Discover7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)
Claim Ownership
7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)
Author: ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
Subscribed: 72Played: 460Subscribe
Share
© 2024 panya.org
Description
การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
326 Episodes
Reverse
Q : ลอยกระทงกับศาสนา A : ลอยกระทงเป็นประเพณีวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับแนวทางคำสอน คือท่านได้บัญญัติการจำพรรษาของพระภิกษุจะมี 2 ห้วงเวลา คือ 3 เดือนแรกของสี่เดือนฤดูฝน เริ่มจากวันเข้าพรรษาถึงวันออกพรรษา หรือ 3 เดือนท้ายของสี่เดือนฤดูฝน เริ่มจากหนึ่งเดือนหลังจากเข้าพรรษาถึงวันลอยกระทง ซึ่งเป็นวันออกพรรษาของพรรษาหลัง Q : ผูกเวร ผูกใจ ตัดขาดไม่ข้ามชาติได้หรือไม่?A : สิ่งที่จะติดตัวเราไปข้ามภพชาติได้คือบุญและบาป ทรัพย์สินเงินทองไม่สามารถข้ามภพชาติได้ ส่วนจะมีภพหน้าหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย หากมีเหตุปัจจัยให้เกิดก็เกิด หากมีเหตุปัจจัยให้ไม่เกิดก็ไม่เกิด (พระอรหันต์) การผูกเวร แม้เราจะทำดีแล้วปฏิบัติดีแล้ว เขาก็ยังผูกเวรกับเรานั้น นั่นเป็นเรื่องของวัฏฏะ สิ่งที่เราควรทำ คือเดินตามมรรค 8 รักษาจิตให้เป็นกุศล หากเรายังมีความอยากที่จะไม่เจอเขาอีก นั่นแสดงว่าเรามีตัณหาแล้ว Q : ฟังธรรมกับการทำมาหากินเกี่ยวกันอย่างไร?A : ท่านพูดถึงดวงตา 3 ดวง คือ 1) มีดวงตาเห็นช่องทางในการหาทรัพย์ 2) ดวงตาที่หาทรัพย์ด้วยความสุจริต 3) มีดวงตาที่จะเห็นอริยสัจสี่ หากเราเห็นแค่ดวงใดดวงหนึ่งก็ไม่ได้แปลว่าผิด เพียงแต่เป็นการที่เห็นไม่รอบด้าน ซึ่งการทำมาหากินกับการฟังธรรมสามารถทำไปด้วยกันได้ อันไหนที่เราทำได้ให้ทำก่อนแล้วค่อย ๆ ทำเพิ่ม Q : สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรคืออย่างไร?A : คือสมัยที่บำเพ็ญเพียรแล้วจะได้ผลน้อย คือ 1) ความแก่ชรา 2) ความอาพาธ 3) อาหารหาได้ยาก คือคนก็จะไปตามที่ที่มีอาหารหาง่าย คนก็จะปะปนกันมาก การจะทำความเพียรทำในใจซึ่งคำสอนก็จะทำได้ยาก 4) มีภัยกำเริบ คือมีกบฏโจรปล้นเมือง 5) การที่มีสงฆ์แตกกัน ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าจะเอาข้อเหล่านี้มาเป็นข้ออ้างในการทำความเพียร ที่ท่านพูดคือเพื่อเตือนถึงภัยในอนาคตที่จะเกิดขึ้น ให้เราเร่งความเพียรในตอนนี้ เพื่อที่เมื่อเกิดภัยนั้นขึ้นแล้ว เราจะยังเป็นผู้อยู่ผาสุกได้ Q : ทำไมคนดีตายง่าย คนชั่วตายยาก?A : มันเป็นเรื่องของกรรม หากเราคิดให้เขาได้ไม่ดี เป็นความคิดที่ไม่ดี ให้เราคิดดี พูดดี ทำดี มีเมตตา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : ความหมายและความต่างระหว่างโลกวัชชะและปัณณัตติวัชชะA : เป็นอาบัติเหมือนกัน ต่างกันตรงที่ “โลกวัชชะ” คือ อาบัติที่เมื่อทำผิดพระวินัยแล้วจะเกิดอกุศลในจิตแน่นอน ส่วน “ปัณณัตติวัชชะ” คือ อาบัติทางพระบัญญัติ ที่อยู่ที่จิตขณะนั้น หากจิตขณะนั้นเป็นอกุศลจึงจะมีโทษ Q : ความหมายของ “พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติดีแล้วโดยชอบนั้น ย่อมเห็นพระนิพพานใดด้วยญาณ เป็นของหมดจดวิเศษแล้วพระนิพพานนั้นอันบัณฑิตพึงรู้แจ้งด้วยใจ” A : พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติดีแล้วโดยชอบ หมายถึง สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ / ย่อมเห็นพระนิพพานใดด้วยญาณ หมายถึง หมู่ผู้ที่ปฏิบัติดีแล้ว ย่อมเห็นนิพพานด้วยญาณคือปัญญา / พระนิพพานอันบัณฑิตพึงรู้แจ้งด้วยใจ หมายถึง บัณฑิตทั้งหลายเขาจะเห็นอย่างนี้เหมือนกัน Q : เปรียบเทียบการให้ทานด้วยอาหารกับ ศีล สมาธิ ปัญญา?A : การให้ทานด้วยอาหารให้ผลน้อยเพราะไม่สามารถทำได้ตลอด ไม่เหมือนกับการรักษาศีล ภาวนา ที่สามารถทำได้ตลอดเวลา ทำได้ในทุกอิริยาบถ Q : ศรัทธากับสัมมาทิฐิอันไหนมาก่อนกันA : ทั้งศรัทธาและสัมมาทิฐิ ต่างเกื้อกูลส่งเสริมซึ่งกันและกัน หากเรามีศรัทธาที่เป็นสัมมาทิฐิ เราก็จะเกิดการลงมือทำจริง แน่วแน่จริง มีความเพียร ก็จะเกิดปัญญาขึ้นมาได้ Q : การวางจิตเมื่อแสดงธรรมแก่ผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่า A : การที่เราแสดงธรรมไปตามเนื้อหาที่ท่านประกาศไว้ เราไม่ต้องกังวล ถ้าเราศึกษามาเป็นอย่างดี เพียงแต่ระวัง ไม่พูดผิด ไม่พูดกระทบตนเอง ไม่พูดกระทบผู้อื่น ไม่ว่าจะพูดให้ใครฟังก็สามารถทำได้ Q : พระอรหันต์ทำผิดได้หรือไม่?A : ท่านไม่ได้รู้ทุกเรื่อง เราสามารถแสดงความเห็นต่อท่านได้ ถ้าเราเป็นผู้น้อยก็ขอโอกาสท่าน พูดด้วยจิตที่มีเมตตา ด้วยความเคารพ นอบน้อม สิ่งไหนควรติเตียนก็ติเตียน สิ่งไหนควรยกย่องก็ยกย่อง ให้ดูที่พฤติกรรมไม่ใช่ที่ตัวบุคคล รักษาจิตของเราให้ตั้งอยู่ในกุศล Q : NO PAIN NO GAINA : มี 2 พุทธพจน์ คือ “เห็นทุกข์จึงจะเห็นธรรม” และ “ขึ้นชื่อว่าความสุขความสำเร็จแล้ว ใครๆจะบรรลุได้โดยง่ายเป็นไม่มี ความสุขความสำเร็จเป็นสิ่งที่ใครๆ บรรลุได้ด้วยความลำบาก” การเห็นโทษเป็นการเห็นทุกข์ ถ้าเราเห็นโทษของสิ่งใด เราจะพ้นจากสิ่งนั้นได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : เหตุที่ทำให้บุคคลแตกต่างกันA : กรรมเป็นตัวจำแนกสัตว์ให้ทรามหรือประณีตกรรมทำให้คนไม่เท่ากันแม้ทำกรรมอย่างเดียวกันก็อาจได้รับผลไม่เท่ากันสิ่งที่เราควรทำ คือทำความดีให้มาก ไม่ว่าในตอนนี้เราจะได้ผลของกรรมอย่างไรให้เราหมั่นสร้างบุญกุศลทำความดี ทั้งทางกาย วาจาใจผลของกรรมที่ไม่ดีมันก็จะเบาลงๆ Q : การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของยากA : ท่านเปรียบดังเต่าตาบอด อยู่บนโลกที่เต็มไปด้วยน้ำ ทุกร้อยปีจะขึ้นมาหายใจ แล้วเอาหัวซุกเข้ารูได้ ความยากนี้เหมือนคนที่ไปอบายทั้ง 4 