั้น ต้องมีปัญญามองเห็นว่าสิ่งนั้นทำให้เกิดกิเลสหรือไม่ เกิด ราคะ โทสะ โมหะ หรือไม่ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : การฝึกสมาธิแบบไม่มีเสียงอะไรเลยกับฟังธรรมะไปด้วย มีผลแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร?A : เราควรฝึกให้ชำนาญทั้ง 2 แบบ เราทำได้ตรงไหน ให้ทำตรงนั้นก่อน แล้วฝึกให้ชำนาญยิ่ง ๆ ขึ้นไป พอชำนาญแล้ว โอกาสที่เราจะบรรลุธรรมก็จะเพิ่มขึ้น เพราะจุดที่จะบรรลุธรรม คือ จุดที่มีผัสสะ หากมีผัสสะแล้ว เราสามารถรักษามรรค 8 ได้ ตรงนั้นจะเป็นโอกาสที่เราจะบรรลุธรรม Q : จากข่าวเสื่อมเสียทางพุทธศาสนา ทำให้ทางบ้านคัดค้านเรื่องทำบุญ จะแก้ไขอย่างไร?A : การทำบุญนั้นไม่ได้มีเพียงการให้ทานเพียงอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องทำที่วัด ทำบุญที่ไหนก็ได้ ทำในที่ที่เรามีศรัทธา ให้รอเวลาที่เหมาะสม แล้วค่อยชี้แจงกับเขา ค่อย ๆ อธิบายให้เขาเข้าใจว่า ข่าวที่เสื่อมเสียหมายถึงผู้ปฏิบัติ ส่วนคำสอนนั้นไม่ได้เสื่อม ผู้ทำตามคำสอนต่างหากจะทำตามได้หรือไม่ อย่าเหมาทั้งหมด เมื่อเขาเข้าใจ เป็นการเพิ่มปัญญาให้กับบุคคลอื่น เราก็จะได้บุญด้วย  Q : การบรรลุโสดาบันคืออะไร?A : โสดาบัน หมายถึง ผู้เข้าสู่กระแส / อุปมาดัง เราออกจากฝั่งที่มีอันตรายเต็มไปด้วยความทุกข์มาถึงกระแสกลางแม่น้ำ สามารถหลบหลีกอุปสรรคเครื่องทดสอบ เกาะกระแสแม่น้ำไปเรื่อย ๆ จนไปสู่ปากน้ำ ซึ่งปากน้ำในที่นี้หมายถึงนิพพาน  Q : นำสังโยชน์ 10 ประการ มาใช้ในชีวิตได้อย่างไร?A : สังโยชน์คือเครื่องร้อยรัด ให้จิตของเรายังอยู่ในภพ, สังโยชน์ 10 ประการ ได้แก่ 1. สักกายทิฏฐิ คือความเห็นว่าขันธ์เป็นตัวตน/ยึดถือว่าสิ่งนี้เป็นตัวตน 2.วิจิกิจฉา คือความเคลือบแคลง ความลังเล ความเห็นแย้ง ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 3.สีลัพพตปรามาส คือความยึดมั่นอยู่ในศีลและพรต ที่ไม่ใช่ที่พระพุทธเจ้าสอน เป็นสิ่งที่ไม่ได้จะทำให้บรรลุ ซึ่งหากละสังโยชน์ทั้ง 3 อย่างนี้ได้ จะเป็นลักษณะของอริยบุคคลขั้น “โสดาบัน” 4. กามราคะ คือความพอใจ 5. ปฏิฆะ คือความขัดเคือง ไม่พอใจ หากละสังโยชน์ทั้ง 5 อย่างนี้ได้ จะเป็นลักษณะของอริยบุคคล ขั้น “อนาคามี” 6. รูปราคะ คือพอใจในสมาธิขั้นรูป 7. อรูปราคะ คือพอใจในสมาธิขั้นอรูป (รูปราคะกับอรูปราคะไม่เหมือนกับกามราคะ คนที่ติดสมาธิ จะมาติดอยู่ตรงนี้) 8. มานะ คือความถือตัว 9. อุทธัจจะ คือความฟุ้งซ่าน 10. อวิชชา คือความไม่รู้ในอริยสัจสี่ หากละสังโยชน์ทั้ง 10 อย่างได้ จะเป็นลักษณะของ “พระอรหันต์” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : ได้ฟังสวดอภิธรรม เมื่อตายแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์หรือไม่? A : การสวดอภิธรรมพึ่งมีในสมัยนี้ เป็นพิธีของคนเป็น ตายแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการรักษาจิต ว่าเราระลึกถึงความดีของเราได้หรือไม่ Q : เมื่อข้อปฏิบัติละเอียดขึ้น กิเลสละเอียด ที่ซ่อนอยู่ในจิตใจก็จะแสดงออกมา เข้าใจถูกหรือไม่?A : เราจะไม่สามารถเห็นกิเลสอย่างละเอียดได้ หากเรายังไม่กำจัดกิเลสอย่างหยาบ ซึ่งเราจะเห็นกิเลสอย่างละเอียดได้ ก็ด้วยการปฏิบัติที่ละเอียดลงไป เมื่อข้อปฏิบัติของเราละเอียดลงไป จิตก็จะละเอียดตาม เราก็จะเห็น กิเลสอย่างละเอียด ๆ ที่ซ่อนอยู่ในจิตใจเราQ : กฎไตรลักษณ์เรื่องของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ใช้กับสิ่งที่เป็นธรรมชาติเท่านั้นหรือรวมถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วย?A : เราใช้ “กฎไตรลักษณ์” เป็นการแบ่ง 1. “สังขตธรรม” คือ ธรรมะที่มีการปรุงแต่งได้ ทุกสิ่งที่ปรุงแต่งได้ โดยปรุงแต่งจากรูปแบบหนึ่งให้สำเร็จรูปโดยความเป็นรูปอีกแบบหนึ่ง ทั้งที่มีวิญญาณครองและไม่มีวิญญาณครอง มีการเกิดปรากฏ มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่มีภาวะอื่น ๆ ปรากฏ ซึ่งก็คือระบบของสังสารวัฏนี้ 2. “อสังขตธรรม” คือ ธรรมะที่ไม่มีการปรุงแต่งแล้ว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว ไม่มีการเกิดปรากฏ ไม่มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่แล้วไม่มีภาวะอื่นปรากฏ (นิพพาน)Q : การภาวนาที่เป็นแบบฉบับตนไม่เหมือนคนอื่น จัดเป็นอนุสติเฉพาะตนตามแนวธรรมะของพระพุทธองค์หรือไม่?A : ครูบาอาจารย์ที่ท่านสอน ท่านชำนาญวิธีไหน ท่านก็สอนตามวิธีที่ท่านรู้ ให้เราก็นำมาเทียบเคียงกับหลักคำสอน ดูว่าใกล้เคียงกัน ลงรับกันได้ตรงไหน สิ่งที่ท่านตรัสรู้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไม่ว่าใครจะสอนเรื่องอะไรก็จะจัดเข้าอยู่ใน 4 อย่างนี้ การที่เราบริกรรมเราไม่ได้เอาที่คำบริกรรม แต่เราจะเอาสติ โดยการใช้คำบริกรรมเป็นเครื่องมือ “นิพพาน” มีทางปฏิบัติเข้ามาได้โดยรอบ ไม่ได้มีทางเดียว อยู่ที่ว่าเราปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไหม อย่าสับสน ให้เอาสักทางหนึ่ง Q : เรามีชีวิตเพื่ออะไร? A : ไม่ว่าเราคิดเรื่องอะไรก็ตาม ความคิดทั้งหมด มักจะมีอารมณ์ติดอยู่กับความคิดนั้นเสมอ หากเราคิดด้วยอารมณ์ เราไม่เจอทางออก แต่หากเราคิดด้วยปัญญาว่าทำไมจึงเกิด เพราะอะไรมี ความเกิดจึงมี ความเกิดมีได้เพราะอะไร พอเราคิดแบบนี้ เราจะหาวิธีพ้นทุกข์ ซึ่งเราจะพ้นทุกข์ได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8 เมื่อเราเข้าใจทุกข์ด้วยปัญญาแล้วเราจะพ้นทุกข์ได้   Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : การศึกษาพุทธศาสนามี 2 ด้าน หรือมีด้านเดียว?A : พิจารณาได้ทั้ง 2 นัยยะ นัยยะแรกพิจารณา 2 ด้านคือ พิจารณาทั้งประโยชน์และโทษ อีกนัยยะหนึ่ง พิจารณาด้านเดียว คือพิจารณาทางสายกลาง/มรรค 8 เมื่อพิจารณาแล้วเข้าใจในข้อที่เป็นทางสายกลาง กิเลสก็จะลดลงQ : สมาธิเสื่อมได้หรือไม่ เกิดจากเหตุปัจจัยใด?A : สมาธิเกิดจาก เหตุ, เงื่อนไข, ปัจจัย สิ่งใดที่เกิดจาก เหตุ, เงื่อนไข, ปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สมาธิเมื่อเกิดได้ก็เสื่อมได้ / เหตุแห่งการเสื่อมสมาธิ อาจเพราะกายเมื่อยล้า, คลุกคลีมาก สามารถทำให้เจริญได้ด้วย การไม่ยินดีในการเอนกาย รู้จักหลีกเร้น การปฏิบัติตามมรรค8 จะช่วยปรับให้ไปตามทาง รู้จักเอาประโยชน์ หลีกออกจากโทษได้Q : ขณะนั่งสมาธิ รู้สึกเคลิ้มจนลืมภาวนา ลืมลมหายใจ ขาดสติหรือไม่?A : ลืม เผลอ เพลิน คือ ขาดสติ ให้เราตั้งสติสัมปชัญญะขึ้น เห็นความเกิดขึ้น ความดับไป ฝึกให้ชำนาญ ในการเข้า ในการดำรงอยู่และในการออก ทำบ่อยๆ เพ่งอยู่ตรงนี้ เราจะรู้ตัวทั่วพร้อม รู้พร้อมเฉพาะ ในการที่ความคิดนั้นดับไปQ : ขณะบริกรรมพุทโธ ครูอาจารย์ก็เทศน์สอนด้วย เราควรเอาสติไปจับอยู่กับอะไร?A : ตั้งสติอยู่กับโสตวิญญาณ (การรับรู้ทางหูด้วยเสียง เกิดในช่องทางใจ )Q : นั่งสมาธิแล้วฟุ้งซ่าน รู้สึกเบื่อท้อ ไม่อยากนั่งต่อ ควรแก้ไขอย่างไร?A : ให้พิจารณาเอาจิตจดจ่อ ตรงที่เราทำได้ จิตก็จะน้อมไปทางนั้น จิตเราเมื่อ “น้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง” หากเราตริตรึกแต่ตรงที่ฟุ้งซ่าน