DiscoverEDUCA Podcast
EDUCA Podcast
Claim Ownership

EDUCA Podcast

Author: educathai

Subscribed: 0Played: 0
Share

Description

Audio Education จาก EDUCA
Podcast เพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู
87 Episodes
Reverse
EDUCA Podcast ชุดพิเศษตอนที่ 6 ตอนสุดท้ายของ ท่านเจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ จากรวมเรื่องพูดและเขียนของ ศ.สุกิจ นิมมานเหมินท์ เป็นเรื่องเล่าของศ.สุกิจ ที่ระลึกถึงท่าน ฟ. ฮีแลร์ ครูอันเป็นที่รัก และระลึกถึงเสมอ
EDUCA Podcast ชุดพิเศษ ท่านเจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ จากรวมเรื่องพูดและเขียนของ ศ.สุกิจ นิมมานเหมินท์ ตอนที่ 5 เป็นเรื่องเล่าของศ.สุกิจ ที่ระลึกถึงท่าน ฟ. ฮีแลร์ ครูชาวฝรั่งเศสที่แตกฉานด้านภาษา และเป็นผู้แต่งบทเรียนภาษาไทย ชื่อว่า ดรุณศึกษา โดยก่อนจะพิมพ์ออกมาเป็นบทเรียน ก็ได้ส่งให้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมอีกด้วย เหล่านี้เป็นที่มาของความรักภาษาไทย รักวรรณกรรม กาพย์ โครงกลอนของครูต่างชาติที่ส่งต่อให้นักเรียนไทยที่ได้เรียนกับท่าน จนจดจำได้จนถึงทุกวันนี้
EDUCA Podcast ชุดพิเศษ ท่านเจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ จากรวมเรื่องพูดและเขียนของ ศ.สุกิจ นิมมานเหมินท์ ตอนที่ 4 เขียนถึงท่านเจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ เรื่องเล่าในความทรงจำ เมื่อมีคนส่งหนังสือศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง มาให้ Brother ฮีแลร์ ท่านให้ความสนใจเรื่องภาษามาก โดยเฉพาะภาษาถิ่น รวมถึงการได้แรงบันดาลใจจากรูปแบบการเขียนจากหนังสือโบราณอีกด้วย 
EDUCA Podcast ชุดพิเศษ ตอนที่ 3 จากรวมเรื่องพูดและเขียนของ ศ.สุกิจ นิมมานเหมินท์ เขียนถึงท่านเจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ เป็นเรื่องเล่าความประทับใจที่ได้ศึกษาจากท่านฟ. ฮีแลร์ เทคนิคการแปลภาษาไทยเป็นภาษาโรมัน ซึ่งอธิบายลงลึกแต่ละวรรณยุกต์ เช่น ตัว ช.ช้าง ต้องใช้ตัว J ตัว ท.ทหาร ต้องใช้ตัว D ตัว ธ.ธง ต้องใช้ตัว DH เป็นต้น ซึ่งหลักการนี้ช่วยให้การแปลภาษาสันสกฤต หรือภาษาบาลีเป็นภาษาโรมันเป็นไปอย่างง่ายดาย ทำให้เห็นว่าท่านเจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ เป็นปราชญ์ทางภาษา เป็นนักกวีนิพนธ์ของยุคสมัยก็ได้
EDUCA Podcast ชุดพิเศษ จากรวมเรื่องพูดและเขียนของ ศ.สุกิจ นิมมานเหมินท์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เขียนถึงท่านเจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ จากสมัยที่ยังได้เรียน และการเป็นนักอ่านตัวยงของ ฟ.ฮีแลร์ ส่งต่อให้ ศ.สุกิจ เป็นผู้รักการอ่านหนังสือด้วย รวมถึงการให้อ่านพงศาวดาร และประวัติศาสตร์ของชาติไทย โดยเน้นย้ำที่การรักชาติ รักแผ่นดิน แนะนำเทคนิควิธีการแปลภาษาที่เข้าใจง่าย และทำให้เข้าใจความทั้งหมดได้เป็นอย่างดี 
