DiscoverEargasm Deep Talk
Claim Ownership
44 Episodes
Reverse
แม้จะเห็นหน้าค่าตากันอย่างถี่ในช่วงนี้ แต่โต้ง Twopee ก็ทำวง Southside กับคู่หู Freddy V มาสิบกว่าปีแล้ว มีผลงานฮิตในแวดวงฮิปฮอปหลายเพลง จนเรียกได้ว่าเป็นแรปเปอร์มือดีคนหนึ่งของประเทศไทยเลยก็ว่าได้
ไปฟังแพท บุญสินสุข สัมภาษณ์ถอดตัวตนและที่มา รวมถึงอนาคตของแรปเปอร์เจ้าเสน่ห์ที่สาวๆ หลายคนยกให้เป็นสามีแห่งชาติคนใหม่ในปีนี้ใน Eargasm Deep Talk Podcast
Time index00:46 กว่าจะเป็น Twopee Southside06:52 Southside to all side10:02 เข้าสู่ The Rapper15:58 เพลงแรปมีกี่ประเภท23:09 อนาคตอยากทำงานกับใครบ้าง
อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/eargasmdeeptalk17/
เลเล่เล้ เป็นนามปากกา (หรือเอาจริงๆ คือแอ็กเคานต์ล็อกอินเว็บบอร์ดพันทิป) ของวรเชษฐ ไพศาขมาศ ที่ตั้งกระทู้รีวิวอัลบั้มยอดเยี่ยมเป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ปี 2000 รวมแล้วกว่า 18 ปีครึ่งปี 2018 ผ่านไป ศิลปินทำอัลบั้มไม่มากเท่าปีที่แล้ว รายการพอดแคสต์ Eargasm Deep Talk เลยขอเชิญเลเล่เล้มารีวิวซิงเกิลเพลงไทยยอดเยี่ยมประจำครึ่งปีที่ผ่านมากัน
Time index00:44 เริ่มเป็นนักฟังเพลง08:18 เพลงไทยยอดเยี่ยมครึ่งปี 201844:17 ทิศทางวงการเพลงไทยครึ่งปีที่เหลือจะเป็นอย่างไรอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/eargasmdeeptalk16/
ถึงจะไม่ใช่นักดนตรีหรือนักร้อง แต่มายด์ ลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุล ก็ชอบดนตรีเป็นชีวิตจิตใจ เห็นได้จากแฮชแท็ก #ItsMildLive ที่รวมภาพคอนเสิร์ตและเทศกาลดนตรีร้อยกว่าภาพที่เธอไปร่วมเสพมาตลอด 2 ปี
ไปฟังว่าแพสชั่นในการฟังดนตรีสดของเธอมาจากไหน และทำไมดนตรีร็อกถึงอยู่ในสายเลือดของเธอกัน
Time index00:40 เดินทางไปดูมันทุกคอนเสิร์ตในไทย10:10 ไปต่างแดนเพื่อดูคอนเสิร์ตโดยเฉพาะ19:37 เป็นสายไหนในคอนเสิร์ต22:40 มารยาทของการดูคอนเสิร์ต28:50 ช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ กับคอนเสิร์ตที่คาดว่าจะดู37:02 มายด์ ลภัสลัล มิวสิกเฟสติวัล?อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/eargasmdeeptalk15/
อาชีพโปรดิวเซอร์ต้องทำอะไรบ้าง และเส้นทางที่จะมุ่งหน้าไปเป็นอาชีพผู้บงการเบื้องหลังของวงการเพลงนี้ต้องทำอย่างไร ไปฟัง ดาโน่-ดนัย ธงสินธุศักดิ์ โปรดิวเซอร์มือทอง ผู้ปลุกปั้นวงดังอย่างเคลียร์ หรือเรโทรสเปค เล่าเส้นทางสายอาชีพของเขาให้เราฟัง
Time index01:18 ก่อนดาโน่จะเป็นโปรดิวเซอร์08:09 เบนเข็มสู่วงการดนตรี10:00 โปรดิวเซอร์คือใคร14:36 ผลงานโปรดิวซ์ของดาโน่22:28 นินจาในเงามืด28.00 โปรดิวเซอร์สู่ผู้บริหารค่ายเพลง
อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/eargasmdeeptalk14/
ตลอด 18 ปี กับ 7 อัลบั้มที่ผ่านมา วงสครับบ์มีผลงานเพลงฮิตมาไม่ขาดสาย ไม่ว่าจะเพลงทุกอย่าง ใกล้ คู่กัน คำตอบ และอีกมาก วันนี้บอลและเมื่อยกลับมาอีกครั้งกับอัลบั้มใหม่ Season ที่พกพาสีสันใหม่ๆ มาสู่ซาวด์ของสครับบ์ ด้วยการทำงานกับทีมงานใหม่ๆ และเพลงแบบใหม่ๆ ที่ทั้งสองอยากลองทำTime index00:46 วงที่มีงานต่อเนื่องมาถึง 18 ปี07:30 อะไรที่วงอายุ 18 ปีรู้สึกว่ายังไม่เคยทำ11:05 เฟสที่ 3 ของ Scrubb16:40 18 ปี Scrubb เปลี่ยนไปหรือคงไว้ซึ่งสไตล์เดิม21:49 อัลบั้ม Season กับทีมงานใหม่38:36 Eargasm Session: ฤดู / ดวงตะวันอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/eargasmdeeptalk13/
“ทำไมวัยรุ่นจะสะพายซอสีชมพูเดินห้างไม่ได้”
คือคำถามที่ ครูเอ้-อัษฎาวุธ สาคริก ทายาทรุ่นเหลนของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ฝากไว้ในพอดแคสต์นี้ ซึ่งก็เหมือนตั้งคำถามไปถึงวัฒนธรรมอื่นๆ ของประเทศด้วยว่า ของคลาสสิกที่มีอยู่ก็น่าคงไว้ แต่ของใหม่ๆ ที่อยากจะสร้างสรรค์ทำไมถึงยังไม่มี
คุยกับครูเอ้และพีท-ปิติพงษ์ ผาสุขยืด นักแสดงจาก โหมโรง เดอะมิวสิคัล ที่กำลังเปิดการแสดงอยู่ตอนนี้ ในเรื่องดนตรีไทยและเบื้องหลังละครเวทีเรื่องนี้
ไปฟังเต็มๆ ได้ในพอดแคสต์ Eargasm Deep Talk เอพิโสดใหม่สัปดาห์นี้Time index00:55 ครูเอ้และจุดเริ่มของ โหมโรง22:14 ก้าวต่อไปจาก โหมโรง25:55 มายาคติของดนตรีไทย33:27 อนาคตของดนตรีไทย37:34 รายละเอียดในละครเวที โหมโรงอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/eargasmdeeptalk12/
ท่ามกลางความงงงวยของธุรกิจค่ายเพลง ปัณฑพล ประสารราชกิจ หรือโอม Cocktail กลับลุกขึ้นมาก่อตั้งค่ายเพลงนาม Gene Lab และพร้อมกันนั้นก็เปิดตัวรายการค้นหาศิลปินเข้าสู่ค่ายนี้นามว่า Band Lab ซึ่งเขานิยามว่าเป็นรายการแข่งดนตรีที่ไม่ได้สอนเล่นดนตรี แต่สอนให้ศิลปินเอาชีวิตรอดได้ในวงการเพลง
ฟังทัศนะของ โอม Cocktail และ อู๋ The Yers ในฐานะโปรดิวเซอร์คนหนึ่งของรายการ Band Lab เกี่ยวกับการอยู่ในวงการเพลงไทย และประสบการณ์ที่พวกเขาคิดว่าสอนกันได้