ท้อแท้ จิตเราจะไปในทางอกุศล Q : ผู้ปฏิบัติดี มีสมาธิมั่นคง เมื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์คือการหลุดพ้นแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติต่อไปอีก?A : ท่านยังต้องปฏิบัติอยู่ ยังมีศีล สมาธิ ปัญญาอยู่ แต่เหตุผลในการปฏิบัติ ไม่เหมือนเดิมคือ เหตุที่จะต้องทำเพื่อหลุดพ้น ไม่ต้องแล้ว เพราะหลุดพ้นแล้ว สำเร็จแล้ว Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : สุขอย่างไรไม่ประมาท A : เวลาที่เรามีความสุขความสำเร็จ เราไม่ควรประมาท เพราะจะมีอาสวะบางเหล่า ที่จะเกิดขึ้นต่อเมื่อคุณมีชื่อเสียง มีลาภยศสักการะ หากเราเพลินเราพอใจไปในความสุขความสำเร็จ จะเกิด “อกุศล” / ถ้าเรามี “สุขเวทนา” แล้วเรายินดีพอใจ เพลิดเพลิน ลุ่มหลง นี่เป็น “อกุศล” คือเราประมาท ถ้าไม่ประมาท คือ เราจะเห็นด้วยปัญญาตามความจริงว่า “สุข” นี้เป็นของไม่เที่ยง เราก็จะไม่ลุ่มหลง เพลิดเพลิน มัวเมาในสุขที่เกิดขึ้นนั้น พอเราไม่ลุ่มหลง ไม่เพลิดเพลิน ไม่มัวเมา นั่นคือ “กุศลธรรม” Q : แยกแยะ ดี ไม่ดี, สุข ทุกข์, กุศล อกุศล A : “สุข” คนมักจะเชื่อมโยงความสุขกับความดี/กุศล และ “ทุกข์” คนมักจะเชื่อมโยงกับ “ความ ไม่ดี/อกุศล” ซึ่งมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป ซึ่งหากเรามี “ทุกขเวทนา” มากระทบแล้วเราสามารถอดทน มีเมตตา พูดดี ๆ กลับไปได้ ทุกขเวทนานั้นกลับทำให้เกิด “กุศล” หากเรามี “สุขเวทนา” มากระทบแล้ว เราเพลินพอใจลุ่มหลงไปในมัน สุขเวทนานั้นจะทำให้เกิด “อกุศล” ได้ และหากเรามีสุขเวทนาแล้วเราเห็นด้วยปัญญาตามความเป็นจริงว่า “สุขเวทนา มันเป็นของไม่เที่ยง” เห็นด้วยปัญญา จิตเราก็จะเกิดกุศลได้ อยู่ที่เราตั้งสติ พอเรามีสติ เราก็จะไม่ประมาท จะไม่เพลินไปในทุกข์หรือสุข ตั้งอยู่ในกุศลได้ Q : จุดที่กลับตัวไม่ทันแล้ว (Point of No return) A : จะเป็นจุดหนึ่งที่เรากลับตัวไม่ทันแล้ว คือทำไปมากจนเลยจุดกลับตัวแล้ว ซึ่งจุดนี้แต่ละคนไม่เท่ากัน เช่น เราประมาททำสิ่งที่เป็นความชั่วอยู่เรื่อย ๆ มันจะแก้ยาก มันจะกลายเป็นผิดพลาด แม้จะทำความชั่วเพียงนิดหน่อยก็จะให้ผลเร็วเพราะมันจะถึงจุดที่ว่ากลับไม่ทันแล้วทำชั่วมามากแล้ว สำหรับในบางคนที่ทำความชั่วแล้วความชั่วให้ผลช้า นั่นเป็นเพราะบุญยังรักษาเขา หากคนที่มีบุญน้อยแล้วมุ่งมั่นทำความดี ความดีก็จะให้ผลเช่นกัน ถ้าความดีที่เราทำยังไม่ให้ผล นั่นก็เป็นเพราะความชั่วให้ผลอยู่ เพราะฉะนั้นเราอย่าประมาท Q : ทางเลือก A : คนเราเมื่อมีทุกข์เกิดขึ้นแล้ว จะมีทางเลือก 2 ทาง คือ 1) ร่ำไห้ คร่ำครวญ ทุบอก ชกตัว ถึงความเป็นผู้งุนงง พร่ำเพ้อ มีอกุศลกรรมเกิดขึ้น หรือ 2) เขาจะคิดว่าใครหนอที่จะรู้ทางออกจากความทุกข์นี้สักหนึ่งหรือสองวิธี ใครหนอที่จะชี้ทางให้ เป็นกัลยาณมิตรให้ นี่จะเป็นผลของความทุกข์ที่มันจะเกิดขึ้น เป็นกุศลได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : คำถามในวันงาน 21 ม.