แล้วจะกลับมาเป็นมนุษย์อีกนั้นยากมาก Q : ฆ่าตัวตายเป็นบาป?A : ไม่แน่ ส่วนใหญ่แล้วถือว่าไม่ดี หากฆ่าตัวตายแล้วสามารถพ้นกิเลสได้ ท่านถือว่าการตายนี้เป็นการตายที่ไม่น่าติเตียน แต่บางกรณีก็ได้รับการติเตียน เพราะไม่แยบคายมีอวิชชา Q : ความต่างระหว่างฉันทะกับตัณหาA : ฉันทะ คือ ความพอใจ มีใช้ทั้งในส่วนที่เป็นกุศลและอกุศล ตัณหา คือ ความทะยานอยาก ใช้ในสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมเท่านั้น เราสามารถสร้างฉันทะที่เป็นกุศล ได้ด้วยการอาศัยศรัทธาและปัญญา พอมีมีศรัทธาก็จะทำให้เกิดความเพียร ฟังธรรม ไคร่ครวญธรรม เกิดปัญญา ก็จะเกิดฉันทะที่เป็นกุศลขึ้น Q : ขจัดริษยาA : เราต้องละความอยากคือตัณหา ด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8 เมื่อเราเห็นคนอื่นเขาได้ดีแล้วเรายินดีกับเขาเราก็จะละความอิจฉาริษยาไปได้ Q : หลงตนเพราะอะไร?A : เพราะเราไม่มีวิชชาคือความรู้ ที่จะแยกได้ว่า สิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด ความรู้สึกที่ว่าตัวเราของเรา มันจึงมาจากอวิชชา เพราะมีอวิชชาเป็นเหตุ เราจะมีความรู้แยกแยะถูกผิดได้ เราต้องปฏิบัติตามมรรค 8 เราจึงจะมีวิชชา (ความรู้) และวิมุต (ความพ้น) ได้ Q : ความจริงกับความเชื่อA : ตัณหาขันธ์ 5 มรรค 8 ทั้งหมดนี้ ไม่เที่ยงเหมือนกัน เราต้องรู้จักแยกแยะในสิ่งที่ไม่เที่ยงเหมือนกัน กิจที่เราควรทำคือสิ่งไหนที่เป็นอกุศลเราต้องละ ขันธ์ 5 เราต้องยอมรับ มรรค 8 เราควรทำให้มาก ทำให้เจริญ เพราะมันประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ถ้าเราไม่ทำแล้วมันจะพาเราไปทางเสื่อม Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : จิตอยู่ที่ไหนในนิพพาน?A : ท่านกล่าวไว้ว่า หลังจากท่านปรินิพพานไปแล้ว จะไม่มีใครเห็นท่านอีกเลย เปรียบเหมือนกับเทียน ที่พอเปลวเทียนมันหมด ไส้ก็หมด ดับไปหมดแล้ว เราก็จะไม่เห็นเปลวไฟอีกแล้ว เพราะมันดับไปแล้ว Q : จิตที่วนเวียนไปเกิดใหม่อยู่นี้ ล้วนมาจากจิตเดิมความเข้าใจนี้ถูกต้องหรือไม่?A : ไม่ถูก เพราะมันเป็นของเกิดได้ดับได้ หากมันมีเหตุให้เกิดมันก็เกิด หากมีเหตุที่มันจะดับมันก็ดับ ต้องเข้าใจให้ถูก เพราะหากหากเราคิดว่ามันมีอยู่ นั่นคือเราเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นอัตตา ซึ่งมันไม่ถูก Q : การระลึกชาติคือจิตเดิมใช่หรือไม่?A : เป็นญาณหยั่งรู้อดีต ที่เรียกว่า “บุพเพนิวาสานุสติญาณ” ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน สิ่งที่สำคัญที่เราควรต้องเห็น คือ เห็นโทษของการเกิด หากเรายังยินดีในการเกิด เราก็จะไม่สามารถหลุดพ้นจากสังสารวัฏนี้ได้ Q : จะบรรลุธรรมได้จำเป็นต้องถือศีลแปดหรือไม่?A : ขึ้นอยู่ว่าเป็นอริยะบุคคลขั้นไหน หากเป็นขั้นโสดาบันหรือสกิทาคามี ศีล 5 ก็ได้ หากเป็นอนาคามีหรืออรหันต์ ต้องศีล 8 ขึ้นไป แต่ไม่ว่าขั้นไหนล้วนดีทั้งหมด เพราะหากเป็นขั้นผลแล้ว จะไม่ไปเกิดในอบาย ไม่ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน และจะบรรลุมรรคผลนิพพานในชาติสุดท้าย Q : เลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพมีบาปหรือไม่ อย่างไร?A : ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ว่าใช้เกณฑ์อะไร หากใช้เกณฑ์ของศีล 5 ก็ไม่ผิดศีล เพราะไม่ได้ฆ่า ท่านสอนไว้ถึง "อกรณียกิจ" (กิจที่ไม่ควรทำ) คือ ค้าอาวุธ ค้าสัตว์เป็น ค้าเนื้อสัตว์ ค้าน้ำเมา และค้ายาพิษ ถ้าทำอยู่ควรเลิก ในสังสารวัฏนี้มีการเบียดเบียนกัน ให้เราเร่งปฏิบัติให้หลุดพ้น โดยเริ่มจากศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อเรารักษาศีล เราก็จะไม่กังวลไม่ร้อนใจ Q : อสังขารธรรมมีความหมายว่าอย่างไร?A : คือ ธรรมที่ไม่ปรุงแต่ง ไม่มีอะไรปรุงแต่งมันได้ คือ อสังขตธรรม คือ นิพพาน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : อาฏานาฏิยรักษ์คาถาป้องกันภัย (ยักษ์) ของท้าวเวสสุวรรณA : เป็นคาถาที่ท้าวเวสสุวรรณท่านยกย่องพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ เพื่อรักษาป้องกันไม่ให้ยักษ์เบียดเบียนเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาทั้งหลาย Q : การมีปิติเป็นภักษาหารเหมือนอาภัสสรเทพนั้น เป็นอย่างไร?A : อาหาร หมายถึง การที่ให้รูปคงอยู่ดำเนินไปได้ เช่น มนุษย์หากจะให้กายดำเนินต่อไปได้ต้องกินอาหารคือคำข้าว เพราะมนุษย์มีกายหยาบก็ต้องกินอาหารคือคำข้าวที่ประกอบด้วยธาตุ 4 ส่วนอาภัสสรพรหม อยู่ในรูปภพมีอาหารเป็นรูปละเอียดคือปิติ Q : การนอนอย่างตถาคตคือการนอนแบบใด?A : การนอนอย่างตถาคตคือการนอนด้วยสมาธิอยู่ในฌานทั้ง 4 เริ่มจากก่อนที่จะนอนไปจนถึงก่อนที่จะตื่น โดยก่อนที่จะนอนให้กำหนดสติสัมปชัญญะน้อมไปเพื่อการนอน ว่าบาปอกุศลกรรมทั้งหลาย อย่าได้ติดตามเราไปผู้ซึ่งนอนอยู่และกำหนดจิตไว้ว่ารู้สึกตัวเมื่อไหร่จะลุกขึ้นทันที Q : อนุตตริยะ 3 ประการ มีอะไรบ้าง?A : ประการแรกคือ การเห็นอันยอดเยี่ยม (ทัสสนานุตตริยะ) การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม (ปฏิปทานุตตริยะ) และการพ้นอันยอดเยี่ยม (วิมุตตานุตตริยะ) Q : ความไม่เที่ยงในผัสสายตนะ 6 เป็นอย่างไร?A : เราจะดูว่าเที่ยงหรือไม่เที่ยงได้ด้วยการดู ที่ถ้ามันอาศัยเหตุเกิด เหตุนั้นคือเครื่องหมายของความไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ เกิดได้ดับได้คือสภาวะที่เป็นทุกข์ไม่เที่ยง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : การวางน้ำให้ผู้ล่วงลับจะได้รับหรือไม่ และมีในคำสอนหรือไม่?A : การรับอาหาร จะมีเปรตประเภท “ปรทัตตูปชีวิเปรต” ที่จะรับอาหารเหล่านั้นได้ นอกนั้นรับไม่ได้ เพราะสัตว์แต่ละประเภท ก็จะมีอาหารที่แตกต่างกัน อาหารเราควรถวายแด่พระสงฆ์ ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญจะดีกว่า เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ที่ควรรับทักษิณาทาน เกิดบุญแล้วก็อุทิศบุญ ให้กับญาติพี่น้องของเราและเราก็จะได้บุญด้วยQ : จิตกับความเป็นอนัตตาA : จิตเป็นอนัตตา หมายถึง ไม่ใช่ตัวตน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวมันเอง แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัย ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ไม่ใช่สุดโต่ง 2 ข้าง คือ นัตถิตา (ปฏิเสธว่ามันไม่ใช่ของเรา) หรืออัตถิตา (ของเราทั้งหมด) แต่เป็นการยอมรับว่า มันเป็นไปตามเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย ถ้ามันมีเหตุเกิด มันก็เกิด พอเราเห็นตามจริง เข้าใจด้วยปัญญา ว่ามันเป็นอนัตตา เราจะละความยึดถือได้ เมื่อเราละได้ ก็จะตัดกระแสความยึดถือ ตัดกระแสความเกิดดับ มันก็จะไม่วน ไม่ไปต่อ คือ ตัดกระแสของจิตที่มันจะไปยึดถือได้Q : บรรลุธรรมแล้วจะเป็นอย่างไร?A : เมื่อตัดกระแสความยึดถือได้ ก็จะเหลือร่างกายนี้ที่ยังอยู่ เปรียบดังต้นไม้ที่มันตายแล้ว แต่ยังเหลือซากอยู่ ซึ่งพอกายนี้ แตกดับไปก็จะไม่เจออีก ภพนี้เป็นภพสุดท้าย จะไม่มีการเกิดต่อไปQ : จิตที่ไปเสวยสุขทุกข์ในสวรรค์ หรือนรกเป็นของเราหรือไม่?A : การที่คิดว่าจิตเป็นของเรานั้นเป็นการเข้าใจผิด เพราะจิตเป็นกระแสเกิดดับตามเหตุปัจจัย เป็นอนัตตาQ : ความเข้าใจเรื่องมานะในโลกสมมุติกับวิมุตติA : สมมุติกับวิมุตติ เป็นระบบที่ต้องอยู่ด้วยกัน คู่ขนานกัน ในเรื่องของโลก เป็นเรื่องของหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ เรื่องเหนือโลกเป็นเรื่องของอนัตตา การปล่อยวาง เราต้องใช้ระบบสมมุติเพื่อให้เข้าถึงวิมุตติ อาศัยการปรุงแต่ง เพื่อให้เข้าถึงการไม่ปรุงแต่ง ซึ่งการปรุงแต่งที่ควรทำให้เจริญคือมรรค 8 เพราะทำแล้วการปรุงแต่งระงับลง กิเลสจะลดลง จะไปถึงวิมุตติหลุดพ้นได้Q : ช่วงไหนเป็นวิตกหรือสังกัปปะในพระพุทธเจ้าขณะพิจารณาว่าจะแสดงธรรมหรือไม่?A : อาจเป็นไปได้ทั้งดำริ (สังกัปปะ) และวิตก (ความตริตรึก) ในทางภาษาบาลี จะเรียกหมวดความคิดทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นวิตก วิจาร อยู่ในหมวดของ “สังกัปปะ”Q : หวังนิพพานในชาตินี้ เป็นไปได้หรือไม่?A : เมื่อเราปฏิบัติตามมรรค 8 มีศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิบัติไปทำไป กิเลสก็จะหมดไปสิ้นไป ตราบใดที่เรายังอยู่ในเส้นทาง ไม่หยุดเดิน เราจะถึงแน่นอน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : บทสวดธรรมจักรA : เป็นพระสูตรที่ท่านเทศน์ครั้งแรกให้เหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ฟัง เมื่อได้ฟังแล้ว มีท่านโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมเป็นองค์แรก เหล่าเทวดาเปล่งวาจาว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ไม่มีใครที่จะหมุนทวนกลับได้” ส่วนบทสวดที่บางเล่มสั้นบางเล่มยาว ต่างกันตรงส่วนที่กล่าวถึงเหล่าเทวดาแต่ละชั้นตั้งแต่ชั้นแรกขึ้นไป ได้เปล่งวาจาร่ำลือกัน Q : แม่พระธรณีA : ในคาถาธรรมบท ตอนที่ท่านนั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ มารจะไล่ท่านให้หนีจากที่นั่งนั้น ท่านปฏิญาณไว้ว่าจะไม่หนี พอมือท่านแตะธรณี ท่านได้ระลึกถึง ทานบารมี ศีลบารมี ที่เคยทำ พูดถึงว่า พระแม่ธรณีเป็นพยาน น้ำที่เคยกรวดไว้เป็นพยาน ว่าบารมีที่ท่านทำมาเต็มแล้ว ท่านสู้ด้วยความดี ด้วยบารมีที่ท่านทำ จึงเอาชนะมารได้ ไม่แพ้ไปตามอำนาจของมาร Q : การบวชเณรเป็นพระA : ถ้าคนที่มาบวชอายุไม่ถึง 20 ปี จะบวชเป็นพระไม่ได้ เว้นแต่พระพุทธเจ้าบวชให้ และมีพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้นที่จะบวชให้คนที่มีอายุไม่ถึง 20 ปี บวชเป็นพระได้ และท่านไม่เคยบวชเณรให้ใคร Q : อานิสงส์ของบุญA : หากทำอะไรแล้วได้อย่างนั้น เป็นความคิดที่ผิด การประพฤติพรหมจรรย์จะมีไม่ได้การทำที่สุดแห่งทุกข์จะไม่ปรากฏ แต่ที่ถูกคือเมื่อคุณทำอะไรไว้คุณจะได้รับผล (วิบาก) ของการกระทำนั้น กรรมกับวิบากเป็นคนละอย่างกัน เป็นอจินไตย ให้เราตั้งจิตเราเป็นกุศล ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วแน่นอน Q: การให้ทานA: ต้องรู้จักแบ่งจ่ายทรัพย์ ไม่เบียดเบียนตนเอง ดูความพร้อมทั้ง 3 ประการของผู้ให้ และ 3 ประการของผู้รับ Q: มีมือชุ่มอยู่เสมอA: การดำเนินชีวิตสมัยก่อนมือเปื้อน พอมีคนมาขออาหารก็ต้องล้างมืออยู่เสมอ จึงเป็นประเพณีที่ว่ามือชุ่มอยู่เสมอเพราะว่าให้อยู่เรื่อย พร้อมที่จะทำบุญอยู่เสมอ Q : การทำงานA : หลักธรรมที่นำมาใช้คืออิทธิบาท 4 ท่านให้เอาสิ่งที่เราจะทำเป็นประธานสังขาร มีสมาธิ และอิทธิบาทสี่ ประกอบเอาไว้ ในลักษณะที่จะไม่ย่อหย่อน ไม่เข้มงวดเกินไป ไม่สยบในภายใน (คือไม่เพลินไปในสมาธิ ไม่เพลินไปในเรื่องของกาม) ไม่ซ่านไปภายนอก (ไม่ฟุ้งซ่าน) Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : ทุกสิ่งเป็นไตรลักษณ์ ความตายที่เที่ยงแท้จัดเป็นไตรลักษณ์หรือไม่?A : พระสูตรปริวีมังสนสูตร ว่า “มรณะคือความตายไม่เที่ยง ความเกิดคือชาติไม่เที่ยง” อะไรก็ตามที่อยู่ในสายของปฎิจจสมุปบาททั้งหมดไม่เที่ยง คำว่า ”ไม่เที่ยง” หมายถึงมันเกิดได้ดับได้ ดับใช้คำว่า “นิโรธ” เกิดใช้คำว่า “อุบัติ” การที่ความตาย|มรณะ อุบัติ|เกิดขึ้นได้ คือ ความตายได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่ความตายดับ มรณะคือตายไม่ใช่ดับ นิโรธคือดับไม่เหมือนกัน จากคำกล่าวที่ว่า ความตายเที่ยงแท้แน่นอน หมายความว่าเมื่อเราเกิดขึ้นมาแล้วจะต้องตายแน่นอน แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ ทั้งนี้วันนี้จนก่อนถึงวันที่เราจะตาย ความตายก็อาจจะดับลงไปได้ ถ้าบรรลุพระอรหันต์ เพราะเมื่ออวิชชาดับไป ๆ ตามลำดับของปฏิจจสมุปบาท