Discover4 คลังพระสูตร
4 คลังพระสูตร
Claim Ownership

4 คลังพระสูตร

Author: ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

Subscribed: 132Played: 1,075
Share

Description

ดื่มด่ำ ซึมซาม ด้วยการฟังบทพยัญชนะที่มีความงดงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด เป็นข้อมูลโดยตรงจากพระสูตรในพระไตรปิฏก เพื่อให้มีการตกผลึกความคิด เกิดเป็นความคลองปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็นได้. New Episode ทุกวันพฤหัส เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org

Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

301 Episodes
Reverse
สูตร# 1 โฆฏมุขสูตร [๔๑๒] เป็นเหตุการณ์ที่เกิดหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ท่านพระอุเทนะแสดงแก่โฆฏมุขะพราหมณ์ ซึ่งเข้าไปสนทนาธรรม ณ เขมิยอัมพวัน ปรารภเหตุที่โฆฏมุขะพราหมณ์ได้แสดงความเห็นของตนว่า การบวชอันชอบธรรมย่อมไม่มี ท่านพระอุเทนะได้แสดงบุคคล 4 จำพวกและบริษัท 2 จำพวกให้โฆฏมุขะพราหมณ์ฟัง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการบวชมีผล เพราะผู้ไม่ทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนมีมากในนักบวช โฆฏมุขะพราหมณ์ได้ท่านพระอุเทนะเป็นกัลยาณมิตรให้เกิดความเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ และได้สร้างโรงฉันปัจจุบันเรียกว่า ‘โฆฏมุขี’ ถวายแก่สงฆ์เมืองปาตลีบุตร  สูตร# 2 ฆฏิการสูตร [๒๘๒] เป็นสมัยที่พระพุทธเจ้าเกิดเป็นมานพชื่อโชติปาละ ซึ่งเป็นสมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า มีกัลยาณมิตรเป็นช่างปั้นหม้อชื่อฆฏิการะ ที่ได้ชักชวนไปฟังธรรม ซึ่งตอนแรกนั้นโชติปาละไม่ยอมไป ต้องชวนถึง 3 ครั้ง และเมื่อฟังธรรมแล้วโชติปาละมานพได้ออกบวช ส่วนช่างหม้อจำเป็นต้องเลี้ยงมารดาผู้ชราและเสียจักษุ จึงไม่ได้ออกบวช  พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
อลคัททูปมสูตร พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ในครั้นนั้นอริฏฐภิกษุมีทิฏฐิชั่วเกิดขึ้นด้วยการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคว่า ได้รู้ทั่วถึงธรรม และธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายนั้นไม่สามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง ซึ่งเหล่าภิกษุอื่นได้ไปหาอริฏฐภิกษุด้วยความปรารถนาให้ละทิฏฐิชั่ว แต่ก็ไม่สำเร็จ อริฏฐภิกษุยังคงมีความเข้าใจผิดในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ เหล่าภิกษุอื่นได้กราบทูลความนี้ต่อพระผู้มีพระภาค ทรงได้รับสั่งเรียกอริฏฐภิกษุให้มาเข้าเฝ้า และได้ตรัสถามเนื้อความการกล่าวตู่ธรรมของพระผู้มีพระภาคนี้จากอริฏฐภิกษุ ซึ่งยอมรับว่าเป็นความจริง จึงได้ทรงอธิบายว่าการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยทิฏฐิที่ถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลายตนเอง ชื่อว่าประสบสิ่งที่มิใช่บุญ ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน และได้รับสั่งเรียกเหล่าภิกษุเพื่ออธิบายว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่อริฏฐภิกษุจะเสพกามโดยปราศจากกาม ปราศจากกามสัญญา และปราศจากกามวิตก และได้ทรงแสดงว่าการเรียนธรรมนั้นให้พิจารณาไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมด้วยปัญญา ธรรมจึงประจักษ์ชัด รวมทั้งทรงแสดงธรรมเปรียบเทียบแพเพื่อการสลัดออกไม่ใช่เพื่อการยึดถือพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
สูตร1 #อุปักกิเลสสูตร สืบเนื่องจากพวกภิกษุโกสัมพีเกิดความบาดหมางทะเลาะวิวาท พระผู้มีพระภาคทรงห้ามอยู่ 3 ครั้ง แต่ภิกษุไม่เชื่อฟัง จึงทรงเสด็จไปยังบ้านพาลกโลณการคาม ท่านพระภคุได้รับเสด็จ แล้วเสด็จต่อไปยังป่าปาจีนวังสทายวัน ซึ่งท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละพักอยู่ที่นั่น โดยอยู่กันด้วยความสามัคคี ได้ทรงสนทนาและตรัสถามถึงญาณทัสสนะของพระเถระทั้ง 3 รูป ที่ได้ทูลว่า สามารถจำแสงสว่างและเห็นรูปได้แต่ไม่นาน จึงตรัสเล่าเหตุการณ์การปฏิบัติของพระองค์ก่อนการตรัสรู้ ซึ่งทรงพบอุปสรรคเช่นนั้นเหมือนกัน แต่ทรงพิจารณาจนเห็นอุปกิเลส 11 ประการ ที่เป็นเหตุให้เป็นเช่นนั้น และเมื่อทรงละอุปกิเลสได้ จึงทรงเจริญสมาธิ 3 ประการได้ ญาณทัสสนะจึงเกิดขึ้นแก่พระองค์    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์            สูตร2 #วัตถูปมสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน ซึ่งมีสุนทริกภารทวาชปริพาชกนั่งฟังอยู่ด้วย และทรงทราบว่าปริพาชกนี้เชื่อถือลัทธินหานสุทธิ คือเชื่อว่าความบริสุทธิ์มีได้เพราะการอาบน้ำลอยบาป จึงทรงแสดงธรรมให้เป็นไปตามอัธยาศัยของปริพาชกนี้ จึงทรงตรัสสอนปริพาชกนี้ว่า คนที่ทำกรรมชั่วไว้แล้ว ถึงจะไปอาบน้ำที่ไหนก็หาทำให้เกิดความสะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมาได้ไม่ แล้วตรัสสอนการอาบน้ำในศาสนาของพระองค์ เมื่อตรัสจบ สุนทริกภารทวาชปริพาชกประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ทูลขอบรรพชาอุปสมบทและได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในกาลต่อมาพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
สูตร 1 #ภยเภรวสูตร ทรงแสดงแก่ชาณุสโสณิพราหมณ์ ณ พระเชตวัน ทรงปรารภคำถามของพราหมณ์ว่า การอยู่เสนาสนะอยู่ลำบาก ทำให้สงบได้ยาก การอยู่โดดเดี่ยวก็หาความรื่นรมย์ได้ยาก ป่าทั้งหลายมักจะชักนำจิตของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิให้เกิดความหวาดหวั่นได้ ทรงอธิบายเหตุสะดุ้งกลัวการอยู่ในเสนาสนะป่า 16 ประการของสมณพราหมณ์พวกอื่น เปรียบเทียบกับเหตุไม่สะดุ้งกลัวการอยู่ในเสนาสนะป่าของพระองค์ และพระอริยะทั้งหลายซึ่งมีนัยตรงข้ามกัน และทรงอธิบายว่าขณะที่ยังไม่ได้ตรัสรู้ ทรงเลือกการอยู่เสนาสนะป่า และเมื่อความขลาดกลัวเกิดขึ้นในขณะที่ทรงอยู่ในอิริยาบถใดก็ทรงพิจารณาความขลาดกลัวให้หมดไปในอิริยาบถนั้น จะไม่ทรงเปลี่ยนอิริยาบถจนกว่าจะทรงกำจัดได้ แล้วทรงบำเพ็ญเพียรต่อไปจนได้ฌาน 4 และวิชชา 3 แม้หลังจากตรัสรู้แล้ว ก็ยังทรงอยู่เสนาสนะป่าเป็นประจำ เพราะทรงเห็นอำนาจประโยชน์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน 2) เพื่อการอนุเคราะห์คนรุ่นหลังให้ถือปฏิบัติตาม เมื่อทรงอธิบายจบลง ชาณุสโสณิพราหมณ์เกิดความเลื่อมใส ประกาศตนเป็นอุบาสก                                          สูตร 2 #ชาณุสโสณิสูตร (อังคุตรนิกาย # 20) พราหมณ์เข้าเฝ้าและได้สนทนากันเรื่องวิชชา 3 ของพวกพราหมณ์ ทรงตรัสว่าผู้ได้วิชชา 3 ของพวกพราหมณ์เป็นอย่างหนึ่ง ผู้ได้วิชชา 3 ในอริยวินัยนี้เป็นอย่างหนึ่ง แล้วทรงแสดงในรายละเอียด สูตร 3 # ชาณุสโสณิสูตร (สังยุตตนิกาย # 16) พราหมณ์เข้าไปเฝ้าแล้วทูลถามว่า สิ่งทั้งปวงมี หรือว่าสิ่งทั้งปวงไม่มี ทรงตรัสตอบว่า ความเห็นอย่างนั้นเป็นความเห็นสุดโต่ง แล้วทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทอันเป็นทางสายกลางแก่พราหมณ์   Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
สูตร1 #คาวีอุปมาสูตร อุปมาด้วยแม่โค ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงเปรียบเทียบภิกษุผู้โง่เขลากับแม่โคที่โง่เขลาและภิกษุผู้ฉลาดกับแม่โคที่ฉลาดว่า ภิกษุผู้โง่เขลาที่ไม่สามารถบรรลุปฐมฌานได้ ก็จะบรรลุทุติยฌานไม่ได้ เหมือนแม่โคโง่เขลาที่ไม่สามารถหากินบนภูเขาขรุขระในถิ่นตนได้ ก็จะไปหากินในที่ต่างถิ่นไม่ได้ ส่วนภิกษุผู้ฉลาดที่สามารถบรรลุปฐมฌานได้ ก็สามารถบรรลุณานขั้นสูงขึ้นไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธได้ เหมือนแม่โคฉลาดที่สามารถหากินบนภูเขาขรุขระในถิ่นตนได้ ก็สามารถไปหากินในที่ต่างถิ่นได้ องค์ธรรมในสูตรนี้ คือ อนุปุพพวิหาร 9 ประการ นอกจากนี้ยังทรงแสดงธรรมอื่น คือ อิทธิวิธญาณ ทิพพโสตะ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไว้โดยละเอียด            สูตร2 #ตปุสสสูตร ว่าด้วยตปุสสคหบดี ท่านพระอานนท์พาตปุสสคหบดีไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลเรื่องที่คหบดีนั้นเล่าให้ฟังว่า พวกเขาเป็นคฤหัสถ์มีความยินดีรื่นรมย์บันเทิงในกาม เนกขัมมะ (การออกบวช) ปรากฎแก่พวกเขาเหมือนเหวใหญ่ จิตของภิกษุหนุ่มๆ ยินดีในเนกขัมมะ เมื่อพิจารณาเห็นว่าเนกขัมมะเป็นธรรมสงบ ภิกษุมีธรรมที่ต่างกับคฤหัสถ์ คือ เนกขัมมะ พระองค์ตรัสว่าข้อนั้นเป็นความจริง แม้พระองค์เองก่อนตรัสรู้ก็มีความดำริว่า เนกขัมมะเป็นความดี ความสุขเป็นความดี แต่จิตของพระองค์ก็ไม่น้อมไปในเนกขัมมะ เมื่อพิจารณาเห็นว่าเนกขัมมะเป็นธรรมสงบ จึงดำริว่า อะไรเป็นเหตุให้เป็นเช่นนั้น รู้ว่า เพราะยังไม่เห็นโทษในกาม และยังไม่ได้รับอานิสงส์ในเนกขัมมะ ถ้าได้เห็นโทษในกาม และได้รับอานิสงส์ในเนกขัมมะ จิตก็จะน้อมไปในเนกขัมมะ แล้วทรงแสดงว่า พระองค์ทรงบรรลุอนุปุพพวิหาร 4 ทรงสรุปว่า เมื่อใด พระองค์เข้าหรือออกจากอนุปุพพวิหารสมาบัติ 4 ประการนี้ได้ตามปรารถนา ทั้งโดยอนุโลม และปฏิโลม เมื่อนั้นพระองค์จึงกล้ายืนยันว่าได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกทั้งปวง พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