ค. เกี่ยวกับมูลนิธิปัญญาภาวนาและกิจกรรมA : มูลนิธิปัญญาภาวนาเกิดขึ้นเพื่อความสะดวกในการจัดการระบบการจัดรายการธรรมะ  Q : ค่าของคนไม่เท่ากัน? คนรวยคนจนทำบุญได้บุญไม่เท่ากัน? วัดจากอะไร?A : พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอริยะเจ้า ท่านจะไม่คิดว่า คนที่อยู่ในวรรณะสูง เมื่อทำบาปแล้วจะบาปน้อยกว่าคนที่อยู่วรรณะต่ำ หรือคนที่อยู่ในวรรณะต่ำ เมื่อทำบุญแล้วจะได้บุญน้อยกว่าคนที่อยู่ในวรรณะสูง เพราะบาปก็คือบาป บุญก็คือบุญ ท่านมีความเข้าใจเรื่องนี้ จึงไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ นั่นคือบุญและบาปมันก็เป็นของมันเหมือนเดิม ไม่ว่าจะวรรณะสูงหรือต่ำก็ตาม ดังนั้น อะไรก็ตาม ที่เมื่อมีการนำมาเปรียบเทียบกัน แล้วเราจะหาความยุติธรรมในสิ่งที่นำมาเปรียบเทียบกันนั้นเราจะหาไม่เจอ เราจึงต้องมีแนวทาง ซึ่งท่านให้ไว้เป็น 3 ส่วนคือ1) การกระทำทางกาย วาจา ใจ 2) กรรมและผลของกรรม ซึ่งกรรมและผลของกรรมนั้นเป็นคนละอย่างกัน คือ หากเราทำกรรมใด เราจะได้รับ ”ผล” ของกรรมอย่างนั้น 3) ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว คือ ทำดีได้ดี ดีตรงที่ได้ทำ ได้ผล ซึ่งผลบางทีอาจจะออกตอนนั้น ในเวลาต่อมา บางทีให้ผลช้า ให้ผลเร็ว บางทีให้ผลมาก ให้ผลน้อย ไม่เท่ากัน หากเราทำความดีแล้วถูกสาบแช่ง ความดีก็เป็นของเราอยู่ดี ไม่ใช่ว่าเราจะได้ไม่ดีตามที่เขาสาบแช่ง ในทางพุทธศาสนาไม่ได้สอนว่าใครเป็นเจ้าของใคร เพราะฉะนั้น คำว่าเจ้ากรรมนายเวรจึงไม่มี มีแต่คำว่า “ผูกเวร” ซึ่งการผูกเวรหรือการให้อภัย ก็เป็นเรื่องของบุคคลนั้นๆ ที่จะปรารภกับบุคคลอื่น แล้วเราจะให้อภัยหรือเราจะผูกเวรเท่านั้นเอง Q : ชี้แจงอย่างไรต่อข่าวเสื่อมเสียของพุทธศาสนา ต่อศรัทธาที่ไม่ตรงกัน?A : ความเสื่อมเสียเกิดขึ้นจากการที่ผู้นำไปทำนำไปปฏิบัติ ทำไม่ดี ปฏิบัติไม่ดี ไม่ใช่คำสอนไม่ดี แต่พอมีคนทำแบบนี้ มันจึงเสื่อมศรัทธา เราควรศรัทธาที่ระบบ ศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา คือ ศรัทธาในพระพุทธ คือ ศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า ศรัทธาในพระธรรม ไม่ใช่ศรัทธาที่เล่มพระไตรปิฎกหรือคัมภีร์ แต่ศรัทธาที่หลักคำสอน ศรัทธาในพระสงฆ์ คือ ไม่ใช่ศรัทธาที่พระนามว่าอย่างนั้น อย่างนี้ แต่ให้ศรัทธาที่การปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และหากได้ยินข่าวที่พระทำเสื่อมเสีย ก็อย่าเหมารวมว่าพระทุกรูปจะไม่ดีอย่างนั้นไปด้วย  Q : ทำใจอย่างไร ถ้ามีคนทักว่า "หมดบุญแล้วจึงนอนติดเตียง"?A : ความดีอยู่ที่ตัวเรา จะดีหรือชั่ว ไม่ได้อยู่ที่คำพูดของคนอื่น เราควรกระทำกรรม ทางกาย วาจา ใจ ให้ไปทางเดียวกัน เพราะยิ่งเราทำความดีมาก เราก็จะละความไม่สบายใจนี้ได้  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : กุศลและอกุศลกรรรมบทในปัจจุบัน ?A : ท่านเคยเทศน์ไว้ว่า ในสมัยต่อมา อกุศลจะเจริญขึ้น กุศลจะเสื่อมลงไป โลกเราจะมีราคะโทสะโมหะเพิ่มมากขึ้น หมายถึงช่องที่จะรอดไปสู่นิพพานก็จะมีน้อยลง มนุษย์ช่วงนี้เป็นขาลง จิตใจจะแย่ลง พระพุทธเจ้าจึงอุบัติขึ้นเพื่อหาทางว่าจะไปยังไง พ้นได้อย่างไร ซึ่งไม่ว่าโลกนี้จะเป็นอย่างไร สิ่งที่สำคัญคือ วันนี้เราควรทำความดี เพราะโลกจะดีขึ้นไม่ได้ถ้าเราไม่ได้ทำความดี ซึ่งเมื่อเราทำความดีแล้ว ก็มีแนวโน้มที่เราจะชักนำคนรอบข้างไปทำความดีได้ ทำกุศลให้เกิดขึ้น Q : ศีล 8 กับ ผู้ครองเรือน ?A : “ศีล” เป็นไปเพื่อความไม่ร้อนใจ ยิ่งศีลเราละเอียดมากขึ้น กระบวนการที่จะทำให้เราเข้าสมาธิได้ ก็จะง่าย ก็จะช่วยเหลือกัน ซึ่ง ศีล 8 ก็จะมีอานิสงค์มากกว่า ศีล 5 แน่นอน ค่อย ๆ ทำไป ค่อย ๆ เพิ่ม จากศีล 5 เป็นศีล 8 จนทำเป็นปกติ Q : เข้าใจสุขเวทนาและทุกขเวทนา ?A : ความสุขความสำเร็จเป็นลักษณะของ สุขเวทนา คือ เป็นความทุกข์ที่ทนได้ง่าย ในขณะที่ ทุกขเวทนา เป็นทุกข์ที่ทนได้ยาก ซึ่งไม่ว่าสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็เป็นทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ถ้าเราเข้าใจว่าสุขคือสุข