ชาติคือการเกิด ที่เป็นเหตุแห่งการตายก็จะดับไป ไม่เกิด ไม่อุบัติขึ้นอีก Q : พระภิกษุในสมัยพุทธกาล เมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้ว แต่กายสังขารท่านยังอยู่ ในทางพุทธศาสนาชี้แจงอย่างไร?A : ท่านเปรียบไว้ดังต้นไม้ที่ตายแล้ว แม้อย่างอื่นจะร่วงหล่นไปหมด แต่จะยังมีแก่นเหลืออยู่ ทรงอยู่ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ของท่าน ยังเหลืออยู่ อย่างอื่นดับหมดแล้ว Q : ความสุขปรุงแต่งขึ้นมาได้หรือไม่?A : ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนเป็นการปรุงแต่ง ท่านได้ให้แนวทางไว้ว่า “การปรุงแต่งที่ทำให้กิเลสเพิ่มการปรุงแต่งนั้นไม่ดี การปรุงแต่งที่ทำให้กิเลสลดการปรุงแต่งนั้นดี” ในบรรดาสังขตธรรมทั้งหลาย มรรค 8 จัดว่าเป็นยอดของการปรุงแต่งทั้งหมด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : มีความรู้สึกเหมือนไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง มีแค่ความรู้สึกที่รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ อยู่ เหมือนกำลังดูละครโรงใหญ่อยู่ สภาวะแบบนี้คืออะไร?A : ลักษณะนี้ คือ “สติ” คือ แยกตัวออก ณ จุดนี้เราสามารถเลือกได้ ว่าจะไปตามทุกข์หรือสุขในสภาวะนั้นหรือดูเฉย ๆ หรือเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์ คือไม่ยึดถือในสภาวะแบบนั้น นั่นคือ เรามี “สติสัมปชัญญะ” แล้ว Q : เมื่อตายแล้ว อะไรที่ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจะเอาไปด้วยได้?A : การกระทำทางกาย วาจา ใจ จะมีการสั่งสมที่จิต ทำสิ่งใดก็จะสะสมสิ่งนั้น หากยังไม่ปรินิพพาน เมื่อตายแล้ว สิ่งที่จะติดตามไปด้วยได้ คือ กุศลและอกุศลที่เราทำ แต่หากปรินิพพานแล้ว ไม่ได้เอาสิ่งใดไปด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ไม่ได้เอาไปด้วย เพราะสภาวะแห่งการสั่งสมนั้นดับไป คือจิตดับไป มันจึงให้ผลไม่ได้ Q : การบรรลุไม่ได้ขึ้นอยู่กับทุกข์มากหรือน้อย แต่ขึ้นอยู่กับปัญญาเห็นการเกิดดับแห่งทุกข์นั้น ใช่หรือไม่?A : ทุกข์ที่จะทำให้เห็นธรรมะได้ต้องประกอบด้วยศรัทธาและปัญญา “สุขเวทนา” คือ ทุกข์ที่ทนได้ง่าย “ทุกขเวทนา” คือ ทุกข์ที่ทนได้ยาก สิ่งใดที่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย ล้วนเป็นทุกข์ พอเราเข้าใจด้วยปัญญา เห็นทุกข์ด้วยปัญญา เราจึงจะเห็นธรรมะนั่นเอง Q : เวลานั่งสมาธิแล้วจะคอยจ้องว่าเมื่อไหร่ จะสงบนิ่งเข้าสมาธิ ควรแก้ไขอย่างไร?A : ให้พิจารณาว่าอะไรที่เราทำแล้วสงบ เหตุแห่งความสงบคืออะไร ให้สร้างเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย ให้ถูกต้อง เราต้องมีศีล มีกัลยาณมิตร ฟังธรรม ใคร่ครวญโยนิโสมนสิการ อยู่ในเสนาสนะอันสงัดแล้ว หมั่นทำความเพียร ทำให้มาก เจริญให้มาก ทำด้วยศรัทธา ทำด้วยปัญญา พอเราไปถูกทางความสงบจะเกิดขึ้นมาได้ Q : ขณะสวดมนต์อยู่ มีธรรมะผุดขึ้นในใจ ควรทำอย่างไร?A : ให้ใคร่ครวญธรรม ให้เห็นตามความเป็นจริง เพื่อให้เกิดปัญญาในการหลุดพ้น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : ผู้ที่หยั่งรู้ว่าใครเป็นพระอรหันต์ผู้นั้นต้องเป็นพระอรหันต์ด้วยหรือไม่?A : พระอรหันต์ย่อมทราบแน่นอนว่าผู้ใดเป็นพระอรหันต์แล้วQ : การได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในชมพูทวีป เกิดขึ้นที่พุทธภูมิใด?A : อานิสงค์ของการเจริญเมตตา คือ 1) เป็นพรหมไม่ได้กลับมาเกิดอย่างโลกมนุษย์ 7 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป 2) เป็นท้าวสักกะเทวราชหัวหน้าของเหล่าเทวดาในชั้นดาวดึงส์ 3) เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ครองความเป็นใหญ่ทั้ง 4 ทิศ มีแก้ว 7 ประการในโลกมนุษย์ Q :คำสอนใดของพระพุทธเจ้าที่กล่าวถึงศรัทธาโดยไม่ได้กล่าวถึงปัญญาA : ทั้ง 2 พระสูตรนี้ คือ สีหเสนาปติสูตรและสัทธานิสังสสูตร ถึงแม้จะกล่าวถึงศรัทธาเพียงอย่างเดียว แต่ศรัทธาจะต้องประกอบด้วยปัญญาอยู่แล้ว ทั้งนี้ศาสนาพุทธ ศรัทธาเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเมื่อมีศรัทธาแล้ว จึงเกิดความเพียร สติ สมาธิ และมีปัญญาเป็นอันดับสูงสุด Q : อธิบายความหมายของคำว่า "เหนือบุญเหนือบาป"A : คนเราเมาบุญได้ เมาบาปได้ คือ ถ้าเราทำบุญมาก เราอาจจะเมาบญได้ ถ้าเราทำบาปมาก เราอาจจะเมาบาปได้ คำว่า ”เมา” คือ เพลินไป ประมาทไป ท่านจึงสอนไว้ถึงทางสายกลาง หากเราทำความดี แล้วยึดถือในความดี ความยึดถือนั้นไม่ดี เพราะความยึดถือคืออุปาทาน คำสอนท่าน จึงเหนือบุญเหนือบาป เหนือทั้งกรรมดี (บุญ) เหนือทั้งกรรมชั่ว (บาป) ให้ละเว้นความชั่ว ทำความดี ทำจิตให้บริสุทธิ์ ซึ่งการทำจิตให้บริสุทธิ์คือเหนือบุญเหนือบาป ลักษณะคือ ปราศจากความยึดถือ/ไม่สุดโต่ง และเห็นความเกิดขึ้นความดับไปของทั้งบุญและทั้งบาป Q : ความแตกต่างของการคิดแบบรอบคอบจนมองโลกในแง่ร้าย กับมองในแง่ดีโลกสวยเกินไป จะใช้หลักธรรมใดในการพิจารณาA : 1) “ความคิด” มาจากภาษาบาลีว่า “วิตก” หมายถึง จิตคิดน้อมไป 2) “ดำริ” มาจากภาษาบาลีว่า “สังกัปปะ” หมายถึง อะไรที่เกิดขึ้นในหัวเรา โดยที่เราไม่ได้คิด เราอาจจะคิด|วิตก หรือ ดำริ|สังกัปปะ ไปได้ทั้งสัมมาหรือมิจฉา หากจิตเรามีมิจฉาสังกัปปะมาก เราก็ต้องวิตกไปในด้านดี เอาวิตกที่เป็นความดีมาแก้สำหรับคนที่มองโลกในแง่ดีเกินพอดี บางทีเราอาจจะถูกเอาเปรียบจากคนที่ร้าย ๆ กลับกันถ้าเรามองโลกในแง่ร้าย จิตก็จะสั่งสมอาสวะที่ไม่ดีลงไป จึงแก้ด้วยการที่อย่ามองโลกในแง่ร้าย แต่ให้เข้าใจสถานการณ์ ให้รู้จักระมัดระวัง ใครที่เป็นคนพาลก็ไม่คบด้วย จะรักษาตนไปได้ Q : การตัดความกังวลที่ทำให้เราฟุ้งซ่านจะใช้ธรรมะข้อไหน?A : ความฟุ้งซ่าน เป็นดำริ|สังกัปปะ ลักษณะคือมันเกิดขึ้นมาเอง เราไม่ได้คิดว่าเราจะกังวลเรื่องนี้ เป็นมิจฉาสังกัปปะ ให้ใช้วิตกเข้ามาแก้ โดยเทคนิคที่ครูบาอาจารย์นำมาใช้ คือ ท่องพุทโธหรือดูลมหายใจ จะกำจัดความฟุ้งซ่านได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเราเปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ (เปลี่ยนไปในทางไม่ดีเป็นอกุศล)?A : เมื่อมีผัสสะที่เข้ามากระตุ้น เช่น ลาภ ยศ เงินทอง หากเราไม่มีหิริโอตตัปปะ ไม่ฝึกใจ ไม่มีความเกรงกลัวละอายต่อบาป เมื่อเห็นช่องที่จะทำไม่ดีได้ ที่จะโกงได้ ทำชั่วได้ ก็จะทำสิ่งที่ชั่วสิ่งที่เป็นอกุศลได้ Q : อุปมาเปรียบกับสะใภ้ใหม่ที่มีหิริโอตตัปปะA : ท่านเปรียบดังหญิงสะใภ้ใหม่ เมื่อเข้ามาอยู่บ้านสามี แล้วมีหิริโอตตัปปะ มีความละอาย มีความเกรงกลัวต่อบาป เกรงกลัวพ่อและแม่สามี แต่พออยู่นานเข้า หิริโอตตัปปะลดลง ไม่ฝึกสติ ไม่ฝึกใจ จึงทำให้ทำเรื่องไม่ดี ทำสิ่งที่เป็นอกุศลได้Q : ปัจจัยที่จะมากระตุ้นให้เกิดจุดเปลี่ยนA : มี 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยภายใน คือ ตัวเรามีหิริโอตตัปปะหรือไม่ ถ้ามี มีมากหรือน้อย ถ้ามีน้อย โอกาสให้ทำชั่วก็จะมาก ถ้ามีมาก รู้จักหักห้ามใจ มีสติ พอถึงจุดที่มีโอกาสจะทำชั่ว เราจะไม่ทำ และ 2) ปัจจัยภายนอก คือ ผัสสะที่เข้ามากระทบ ซึ่งปัจจัยภายนอกจะกระตุ้นให้เกิดกิเลสได้หรือไม่ ปัจจัยภายในจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด หากคุณมีหิริโอตตัปปะคู่กันกับสติสัมปชัญญะ เหตุปัจจัยภายนอกจะไม่มามีผลกับเรา Q : จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเปลี่ยนไปในทางไม่ดีแล้ว?A : เราต้องตรวจสอบตนเองเป็นประจำ เปรียบเทียบการทำความดีความชั่วของตน ด้วยการใช้เกณฑ์ของกุศลกับอกุศลมาวัด ตรงไหนที่เราทำผิดก็ให้เราแก้ตรงนั้น พอเราทำถูก ศีล สมาธิ ปัญญาของเราก็จะเพิ่ม เราจะตั้งอยู่ในกุศลได้ Q : อะไรที่จะเป็นเครื่องเตือนสติในศรัทธาที่ตั้งไว้ผิดที่A : ท่านให้มีศรัทธาไว้ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือเป็นศรัทธาอยู่ในจิตใจของเรา ไม่ได้อยู่ภายนอก นี่เป็นโทษของศรัทธาที่ตั้งไว้ผิด ในศาสนาพุทธจึงต้องมีศรัทธาคู่กับปัญญาเสมอ เพราะปัญญาจะเป็นตัวตรวจสอบ ศีลชำระปัญญา ปัญญาชำระศีล ก็จะช่วยเหลือเกื้อกูลเกิดตระหนักรู้ขึ้นมาได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : การใส่บาตรพระอยู่รูปเดียวเป็นการใส่บาตรที่เจาะจงหรือไม่? A : หากเราตั้งจิตไว้ว่าจะใส่บาตรเฉพาะพระรูปนี้รูปเดียวเท่านั้น เช่นนี้เป็นการเจาะจง สำคัญที่การตั้งจิตของเรา เราควรตั้งจิตไว้ว่า “เราจะให้กับสงฆ์ (หมายถึงหมู่/คณะ) โดยมีภิกษุรูปนี้เป็นตัวแทน” ตั้งจิตไว้แบบนี้ในการให้ทานจะได้บุญมากที่สุด เพราะประโยชน์เกิดขึ้นกับหลายคนและบุญที่มากกว่าการให้ทานขึ้นไปอีกขั้น คือ การรักษาศีล บุญที่มากกว่าการรักษาศีลขึ้นไปอีกขั้น คือการภาวนา เรียงตามลำดับ คือ ทาน ศีล ภาวนา Q : การเติมพลังในการต่อสู้ชีวิตให้ดำเนินผ่านไปอย่างมีสติ A : เมื่อเราเดินตามเส้นทางแห่งมรรคแล้ว ก็จะมีเครื่องทดสอบ เข้ามาตรวจสอบ ว่าเราจะยังอยู่ในมรรคหรือไม่ เราจะเผลอเพลินไปกับ ราคะ โทสะ โมหะ หรือไม่ เราไม่รู้ว่าพรุ่งนี้หรือชาติหน้าจะมาก่อนกัน ให้เราเป็นผู้ที่ไม่ประมาท มีกำลังใจ มีศรัทธา มีความเพียร ต่อสู้ไม่ไหลไปตามผัสสะ Q : ถ้าเห็นความผิดปกติของหน่วยงานราชการแล้วไปแจ้งความ จะบาปไหม?A : การห้ามเสียจากบาป ต้องห้ามด้วยความดี จะห้ามบาปด้วยบาปไม่ได้ ก่อนที่จะแจ้ง ให้เราพิจารณาในเรื่องของสัมมาวาจา ว่าสิ่งที่จะพูดเป็นคำจริง มีประโยชน์ ถูกเวลา เมื่อเขาฟังแล้วจะดีใจหรือเสียใจหรือไม่ หากพิจารณาแล้วว่าเป็นเรื่องจริง เกิดประโยชน์ แจ้งได้ไม่บาป แต่หากเราทำจิตแบบนี้ไม่ได้ ยังปรารถนาให้เขาได้ไม่ดี อันนี้ไม่ดีเป็นบาป Q : ตั้งจิตอย่างไร เมื่อพบคนไม่ดีทำไม่ดีA : เราต้องรู้จักอุเบกขาก่อน วางเฉยกับสถานการที่เกิดขึ้น และไม่หยุดที่จะทำความดี หากเราเห็นความชั่วของคนอื่นแล้วเราหยุดทำความดี เราจะเป็นบุรุษคนสุดท้าย ให้เราทำความดีต่อไป อย่าหยุดทำความดี แล้วจิตใจเราจะนุ่มนวล ไม่คิดผูกเวรกับเขา Q : เพื่อนข้างบ้านให้อาหารนกพิราบ จะวางใจอย่างไรดี?A : ให้อดทน ลองหาทางออกร่วมกัน ลองพูดคุยกันดูว่าจะปรับเปลี่ยนอะไรได้บ้าง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : เคยทำกรรมไม่ดีไว้กับงูจึงทำให้กลัวงูA : ให้เราทำความดี เจริญเมตตาภาวนา ทำให้บ่อยให้มาก จะช่วยให้คลายความร้อนใจ ให้เราหาที่อยู่ให้จิต เช่นมีสมาธิอยู่กับการงานที่ทำฟังเทศน์หรือดูลมหายใจ ก็จะช่วยให้จิตมีเครื่องอยู่ไม่ฟุ้งซ่าน Q : ใช้การภาวนาคาถาแทนการดูลมหายใจได้หรือไม่? A : ได้..ใช้วิธีไหนก็ได้ในอนุสติ 10 คำสอนของท่านสามารถปฎิบัติเข้ามาได้โดยรอบ ทุกวิธีที่ท่านสอนจะมารวมลงไปตามทางในมรรค 8 Q : เทคนิคแก้ฝันร้าย A: ก่อนนอน ให้กำหนดสติสัมปชัญญะ กำหนดรู้อิริยาบถในการนอนแล้วเจริญเมตตา มุทิตา กรุณา อุเบกขา น้อมจิตไปเพื่อการนอน กำหนดจิตว่า รู้สึกตัวเมื่อไหร่จะลุกขึ้นทันที ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ว่า “ขอให้บาปอกุศลอย่าได้ตามเราผู้ที่นอนอยู่” แล้วบาปอกุศลจะไม่ตามเราไป เพราะเราตั้งสติไว้แล้ว Q : ทิศทางสู่นิพพานในขณะที่ยังเป็นฆราวาสผู้ครองเรือนA : มรรค8 เป็นทางเดิน ทางเดียว ที่จะไปสู่นิพพานได้ Q : การเจริญมรรคของฆราวาสต้องเจริญแบบไหนจึงจะชื่อว่าทางสายกลางA : ให้เอาศีลเป็นหลัก มีกัลยาณมิตรดีที่จะไปทางเดียวกัน มีมรรคเป็นเกณฑ์ ถ้าออกนอกมรรคก็ให้ตั้งสติ ปรับจิตใจ ทำความเพียรให้มาก จะพัฒนาไปได้ Q : ควรจะแก้ไขอย่างไร เมื่อนั่งสมาธิแล้วหงุดหงิด ฟุ้งซ่าน ท้อ ไม่อยากทำต่อ? A : ถีนมิทธะเป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้สงบ ให้ระลึกถึงตรงจุดที่เราทำได้ จดจ่อตรงที่ทำได้ พอเราตั้งสติได้ จิตก็จะมีพลังมากขึ้น ให้เราฝึกทำให้ชำนาญ Q : สมาธิเสื่อมได้หรือไม่ ถ้าได้เกิดจากเหตุปัจจัยใด? A : เสื่อมได้..