สูตร1 # อานาปานัสสติสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งประกอบด้วยภิกษุผู้บวชใหม่ และพระเถระผู้มีชื่อเสียงหลายรูป พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทของนางวิสาขาในบุพพาราม ในวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ คืนดวงจันทร์เต็มดวง ในวันปวารณา พระผู้มีพระภาคทรงประทับนั่ง ณ ที่กลางแจ้ง มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่ และตรัสว่า ในหมู่ภิกษุนี้ มีภิกษุที่เป็นพระอริยเจ้า และภิกษุผู้ทำความเพียรในการเจริญหลักธรรมต่างๆอยู่ ได้ทรงแสดงหลักการเจริญ หลักธรรม 3 หมวด ที่เมื่อทำให้มากแล้ว มีผลมาก และมีอานิสงส์มาก คือ อานาปานสติ 16 ขั้น สติปัฏฐาน 4 และโพชฌงค์ 7 ตามลำดับ โดยที่สุดแล้วจึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์                  พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์สูตร2 # อานาปานสังยุต พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกับภิกษุเรื่องธรรมอันเป็นเอก ซึ่งคืออานาปานสติ หากทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ได้ทรงแสดงถึงผลานิสงส์การเจริญอานาปานสติ 7 ประการ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค   Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
โสณทัณฑสูตร ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโสณทัณฑะ ที่ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้สนทนาถึงคุณสมบัติของพราหมณ์ที่เชื่อกันว่ามี 5 ประการ แต่เมื่อตัดคุณสมบัติบางอย่างออกไปก็ยังพอจะเรียกว่าพราหมณ์ได้ แต่คุณสมบัติสองประการที่มิอาจตัดได้ นั่นคือ ศีลและปัญญา เพราะสองสิ่งนี้ช่วยชำระกันและกัน ต่อมาพระพุทธเจ้าได้ขยายความถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นพราหมณ์ในธรรมวินัยนี้ คือ การที่ได้มาซึ่งศีล สมาธิ และปัญญา ตามลำดับ พราหมณ์ผู้ยิ่งใหญ่ยอมรับ และได้เข้าถึงความเป็นอุบาสกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
สูตร#1 อัฏฐกนาครสูตร พระอานนท์แสดงธรรมโปรดทสมคฤหบดี ชาวเมืองอัฏฐกะ ณ เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี โดยปรารภคำถามของทสมคฤหบดีที่ว่า "ธรรมอันเป็นเอก ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป ฯลฯ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่หรือไม่ เป็นอย่างไร?" พระอานนท์อธิบายถึงธรรมต่อไปนี้ คือ รูปฌาน 4 อัปปมัญญา 4 อรูปฌาน 3 และการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงและดับไปของธรรมนั้น ซึ่งเมื่อแสดงธรรมจบ ทสมคฤหบดีได้ชื่นชมยินดี กล่าวว่า ตนแสวงหาประตูอมตธรรมประตูเดียว แต่ได้พบถึง 11 ประตู โดยการฟังเท่านั้น เปรียบเหมือนคนแสวงหาแหล่งขุมทรัพย์แห่งเดียว แต่ได้พบแหล่งขุมทรัพย์ถึง 11 ขุม ทสมคฤหบดีทำการบูชาพระอานนท์ โดยได้ถวายอาหารอันประณีตด้วยมือของตนแก่เหล่าภิกษุสงฆ์ ได้ถวายผ้าไตรจีวรและสร้างวิหาร 500 หลังถวายแก่พระอานนท์พระไตรปิฎกเล่มที่ 13 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 5 [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์สูตร#2 สาเลยยกสูตร ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลา เหล่าพราหมณ์และคหบดีทั้งหลายได้ยินกิตติศัพท์ของพระพุทธเจ้า จึงพากันไปเข้าเฝ้าฯ และได้ทูลถามปัญหา "อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ทำให้สัตว์บางพวกตายแล้วเข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก และสัตว์บางพวกตายแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์" พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบว่า พวกที่เข้าถึงอบาย ฯลฯ เพราะประพฤติอธรรม คือ อกุศลกรรมบท 10 และประพฤติธรรมไม่สม่ำเสมอ ส่วนพวกที่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์นั้น เพราะประพฤติธรรม คือ กุศลกรรมบท 10 และประพฤติธรรมสม่ำเสมอ และได้ทรงตรัสถึงผลแห่งความประพฤติโดยรายละเอียด เหล่าชาวบ้านสาลาต่างพากันชื่นชมยินดีในภาษิตของพระผู้มีพระภาค และได้แสดงตนเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต พระไตรปิฎกเล่มที่ 12 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 4 [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