Time index01:26 อะไรคือ Gene Lab04:57 อะไรคือ Band Lab24:01 คัดผู้เข้าแข่งขันจนเหลือ 4 วง26:14 ปัญหาที่วงรุ่นใหม่มักจะมี33:26 วงรุ่นเก่าจะมีปัญหาการเรียนรู้สิ่งใหม่อย่างไร41.26 สิ่งที่รายการต้องการจากวงรุ่นใหม่อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/eargasmdeeptalk11/
‘อาสา พาไปหลง’ คือเพจท่องเที่ยวที่โดดเด่นขึ้นมาอย่างไม่น่าเชื่อในช่วงที่คอนเทนต์เที่ยวเต็มหน้าฟีดไปหมด
เบื้องหลังนั้นคือว่านไฉ อคิร วงษ์เซ็ง นักแต่งเพลงที่อยากทลายกรอบบรีฟไปทำอะไรตามใจตัวเองบ้าง ผลลัพธ์คือเพลงบ้าบอติดหูที่เรียกรอยยิ้มได้ในทุกคลิปที่เขาพาเราไปเที่ยว
Time index00:58 นักทำเพลง มาทำเพจเที่ยว06:30 ลิขสิทธิ์ไม่ได้ก็แต่งเองสิ09:33 ทริปเมาดิบที่มัลดีฟส์11:20 จาก 10,000 เป็นแสนไลค์ในข้ามคืน23:15 แต่งเพลงเลี้ยงชีพแบบแฮปปี้อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/eargasmdeeptalk10/
พูดคุยกับสองหัวเรี่ยวหัวแรงของรายการ The Rapper อย่าง โจ้-ศวิชญ์ สุวรรณกุล ผู้ก่อตั้ง Rap is Now ที่พร้อมต่อยอดกระแสฮิปฮอปที่เขาและเพื่อนเป็นผู้ปลุกขึ้นมา และ แต๊บ-ธนพล มหธร Music Director ที่แม้จะเป็นที่รู้จักจากรายการ AF แต่ก็คลุกคลีกับเพลงฮิปฮอปมามากกว่าสิบปี ถึงความสำเร็จของ The Rapper ที่ไม่ได้มาจากโชคช่วย แต่มาจากการทำงานหนักและแพสชันล้วนๆTime index01:06 Rapper Rising10:40 Respect!15:46 Go Overground20:53 First of a Kind26:30 The Coaches31:50 What is Real39:15 What’s Nextอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/eargasmdeeptalk09/
ก่อนจะได้แสดงความสามารถออกอากาศในรายการเพลง ทุกคนต้องผ่านด่านออดิชั่นกันก่อน ซึ่งการจะสร้างความประทับใจให้ทีมงานออดิชั่น หรือทีม scout นั่น ถือว่าเป็นเรื่องที่กดดันและอาศัยเทคนิคอยู่พอสมควรเลย
Eargasm Deep Talk เอพิโสดนี้ จึงขอเชิญผู้ที่เคยทำหน้าที่ scout และผู้ที่เคยส่งคนไปออดิชั่น มาคุยว่าการสร้างความประทับใจในขั้นแรกของการคัดเลือกนั้น ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
Time index02:00 สิ่งแรกที่ควรคิดเมื่ออยากสมัครแข่งรายการเพลง09:44 เลือกเพลงที่เหมาะกับตัวเอง18:00 รู้จักตัวเองให้ดีพอ23:22 First Impression คือสิ่งสำคัญ24:47 ปัญหาการเลือกเพลงที่ใหญ่กว่าตัวเอง37:22 กระบวนการต่อไปจากการออดิชั่น45:16 ความในใจทีมงานออดิชั่นอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/eargasmdeeptalk08/
