ชีวิตของ อูน—ชนิสรา วงศ์ดีประสิทธิ์ ผ่านเส้นทางมาอย่างโชกโชน เริ่มต้นคิดแผนการทำธุรกิจส่วนตัวตั้งแต่สมัยยังเรียนนิเทศศาสตร์ การศึกษาข้อมูลการตลาด ข้อกฎหมาย ความรู้เกี่ยวกับอาหารมากมาย จนนำมาสู่ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพอย่าง Diamond Grains และกับผลงานที่โด่งดังสุดๆ ในปีนี้อย่างเพลง ‘เฮอร์ไมโอน้อง’ ที่ฮิตกันทั่วบ้านทั่วเมือง . การได้ทดลองทำอะไรหลายๆ อย่าง ได้นำไปสู่ทักษะที่หลากหลาย ถึงแม้ ณ เวลานั้นอาจจะดูไม่สำคัญมาก แต่สุดท้ายแล้วทักษะเหล่านี้ก็จะหล่อหลอมตัวพวกเรา และเราไปสู่อาชีพและความชอบที่ทั้งเลี้ยงชีพและเติมเต็มความชอบของเราได้ไม่มากก็น้อย
เผือก พงศธร เด็กสายนิเทศศาสตร์ที่ทำได้หลายอย่าง แต่ไม่สุดสักทาง จุดเริ่มต้นของการได้ทำงานประจำสายครีเอทีฟตั้งแต่ยังเรียนไม่จบของเขา มาจากการลองหาโอกาสให้ตัวเอง ตั้งแต่การส่งงานประกวดครั้งแล้วครั้งเล่าหรือยื่นสมัครฝึกงานก่อนเวลา เพียงเพราะต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่ตัวเองชอบ การฝึกฝนนำพาเขามาสู่ยุคปัจจุบันทั้งงานด้านการแสดง ดีเจ พิธีกร ทักษะความเป็นเป็ดที่ติดตัวช่วยเกื้อหนุนให้เขาทำปรับตัวได้ทุกสถานการณ์
เคยรู้สึกมั้ย ยิ่งทำงานไปนานเท่าไร ยิ่งรู้สึกไม่เก่งมากขึ้นเท่านั้น แล้วเราจะรับมืออย่างไรดี? แม้จะอยู่ในวงการมาอย่างนานกว่า 26 ปี ได้ทดลองทำงานมาเกือบทุกรูปแบบ ตั้งแต่นักร้อง พิธีกร ดีเจ หรืองานด้านแฟชั่น แต่ ‘พลอย หอวัง’ กลับรู้สึกว่าตัวเองยังไม่เก่งและมีอีกหลายเรื่องที่ไม่มั่นใจ รายการ EXเป็ด เปลี่ยนเป็ดให้เป็น (ex)pert ชวนเธอคุยในฐานะมนุษย์เป็ดแห่งวงการบันเทิง เบื้องหลังความสดใสและเสียงหัวเราะในวัย 37 ปี มีสิ่งใดที่เพิ่งเรียนรู้และเข้าใจบ้าง รวมถึงการรับมือกับความไม่มั่นใจอย่างไร เมื่อต้องชีวิตต้องทำสิ่งใหม่
ตั้ง กล่าวว่าเขาคือตัวแทนของมนุษย์เป็ดอย่างแท้จริง การมีโอกาสได้ทำงานหลากหลาย เกิดจากความพยายามในการพิสูจน์ตัวเอง(อย่างสุดตัว)ในช่วงชีวิตวัยรุ่น สิ่งนี้ทำให้เขาค้นพบแพชชั่นและความต้องการของตัวเองอย่างแท้จริง แล้วถ้าล้มเหลวล่ะ? ถ้าผลลัพธ์จากความพยายามกลายเป็นศูนย์ มนุษย์เป็ดคนอื่นๆ จะเรียนรู้อะไรได้บ้าง? ฟังคำตอบจากเขาไปพร้อมกันได้ในรายการตอนนี้เลย
‘เป็นวัยรุ่น มันไม่ง่าย’ แต่จะมีผู้ใหญ่สักกี่คนที่เข้าใจ? . EXเป็ด เปลี่ยนเป็ดให้เป็น (ex)pert ชวน ‘ป๋าเต็ด-ยุทธนา บุญอ้อม’ คุยในฐานะผู้ใหญ่ที่เข้าใจความเจ็บปวดของเด็กวัยรุ่น การทำงานตลอด 30 กว่าปีของป๋าเต็ด บทเรียนที่ตกผลึกจนอบอวลไปด้วยความเข้าใจโลก ตั้งแต่การเป็นดีเจ สู่การสร้างคลื่นวิทยุ Fat Radio เพื่อให้เพลงอินดี้ไทยได้มีพื้นที่ปล่อยของ ก่อนจะเป็นผู้จัดคอนเสิร์ตในเทศกาลดนตรีระดับประเทศ และผันตัวมาเป็นนักสัมภาษณ์อย่างจริงจัง โดยได้รับความไว้ใจจากแขกรับเชิญในการเปิดเผยเรื่องราวอย่างตรงไปตรงมา