มรรค 8 เป็นสังขตธรรม คือเป็นธรรมะที่มีการปรุงแต่ง เมื่อมีการปรุงแต่งก็หมายความว่าต้องอาศัยเหตุ ถ้าเหตุที่ทำให้เกิดสมาธินั้นเสื่อมไป สมาธิก็เสื่อมไป เราต้องรักษาเหตุเอาไว้ เหตุของสมาธิ คือสติสัมมาทิฐิโดยมีศีลเป็นพื้นฐานถ้าเหตุเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปสมาธิก็เสื่อมได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : จะวางจิตอย่างไร ให้ไม่ยินดียินร้ายอย่างถูกต้องA : การเสพโซเชียล ดูคลิป ฟังเพลง มันเป็นกับดัก ทำให้เสพติด เพลินไปในอารมณ์นั้น หากเราเสพสิ่งใดแล้ว ราคะ โทสะ โมหะเพิ่มขึ้น นั่นไม่ดี วิธีคลายเครียดทำได้หลายวิธี เช่น ปลูกต้นไม้ ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ ฟังธรรม คือให้เราไปทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่เป็นทางกาม พอเราหลีกออกจากกาม จิตจะมีกำลัง จะไม่ค่อยถูกดึงไป จะมีภูมิต้านทาน ทำเช่นนี้จิตเราจะไม่ไปขัดเคืองกับกาม จะวางจิตให้ไม่ยินดียินร้ายได้อย่างถูกต้อง Q : ตามปกติแล้วนามรูปมีการดับอยู่เสมอตลอดเวลา จริงหรือไม่?A : เราต้องเข้าใจว่ามันเป็นของเกิดได้ ดับได้ เข้าใจด้วยปัญญาว่า ตอนมันยังไม่แตก มันเป็นของดับได้ ตอนที่มันเกิดขึ้นมาแล้ว มันก็เป็นของดับได้ ตอนที่มันคงอยู่ ก็เป็นของดับได้ ตอนที่มันแตกไป แล้วมันก็เป็นของเกิดได้ เกิดได้ดับได้ เพราะมีเหตุปัจจัย เข้าใจตรงนี้เพื่อที่จะไม่ยึดถือ เราจะเกิดความเข้าใจตรงนี้ได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตาม “มรรค 8” Q : ไม่ต้องใช้มรรค 8 ก็ดับนามรูปได้ จริงหรือไม่?A : นามรูปเกิดหรือดับได้เพราะวิญญาณ ไม่ว่าโลกนี้จะมีหรือไม่มีมรรค 8 มันก็เกิดดับของมันอยู่แล้ว มรรค 8 เป็นหนทางเอก หนทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้เราเข้าใจการเกิดขึ้น การดับไป และการปล่อยวาง แล้วไม่ยึดถือ ความเข้าใจนี้เป็นอริยปัญญา ซึ่งหากจะบอกว่าไม่ต้องใช้มรรค 8 แล้วจะปล่อยวาง ทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้นั้น เป็นความเข้าใจที่ผิด Q : เมื่อจำเป็นต้องกำจัดยุงลาย ควรตั้งจิตอย่างไร เพื่อบรรเทาความรู้สึกผิดบาปในใจA : บาปกับบุญคนละบัญชีกัน ท่านเปรียบไว้กับเกลือคือบาป ละลายในน้ำ น้ำคือบุญ ผลของความเค็มคือการให้ผล บาปมากน้อยให้เราเอาเกณฑ์ในการพิจารณา 3 อย่าง คือ 1) เจตนา 2) ประเภทของสัตว์ ขนาดเล็กไปถึงใหญ่ มีคุณน้อยไปถึงมีคุณมาก 3) น้ำที่สร้าง (บุญ) การเกิดในวัฏฏะต้องมีการเบียดเบียนกัน ถ้ายังมีการเกิดต่อไปก็ต้องมีทุกข์ เมื่อเราเห็นโทษของการเกิด ถ้าเรามีความสบายใจ เกิดสมาธิ มีการโยนิโสมนสิการ แล้วเกิดปัญญา จะเป็นทางที่จะพ้นทุกข์ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : วิธีจัดการกับความเครียดกดดัน ?A : ในการทำงาน หากเราตั้งไว้ด้วยความอยากว่า อยากมีชื่อเสียง อยากประสบความสำเร็จ ความอยากนั้นจะเป็นตัณหา เราควรตั้งไว้ด้วยความเพียรคือวิริยะ ที่เป็นความเพียรที่ไม่ประกอบด้วยความอยาก คือเริ่มจากมีสติจดจ่ออยู่ในงานปัจจุบัน ใช้หลักธรรม คือ “อิทธิบาท 4” มีสมาธิเป็นตัวประสาน มีเมตตาต่อกัน สามัคคีกัน สร้างสิ่งแวดล้อมที่จะสนับสนุนการทำงาน โครงการก็จะสำเร็จได้Q : คนที่เป็นซึมเศร้าแล้วมีธรรมะใดที่จะทำให้จิตใจดีขึ้นบ้าง?A : โรคซึมเศร้า เป็นนิวรณ์อย่างหนึ่ง ที่มีกำลังมากเรียกว่า “ถีนมิทธนิวรณ์” ลักษณะคือจิตคิดวนไปในเรื่องที่ไม่พอใจ เศร้าใจ คิดวนไป ๆ จนกระทั่งอารมณ์ทางจิตมีผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย ให้เราตั้งสติให้คิดไปในเรื่องอื่น คือให้เอาสิ่งอื่นมาทดแทน เช่น ออกไปข้างนอก ไปทำกิจกรรมที่ไม่เป็นไปในทางกาม เช่น ระลึกถึงพระพุทธเจ้า อ่านหนังสือ หรือไปเป็นอาสาสมัคร เพื่อให้คิดเรื่องที่หลีกจากกาม พอจิตเราเป็นสมาธิก็จะกำจัดนิวรณ์นี้ออกไปได้ Q : การใส่บาตรให้พระสงฆ์ที่เลือกรับของในบาตรจะได้บุญหรือไม่?A : ได้บุญ เพราะเราตั้งจิตไว้แล้ว ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น เราควรตั้งจิตไว้ว่า “เราถวายพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ตั้งจิตว่าจะถวายพระอริยะเจ้าทั้งหลาย โดยมีพระภิกษุสงฆ์รูปนี้ เป็นตัวแทนในการรับ” พอเราตั้งจิตไว้ถูก บุญที่ได้จะมาก Q : เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราภาวนาเป็นหรือไม่เป็น?A : การภาวนาคือการพัฒนา เป็นการทำให้เจริญ เมื่อเราภาวนาต้องได้ผลอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน ท่านได้พูดถึงกำลังของพระเสขะ ที่ประกอบไปด้วยศรัทธา หิริ โอตัปปะ วิริยะ และปัญญา การที่เรานั่งสมาธิแม้จะยังไม่ได้สมาธิ เราก็ได้ความเพียร ความเพียรก็มาจากศรัทธา เรามีศรัทธา มีความเพียร เกิดการลงมือทำจริง ความเพียรเราก็เพิ่ม ศรัทธาเราก็เพิ่ม ให้เราฝึกฝนทักษะ จะพัฒนาก้าวหน้าได้ Q : มีวิธีการจัดการกับความอิจฉาริษยาอย่างไร?A : ใช้คุณธรรมคือมุทิตา แปลว่า ความยินดีที่เขามีความสุข ยินดีที่เขาได้ความสำเร็จ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : ขณะนั่งสมาธิ รู้สึกเคลิ้ม ลืมคำภาวนา ลืมลมหายใจA : ลืม เผลอ เพลิน คือการขาดสติ แต่ถ้ารู้ว่าดับ เห็นอาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป นั่นคือมีสติ Q : ขณะกำหนดจิตบริกรรมพุทโธ ระหว่างนั้นครูบาอาจารย์ท่านก็พูดสอนอยู่ด้วย ควรกำหนดสติไว้กับอะไร?A : ตั้งสติไว้ตรงช่องทางที่เสียง ที่จะเข้ามาสู่หูเรา เอาจิตไว้ที่โสตวิญญาณ คือ การรับรู้ทางเสียงนั้น Q : ถ้าปฏิบัติจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ (หลุดพ้น) ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติอีก ถูกต้องหรือไม่?A: คำว่า "ไม่ต้องปฏิบัติอีก" สำหรับผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว จะเกิดความรู้ขึ้นมาว่า “การเกิดสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่ควรทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” เรียกว่า “วิมุตติญาณทัสสนะ” คือ ไม่ต้องปฏิบัติเพื่อให้บรรลุแล้วเพราะพ้นได้แล้ว แต่ยังคงต้องรักษาศีล เจริญมรรค 8 อยู่ เพื่อรักษาสภาวะนี้ เพื่อให้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน Q : เข้าฌาน 1 แล้วพิจารณากายนี้ ถือว่าเป็นวิตกวิจารหรือเป็นวิปัสสนาแล้ว? A : ฌาน 1 ยังมีวิตกวิจาร หากพิจารณากายบุคคลอื่น ในลักษณะที่เป็นภาพ เสียง ถือว่าเป็น วิตกวิจาร แต่หากพิจารณากายแล้วเห็นความไม่เที่ยงในกาย นั่นเป็นวิปัสสนา คือ เหนือจากฌาน 1 ขึ้นไป Q : วิธีต่อสู้กับกิเลส ที่เมื่อตื่นนอนขึ้นมาควรลุกทันที แต่ทำไม่ค่อยได้? A : ให้เราฝึกตั้งแต่ก่อนนอน ขณะที่อยู่ในอิริยาบถนอน แล้วตั้งสติไว้ว่า “รู้สึกตัวเมื่อไหร่ จะลุกขึ้นทันที จะไม่ยินดีในการเคลิ้มหลับ จะไม่ยินดีในการนอน” แล้วน้อมจิตไปเพื่อการนอน ตั้งสติไว้ว่า “บาปอกุศลอย่าตามเราไป ผู้ที่นอนหลับอยู่” ทำบ่อย ๆ จะพัฒนาขึ้นได้ Q : ทุกข์ของพระพุทธเจ้าคืออะไร แล้วทุกข์ที่เราเจอ ใช่ตัวเดียวกันหรือไม่? A : ทุกข์ของพระพุทธเจ้าตอนที่เป็นโพธิสัตว์นั้น ก็เป็นทุกข์เดียวกันกับเรา ทุกข์ของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย พลัดพรากจากสิ่งที่น่าพอใจ พบเจอกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจไม่น่าปรารถนา พอท่านพบว่า เหตุที่เกิดทุกข์คือการเกิด จะทำให้ทุกข์นี้ดับไป ก็ต้องดับการเกิด ท่านจึงปฏิบัติตามมรรค 8 ทุกข์ก็ดับไป พ้นจากทุกข์ได้ ส่วนหากถามถึงทุกข์ตอนที่ท่านเป็นพระพุทธเจ้าแล้วนั้น ท่านทรงพ้นจากทุกข์แล้ว เพราะค้นพบทางพ้นทุกข์ ทุกข์จึงดับไป Q : เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนที่เสียชีวิตไปแล้ว จะไปดีหรือไม่?A : จะรู้ข้อนี้ได้ต้องมีจุตูปปาตญาณ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : สมาธิแบบไหนที่ก่อให้เกิดปัญญา?A : ไม่ใช่แค่สมาธิเพียงส่วนเดียว แต่ยังมีอย่างอื่นประกอบกันด้วย การที่จะเกิดปัญญาได้ต้องมีลักษณะความคิดที่เป็นระบบของอริยสัจสี่ มีจิตรวมลงเป็นอารมณ์อันเดียว แล้วพิจารณากระทำในใจโดยแยบคายคือมีโยนิโสมนสิการ การพิจารณาแบบนี้จะทำให้เกิดปัญญา Q : ศรัทธากับสัมมาทิฎฐิอะไรมาก่อนกัน?A : หากพิจารณาจากอินทรีย์ 5 จะเริ่มด้วย ศรัทธา ส่วนสัมมาทิฎฐิอยู่ในหมวดของปัญญา ศรัทธาคือความมั่นใจความโลงใจว่าจะเกิดผลสำเร็จได้ จึงเกิดการทำจริงแน่วแน่จริงคือวิริยะ ลักษณะของปัญญาคือวิธีการที่จะทำ รู้วิธีการแต่ยังไม่ทำเพราะไม่มีวิริยะ ดังนั้นศรัทธาต้องมีปัญญาประกอบด้วยเสมอ Q : เพื่อนสองคืออะไร มีนัยยะที่มาทั้งทางดีและไม่ดีใช่หรือไม่?A : เพื่อนสองไม่ได้หมายถึงมิตร แต่หมายถึงการผูกจิตติดอยู่กับอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นเสียง แสง คำพูด หรือภาพก็ตาม ถ้ามีการผูกจิตติดไปกับอารมณ์กับอำนาจความเพลิน นั่นคือคุณมีเพื่อนสอง ให้เราฝึกสติ เมื่อเรามีสติไม่เพลิน เราจะอยู่ได้กับทุกสิ่ง Q : ทำไมคนที่ปฏิบัติธรรมแล้วยังฉุนเฉียวง่าย?A : กิเลสทำให้จิตใจคนไม่เป็นตัวของตัวเอง การปฏิบัติธรรมเปรียบดังการจับงู หากเราจับผิดวิธี ไม่มีเครื่องมือ งูก็จะแว้งกัดเรา แต่หากเราจับถูกวิธี มีเครื่องมือที่ถูกต้อง งูก็จะไม่กัดเรา เช่นเดียวกันการปฏิบัติธรรมต้องมีความลึกซึ้งแยบคาย รอบคอบรัดกุม ไม่เช่นนั้นมันก็จะไม่ได้ผล จะให้โทษมากกว่า Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : เข้าพรรษาพัฒนาตนA : ในพรรษานี้ ชักชวนบำเพ็ญบารมี ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยการทำข้อวัตรปฏิบัติ ที่พิเศษขึ้นมาจากในเวลาปกติ เช่น ฝึกสวดมนต์ ทานมื้อเดียว แน่นอนว่าจะมีบททดสอบผ่านเข้ามา ให้เรารู้จักปรับตัว แม้จะเจอสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ก็ให้ตั้งสติ อดทน ให้ฝืนทำ ทำแล้วกุศลธรรมเกิด นั่นจะดี บารมีจะเกิดตอนที่เราเอาชนะกิเลสของเราได้Q : ปฏิบัติธรรมแล้วยังฮัมเพลงได้หรือไม่?A : เพลงของพระพุทธเจ้า คือ เพลงขับ เป็นคำกลอน เรียกว่า “คาถา” ท่านให้มากที่สุด คือ สวดหรือร้องในแนวเสียงกลาง สวดทำนองสรภัญญะ สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา คือ เนื้อหาและรูปแบบเสียง หากเสียงสูงต่ำมาก อาจทำให้เกิดความกำหนัด Q : โกงชาติบ้านเมืองจะตกนรกขุมไหน?A : การถือเอาทรัพย์ที่เขาไม่ได้ให้นั้นผิดศีลข้อที่ 2 ผล คือจะไปตกนรก แต่หากเขาแก้ไขปรับปรุง กลับตัวกลับใจได้ ยกตัวอย่างพระองคุลีมาล ที่ท่านเคยทำผิดแต่กลับตัวกลับใจ ปฏิบัติตามธรรมจนบรรลุพระอรหันต์ กรณีนี้ก็เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่ว่าคนเราจะแก้ไขปรับปรุงไม่ได้ ที่สำคัญคือจิตใจของเรา อย่ายินดียินร้ายไปตาม ให้นำมาเป็นอุทาหรณ์ว่าเราจะไม่ทำสิ่งที่ไม่ดี เพราะหากเราคิดไม่ดีกับเขา แบบนี้เราผูกเวรกับเขา เราก็จะกลายเป็นคนไม่ดีไปด้วย Q : ความละอายห้าระดับA : กลัวการติเตียนตนเองด้วยตน, กลัวการติเตียนจากคนอื่น, กลัวการถูกลงโทษ, กลัวตกนรก และละอายต่อธรรมะที่เป็นสิ่งดี ๆ แล้วไม่ได้ทำ Q : ติเตียนที่เป็นไปเพื่อกุศลกรรมA : พูดตามหลักฐานที่มี ไม่พูดจาให้เขาแตกกัน ไม่ใช้คำหยาบ ส่อเสียด ติเตียน มีทางออกให้แต่ละฝ่าย เหมือนดังศาลพิจารณาคดีความ Q : คนเนรคุณถือว่าผิดศีลหรือไม่?A : หากเคยสัญญาว่าจะช่วยเหลือกัน เมื่อถึงเวลาแล้วไม่ช่วยถือเป็นการโกหก ผิดศีล หากเขาเคยมีคุณต่อเรา แล้วเราไม่ตอบแทนคุณเขา เราจะเป็นคนเนรคุณเป็นบาป การเห็นคุณ คือกตัญญู การกระทำตอบคือกตเวที