Music City ไม่ใช่ชื่อร้านขายเครื่องดนตรี แต่คือคอนเซปต์ของเมืองที่ผลักดันให้ดนตรีเป็นตัวชูโรงด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม ถ้านึกเร็วๆ เราอาจคิดถึงเมืองแจ๊ซอย่างนิวออร์ลีนส์ เสียงดนตรีคันทรีจากแนชวิลล์ เมืองต้นกำเนิดวงบีเทิลส์อย่างลิเวอร์พูล หรือแม้แต่เมืองที่ไลฟ์เฮาส์และสตรีทมิวสิกคึกคักมากอย่างญี่ปุ่นและนิวยอร์ก
Eargasm Deep Talk ตอนนี้ เราอยากตั้งคำถามว่า แล้วกรุงเทพฯ มีศักยภาพในการจะเป็น Music City ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกได้หรือไม่ ร่วมพูดคุยกับ ต้อม-พงศ์สิริ เหตระกูล หัวแรงหลักของ Sofar Sounds Bangkok หนึ่งในคนที่พยายามริเริ่มให้กรุงเทพฯ ไปถึงจุดนั้นTime index00:54 พงศ์สิริ เหตระกูล กับแนวคิดว่ากรุงเทพฯ สามารถเป็น Music City ได้02:35 ไลฟ์โชว์แบบ Sofar Sounds Bangkok08:29 นิยามของ Music City คืออะไร17:38 เฟสติวัล SXSW ในเมืองออสติน Live Music Capital of the World23:08 ศักยภาพของกรุงเทพฯ ในการเป็น Music City33:14 เมืองอื่นๆ ในประเทศไทยที่สามารถเป็น Music City ได้อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/eargasmdeeptalk07/
“คอนเสิร์ตก็ดูฟรี นักดนตรีก็ได้เจอ” เป็นนิยามที่หลายคนมอบให้คนที่ทำอาชีพดูแลศิลปิน แล้วอะไรคือเนื้องานจริงๆ ของพวกเขากันแน่
ตอนใหม่ของพอดแคสต์ EARGASM Deep Talk ขอพาเต๋า ผู้จัดการวง Getsunova, แน๊ค พีอาร์ค่าย Smallroom, และเพิร์ล พีอาร์ Spicydisc มาแถลงไขให้ฟัง ว่านอกจากความดีงามที่ได้ใกล้ชิดศิลปินที่ชื่นชอบแล้ว คนทำงานนี้ต้องหัวร้อนกับอะไรอีกบ้างTime index00:50 ใครคือคนดูแลศิลปิน12:54 ความสามารถที่คนดูแลศิลปินควรต้องมี17:11 ขอสัก 2-3 เรื่องประทับใจคนดูแล21:11 คุณสมบัติของคนดูแลศิลปินที่ดีอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/eargasmdeeptalk06/
นักฟังเพลงอายุ 30 ปีขึ้นไปคงคุ้นกับ Zeal วงดนตรีร็อกผสมอิเล็กทรอนิกส์ ที่เปิดตัวอัลบั้มแรก (ใช่แล้ว อัลบั้ม) ด้วยเพลงเร็วที่หนักและมัน อย่าง เหวี่ยง, คนบ้า และเพลงช้าที่บาดและฮิตมากอย่าง สองรัก ที่ทุกวันนี้ก็วงร้านอาหารหรือผับเธคก็ยังเล่นกันอยู่
ผ่านมา 15 ปี ยังมีอะไรใหม่กับวงร็อกรุ่นเก๋าอย่าง Zeal บ้าง และมีอะไรในชีวิตของวงดนตรีวงหนึ่งที่พวกเขายังไม่ได้ทำบ้างTime index00:51 เพลงใหม่ อัลบั้มใหม่ จากวง Zeal06:45 Zeal เมื่อ 15 ปีก่อน และ Zeal ทุกวันนี้10:20 สไตล์การทำงานที่เปลี่ยนไปหลังผ่านเวลา 15 ปี19:58 วงเจ้าพ่องานผับ22:56 สิ่งที่วงดนตรีอายุ 15 ปี ยังไม่ได้ทำ26:19 วงการดนตรียุคนี้มันเป็นยังไง สำหรับวงดนตรีที่อยู่มาหลายยุคอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/eargasmdeeptalk05/