ความสำเร็จของก้อย อาจไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หนทางจากนักแสดงตัวประกอบสู่นักแสดงหลัก จนได้ลองเขียนบท รวมถึงเป็นยูทูบเบอร์ในช่อง Goy Natty Dream ที่มีคนติดตามหลักล้าน เบื้องหลังฉากคือการอนุญาตให้ตัวเองรู้สึกห่วย เพราะท้ายที่สุดผลลัพธ์ของการปล่อยให้ตัวเองรู้สึกไม่เก่ง จะทำให้เราพุ่งทะยานเข้าหาโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ เพื่อให้ตัวเองได้เรียนรู้อยู่เสมอ
มนุษย์พ่อ คือ มนุษย์เป็ด ถ้าพ่อแม่ไม่ปรับตัวให้ทัน จะเข้าใจความต้องการของเด็กสมัยนี้ได้อย่างไร? รายการ EXเป็ด เปลี่ยนเป็ดให้เป็น (ex)pert ชวน ‘พ่อเหว่ง-ภูศณัฎฐ์ การุณวงศ์วัฒน์’ คุยถึงชีวิตการทำงานและบทบาทของมนุษย์พ่อ จากเด็กที่เรียนไม่เก่ง ไม่ว่าจะทำอะไรก็ไม่ถึงจุดที่ประสบความสำเร็จสักที สู่ความเป็นพ่อที่แสนอบอุ่นของ ‘จินและเรนนี่’ แห่ง Little Monster กว่าจะถึงวันนี้พ่อเหว่งเรียนรู้อะไรในตัวเองบ้าง?
มีคนเคยบอกว่าเขาเป็นสื่อไอที รีวิวรถไม่เป็น จึงไปเรียนขับรถขั้นสูงและฝึกฝนอย่างหนัก ในพาร์ทของการทำงานไม่มีคำว่าเจ้านาย-ลูกน้อง มีแต่คำว่าทีม ที่ทุกคนมีความสำคัญ เบื้องหลังความสำเร็จของ Spin9 คือการวางแผน ฝึกฝน และทัศนคติที่ดี จนกลายเป็นช่องยูทูบเบอร์ชื่อแรกที่หลายคนนึกถึง
รายการ EXเป็ด เปลี่ยนเป็ดให้เป็น (ex)pert เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้ พูดคุยกับ ‘หนุ่ย-พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์’ เจ้าพ่อสายไอที ผู้คลุกคลีอยู่กับนวัตกรรมใหม่และวิ่งตามความไวของเทคโนโลยีอยู่เสมอ แต่การเดินทางในชีวิตก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ความไวของเทคโนโลยีในศตวรรษนี้ทำให้เขามีบทเรียนชีวิตที่ต้องลองผิดลองถูกอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้มนุษย์เป็ดด้านไอทีอย่างเขาเกิดการเรียนรู้ในการทำให้ตัวเองแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ไปรู้จักตัวตนพร้อมกับเรื่องราวด้านไอทีจากพญาเป็ดคนนี้ พร้อมกันได้เลย
หลายคนเราอาจจะจินตนาการถึงพื้นที่เงียบสงบและบรรยากาศง่วงเหงาหาวนอน แต่ถ้าใครเคยไปเยี่ยมเยียนหรือใช้บริการ สถาบันอุทยานการเรียนรู้ หรือ TK Park จะพบว่าแม้มีพื้นที่ไม่ได้กว้างใหญ่มาก แต่ กลับมีทุกสิ่งให้เลือกสรรในห้องสมุด (Library of Things) นอกจากหนังสือไว้มากมาย จนเรียกได้ว่าที่นี่คือห้องสมุดที่มีชีวิต