สูตร1 # อนุปุพพวิหารสูตร ว่าด้วยอนุปุพพวิหารสูตร คำว่า “อนุปุพพวิหารธรรม” หมายถึง ธรรมเครื่องอยู่ที่ต้องเข้าสมาบัติตามลำดับมี 9 ประการ คือ รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4 และ สัญญาเวทยิตนิโรธ พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า “กามทั้งหลายย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับกามทั้งหลายได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว”สูตร2 # อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร ว่าด้วยอนุปุพพวิหารสมาบัติมี 9 ประการ คือ รูปฌาน4 และอรูปฌาน 4 และ สัญญาเวทยิตนิโรธ โดยทรงแสดงธรรมถึงการดับของอนุปุพพวิหารสมาบัติ ตามลำดับ โดยทรงกล่าวยกย่องว่าบุคคลผู้เข้าถึงอนุปุพพวิหารสมาบัติทั้ง 9 ประการ ว่าเป็นผู้ที่ควรแสดงความอ่อนน้อมด้วยการกราบไหว้ เข้าไปนั่งใกล้สูตร3 # นิพพานสูตร ว่าด้วยนิพพานเป็นสุข ซึ่งเป็นคำที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวกับภิกษุทั้งหลาย ณ พระวิหารเวฬุวัน แต่ท่านพระอุทายีแย้งว่า “นิพพานไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร” ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “นิพพานไม่มีเวทนานั่นแหละเป็นสุข” แล้วได้แสดงกามคุณ 5 และสุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ 5 เกิดขึ้นเรียกว่า กามสุข และแสดงว่า ในฌานสมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 แต่ละอย่างยังมีสิ่งกดดัน (อาพาธ) หมายถึง ความบีบคั้น เช่น ในปฐมฌานมีสัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามเป็นสิ่งกดดัน แต่ในองค์ธรรมประการที่ 9 คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มีสิ่งกดดันเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร สูตร4 # อนุปทสูตร ว่าด้วยธรรมตามลำดับบท ทรงแสดงแก่ภิกษุ ณ พระเชตะวัน ทรงตรัสสรรเสริญท่านพระสารีบุตรให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า ท่านพระสารีบุตรมีความฉลาดล้ำ มีปัญญาเลิศ มากกว่าภิกษุอื่น สามารถเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทได้เพียงกึ่งเดือน เห็นแจ้งตามลำดับบท คือ บรรลุรูปฌาน 4, อรูปฌาน 4, สัญญาเวทยิตนิโรธ และความสิ้นอาสวะ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
สูตร1 # จูฬธัมมสมาทานสูตร [468] ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน เพื่อให้ภิกษุทั้งหลายทราบว่าการสมาทานธรรมมี 4 ประการ หมายถึงการนำธรรมมาปฏิบัติ ซึ่งทรงอธิบายการสมาทานธรรม 4 ประการ โดยละเอียด และยกอุปมาโวหารประกอบ ทรงถือเอาความทุกข์และความสุขในขณะปฏิบัติ กับความทุกข์และความสุขที่เป็นผลแห่งการปฏิบัติเป็นหลักเกณฑ์ ที่สูงสุดคือความสุขในสุคติโลกสวรรค์                                       สูตร2 # มหาธัมมสมาทานสูตร [473] ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ตรัสไว้ว่าคนส่วนมากต้องการให้สิ่งที่ไม่พึงประสงค์เสื่อมสิ้นไป ต้องการให้สิ่งที่พึงประสงค์เจริญพอกพูน ทั้งที่หวังไว้อย่างนั้นแต่กลับไม่สมหวัง สิ่งที่ไม่ต้องการกลับเจริญพอกพูน สิ่งที่ต้องการกลับไม่มี ได้ทรงอธิบายโดยยกการสมาทานธรรม 4 ประการ ดังที่แสดงไว้ในจูฬธัมมสมาทานสูตร แต่ทรงแยกอธิบาย คือบุคคลผู้ไม่รู้จักการสมาทานธรรมตามความเป็นจริง ชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา ทำให้ไม่รู้ว่าสิ่งไหนควรเสพ สิ่งไหนไม่ควรเสพ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา เป็นต้น เจริญขึ้น ธรรมที่น่าปรารถนา เป็นต้น เสื่อมไป แต่ถ้ารู้การสมาทานธรรมตามเป็นจริง ชื่อว่ามีวิชชา ก็จะเป็นเหตุให้รู้ว่าสิ่งไหนควรเสพ สิ่งไหนไม่ควรเสพ ทำให้ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา เป็นต้น เสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา เป็นต้น เจริญขึ้น และทรงอธิบายการสมาทานธรรมโดยการปฏิบัติธรรมที่เป็นอกุศลกรรมบท 10 และกุศลกรรมบท 10 หลังจากตายจะได้รับผลเป็นทุคติและสุคติ และทรงยกอุปมาของการสมาทานธรรม 4 ประการพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