ตรงนี้เราจะเพลิน หลงไหล แล้วจะประมาทและสร้างอกุศลได้ Q : ทำไมคำสอนเหมือนกัน แต่ปฏิบัติไม่เหมือนกัน? A : ในศาสนานี้ มีผู้สอนคนเดียวคือพระพุทธเจ้า การสอนกับการปฏิบัติ คนละอย่าง เปรียบดัง แผนที่กับคนเดินตามแผนที่ ซึ่งคนเดินตามแผนที่ ปัญญาไม่เหมือนกัน การปฏิบัติแตกต่างกัน ให้ดูที่แนวทางการปฏิบัติ ถ้าเป็นไปในแนวทาง ศีล สมาธิ ปัญญา เช่นนี้ก็จะปฏิบัติไปได้ ไม่สับสน Q : เข้าใจธรรม เข้าใจความเสื่อมของสังขารA : คำว่า อุปะ แปลว่า ผู้ที่เข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้ คำว่า อุบาสก,อุบาสิกา คือ ผู้ที่เข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้ เข้าไปฟัง เมื่อเราทำเช่นนี้ เราก็จะได้ประโยชน์มากขึ้น ความทุกข์เราก็จะลดลง ซึ่งไม่ใช่ว่าเราอาจจะรวยมากขึ้น โรคภัยอาจจะหายหรือไม่หาย แต่เราจะมีความสุขได้ เป็นความสุขที่เหนือกว่า สุขเวทนาหรือทุกขเวทนา เป็นสุขในภายในได้ Q : ปฏิบัติธรรมอยู่ด้วยธรรมA : การนำธรรมะมาทำ นำมาปฏิบัติ จะทำให้เกิดความก้าวหน้า เกิดปัญญาละเอียดลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น Q : ความเป็นมงคลของเรือนที่มี อาหุเนยยะบุคคล A : ในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุอยู่ ชื่อว่าในเรือนนั้นมี “อาหุเนยยะบุคคล” คือ บุคคลที่ควรเคารพกราบไหว้ เป็นมงคลกับเรือน เมื่อเวลาเรามีเมตตา มุทิตา อุเบกขา กรุณา มีจิตใจดีแล้ว สิ่งที่อยู่รอบ ๆ ก็จะดีขึ้น ผัสสะที่น่าพอใจก็จะตามมา Q : ความขัดแยังในครอบครัวA : มันเป็นเงื่อนไขการดำเนินชีวิต เมื่อมีการกระทบกัน บางทีเราใช้เครื่องมือของมาร คือ ด่าว่ากัน ลงมือลงไม้กัน เราก็จะเป็นพวกเดียวกับมาร มารก็จะล้างผลาญความดี วิธีที่ดีที่สุดคือใช้เครื่องมือของพระพุทธเจ้า คือ ให้มีเมตตา, มุทิตา,กรุณา, อุเบกขา ต่อกัน เราต้องเอาความดีมาเอาชนะความไม่ดี Q : ทำอย่างไรจึงจะบรรลุธรรมขั้นสูงขึ้นไป ?A : เส้นทางมีอยู่ คำสอนของท่านยังอยู่ ให้เราปฏิบัติตามทาง ตามคำสอนของท่าน เดินตามทางทำความเพียร จะทำให้เกิดปัญญา ถึงมรรคผลนิพพานในอนาคตได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : เหตุใดเมื่อกายดับ จิตจึงไม่ดับตามกาย?A : จิตกับกายล้วนมีความเกิดและความตายอยู่ทุกขณะ ที่เราเห็นมันต่อเนื่องเพราะมันเป็นความต่อเนื่องของกระแสที่เกิดและดับอย่างรวดเร็ว กายเราประกอบกันขึ้นจากหลาย ๆ เซลล์รวมกันเป็นอวัยวะ มีเซลล์ที่ตายและเซลล์ใหม่เกิดขึ้น ท่านกล่าวไว้ว่า ระหว่างกายกับจิต จิตที่มันเกิดและดับ จะเห็นความแตกต่างไม่ชัดเจนเหมือนกาย เพราะกายหากเซลล์เกิดน้อยกว่าดับ จะเห็นเป็นสภาพของความแก่ ซึ่งพอเราเห็นเช่นนี้ จะทำให้เราคลายกำหนัดในกายได้บ้าง ส่วนการทอดทิ้งร่าง การสละขันธ์ ความที่ไม่มีอินทรีย์คือชีวิต คือความตาย มันเห็นได้ชัดเจน แต่ตายแล้วก็ไม่ใช่ว่าไม่เกิด ความเกิดในที่นี้ใช้คำว่า “อุบัติ” ความดับใช้คำว่า “นิโรธ” ส่วนความเกิดที่เรียกว่า “ชาตะ” กับความตายที่เรียกว่า “มตะ” จะเป็นอีกคู่หนึ่ง จิตเราที่ว่าไม่ตาย ที่ว่าไปเกิดเรียกว่า “อุบัติ” ดับเรียกว่า “นิโรธ” เกิดดับ ๆ ถี่ ๆ จนเป็นกระแส ในขณะที่กายก็เกิดดับ ๆ ถี่ ๆ จนเป็นกระแส แต่กายจะมีจุดหนึ่งที่ดับมากกว่าเกิด คือ “มตะ” คือตาย ทอดทิ้งร่างนี้ไป และจะมีจุดที่เกิดคือ “ชาตะ” เกิดจากท้องแม่หรือผุดเกิดขึ้น ซึ่งก็เป็นไปตามสภาวะ (ภพ) ของสัตว์เหล่านั้น ๆ แต่ความเกิดที่เกิดขึ้นมานั้น