EDUCA Podcast ชุดพิเศษ จากรวมเรื่องพูดและเขียนของ ศ.สุกิจ นิมมานเหมินท์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เขียนถึงท่านเจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ ครูภาษาไทยของศ.สุกิจ เมื่อครั้งยังเด็ก ฟ. ฮีแลร์ ชื่อเต็มว่า ฟรองซัว ตูเวอแน ฮีแลร์ (François Touvenet Hilaire) ภราดาที่เกิดและเติบโตที่ประเทศฝรั่งเศส แต่มีความแตกฉานภาษาไทย ศึกษาวรรณคดีไทยอย่างลึกซึ้ง เป็นอัจฉริยะด้านภาษา เป็นผู้แต่งแบบเรียนภาษาไทย ระดับประถมศึกษา ดรุณศึกษา
ลอง ฟัง (E)DU ตอนนี้เป็นฉบับ Uncut ของซีรีส์ Online Learnนิ่ง? (2) ตอน สร้างทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเอง กับ อ.ดี้ พาทุกคนไปทำความรู้จักกับความท้าทายในการออกแบบการเรียนรู้ของครูให้นักเรียนสามารถทำงาน และเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง หรือ Self-directed Learning ระหว่างที่อยู่ในช่วงเรียนออนไลน์ของ ผศ.ดร.จุฑารัตน์ หรือ อ.ดี้ จากคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ไปแล้ว ขอบอกว่าคลิปเสียงบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มยังมีอีกหลากหลายเรื่องราวที่ยังไม่ถูกเปิดเผย
ในตอนนี้ ลองฟัง (E)DU Podcast นำตอนที่ได้คุยกับ ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล จากคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ มาแลกเปลี่ยนในมุมของอาจารย์ผู้สอนเองถึงผลกระทบจากการสอนออนไลน์ และประเด็นสำคัญที่ไม่ได้มีแค่การเตรียมสอน แต่ยังมีเรื่องการรักษาสุขภาพจิตของกันและกันอีกด้วย ในฉบับ Uncut ลองฟังดู
ลองฟัง (E)DU ตอนนี้เป็นตอนสุดท้ายของซีรีส์ Online Learnนิ่ง?  ในตอนก่อนหน้าเราได้เห็นมุมมองของอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยกันไปแล้ว ในวันนี้ทางรายการได้รับเกียรติจาก ครูคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา ครูพิมวดี จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ที่มาเล่าประสบการณ์ในการสอนออนไลน์ เมื่อการสอนออนไลน์เหมือนกลับมาฝึกสอนใหม่อีกรอบ ปรับตัวแรกคือเรื่องเทคโนโลยี สอนสด หรือแขวนคลิป โรงเรียนที่เปิด Onsite และ Online ไปพร้อม ๆ กัน ทำงานอย่างไร โดยเฉพาะเด็กมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังสอบเข้ามหาวิทยาลัย ครูจะให้ความช่วยเหลืออย่างไร เช็กความพร้อมของผู้เรียน การสร้างกฎ กติการ่วมกันเพื่อสร้างความสะดวกให้ผู้เรียนมากที่สุด การรวบรวมสื่อการสอน แอปพลิเคชันเพื่อช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้มากที่สุด ประสบการณ์การสอนออนไลน์ในฐานะครูรุ่นใหม่ พร้อมแนะนำถึงวิธีการเตรียมตัวสอนออนไลน์ รวมไปถึงการรับฟังเสียงของนักเรียน เพื่อช่วยกันพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ให้ราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