ใครที่เคยทำวงดนตรีก็ต้องฝันอยากจะใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือหาเลี้ยงชีพให้ได้สักครั้งล่ะน่ะ ได้อยู่กับสิ่งที่เรารักทุกวัน มันน่าจะมีความสุขจะตาย แล้วถ้าคุณเป็นคนเล่นดนตรีเก่ง ทำวงก็ดี แต่งเพลงก็ได้ อย่างนี้เพียงพอไหมกับการจะเป็นนักดนตรีมืออาชีพคุยกับพี่สึด แอดมินจากเพจ โถชีวิตนักดนตรี ที่แปรเปลี่ยนเรื่องเศร้ามาเป็นสีสัน ขอนำประสบการณ์คร่ำหวอดในวงการดนตรีแสดงสดมานานกว่า 20 ปี มาแชร์ให้เราฟัง ว่ามันสึดๆ ขนาดไหนTime index00:44 โถชีวิตนักดนตรี เพจรวมความป่วงในวงการเพลงที่ถูกใจนักดนตรี02:45 ประสบการณ์เล่นดนตรีเป็นอาชีพมาร่วม 20 ปี ของพี่สึด13:00 จุดเริ่มต้นเพจโถชีวิตนักดนตรี17:02 เรื่องป่วยๆ แบบอินไซด์สัก 2-3 เรื่อง20:31 หลังไมค์เพจโถ22:22 แอดมินนิรนามที่ไม่เปิดเผยตัว26:46 อยากบอกอะไรน้องๆ ที่กำลังเริ่มเล่นดนตรี29:29 คำถามจากทางบ้าน37:50 อนาคตเพจโถชีวิตนักดนตรีอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/eargasmdeeptalk04/
สกอร์หนัง เปรียบเสมือนฮีโร่ที่เรามองไม่เห็น เคยมีคนบอกว่า ถ้าเราปิดหูดูหนัง จะทำให้อรรถรสของภาพยนตร์ลดลงไปกว่าครึ่ง นั่นคือความสำคัญของเสียงและดนตรีประกอบหนัง แขกรับเชิญของเราวันนี้ แม้จะไม่ได้ทำเพลงประกอบภาพยนตร์เป็นอาชีพหลัก แต่ในชีวิตนักตัดต่อหนังของนุ่น ภราดร เวศอุรัย ก็ต้องจับงานทำเพลงประกอบ หรือสกอร์หนังอยู่หลายหน เช่น ภาพยนตร์ It Gets Better ไม่ได้ขอให้มารัก ของผู้กำกับ กอล์ฟ ธัญญ์วาริน
เราจะมาพูดคุยเรื่องการทำเพลงประกอบหนัง การสร้างอารมณ์ให้ภาพยนตร์โดยใช้เสียง ปิดท้ายด้วยการให้คุณนุ่น เล่นดนตรีประกอบสถานการณ์สดๆ แบบไม่มีเตี๊ยม
Time index01:05 นุ่น-ภราดร เวศอุรัย นักตัดต่อที่ชอบทำเพลง04:28 การทำงานเพลงสกอร์หนังครั้งแรก12:10 เพลงธีมหลักของภาพยนตร์17:28 ดนตรีประกอบเรื่อง Red Wine in The Dark Night24:40 ดนตรีสกอร์หนังคืออะไร25:38 สกอร์หนังที่นุ่น ภราดร ประทับใจ34:01 นุ่น ภราดร บรรเลงสกอร์ประกอบสถานการณ์แบบสดๆอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/eargasmdeeptalk03/
ก่อนจะมีเพลงให้ศิลปินนักร้องมาเล่นกัน เบื้องหลังนั้นคืออาชีพปิดทองหลังพระอย่างนักแต่งเพลง วันนี้เราจะมาพูดคุยกับนักแต่งเพลงสองยุคสมัย คนแรกคือนักแต่งเพลงสาวรุ่นใหม่ ที่แต่งเพลงฮิตมามากมาย เช่น รู้ยัง ต้น ธนษิต / หนึ่งหัวใจ โดม จารุวัฒน์ / รักที่เป็นของจริง นิวจิ๋ว หรือ Make It Happen ที่ดังจากรายการ The Face Thailand