ซึ่งสามารถกระทำตอบได้หลายวิธี ทั้งทางกาย วาจา ใจ ให้เราคิดดีกับคนอื่น แม้จะถูกเอารัดเอาเปรียบ ท่านสอนให้เรามีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอด รู้จักระมัดระวังรอบคอบ เราก็จะอยู่ในสังคมได้ Q : บารมีเต็มเป็นอย่างไร?A : น่าจะหมายถึงบารมีสิบทัศ เราจะรู้ได้ว่าบารมีเต็มเมื่อเราบรรลุธรรม บารมีเต็มในขั้นต้น คือ โสดาบัน และอีกสิ่งหนึ่งที่จะดูได้คืออินทรีย์ บารมีสิบทัศจะมาบ่มอินทรีย์ 5 ให้แก่กล้า แล้วก็จะเกิดการบรรลุธรรมขึ้นมา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : นั่งสมาธิแล้วคิดเรื่องกามบ้าง ไม่กามบ้าง คือหลุดจากสมาธิ?A : หากยังคิดเรื่องกามอยู่ นั่นยังไม่เกิดสมาธิ สมาธิจะเกิดได้ต้องฝึกสติ ต้องแยกแยะความคิดที่ผ่านมาให้ได้ ว่าเป็นกุศล (คิดมาในการหลีกออกจากกาม ไม่พยาบาทเบียดเบียน) หรืออกุศล (คิดเรื่องกาม พยาบาท เบียดเบียน) พยามไม่บังคับกายไม่บังคับจิต ใช้เครื่องมือคือสติ ควบคุม (ไม่ใช่บังคับหรือละเลย) ฝึกสังเกต กำหนดดู ระลึกรู้ ไม่ว่าจะมีความคิดที่ผ่านเข้า-ออก จะตามความคิดไปหรือไม่ตาม จะมีความคิดหรือไม่มีความคิด ก็ไม่ลืมลม พอเราฝึกสติแล้วสติมีกำลัง สมาธิก็จะตามมา Q : ความสุขในสมาธิA : เป็นเรื่องที่รู้ได้ด้วยตนเอง เปรียบดังเราจะรู้ว่าอาหารร้านนี้อร่อยแค่ไหน เราก็ต้องไปทานด้วยตัวเอง สมาธินั้นจะไม่ได้ด้วยความอยาก แต่ได้ด้วยการสงบระงับ ด้วยการะงับการปรุงแต่ง สติจะเป็นตัวแยกแยะ จัดระเบียบ ทำไปเป็นขั้น อย่าข้ามขั้น จะก้าวหน้าตามลำดับ แล้วเราจะรู้เองเห็นเอง เราปฏิบัตินั้นไม่ได้จะเอาเวทนา ไม่ได้จะเอาสุข แต่ปฏิบัติเอาปัญญา เอาการรู้แจ้ง เอาการเข้าใจ สุขเวทนาเป็นทางผ่าน เป็นทางที่เป็นกุศล ให้เห็นว่าสุขเวทนาเป็นของไม่เที่ยง เราก็จะผ่านไปได้Q : เพลิน กับ ภวังค์A : เพลินในภายใน คือ ตั้งสยบอยู่ในภายใน สมาธิที่มีปิติสุข คือ ตั้งสยบในภายใน การเข้าภวังค์ คือ เหมือนหลับแต่ไม่ใช่หลับ สติไม่มี คือเพลินไปในสมาธิ ซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา ไม่ได้ทำให้เห็นไปตามจริง เหมือนกันตรงที่ไม่มีสติเหมือนกัน ต่างกันตรงที่ภวังค์เป็นกำลังของสมาธิเกินมา น้อมไปในทางขี้เกียจ การแก้ไขถ้าตกภวังค์ สิ่งแรกคือต้องมีสติรู้ตัวอยู่ในทุกที่ หากเราเพลินไปในสมาธิ สมาธิเกินกำลัง เราต้องเพิ่มความเพียร ฝึกเห็นความไม่เที่ยงในสิ่งต่าง ๆ พอเราเห็นตรงนี้ นั่นคือปัญญา Q : การพิจารณา กับ ฟุ้งซ่านA : ถ้าแยกไม่ได้แสดงว่าสติยังไม่เต็มที่ ควรเริ่มจากากรฝึกสติ โดยทำศีลให้ละเอียด รู้ประมาณในการบริโภค สำรวมอินทรีย์ ประกอบในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น มีความสันโดษ ด้วยปัจจัยเหล่านี้จะทำให้สติมีกำลัง เริ่มแยกแยะได้ Q : ประโยชน์จะงดงามเมื่อสำเร็จA : สำเร็จแล้วจึงรู้ว่าสิ่งนี้มีประโยชน์อย่างนี้ ตอนทำสมาธิไม่ได้ก็ไม่รู้ประโยชน์ แต่พอได้มาแล้วจึงรู้ว่ามันดีอย่างไร ประโยชน์ไม่ใช่แค่ภพนี้แต่ถึงภพหน้า ประโยชน์ในโลกุตตรธรรม มรรคคือสิ่งที่งดงาม Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : มีภิกษุที่อยู่ในอรหันตมรรคแต่มรณภาพก่อน จะบรรลุอรหันตผลหรือไหม?A : มี ภิกษุที่เป็นอาจารย์ของพระโกกาลิกะ ตอนที่เป็นพระสงฆ์อยู่ บรรลุอนาคามีแล้วไปจุติเป็นพรหมชื่อ “ตุทุปัจเจกพรหม” และมีในพระสูตร “ชนวสภสูตร” กล่าวไว้ ถึงการประชุมของเหล่าเทวดา ว่ามีภิกษุที่เป็นสกทาคามี มรณภาพแล้ว ไปเกิดในสวรรค์ชั้นยามา พอเห็นเหตุการณ์นี้รู้สึกละอายว่าต่ำต้อย ด้วยความละอายในข้อนี้ ตั้งจิตไว้ถูก จึงได้เลื่อนขึ้นไปอยู่ในชั้นพรหม เพราะฉะนั้นการไปเกิดโดยการฝึกที่ยังไม่เสร็จนั้น มีแน่นอน เพราะฉะนั้น เราควรทำที่สุดแห่งทุกข์ ให้จบ ให้สิ้น ให้ได้ในชาตินี้จะเป็นการดี Q : อยากให้เพิ่มรายการออกอากาศช่วงก่อนนอนA : รายการที่ฟังไปตอนเช้า เราสามารถฟังก่อนนอนอีกรอบหนึ่ง ฟังแล้วตั้งจิตปฏิบัติตาม ฟังแล้วนำมาทบทวนไตร่ตรอง ว่าเราจะปฏิบัติตามได้อย่างไรบ้าง แล้วก็ฝึกทำ ฝึกปฏิบัติ ฝึกให้ละเอียดลงไป Q : อนิจจังทุกขัง อนัตตาA : การที่เราฟังเฉย ๆ กับการฟังแล้วใคร่ครวญนั้นต่างกัน เพราะการคิดทั่ว ๆ ไปคือฟุ้งซ่าน เราต้องเปลี่ยนวิธีคิด ให้คิดเป็นระบบแห่งความเห็นที่ถูกต้อง คือระบบของอริยสัจสี่ คิดเป็นระบบด้วยจิตที่เป็นสมาธิ นั่นคือการพิจารณา คือโยนิโสมนสิการ มีความเพียร คือวิริยะ ทำตามความเชื่อคือศรัทธา แล้วลงมือทำ พิจารณาไปใน "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" จดจ่อลงไปตรงจุดที่เรายึดถือ เราจะวางได้ จะพัฒนาได้ / ดวงจันทร์ไม่มีแสงในตน แต่ว่าสว่างขึ้นมาได้ เพราะอาศัยแสงจากพระอาทิตย์ แสงสว่างคือธรรมะ พระพุทธเจ้าคือพระอาทิตย์ เราจะอาศัยแสงจากพระอาทิตย์ ทำตัวเราให้สว่างขึ้นมา ด้วยธรรมะที่ท่านได้บอกสอนไว้ ก็จะครบเป็นองค์แห่งรัตนสามที่ประเสริฐ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ / พระพุทธศาสนาจะยังอยู่ตลอดไปตราบกาลนาน ถ้ายังมีคนปฏิบัติตามมรรค 8 อยู่ มีคนบอกคนสอนอยู่ แต่หากเราไม่สืบต่อ ไม่ปฏิบัติ ปล่อยคำสอนให้จบสิ้นไป เราจะกลายเป็น “อันติมบุรุษ” คือ คนสุดท้าย แต่ถ้าเราทำต่อ คนอื่นเขาเห็น แล้วเขาทำต่อไป มันก็จะต่อไปเรื่อย ๆ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Comments
Top Podcasts
The Best New Comedy Podcast Right Now – June 2024The Best News Podcast Right Now – June 2024The Best New Business Podcast Right Now – June 2024The Best New Sports Podcast Right Now – June 2024The Best New True Crime Podcast Right Now – June 2024The Best New Joe Rogan Experience Podcast Right Now – June 20The Best New Dan Bongino Show Podcast Right Now – June 20The Best New Mark Levin Podcast – June 2024
United States