คือ อุบัติขึ้นมา ตามสภาวะแต่ละกรรมที่สร้างมา เพราะฉะนั้น กายนี้ถ้าตายไป ก็เกิดเหมือนกัน คำว่าเกิดนี้หมายถึงมีสภาวะการเกิดเกิดขึ้น จากการที่จิตเกิดดับ ๆ มันต้องมีที่ยึด นามรูปมันต้องเกาะกัน ถ้ารูปนี้เป็นอินทรีย์คือชีวิต เกาะไม่ได้แล้ว นามก็ต้องไปหารูปอื่นเกาะขึ้น พอเกาะก็คือการก้าวลง คือการเกิด ส่วนที่ตายไปก็สละคืนไป ดับไป ทอดทิ้งร่างไป ไม่ใช่ว่าคนตายแล้วจิตไม่ตาย จิตตายแน่นอน (ดับ) ตายในที่นี้คือดับ แต่เราเห็นสภาวะการตายของจิตไม่ชัดเจนเท่ากาย Q : คนยังไม่ตาย ทำไมจิตตาย?A : จิตดับหรือจิตตาย หมายถึง จิตที่จะไปเกิดใหม่มันตายไป ดับไป กิเลสที่มันเกาะจิตดวงที่จะไปเกิดมันตายแล้ว แต่คนยังมีชีวิตอยู่ นั่นคือ พระอรหันต์ / อุบัติ (เกิด) กับ นิโรธ (ดับ), ชาติ (เกิด) กับ มรณะ (ตาย) เพราะฉะนั้น มรณะไม่ได้หมายความว่ามันดับ มรณะอาจจะมีความเกิดขึ้น ในที่นี้หมายถึงอุบัติขึ้น ความตายคือความตายอุบัติขึ้น ความตายเกิดขึ้น คือความเกิดอุบัติขึ้น ความเกิดเกิดขึ้น พอเกิดแล้ว ความเกิดก็ดับไป นิโรธไป พอเราแยกส่วนการเกิดดับ คือ อุบัติและนิโรธ แยกส่วน ชาติกับมรณะ ชาติคือความเกิดก็อุบัติ นิโรธได้ มรณะคือความตายก็อุบัติ นิโรธได้ พอเราเริ่มเห็นกระแส เห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราจะมีปัญญาเกิดขึ้น เราจะรู้ได้ว่ามันหลอก จะเห็นความเกิดดับเป็นจังหวะเดียว จะเข้าใจว่าที่เราเห็นเป็นกระแส มันเป็นแต่ละตัว จิตก็แต่ละดวง ๆ กายก็แต่ละส่วน ๆ ประกอบกันด้วยเงื่อนไขปัจจัยที่มันคงอยู่ มันไม่เที่ยง มันเปลี่ยนแปลงได้ เพราะฉะนั้น เราอย่าไปยึดถือ  Q : จิตสุดท้ายก่อนลาจากA : หากมองจากมุมที่เป็นประแส ความตายเกิดขึ้นในความที่เป็นกระแสนั้น มันไม่แน่ ไม่รู้ว่าตอนไหนจะเป็นจิตสุดท้าย เราจึงควรรักษาจิตอยู่ทุกขณะ มีสติไม่ประมาท มีสัมมาทิฏฐิประคองไว้ให้ตลอด จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด และถ้าเราดับจิตสุดท้ายตอนนี้ เป็นพระอรหันต์จะดีมาก ๆ  Q : ต้องปฏิบัติธรรมมากแค่ไหน ผลของกรรมชั่วจึงจะตามไม่ทันA : ท่านเปรียบดังเอาเกลือ (กรรมชั่ว) 1 ก้อน มาละลายน้ำ (กรรมดี) ในแก้ว และเกลือ 1 ก้อน ละลายในแม่น้ำ ผลของความเค็ม คือ วิบาก (ผล) ก็ต้องทำกรรมดีไปจนกว่าน้ำจะไม่เค็ม คือการปฏิบัติตามแนวทางศีล สมาธิ ปัญญา นั่นคือน้ำที่เราผสมลงไป / มีความเชื่อที่ว่า “ทำกรรมอย่างไร ก็จะต้องได้รับกรรมอย่างนั้น” คำพูดนี้ผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าแบบนี้เป็นจริง “การประพฤติพรหมจรรย์จะมีไม่ได้ การทำที่สุดแห่งทุกข์จะไม่ปรากฏ” ทิฏฐิที่ถูกคือ “ทำกรรมอย่างไรก็ต้องได้รับผล (วิบาก) ของกรรมนั้น”/ สัมมาทิฎฐิ มี 2 แบบ คือ แบบที่เป็น “โลกียะ” คือยังเกี่ยวเนื่องด้วยโลก กับแบบที่เป็น “โลกุตระ” คือเหนือโลก ซึ่งทั้ง 2 แบบ ทางไปก็จะคล้าย ๆ กัน ปฏิบัติตาม มรรค 8 เหมือนกัน แต่สัมมาทิฏฐิที่ยังเกี่ยวกับโลก จะเป็นไปในแนวยึดถือ เชื่อเรื่องบุญบาป กรรมดีกรรมชั่ว ส่วนโลกุตระ จะเป็นลักษณะที่อยู่เหนือบุญเหนือบาป จะอยู่เหนือบุญเหนือบาปได้ ต้องมาทางบุญทางความดีก่อน แล้วจึงจะค่อยเหนือบุญเหนือบาปได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : ควรวางจิตอย่างไร สำหรับผู้ที่เริ่มปฎิบัติและผู้ที่รู้สึกว่ายังปฎิบัติแล้วยังไม่ก้าวหน้า?A : เปรียบดังคนจมน้ำที่ยังขึ้นอยู่ด้วยกาม จะว่ายน้ำเข้าฝั่งได้หรือไม่ ตรงนี้เป็นจุดที่เราจะเข้าฝั่งได้โดยไม่จม คือคุณธรรม 5 อย่างนี้ ได้แก่ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ และปัญญา เรียกว่า "เสขปฏิปทา" หมายถึง กำลังของพระเสขะ เป็นกำลังของคนที่จะต้องทำต่อไป จะเป็นตัวแปรที่จะทำให้เราเกิดความก้าวหน้า ในที่นี้ต้องประกอบกับการมีกัลยาณมิตรด้วย ซึ่งคุณธรรม 5 อย่างนี้ จะทำให้เกิดขึ้นได้ด้วยการมีกัลยาณมิตร ในที่นี้คือมิตร คือผู้ที่ทำให้เราเกิด "กัลยาณธรรม"กัลยาณมิตรจะมี 4 ระดับ คือ 1) คำสอนของพระพุทธเจ้า 2) ฆราวาสผู้ครองเรือน ที่เป็นผู้มีศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา 3) พระพุทธเจ้า 4) พระสงฆ์, ครูบาอาจารย์ พอเรามีกัลยาณมิตรแล้ว คุณธรรม 5 ประการเจริญขึ้น ตรงนี้จะเป็นตรงที่เราพัฒนาได้ ให้เรามองว่าความก้าวหน้ามีอยู่ เข้าถึงแก่นคำสอนให้ได้ เดินไปอย่าหยุด ให้เห็นโทษของกาม เห็นประโยชน์ของสมาธิให้มาก เราต้องตั้งจิตไว้ว่า ทำไม่ได้ก็ต้องทำ ทำได้ก็ต้องทำ ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้แล้วไม่ทำ เราจึงควรต้องมีกัลยาณมิตร ซึ่งเมื่อเราเห็นโทษของกามมากขึ้น เราก็จะเห็นประโยชน์ของสมาธิQ: อานิสงส์ของการปฎิบัติ?A: ทำให้เป็นคนเหนือคน เห็นว่าสุขทุกข์เป็นเรื่องธรรมดาของโลก จะเข้าใจและรับได้หมด ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดีใจ ทุกข์ก็ร้องไห้ สติปัญญา จึงทำให้เป็นคนเหนือคนขึ้นมา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : อธิบายธรรมะ 5 ประการที่ทำให้ถึงวิมุตติ  A : 5 ประการนี้ จะทำให้ได้บรรลุอรหันต์, เป็นอนาคามี, ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ความดับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม นิพพานได้, ทำให้เกิดความสิ้นอาสวะ, ทำให้มีเจโตวิมุตติ, ปัญญาวิมุตติ เป็นอานิสงสได้ เป็นต้น Q : พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย A : เมื่อพิจารณากายแล้วเห็นความไม่งามในกาย เห็นไปตามจริงด้วยปัญญา จะทำให้เราคลายความยึดถือ ซึ่งการคลายความยึดถือนี้ไม่ใช่คลายเพราะขยะแขยงเกลียดชัง แต่เป็นการคลายความเพลินความพอใจในกาย เมื่อเรายอมรับและเห็นไปตามจริงด้วยปัญญา เราก็จะอยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ Q : กำหนดหมายความด้วยความเป็นปฏิกูลในอาหาร A : พิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหารจากรูป กลิ่น รส เช่น พิจารณาอาหารที่ทานเข้าไปกับตอนออกมาจากกาย พิจารณาอาหารที่หล่นบนพื้น พิจารณาอาหารที่คนอื่นทานเหลือแล้วเอามาให้เราทาน เมื่อพิจารณาดังนี้แล้ว จะทำให้เวลาเราทานอาหาร ก็จะทานเพียงเพื่อให้ชีวิตตั้งอยู่ได้ ระงับเวทนาเก่าไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ทำให้พอดี ๆ เพื่อให้จิตเรามี “มัชฌิมาปฏิปทา” Q : กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง A : พิจารณาให้เห็นว่าโลกทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหรือสิ่งของ ให้เห็นไปตามจริงในความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง คือเห็นโดยความที่ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย มันเปลี่ยนแปลงได้ / สังขาร หมายถึง การปรุงแต่ง ซึ่งพอมีการปรุงแต่งใด ๆ แล้ว นั่นคือ ความไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ มันจะให้ผลเหมือนเดิมไม่ได้  Q : กำหนดจิตอยู่กับมรณะสัญญา A: “มรณะสัญญา” คือ ความสำคัญหมายในความตาย ว่าความตายมีอยู่ ณ ขณะนี้ เห็นความตายในการเกิด เห็นความตายในการอยู่ / “มรณสติ” คือ การระลึกถึงความตาย