และอีกคนคือตำนานนักแต่งเพลง แว่น-จักราวุธ แสวงผล ที่แต่งเพลงเลี้ยงชีพมาตั้งแต่ยุคทองของวงการเพลงจนถึงปัจจุบัน มีผลงานมาแล้วกว่า 500 เพลง เช่น ทางเดินแห่งรัก แอมป์ เสาวลักษณ์ / เพื่อเธอตลอดไป ศักดา พัทธสีมา / จะรักให้ดีที่สุด ตอง ภัครมัย / รักกันมั้ย เบิร์ด ธงไชย และอีกมาก
มาฟังเบื้องหลังการทำงานของนักดนตรีในยุคทองกับยุคฟรีแลนซ์ สไตล์การแต่งเพลงของแต่ละคน และที่มาของไอเดียการแต่งเพลงฮิตทั้งหลายกันTime index01:18 สองนักแต่งเพลงจากสองยุค04:03 หน้าที่นักแต่งเพลง15:30 input ของการแต่งเพลง25:10 ชีวิตของนักแต่งเพลงในยุคทองของวงการเพลง32:30 ชีวิตของนักแต่งเพลงในยุคใหม่39:45 ปัญหาของการแต่งเพลง01:06:00 ฝากถึงนักอยากแต่งเพลงรุ่นใหม่อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/eargasmdeeptalk02/
ทุกครั้งที่เราไปงานแต่งงาน นอกจากบ่าวสาว พิธีกร พรีเซนเทชั่นบนเวที และอาหารบุฟเฟ่ต์โต๊ะจีนรสเด็ดแล้ว อีกอย่างที่เป็นองค์ประกอบสำคัญมากในงานแต่งงานคือ วงดนตรี
วงดนตรีเก่งๆ ช่วยให้บรรยากาศดีตลอดงาน ตั้งแต่ก่อนเริ่มงาน ระหว่างพิธีการ ไปจนถึงอาฟเตอร์ปาร์ตี้ เลยทีเดียว
แล้วถ้ามองจากสายตาของนักดนตรีงานแต่งล่ะ งานแบบไหนที่พวกเขาอยากเล่น การทำงานในงานแต่ง ยากแค่ไหน มีอะไรต้องคำนึงเป็นพิเศษบ้าง แล้วรีเควสต์จากบ่าวสาวแบบไหนที่ทำใจลำบาก
Eargasm Deep Talk เอพิโสดนี้ ขอเชิญวง Middle Age Band วงดนตรีงานแต่ง ที่มีนักร้องมากฝีมืออย่าง จีน AF1 มาพูดคุยในเรื่องนี้กันTime index01:02 วงดนตรีงานแต่งงาน09:30 เพลงต้องห้ามในงานแต่ง14:45 วงงานแต่ง มีงานต่อเนื่อง?18:46 วงดนตรีสำคัญกับงานแต่งขนาดไหน21:30 การแก้ปัญหาในงานแต่ง31:05 การทำงานของวงนอกเหนือจากเล่นดนตรี35:20 ปัญหาของการเป็นวงงานแต่ง41:38 ความภูมิใจของวงงานแต่งอ่าน shownotes ได้ที่ thestandard.co/podcast/eargasmdeeptalk01/
ดูเผินๆ วงพอสเหมือนวงที่อยู่ในวงการเพลงมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ที่จริงพวกเขามีช่วงเวลาที่แยกย้ายกันไปถึง 15 ปี ก่อนจะกลับมาทำเพลงกันอีกครั้งด้วยความไม่ตั้งใจ
จนช่วงสองปีมานี้ วงพอสได้เปิดตัวเฟ้นท์ นักร้องใหม่ ที่คล้ายกับโจ้-อมรินทร์ ทั้งเสียง รูปลักษณ์ และบุคลิก จนน่าตกใจ พวกเขายังคิดถึงเรื่องราวเก่าๆ หรือว่าต้องการจะก้าวต่อไปกันแน่ ฟังความคิดของวงที่ผ่านจากยุคอัลบั้มมาซิงเกิ้ล ยุคฟังเทปมาฟังสตรีมมิ่ง อย่างวงพอสกัน