ศิษย์เก่าวิทยาลัยเพาะช่างมีเส้นทางชีวิตที่พลิกผันทำให้ต้องรับราชการทหารนานกว่า 9 ปี และเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของแบงก์ชาติอีก 25 ปี ท้ายที่สุดความใฝ่ฝันที่จะได้ทำงานจากวิชาที่ร่ำเรียนมาก็พาเขามาสู่การเป็นศิลปินทำโมเดลในวัยเกษียณ นี่คือการค้นหาตัวตนในวัยเก๋าของ ‘ลุงติ๊ก-สิบโท พงศ์กาณฑ์ โกมลกนก’ เจ้าของเพจ ลุงติ๊กสเกล & Diorama ผู้ใช้เวลาว่างหลังเกษียณในการสร้างสรรค์โมเดลสเกลจิ๋ว จนสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้
จากตะกร้าผลไม้พลาสติกในตลาดสด ดัดแปลงดีไซน์เป็นเก้าอี้สุดเก๋ นี่คือผลงานที่หยิบเอาสิ่งธรรมดาและถูกมองข้ามมาผสมผสานกับแนวคิดสร้างสรรค์ จนกลายเป็นงานออกแบบที่มีมูลค่าและเต็มไปด้วยเรื่องราว รายการ EXเป็ด เปลี่ยนเป็ดให้เป็น (ex)pert เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้ พูดคุยกับ ‘ศรัณย์ เย็นปัญญา’ ผู้ซึ่งไม่กรอบนิยามอยู่แค่คำว่านักออกแบบ แต่เขากลับเรียกตัวเองว่า ‘นักเล่าเรื่อง’ (Storyteller) และการเป็นนักเล่าเรื่องนี่เองที่พาให้งานแต่ละชิ้นของเขาไม่ซ้ำใคร ไม่ว่าจะงานเฟอร์นิเจอร์ กราฟิก โปรดักท์ การออกแบบร้านอาหาร หรือการรังสรรค์เมนูเครื่องดื่ม ไปค้นหาความเป็นมนุษย์เป็ดที่แอบซ่อนอยู่ในตัวตนของนักเล่าเรื่องคนนี้ ระหว่างทางมีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเขาใช้ทักษะการเป็นนักเล่าเรื่องพาตัวเองก้าวผ่านมาได้อย่างไร ติดตามได้พร้อมกันเลย
เมื่อโลกความจริงไม่ปล่อยให้ชีวิตได้จินตนาการและทดลองค้นหาตัวตน พื้นที่สร้างสรรค์อย่าง ‘นิทรรศการ’ อาจช่วยเติมเต็มได้ รายการ EXเป็ด เปลี่ยนเป็ดให้เป็น (ex)pert เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้ พูดคุยกับ ‘ทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร’ Curator หรือ นักจัดการความรู้อาวุโสจากมิวเซียมสยาม ผู้อยู่เบื้องหลังการเล่าเรื่องนิทรรศการรูปแบบใหม่นับไม่ถ้วน เขาบอกว่ากว่าจะออกมาเป็นนิทรรศการหนึ่งชิ้น ต้องอาศัยทักษะความเป็นเป็ดอย่างสูง เพราะเชื่อว่าการตั้งต้นจากความไม่รู้จะนำพาไปเจอคำตอบ ดังนั้นหากนิทรรศการจะดูออกมาพร้อมหรือสมบูรณ์แบบได้นั้น คนทำงานจะต้องมีอาวุธติดมือเป็นทักษะรอบด้านเหมือนดั่งเช่นมนุษย์เป็ดเสียก่อน ไปค้นหาตัวตนพร้อมกับเรื่องราวการทำนิทรรศการ ติดตามพร้อมกันเลย
