หลังจากห่างหายไปกว่า 15 สัปดาห์ "คิด-นอก-ใจ" กลับมาอีกครั้งพร้อมกับแขกรับเชิญเก่าอย่าง "เอิ๊ก" และแขกรับเชิญใหม่แต่หน้าเก่าอย่าง "บรีม" 2 สาวเพื่อนร่วมทีม #หลัดผัก ที่ผมถือโอกาสหลังอัดฟรุตสลัดบังคับมาอัดรายการด้วยกันซะเลย ในยุคที่เหล่าชนชั้นสูงของบางประเทศเริ่มตั้งคำถามถึงความจำเป็นของการนำเงินภาษีไปอุ้มชูเหล่าผู้มีรายได้น้อย วันนี้ ผม เอิ๊ก และบรีม จะมาพูดถึง "ค่าใช้จ่ายของความจน" ในด้านต่างๆ ที่คนรายได้น้อยต้องแบกรับแต่หลายคนไม่รู้ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างการเดินทางและอาหารการกิน หรือทางอ้อมอย่างโอกาสทางการศึกษาและความรับผิดทางกฎหมาย และสุดท้ายแล้ว ทำไมรัฐและทุกๆ คนจึงควรตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้! ขอขอบคุณ Room 508 Podcast ที่เอื้อเฟื้อให้พวกเรามาใช้ห้องอัดด้วยนะครับ *กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์* https://www.facebook.com/room508podcast/ ติดตามเอิ๊กและผลงานอื่นๆ ของเอิ๊กได้ที่: Twitter: https://twitter.com/ERKisapodcaster Podcast "ERKism": https://anchor.fm/ERK_ism Podcast "Labbit": https://anchor.fm/LabbitbyERK ติดตามบรีมและผลงานอื่นๆ ของบรีมได้ที่: Twitter: https://twitter.com/sukritspace "ปุพกาลธารา" บน Dek-D: https://writer.dek-d.com/b_buffalony/story/view.php?id=1962382 "ปุพกาลธารา" บน ReadAWrite: https://www.readawrite.com/a/21735013c4f06c510e876edc967bade2
หลังจากสัปดาห์ก่อนงดรายการไป ตามมติคณะกรรมการ (ที่แต่งตั้งโดยผมเอง) "คิด-นอก-ใจ" วันนี้ เลยถือโอกาสเกาะเทรนด์พูดถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเมือง อย่างเรื่องนโยบายและกฏหมายต่างๆ มันเสียเลย ไม่ว่าจะประเทศใดๆ นโยบายจากหน่วยงาน/รัฐบาลต่างๆ ล้วนถูกกลั่นกรองมาจากความหวังดีของเหล่า Policy maker ทั้งหลาย (น่าจะอย่างนั้นแหละ) แต่เมื่อปฏิบัติจริงแล้ว ความหวังดีที่ว่า อาจจะให้ผลลัพธ์ไปในทางที่เลวร้ายจนบางคนได้แต่บ่นว่าอยู่เฉยๆ แต่แรกน่าจะดีกว่า โดยเทปนี้ ผมจะพาไปทำความเข้าใจถึงสิ่งที่เรียกว่า "แรงจูงใจ" และตัวอย่างเคสนโยบายหวังดีที่ "ล้มเหลว" จากต่างประเทศ ตั้งแต่ในบ้าน ไปถึงท้องถนน วนไปสนามฟุตบอล เพื่อให้รู้ว่า แรงจูงใจของมนุษย์ มันไม่ได้เข้าใจง่ายเหมือนการสั่นกระดิ่ง Pavlov ที่ Policy maker หลายคนเข้าใจ!