สูตร1 # จูฬสุญญตสูตร สมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ได้ทรงตรัสตอบคำถามของพระอานนท์ที่ทูลถามเรื่อง การทำจิตในใจให้ถึงความว่างเปล่า (สุญญตวิหารธรรม) ของพระผู้มีพระภาค ได้ทรงอธิบายและแสดงรายละเอียดในวิธีปฏิบัติสุญญตาวิหารธรรมไว้ 7 ขั้น จากต่ำไปสูง และทรงสรุปว่า ในอดีต อนาคต และปัจจุบัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเข้าสุญญตาผลสมาบัติก็จะเข้าสุญญตาอันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น                                                    สูตร2 # มหาสุญญตสูตร สมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงแก่ท่านพระอานนท์และภิกษุทั้งหลาย ทรงปรารภการอยู่คลุกคลีกันด้วยหมู่คณะของภิกษุหลายรูปในที่นั้น ซึ่งเป็นช่วงจีวรกาล ที่ภิกษุมาร่วมกันทำจีวร ทรงทอดพระเนตรเห็นเสนาสนะจำนวนมาก ทรงตำหนิว่าการที่ภิกษุพอใจในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะไม่ดีเลย ภิกษุผู้หลีกออกจากหมู่คณะไปอยู่ผู้เดียวเท่านั้น จึงจะได้รับความสุขจากความสงัด ความสงบ การตรัสรู้ และจะบรรลุเจโตวิมุตติได้ และพระองค์ก็อยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรมนั้น ได้ทรงอธิบายเหตุผลโดยละเอียด วิธีฝึก และวิธีอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรม ซึ่งการมีสัมปชัญญะ และน้อมจิตไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นขั้นตอนแรกในการทำจิตให้ถึงความว่างได้ และทรงเน้นเรื่องการปฏิบัติกับพระองค์เหมือนกับมิตร อย่าปฏิบัติกับพระองค์เหมือนศัตรู  พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
สูตร1 # อุโปสถสูตร (การรักษาศีล 8)  สมัยหนึ่ง นางวิสาขาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตาในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ได้รับสั่งทักนางวิสาขา ซึ่งได้ทูลตอบว่าจะรักษาอุโบสถ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า อุโบสถ 3 ประเภท ได้แก่ 1) โคปาลอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงคนเลี้ยงโค) เป็นการรักษาศีลไม่จริง 2) นิคัณฐอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงนิครนถ์) เป็นการกระทำอย่างพวกนักบวชนอกศาสนาที่เรียกว่านิครนถ์ ชักชวนสาวกให้ต้อนตีสัตว์ไปในทิศทางต่าง ๆ บ้างก็ชักชวนกันให้เมตตาสัตว์บางชนิด บ้างก็ให้ทารุณกับสัตว์บางชนิด บ้างก็ชักชวนให้สลัดผ้านุ่งห่มทุกชิ้นในวันอุโบสถ และ 3) อริยอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงอริยะ) เป็นการสมาทานรักษาอุโบสถของผู้ปรารภความเพียรคือ ทำจิตที่เศร้าหมองนั้นให้ ผ่องแผ้ว โดยระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เมื่อระลึกอย่างนี้จิตย่อมผ่องใส เกิดปีติปราโมทย์ ละกิเลสเครื่อง เศร้าหมองของจิตแล้วตรัสต่อไปว่า อริยอุโบสถนี้ที่บุคคลสมาทานรักษาแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแผ่ไพศาลมาก เปรียบเหมือน พระราชาเสวยราชสมบัติ และอธิปไตยในชนบทใหญ่ ๆ ทั้ง 16 แคว้น สมบูรณ์ด้วยรัตนะทั้ง 7 ประการ ถือว่า การเสวยการครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้นยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ 8 ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อยสูตร2 # อิธโลกิกสูตร (ธรรมที่เป็นไปเพื่อชัยชนะในโลกนี้) สมัยหนึ่ง นางวิสาขาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ได้ตรัสกับนางวิสาขาว่า มาตุคาม(หญิงชาวบ้าน) ที่ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกนี้ ประกอบด้วย 1. จัดการงานดี (เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงาน) 2. สงเคราะห์คนข้างเคียง (รู้จักการงานคนในบ้านสามี) 3. ปฏิบัติถูกใจสามี (ไม่ล่วงละเมิดสิ่งที่ไม่เป็นที่พอใจของสามี) และ 4. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกหน้านั้น ต้องเป็นผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล จาคะ และปัญญา ดังนั้นธรรมทั้ง 8 ประการนี้มีอยู่แก่สตรีใดสตรีนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่า “ผู้มีศีล ตั้งอยู่ในธรรม กล่าวคำสัตย์” อุบาสิกาเช่นนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยอาการ 16 อย่างประกอบด้วยองค์ 8 ประการ เป็นผู้มีศีล ย่อมเกิดในเทวโลกชื่อว่า “มนาปกายิกะ”                                                                                                                        สูตร3 # อนุรุทธสูตร (พระอนุรุทธและเทวดาเหล่ามนาปกายิกา) สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ท่านพระอนุรุทธะพักผ่อนกลางวัน หลีกเร้นอยู่ มีเทวดาเหล่ามนาปกายิกามากมาย ได้เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ เหล่าเทวดาเหล่านั้นได้กล่าวว่าเป็นเทวดาชื่อ “มนาปกายิกา” ครองความเป็นใหญ่และมีอำนาจ 3 ประการ คือหวังวรรณะ (ผิวพรรณ) เสียง และความสุข เช่นใดก็จะได้เช่นนั้น เหล่าเทวดาทราบความดำริของพระอนุรุทธะ จึงแปลงร่างผิวพรรณ นุ่งผ้าและเครื่องประดับเป็นสีเขียว เหลือง ขาว ต่างขับร้อง ฟ้อนรำ ปรบมือ มีความไพเราะเปรียบเหมือนดนตรี แต่พระอนุรุทธิทอดอินทรีย์ลง (ไม่ลืมตาดู) ได้เข้าเฝ้าและเล่าเรื่องเทวดาให้ฟังพร้อมทูลถามพระผู้มีพระภาคว่ามาตุคามต้องประกอบด้วยธรรมใด เมื่อตายไปแล้วจึงจะไปเกิดร่วมกับเทวดามนาปกายิกา ซึ่งได้ทรงตรัสว่ามาตุคามประกอบด้วยธรรม 8 ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย ของเทวดาเหล่ามนาปกายิ (ชั้นนิมมานนรดี) Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
โลหิจจพราหมณ์ผู้มีทิฎฐิ คือ มีความเห็นผิดที่ไม่เห็นถูกต้อง หลังจากได้ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงการจำแนก แยกแยะประเภทของศาสดาที่ควรถูกทักท้วง 3 ประเภท และศาสดาที่ไม่สมควรถูกทักท้วง โดยได้ทรงแสดงให้เห็นว่าศาสดาที่สาวกได้บรรลุคุณธรรมอันวิเศษยอดเยี่ยมเป็นที่ประจักษ์นั้นไม่สมควรถูกทักท้วง ได้ทรงอธิบายการบรรลุคุณธรรมอันวิเศษต้องเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล การสำรวมอินทรีย์ ฌาณ และวิชชา(ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ) 8 ประการ ประกอบด้วย วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิญาณ อิทธิวิธญาณ ทิพยโสตญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพพจักขุญาณ และอาสวักขยญาณ เมื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบแล้วโลหิจจพราหมณ์กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
สูตร 1 โลหิจจสูตร #สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป เสด็จถึงหมู่บ้านสาลวติกา ซึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานให้โลหิจจพราหมณ์ครอบครอง โลหิจจพราหมณ์มีความเห็นผิดเกิดขึ้นว่า สมณะหรือพราหมณ์ผู้บรรลุกุศลธรรมแล้วไม่ควรสอนคนอื่น เพราะคนอื่นจะทำอะไรแก่อีกคนหนึ่งได้ การบอกแก่คนอื่น จัดว่าเป็นความโลภ ( ความอยากได้ ) เป็นบาป เปรียบเหมือนคนตัดเครื่องจองจำเก่าออกแล้ว กลับทำเครื่องจองจำใหม่ให้แก่ตัวเองอีก โลหิจจพราหมณ์ได้ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึงตำบลบ้านชื่อสาลวติกา จึงใช้ช่างกัลบก ชื่อโรสิกะ ให้ไปกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ให้มารับภัตตาหารในวันรุ่งขึ้นเมื่อเสด็จไปฉันเสร็จแล้ว ได้ทรงโต้ตอบกับโลหิจจพราหมณ์ถึงเรื่องความเห็นผิดนั้น ทรงเปรียบเทียบให้เห็นว่า โลหิจจพราหมณ์ซึ่งครอบครองตำบลบ้านสาลวติกาก็ตาม พระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งทรงครอบครองแคว้นโกศลก็ตาม ถ้าบริโภคผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในดินแดนที่ปกครองแต่ผู้เดียว ไม่ยอมแบ่งปันให้ผู้อื่นอย่างนี้ จะเชื่อว่าทำอันตรายแก่ผู้ที่เป็นข้าทาสบริวาร ซึ่งโลหิจจพราหมณ์ยอมรับว่าเป็นการทำอันตรายแก่คนเหล่านั้น ทรงเปรียบเทียบว่า การกล่าวว่าผู้ครอบครองบริโภคผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแต่ผู้เดียวไม่แบ่งปันแก่ใครเลย ก็เช่นเดียวกันการกล่าวว่า ผู้บรรลุกุศลธรรมไม่ควรบอกแก่ใคร ๆ ซึ่งเป็นการทำอันตรายเป็นการตั้งจิตเป็นศัตรูต่อผู้ที่ควรจะได้รับ และเป็นการมีความเห็นผิด แล้วทรงแสดงถึงศาสดาที่ควรถูกทักท้วง 3 ประเภท และศาสดาที่ไม่ควรถูกทักท้วง โลหิจจพราหมณ์กราทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต   สูตร 2 # จุลศีลได้ทรงแสดงภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล คือ จุลศีล มี 26 ข้อสูตร 3 # มัชฌิมศีลได้ทรงแสดงศีลที่ภิกษุละเว้น มี 10 ข้อสูตร 4 # มหาศีลได้ทรงแสดงศีลที่ภิกษุเว้นจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด มี 7 ข้อ สูตร 5 # อินทรียสังวรได้ทรงแสดงการสำรวมอินทรียทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้าย ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ(กาย) รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ, ระวังไม่ให้กิเลสครอบงำใจ ในเวลารับรู้อารมณ์ทางอินทรีย์ทั้ง ๖ นั้นเพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