เราจะนำความชอบมาทำเป็นอาชีพได้อย่างไร ? รายการ EXเป็ด เปลี่ยนเป็ดให้เป็น (ex)pert เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้ ชวน ‘นิค-นิรุทธ์ ชมงาม’ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องงูของประเทศไทย ที่ใช้ความหลงใหลในอสรพิษและความลับของธรรมชาติมาทำเป็นอาชีพ โดยการเปิดช่องยูทูปชื่อว่า ‘Nick Wildlife’ ที่นำเสนอเรื่องเล่าเชิงสารคดี โดยมีความมุ่งมั่นคือการสร้างความเข้าใจใหม่ระหว่าง ‘งู’ กับ ‘คน’ และต้องการนำธรรมชาติล้ำค่าเข้ามาใกล้คนไทยมากกว่าที่เป็นอยู่ แต่เรื่องราวนั้นไม่ง่าย…การนำความชอบมาทำเป็นอาชีพมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้ระหว่างทางมากมาย ทั้งการเริ่มต้นเรียนรู้งานด้านการถ่ายทำ การปรับสมดุลระหว่างตัวตนเองกับงาน การสื่อสารเรื่องสัตว์ป่าบนความเชื่อเชิงวัฒนธรรม เพื่อสร้างความเข้าใจใหม่ไม่ให้มนุษย์ทำร้ายงู ซึ่งเรื่องของเขาจะเป็นอย่างไร? ไปติดตามกันได้เลย
หากพูดถึงคำว่า ‘เกม’ ผู้ใหญ่หลายคนอาจพากันส่ายหน้าหนี และมองว่าสิ่งนี้ไม่สามารถช่วยให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ แต่ไม่ใช่กับนักออกแบบการเรียนรู้จาก BASE Playhouse ที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพและพลังที่ซ่อนอยู่ในตัวเอง ที่สำคัญการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเราปล่อยให้ตัวเองได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ อย่างสนุกสนาน ผ่านเรื่องง่ายๆ อย่างการเล่นเกม รายการ EXเป็ด เปลี่ยนเป็ดให้เป็น (ex)pert เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้ ชวน ‘ม๋ำ- เมธวิน ปิติพรวิวัฒน์’ และ ‘แม็ก-ภีศเดช เพชรน้อย’ สองนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Designer) จาก BASE Playhouse ที่ใช้กระบวนการหลายอย่าง ทั้งการมีส่วนร่วม การปรับให้การเรียนรู้อยู่ในรูปแบบของเกม (Gamification) การเวิร์คชอปเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และทักษะสำคัญอย่างเป็นระบบ โดยทั้งหมดตั้งอยู่บนพื้นฐานความสนุก มาสร้างการเรียนรู้ให้เหมาะกับแต่ละบุคค ซึ่งเรื่องของนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้อย่างสองคนนี้จะเป็นอย่างไร? ไปติดตามกันได้เลย
ศิลปิน นักแสดงละครเวที นักเขียน นักพากย์ พิธีกร กองบรรณาธิการ คนสอนการแสดง นักออกแบบงานแต่งงาน จิตรกร อินฟลูเอนเซอร์ คอนเทนต์ครีเอเตอร์ ภัณฑารักษ์ และผู้กำกับศิลป์ คืออาชีพบางส่วนที่เคยทำของ ‘ฮ่องเต้-กนต์ธร เตโชฬาร’ ผู้ที่ชื่นชอบความเป็นมนุษย์เป็ดในตัวเอง และสิ่งที่ทำให้เขาเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ทดลองเดินในหลายเส้นทาง เพราะไม่เคยปฎิเสธโอกาสใหม่ๆ ในการเรียนรู้ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