"คิด-นอก-ใจ" วันนี้ ผมยังอยู่กับ "เอิ๊ก" เพื่อนร่วมทีม #หลัดผัก และเจ้าของรายการ ERKism กับ Labbit ที่วันนี้จะมาร่วมถกประเด็นการศึกษาต่อจากพาร์ทที่แล้ว โดยในพาร์ทนี้ จะเป็นรวมมิตรเรื่องการศึกษาที่ใกล้ตัวมากขึ้น อย่างการแบ่งสายเรียนในช่วงมัธยมปลาย มาตรการแก้ปัญหา(?)การซิ่วและค้นหาตนเอง ข้อดี-ข้อเสียของระเบียบการแต่งชุดนักเรียนและทรงผม เหตุผลของการส่งลูกเข้าโรงเรียนไฮโซเพื่อซื้อสังคมให้ลูก ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ช่วงตัดพ้อในฐานะนักเรียนทุนกับระบบทุนที่ขัดใจ ก่อนจะปิดด้วยแนวทางการเลือกโรงเรียนให้ลูกในอนาคต! ติดตามเอิ๊กและผลงานอื่นๆ ของเอิ๊กได้ที่: https://twitter.com/ERKisapodcaster https://anchor.fm/ERK_ism https://anchor.fm/LabbitbyERK
จากการนั่งไถโซเชียลมีเดียต่างๆ จนไปเจอประเด็นที่น่าสนใจด้านการศึกษา บวกกับจดหมายเปิดผนึกที่เตะตาบนไทม์ไลน์ "คิด-นอก-ใจ" วันนี้ ผมจึงได้โอกาสชวนแขกรับเชิญคนคุ้นเคย หนึ่งในเจ้าของจดหมายเปิดผนึกอย่าง "เอิ๊ก" เพื่อนร่วมทีม #หลัดผัก และเจ้าของรายการ ERKism กับ Labbit มาร่วมถกประเด็นแสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ด้านการศึกษา ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อมีทีม #หลัดผัก อยู่ในเทปเดียวกัน 2 คนขึ้นไป จะให้คุยจบในพาร์ทเดียวคงเป็นไปไม่ได้ (ต่อให้พยายามแค่ไหนก็ตาม *ร้องไห้*) จนสุดท้ายต้องแบ่งออกเป็น 2 พาร์ทด้วยกัน โดยในพาร์ทแรกนี้ ผมและเอิ๊กจะมาพูดคุยเกี่ยวกับความฝันในวัยเด็ก ความสำคัญของชีวิตมัธยมต่อลักษณะนิสัยของเราในปัจจุบัน และประสบการณ์การเป็น Activist ใน "โรงเรียนมัธยมปลายสายวิทยาศาสตร์" ของเอิ๊กและผองเพื่อน รวมถึงดราม่าล่าสุดเกี่ยวกับการส่งนักเรียนไปเข้าค่ายฝึกทหารของโรงเรียนสายวิทย์ฯ นั้น และที่มาของจดหมายเปิดผนึกดังกล่าว! ติดตามเอิ๊กและผลงานอื่นๆ ของเอิ๊กได้ที่: https://twitter.com/ERKisapodcaster https://anchor.fm/ERK_ism https://anchor.fm/LabbitbyERK
"คิด-นอก-ใจ" วันนี้จะมาพูดถึงเรื่อง "ภาษา" เครื่องมือสื่อสารใกล้ตัวทุกคนที่ไม่ว่าจะรวยจะจนก็ใช้ได้ โดยในตอนนี้จะพูดถึงสารพันปัญหาเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยที่ตัวเองเคยพบเจอ รวมถึงมุมมองเกี่ยวกับภาษาในสังคมปัจจุบัน เช่น ศัพท์วัยรุ่น ภาษาวิบัติ และ Stereotype ต่อผู้ใช้ภาษาผิดไวยากรณ์/ไทยคำอังกฤษคำ ว่ายุติธรรมหรือไม่ หากเราใช้ภาษาตัดสินคนโดยไม่มีคำว่า "แต่" หรือข้อแม้ใดๆ? หรือสุดท้ายแล้ว ภาษาจะไม่ใช่แค่เครื่องมือในการสื่อสารอีกต่อไป?