สูตร1# ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี (โกสัมพิยสูตร) สมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี ครั้งนั้นภิกษุในกรุงโกสัมพีทะเลาะวิวาทกัน บาดหมางกัน ทรงตรัสเรียกเหล่าภิกษุที่บาดหมาง และทะเลาะวิวาทกันมาเข้าเฝ้า โดยทรงแสดงสาราณิยธรรม ซึ่งเป็นธรรมให้ระลึกถึงกันมี 6 ประการ คือทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และได้ทรงตรัสถึงทิฏฐิอันประเสริฐ เพื่อความสิ้นทุกข์ โดยทรงอธิบายตั้งแต่ฌานที่ 1 ถึงญาณที่ 7 อันเป็นโลกกุตตระ ( ข้ามโลก )ไม่ทั่วไปแก่ปุถุชนทั้งหลาย ซึ่งทำให้ผู้ประกอบด้วยธรรม 7 ประการ เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยโสดาปัตติผล                        สูตร2# เหตุการณ์ในหมู่บ้านสามคาม (สามคามสูตร) สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านสามคาม แคว้นสักกะ ครั้งนั้นนิครนถ์ นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมไม่นาน ได้เกิดการแตกกันของลัทธินิครณฐ์ เป็น 2 พวก เนื่องจากธรรมวินัยของเจ้าลัทธิที่ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และสาวกก็ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พระจุนทะเข้าไปหาพระอานนท์เล่าความให้ฟัง พระอานนท์จึงนำเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลเรื่องราว และแสดงความปรารถนาที่จะเห็นว่าไม่มีการวิวาทเกิดขึ้นในสงฆ์ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก พระผู้มีพระภาคจึงตรัสแก่พระอานนท์ ทรงแสดงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ (สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8) มูลเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท 6 ประการ, อธิกรณ์ 7 อย่าง, และในที่สุดได้ทรงแสดงธรรมสำหรับอยู่รวมกัน 6 ประการที่เรียกว่าสาราณิยธรรม อันเป็นไปเพื่อสงเคราะห์อนุเคราะห์และมีเมตตาต่อกัน เพื่อสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
สูตร1# เหตุสำเร็จความปรารถนา(สังขารูปปัตติสูตร) สมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ทรงแสดงธรรมแก่พระภิกษุ เรื่องเหตุสำเร็จความปรารถนา(สังขารูปปัตติ) ว่าธรรม 5 ประการ ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ซึ่งเมื่อตั้งจิต อธิษฐานจิต เจริญจิต และเมื่อทำให้มากแล้ว จะเกิดในฐานะนั้น ๆ ได้ตามปรารถนา ตั้งแต่ความเป็นกษัตริย์มหาศาล คหบดีมหาศาล พราหมณ์มหาศาล จนถึงเทพ, พรหม ทั้งรูปพรหมและอรูปพรหม และในที่สุดถึงซึ่งอาสวะ(ไม่เกิดในภพไหนๆอีก)                                       สูตร2# การจำแนกผู้ควรรับทาน (ทักขิณาวิภังคสูตร) สมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พระนางมหาปชาบดีโคตมี นำคู่ผ้าใหม่ซึ่งทรงกรอด้ายเองไปถวายพระผู้มีพระภาค ขอให้ทรงรับเป็นการอนุเคราะห์ พระผู้มีพระภาคตรัสแนะให้ถวายในหมู่สงฆ์ ซึ่งเป็นการบูชาทั้งพระองค์และพระสงฆ์ แม้ว่าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงยืนยันขอถวายพระผู้มีพระภาคตามเดิมเป็นครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 แต่พระผู้มีพระภาคก็ทรงแนะนำตามเดิมแม้ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 พระอานนท์ได้กราบทูลให้พระผู้มีพระภาคทรงรับ โดยอ้างอุปการะคุณ ซึ่งพระนางมหาปชาบดีโคตมีเคยมีต่อพระผู้มีพระภาคในการที่ทรงเลี้ยงดู และอ้างอุปการะคุณที่พระผู้มีพระภาคทรงมีต่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี แล้วทรงตรัสแก่พระอานนท์เรื่องทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิก ที่เจาะจงบุคคล 14 อย่าง อานิสงส์จากการถวายทานที่ไม่เท่ากัน ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ และความบริสุทธิ์แห่งทักษิณาโดยทรงแสดงรายละเอียดกำหนดความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ ทั้งผู้ให้(ทายก)และผู้รับ(ปฏิคาหก) ที่เป็นผู้มีศีล และผู้ทุศีลสูตร3# ธรรมที่น่าปรารถนา (อิฏฐสูตร) ทรงแสดงธรรมแก่ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ว่าด้วยธรรม 5 ประการ ได้แก่ อายุ วรรณะ ความสุข ยศ สวรรค์ ซึ่งเป็นที่ปรารถนาและหายากในโลก แต่การได้มานั้นพระพุทธเจ้าไม่ได้ให้อ้อนวอน หรือเพลิดเพลิน กับอายุ วรรณะ ความสุข ยศ สวรรค์ แต่ควรปฏิบัติฏิปทาเพื่อความเป็นไปด้วยธรรมทั้ง 5 ประการนี้แล                            Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ปาสาทิกสูตร#2   ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทในอัมพวันของพวกเจ้าศากยะนามว่า เวธัญญา แคว้นสักกะ พระอานนท์ได้นำพระจุนทะ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับและได้กราบทูลเรื่องการถึงแก่กรรมของนิครณฐ์นาฏบุตร (เจ้าลัทธิ) ภายหลังการถึงแก่กรรมไม่นาน เกิดการแตกกันของลัทธินิครณฐ์ เป็น 2 พวก ทำให้ธรรมวินัยของเจ้าลัทธิที่ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำ ผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัยพระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่าธรรมวินัยของนิครนฐ์ ที่กล่าวไว้ไม่ดี ไม่นำพาให้พ้นทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และสาวกก็ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมทรงตรัสว่าองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนา คือ ศาสดา หลักธรรม และสาวก มีส่วนสำคัญทำให้ศาสนามีความบริบูรณ์ครบถ้วน ได้รับคำสรรเสริญ และทรงกล่าวถึงพระธรรมคำสั่งสอนที่ทรงแสดงได้ควรต้องมีการตรวจสอบและสังคายนา เพื่อความดำรงอยู่ได้นาน เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย รวมทั้งทรงตรัสสอนหลักการตอบคำถามที่ถูกต้องหากมีผู้ไม่เข้าใจ ไม่เห็นด้วย เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอุปวาณะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทในอัมพวันของพวกเจ้าศากยะนามว่า เวธัญญา แคว้นสักกะ พระอานนท์ได้นำพระจุนทะ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ และได้กราบทูลเรื่องการถึงแก่กรรมของนิครณฐ์นาฏบุตร (เจ้าลัทธิ) ภายหลังการถึงแก่กรรมไม่นาน เกิดการแตกกันของลัทธินิครณฐ์ เป็น 2 พวก ทำให้ธรรมวินัยของเจ้าลัทธิที่ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัยพระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่าธรรมวินัยของนิครนฐ์ ที่กล่าวไว้ไม่ดี ไม่นำพาให้พ้นทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และสาวกก็ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ทรงตรัสว่าองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนา คือ ศาสดา หลักธรรม และสาวก มีส่วนสำคัญทำให้ศาสนามีความบริบูรณ์ครบถ้วน ได้รับคำสรรเสริญ และทรงกล่าวถึงพระธรรมคำสั่งสอนที่ทรงแสดงได้ควรต้องมีการตรวจสอบและสังคายนา เพื่อความดำรงอยู่ได้นาน เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย   Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
อัสสลายนสูตร ว่าด้วยการโต้วาทะระหว่างพระพุทธเจ้ากับอัสสลายนมาณพ ในเรื่องทิฎฐิความเชื่อของเหล่าพราหมณ์ทั้งหลายที่ว่า 1) พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ วรรณะอื่นเลว 2) พราหมณ์เท่านั้น เป็นวรรณะขาว วรรณะอื่นดำ 3)พราหมณ์เท่านั้นย่อมบริสุทธิ์ คนที่มิใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ และ 4) พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตรพรหม เป็นโอรสพรหม เกิดแต่ปากของพรหม เกิดแต่พรหม อันพรหมนิรมิต เป็นทายาทของพรหม พระพุทธเจ้าทรงโต้กลับอัสสลายนมาณพ โดยยกถึง 1) การเกิดจากช่องคลอดเหมือนกัน 2) การสลับกลับไปมาระหว่างวรรณะเจ้าและทาส 3) แม้กษัตริย์..พราหมณ์..แพศย์..ศูทร..วรรณะ 4 ผู้มีปกติฆ่าสัตว์...มีความเห็นผิด เมื่อตายไป ก็พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ทั้งหมด 4) แม้กษัตริย์..พราหมณ์..แพศย์..ศูทร..วรรณะ 4 ผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์...มีความเห็นชอบ เมื่อตายไป ก็พึงเข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์ทั้งหมด 5) แม้กษัตริย์..พราหมณ์..แพศย์..ศูทร..วรรณะ 4 ก็สามารถเจริญเมตตาจิต อันไม่มีเวรไม่มีความ เบียดเบียนได้ทั้งหมด 6) เปรียบเทียบมาณพสองคน ที่เป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน คนหนึ่งเป็นคนศึกษาเล่าเรียน แต่เป็นคนทุศีล มีธรรมอันลามก อีกคนหนึ่งไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน แต่เป็นคนมีศีล มีกัลยาณธรรม ในสองคนนี้พึงเชื้อเชิญคนไหนให้บริโภคก่อน ..(คัดมาบางส่วน) พระพุทธเจ้าได้ตรัสอธิบายถึงเรื่องของวรรณะ ที่ไม่ว่าจะวรรณะใด ก็สามารถทำดีหรือทำไม่ดีได้ และถ้ามีคุณธรรมดี มันดีกว่ามีปัญญาความรู้ หรือว่าชาติกำเนิดนั้น ๆ ยังได้ตรัสเล่าถึงวรรณะ 4 จำพวกในอดีตและเรื่องราวของอสิตเทวลฤาษีที่ปราบพราหมณฤษี 7 ตน ทำให้อัสสลายนมาณพย่อมจำนนทั้งเกิดความแจ่มแจ้ง จนกลายเป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส กราบทูลสรรเสริญแสดงตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
loading
Comments 
Download from Google Play
Download from App Store