กี่ครั้งแล้วที่เราตั้งใจอยากเรียนรู้หรือลองหัดทำสิ่งใหม่ๆ แต่กลับล้มเหลวพังไม่เป็นท่า จนต้องล้มเลิกความตั้งใจไป EXเป็ด เปลี่ยนเป็ดให้เป็น (ex)pert เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้ คุยกับ ‘หูหนู - นลินี โสรณสุทธิ’ นักวิชาการจาก OKMD ถึงวิธีฝึกสมองให้หลงรักการเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยใช้ธรรมชาติของสมองเป็นพื้นฐาน หรือ Brain-based Learning (BBL) ซึ่งเป็นวิธีสร้างการเรียนรู้ที่เข้าใจการทำงานของสมองของมนุษย์ทุกวัย ตั้งแต่เด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ เราจะทำให้สมองหลงรักการเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ได้อย่างไร? วิธีการนี้เหมาะกับใครบ้าง? และที่สำคัญเราจะช่วยกระตุ้นให้สมองปลุกความกระหายใคร่รู้อย่างแท้จริงได้อย่างไร ติดตามวิธีการจัดการสมองของเรากันได้เลย
นัท-นัทธมน โชคจินดาชัย (เจ้าของ IG : nkwww และ youtube : NKW) คือคอนเทนต์ครีเอเตอร์ และอินฟลูเอนเซอร์ที่ฝึกหัดเรียนรู้ในการหยิบเอาวิธีการเล่าเรื่องของแบรนด์และสินค้ามาทดลองเล่าใหม่ จนหลายคนบอกว่าวิดีโอของเธอคืองานศิลปะชิ้นหนึ่ง . EXเป็ด เปลี่ยนเป็ดให้เป็น (ex)pert เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้ พาไปรู้จักกับ ‘นัท-นัทธมน โชคจินดาชัย’ นักศึกษาสถาปัตย์ที่ใช้ความสนใจของตัวเอง พาเข้าสู่วงการโฆษณา และตัดสินใจเลือกต่อยอดการเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ โดยใช้เอาความคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ผสมผสานกับการเรียนรู้ครั้งใหม่ไปกับงานโปรดักชันที่แทบจะทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ตั้งแต่การกำกับ ถ่ายทำ เขียนสคริปต์ ตัดต่อ หาสถานที่ แต่งหน้า ทำผม และอื่นๆ อีกมากมาย แต่เส้นทางการเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ของเธอครั้งนี้จะเป็นอย่างไร จะสนุกหรือมีอุปสรรคใดบ้าง ติดตามได้ในรายการตอนนี้เลย
นักรบ มูลมานัส จากนักเรียนอักษรศาสตร์ผู้เป็นเป็ด สู่ศิลปินและนักทำภาพประกอบที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ จากความสนใจในการออกแบบ ผสมกับความชอบส่วนตัวในการสะสมคลังภาพเก่าจากหลากหลายที่ จนมาผสมกันเกิดเป็นงานคอลลาจที่ตัดเอาภาพเก่ามาแปะลงในบริบทใหม่ จนเกิดเป็นความหมายที่ร่วมสมัยขึ้นมา
ฟาโรส หรือ ณัฏฐ์ กลิ่นมาลี จากเป็ดผู้ทดลองมาหลายอาชีพ ก่อนพบความชอบของตัวเองในการเป็นติวเตอร์สอนภาษาอังกฤษ สู่คอนเทนต์ครีเอเตอร์ผู้หยิบจับความรู้ระหว่างทางจากการเดินทางที่ไกลบ้านมาบอกเล่าให้ทุกคนฟัง