Time index01:07 วงพอสคือวงที่อยู่ในวงการเพลงมานานจริงเหรอ07:03 ทำไมถึงเลือกเฟ้นท์เป็นนักร้อง24:25 เพลงล่าสุด คนที่แสนธรรมดา29:26 อนาคตของวงพอส37:23 Eargasm Sessionอ่าน shownotes ได้ที่ thestandard.co/podcast/multipleeargasms24
เวียดนาม สิงคโปร์ มาเก๊า เจิ้นเจียง เซี่ยงไฮ้ มาเลเซีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น คือประเทศและเมืองที่วงเมทัลคอร์อย่าง Annalynn พาเสียงดนตรีดิบแน่นและเสียงว้ากแตกพร่าไปบรรเลงกระหึ่มมาแล้วทั้งนั้น แม้จะไม่เป็นที่รู้จักในวงการเพลงเมนสตรีมบ้านเรานัก แต่ในวงการเมทัล พวกเขาคือรุ่นเก๋ามากประสบการณ์ที่แสดงสดมาแล้วทั่วทวีปเอเชีย
ไปฟัง 5 สมาชิกของวงพูดคุยเรื่องซีนดนตรีเมทัล และไลฟ์เฮาส์ของเอเชีย ประสบการณ์การเล่นในต่างประเทศและในไทยแตกต่างกันที่ตรงไหน ปิดท้ายด้วยครั้งแรกของการเล่นเพลงของตัวเองในแบบอะคูสติกTime index00.59 ใครคือ Annalynn12.48 อยู่มาได้อย่างไรเป็นสิบปี ทั้งที่เพลงฟังย้ากยาก17.30 พูดถึงซีนเมทัลคอร์21.28 ผลงานเพลงของ Annalynn23.50 ได้ไปเล่นต่างประเทศอย่างโชกโชน28.21 ประสบการณ์การเล่นสดที่ญี่ปุ่น41.24 Eargasm Sessionอ่าน shownotes ได้ที่ thestandard.co/podcast/multipleeargasms23
อิ้งค์ วรันธร คือศิลปินจากค่าย Boxx Music ที่น่าจับตามองมากถึงมากที่สุด ด้วยพัฒนาการระหว่าง 5 ซิงเกิลที่ดีขึ้นอย่างก้าวกระโดดมากในระยะเวลาเพียง 2-3 ปี การแสดงสดที่เนี้ยบนิ้ง และล่าสุดก็เริ่มแต่งเพลงให้ตัวเอง จากการผลักดันของแทน ลิปตา โปรดิวเซอร์ของเธอ ด้วยฝีไม้ลายมือทั้งหมดนี้ ทำให้เราอยากติดตามเอาใจช่วยว่าเธอจะพัฒนาไปได้อีกไกลขนาดไหนTime index01.14 Ep. Album Bliss03.22 เกิดไม่ทันยุค 80 แต่ชอบเพลงซาวด์ 8006.45 Track by Track: Bliss09.37 การผันตัวจาก Girl Band มาสู่ศิลปินเดี่ยว27.50 Eargasm Combo
อ่าน shownotes ได้ที่ thestandard.co/podcast/multipleeargasms22
Comments
Top Podcasts
The Best New Comedy Podcast Right Now – June 2024The Best News Podcast Right Now – June 2024The Best New Business Podcast Right Now – June 2024The Best New Sports Podcast Right Now – June 2024The Best New True Crime Podcast Right Now – June 2024The Best New Joe Rogan Experience Podcast Right Now – June 20The Best New Dan Bongino Show Podcast Right Now – June 20The Best New Mark Levin Podcast – June 2024
United States