ลองฟัง (E)DU พาไปพูดคุยกับ ผศ.ดร.จุฑารัตน์ วิบูลผล ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเรื่อง SDL Self-Directed Learning การเรียนรู้แบบนำตัวเอง นักการศึกษาอาจรู้จักคำอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน แต่ SDL มีความเฉพาะ ผู้เรียนเป็นผู้กำกับ ดูแล จัดการเรียนรู้ของตัวเอง ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต แรกเริ่มมาจากการศึกษาผู้ใหญ่ การเรียนรู้ด้วยการนำตัวเอง แค่รู้ว่าชอบเรียนอะไรไม่พอ แต่จะมีเนื้อหาบางเรื่องเป็นสิ่งสำคัญจำเป็นของผู้เรียนที่ต้องรู้ กระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้ใกล้เคียงกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน แต่ผู้ทำกระบวนการคือผู้เรียนทั้งหมด เราจะเห็น SDL มากขึ้นในระบบการศึกษาตามหลักสูตรทั่วไป โดยผู้เรียนมีการเรียนรู้ด้วยตัวเองที่หลากหลาย ตามแบบฉบับของตัวเอง ถ้าคุณครูกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการนำตัวเอง ครูนำ SDL ไปประยุกต์ใช้ในบทเรียนได้อย่างไร ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะการเรียนการสอนทางไกลในปัจจุบัน สำคัญที่แหล่งเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ถึงจะให้เด็กจัดการกระบวนการเรียนรู้เอง แต่ครูต้องมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะด้านกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ นอกจากครูเชื่อ ต้องทำให้นักเรียนเชื่อด้วย ว่าเขาทำได้ และ การกำหนดเวลาที่เหมาะสมกับผู้เรียนที่มีความหลากหลายทุกคน
หลังจากที่ได้ฟังในมุมของผู้เรียนไปแล้ว ในตอนนี้ทางรายการได้รับเกียรติจาก ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล จากคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ มาแลกเปลี่ยนในมุมของอาจารย์ผู้สอนเองถึงผลกระทบจากการสอนออนไลน์ และประเด็นสำคัญที่ไม่ได้มีแค่การเตรียมสอน แต่ยังมีเรื่องการรักษาสุขภาพจิตของกันและกันอีกด้วย รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ลองฟังดู Podcast น้องใหม่ ใส่ใจการศึกษา
นิสิต นักศึกษาครูในหลากหลายมหาวิทยาลัยน่าจะเริ่มปิดเทอมกันแล้ว บางแห่งก็กำลังจะเปิดเรียนปีการศึกษาใหม่ แต่ไม่ว่าจะกลุ่มใดต่างก็ได้พบกับการเรียนในสภาวะไม่ปกติมามากกว่า 1 ปีแล้ว ฟิล์มกับเล้งชวนครูมาฟังซีรีส์ใหม่ ชื่อ Online Leran นิ่ง? ในตอนแรกอยากพาทุกคนไปทบทวนประสบการณ์ว่าเจออะไรมาบ้าง และได้ตกผลึกความคิดอะไร จากการเรียนออนไลน์ในระดับมหาวิทยาลัยกัน หากผู้ฟังคนไหนอยากร่วมแลกเปลี่ยนก็ส่งมาที่ใต้คอมเมนต์ใน YouTube ได้เลย และหากชอบคลิปนี้ก็อย่าลืมกด like กด subscribe และสั่นกระดิ่งเพื่อจะได้ไม่พลาดคอนเทนต์ดี ๆ จาก EDUCA 
ก่อนจะจบซีรีส์มองระบบผลิตครูในตอนที่ 12 นี้ไป ฟิล์ม และเล้งขอชวนว่าที่ครู และผู้ฟังทุกคน ลองมาดูผลการสำรวจทั้งใน และต่างประเทศว่าคนไทย และคนในประเทศชั้นนำอื่น ๆ มองเห็นวิชาชีพครูเป็นอย่างไร แล้วอาชีพครูอยู่ส่วนไหนของสังคม ลองฟังดู
ในตอนที่ 11 นี้ฟิล์มและเล้งขอชวนว่าที่ครูทุกคนทั้งในระดับมัธยม และอุดมศึกษามาดูกันว่า กว่าจะได้เข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยเพื่อเตรียมตัวเป็นครูคนใหม่ในห้องเรียนของนักเรียนผู้โชคดี โครงสร้างหลักสูตรจะเป็นอย่างไร มีกิจกรรมอะไรที่ต้องทำบ้าง มาลองฟังดู Podcast น้องใหม่ ใส่ใจการศึกษา