ว่าเหตุ ปัจจัยแห่งความตายมีมาก เราควรเข้าใจและยอมรับความจริง ว่าเราต้องตายแน่ เมื่อเราพิจารณามรณะสัญญาแล้วก็ให้เอามรณสติมาพิจารณาต่อ แล้วให้ระลึกถึงกุศลกรรมให้ได้ Q: เวลานั่งสมาธิแบบอานาปานสติ จิตควรคิดเรื่องอะไร? A: ควรระลึกถึงแค่ลมหายใจเท่านั้น แล้วค่อยเลื่อนขั้นสมาธิขึ้นไป ให้วิตกวิจารมันระงับไปเท่านั้นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : เมื่อคนรักเปลี่ยนไป ธรรมะข้อไหนที่ช่วยคลายความทุกข์ใจ? A : ท่านเคยเตือนไว้ เมื่อเรารักสิ่งใด สิ่งนั้นจะมาเป็นทุกข์กับเรา เราจะออกจากทุกข์ได้ เราต้องเห็นด้วยปัญญา คือ เราต้องเห็นโทษของมัน ว่ามันเสื่อมไปได้ หายไปได้ ไม่ยั่งยืน ซึ่งความรักชนิดที่เป็นกาม เป็นตัณหานั้น มันเป็นความรักที่มีเงื่อนไข เป็นรักที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นรักที่มีเกลียด มีทุกข์ปนมา หากเราตัดใจ มีอุเบกขา ให้อภัยด้วยความเมตตา กำจัดความรัก ความยินดีที่เป็นกาม เป็นตัณหา กำจัดความรักในบุคคลนั้นออกไปได้ เราก็จะไม่ทุกข์ เราจะเหลือแต่ความรักที่เป็นเมตตา เป็นอุเบกขา ในจิตใจของเรา ซึ่งเป็นรักที่ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีประมาณ แล้วเราจะผ่านมันไปได้Q : หากคิดถึงแฟนเก่าที่แต่งงานไปแล้ว จะผิดศีลหรือไม่? A : ไม่ผิดศีล แต่อาจจะทำให้ศีลด่างพร้อย เราจะผิดศีลก็ต่อเมื่อตั้งเจตนาไว้ไม่ถูก เช่น จะไปแย่งชิงเขามาจากครอบครัวเขา มีความคิดไปในทางกาม พยาบาท เบียดเบียน ตรงนี้จะทำให้เราทำผิดศีล เราจึงต้องกำจัดความคิดในทางกาม พยาบาท เบียดเบียนนี้ออกไป เมื่อใดที่เรามีความคิดเรื่องกามขึ้นมา แล้วเราไม่มีสติสัมปชัญญะ มันก็จะเติบโตขึ้น จะไปต่อเกิดความกระสันอยาก ไม่มีไม่ได้ จะหงุดหงิด มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เกิดเจตนาที่จะไปเบียนเบียนคนอื่น ซึ่งเจตนาตรงนี้เอง จะทำให้ศีลขาด เพราะฉะนั้น เราต้องหยุดมันตั้งแต่แรก ด้วยการเห็นโทษในสิ่งที่เรารัก เห็นอสุภะในสิ่งที่เราชอบแล้วให้เราใส่ความเพียรลงไป ให้อดทนอดกลั้น เอาตัวเองห่างออกมา เห็นประโยชน์ของการอยู่หลีกเร้น เห็นประโยชน์ของปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ทำไป ๆ ปัญญาก็จะแก่กล้าขึ้น การละวางก็จะเกิดขึ้นได้Q : เราสามารถสวดมนต์ขอพรให้ครอบครัวได้จริงหรือไม่? A : การสวดมนต์กับการขอพร พิจารณาจากเหตุและผล ในส่วนของการอ้อนวอนขอร้อง ท่านสอนไว้ว่า “ถ้าลำพังด้วยการอ้อนวอนขอร้องแล้วสำเร็จได้ทุกอย่าง จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไรในโลกนี้” เหตุนี้ไม่ถูก ผลก็จึงไม่ถูก ในส่วนของการสวดมนต์ เป็นการสร้างเหตุที่เป็นสัมมาวาจา ผลของการมีสัมมาวาจา เช่น ไปเกิดบนสวรรค์ การให้ผล จะเป็นไปได้ทั้งในปัจจุบัน ในเวลาต่อมา ๆ บางอย่างให้ผลหนัก บางอย่างให้ผลเบา ไม่ใด้ให้ผลตามความอยาก เราจึงควรสนใจเรื่องของเหตุ ว่าเราทำดีก็ต้องได้ดี คือได้ดีเดี๋ยวนั้น ตรงจุดที่ทำความดีนั้นเลย แต่หากเราทำความดีแล้วมีความอยาก เช่น อยากจะมีชื่อเสียง อยากรวย เราจะทุกข์ เพราะเรามีความอยากเป็นเหตุ แต่หากเราตั้งจิต“อธิษฐาน” ว่าเราจะสร้างเหตุแห่งความดีนี้ ให้มีผลออกมาแบบนี้ สามารถทำได้ เพราะเป็นการสร้างเหตุที่ถูก ผลก็จะถูกQ : เราสามารถชนะกรรมได้หรือไม่?A : เราสามารถชนะกรรม อยู่เหนือกรรม สิ้นกรรมได้ ด้วยการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
loading
Comments 
Download from Google Play
Download from App Store