ในสัปดาห์ที่ไม่ว่าจะไปทางไหนก็เจอแต่ Avengers และ Game of Thrones และการสปอยล์ถือเป็นอาชญากรรมไซเบอร์ "คิด-นอก-ใจ : The Loud Thought" ในตอนนี้ ไอซ์จะมาระบายความหัวร้อนจากการที่ไอซ์โดนสปอยล์ Endgame มา ผลกระทบของการสปอยล์ทั้งต่อคนถูกสปอยล์และคนสปอยล์ ทั้งในด้านเสียและด้านดี(?) รวมถึงแสดงความเห็นว่าการสปอยล์แบบไหนโอเค ไม่โอเค พร้อมแนะนำมาตรการรับมือปัญหาอันเป็นวาระแห่งชาติในขณะนี้!
ถ้าใครจำกันได้ เมื่อประมาณเดือนมีนาคม 2559 บนโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้มีการพูดถึงแอพลิเคชันหนึ่งที่ชื่อว่า Wakie ซึ่งสามารถคุยกับคนแปลกหน้าและให้คนแปลกหน้าโทรปลุกได้!?! ก่อนที่ Wakie จะถูกถล่มโดยคนไทยที่แห่กันเข้าไปใช้งานกันจนฝรั่งเอือมระอา นับตั้งแต่วันนั้น Wakie ได้ผ่านคำวิจารณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งการรีวิวจากยูทูปเบอร์ชื่อดัง ไปจนถึงการถูกตราหน้าจากเพจต่างๆ ว่าเป็น "แอพตลาดล่าง" หรือ "แอพนัดเย" "คิด-นอก-ใจ : The Loud Thought" วันนี้ ในฐานะผู้ใช้งานแอพลิเคชันนี้มา 3 ปีกว่า ผม และแขกรับเชิญอย่างพี่เท็ด จะมาเล่าความเป็นไปเกี่ยวกับเจ้าแอพลิเคชันนี้ว่า มันทำงานอย่างไร? สภาพสังคมในแอพเป็นอย่างไร? มันเกิดอะไรขึ้นบ้างตลอด 3 ปีที่ผ่านมา? รวมถึงด้านมืดและด้านสว่างของเจ้าแอพโทรปลุกตัวนี้!
"คิด-นอก-ใจ : The Loud Thought" ในตอนนี้ จะขอพูดถึงความบันเทิงบนโลกโซเชียลที่เรียกว่า "การดักควาย" อันเป็นปรากฏการณ์ที่เริ่มจะเป็นที่พูดถึงกันมากขึ้นในช่วงนี้ แม้จะมีมาแล้วช้านาน โดยเราจะมาแสดงความเห็นถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการดักควายนี้ว่า มันคืออะไร? คนที่ดักควายคิดอะไรอยู่? ทำไมคนถึงโดนดัก? และผลกระทบของการดักควายที่อาจส่งผลเกินกว่าที่เรา หรือแม้แต่คนดักควายเองจะคาดคิด!
ยินดีต้อนรับเข้าสู่พอดแคสต์รายการใหม่ "คิด-นอก-ใจ : The Loud Thought" รายการสนองนี้ดคนจัดที่จะมาบ่นความคิดเห็นของผู้ชายวัย 20 ต้นๆ คนหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่อยากจะเล่า ใกล้ตัวบ้างไกลตัวบ้าง สาระมีบ้างไม่มีบ้าง ใช้เหตุผลบ้างอารมณ์บ้าง (อะไรมันจะฟรีสไตล์ขนาดนี้โว้ย) ให้สมกับสโลแกน "ความคิดในใจที่ไม่อยากเก็บไว้คนเดียว" โดยใน Pilot Episode นี้จะขอปูพื้นด้วยการแนะนำตัว (แหงหล่ะ) เล่าเรื่องราวแรงบันดาลใจและการตัดสินใจเริ่มต้นทำพอดแคสต์นี้ พร้อมกับการบ่นพอหอมปากหอมคอว่าทำไม แค่คิดในใจถึงไม่พอ?