ในตอนที่ 10 ของ ลองฟัง (E)DU Podcast นี้ ฟิล์มและเล้งยังคงพูดถึงระบบพัฒนาครูใหม่ของไทยกันต่อในซีรีส์ "มองระบบผลิตครู" แต่มาในมุมที่กว้างขึ้นกับคำถามที่ว่า จรรยาบรรณครูมีบทบาทสำคัญอย่างไรในงานครู และที่ผ่านมาจิตวิญญาณความเป็นครู และจรรยาบรรณครูยังมีความสำคัญขนาดไหนในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปเร็วเช่นนี้ ในลองฟัง(E)DU
EDUCA มองระบบผลิตครู ข้อสอบแบบไหน ใช้คัดว่าที่ครูในประเทศไทย ข้อสอบคัดเลือกครู เป็นข้อสอบเฉพาะสำหรับวิชาชีพ แบ่งเป็น ภาค ก. วัดผลความรู้ทั่วไป ข่าวสารบ้านเมือง วัดความรู้ภาษาอังกฤษ และวัดความเป็นข้าราชการที่ดี ภาค ข. เป็นการวัดความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพ วิชาการศึกษา วิชาเอก กฎหมายการศึกษา ภาค ค. ส่วนของการสัมภาษณ์ แสดงแฟ้มผลงาน (Portfolio) และการสอบสอน ระบบการคัดเลือกครู  การวัดผลใน ลองฟังE(DU) ตอนนี้คุณครูมีความคิดเห็นอย่างไร ร่วมแลกเปลี่ยนกัน
เนื่องจากครูเป็นต้นน้ำของระบบการศึกษาไทย และเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาการระบบศึกษาไทย วันนี้เล้งและฟิล์มจะพาท่านผู้ฟังไปดูว่าประเทศไทยเตรียมนิสิตนักศึกษาครูกันอย่างไร และยังมีรายละเอียดที่น่าสนใจอีกมากมาย ที่อยากเล่าให้ฟังในตอนนี้ มาลองฟังดู
ในตอนนี้จะมาชวนผู้ฟังทุกคน back to basic กลับไปทำทบทวน และทำความรู้จักกับการศึกษา 3 รูปแบบที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาช้านาน คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย แม้ผู้ฟังอาจจะคุ้นชินกับระบบการศึกษาในรูปแบบแรก และใคร ๆ ต่างก็ให้ความสำคัญ แต่ในองค์รวมแล้วทั้ง 3 รูปแบบต่างก็ตอบโจทย์เดียวกัน คือมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตด้วยความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะของผู้เรียนรู้ที่ดี ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่นำมาถกกันอีกหลากหลายประเด็น ก็ขอให้ทุกคนลองฟังดู
ครั้งก่อนเราได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเนื้อหาการสอบเข้าที่ควรหลากหลายมากกว่าการทำข้อกาอย่างเดียว ในตอนนี้ ฟิล์มและเล้งจะชวนมองเรื่องการสอบเข้าให้กว้างขึ้นไปถึงระดับระบบการสอบเข้าที่ทำให้นักเรียนเตรียมสอบทั้งหลายไม่ว่าจะระดับใดเกิดความเครียดไปตาม ๆ กัน และปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นภายใต้บริบทประเทศไทยเพียงอย่างเดียว แต่ประเทศใหญ่อย่างจีน และเกาหลีใต้ก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน จะเป็นอย่างไร เราขอชวนทุกท่านไปลองฟังดู
ข้อสอบวัดผล และการประเมินผลในการคัดคนเข้าเรียนในแต่ละระดับ จนถึงการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เราจะเห็นข้อสอบหลักๆ อยู่ 3 รูปแบบ คือ ปรนัย อัตนัย และการสอบปฏิบัติ เมื่อการออกข้อสอบโดยใช้ข้อกา เป็นที่สงสัยในแง่การวัดผล  ลองฟัง (E)DU นำเรื่องการออกข้อสอบของไทยและต่างประเทศ มาพูดคุยกัน 
loading
Comments 
Download from Google Play
Download from App Store