DiscoverPrachatai Podcast
Prachatai Podcast
Claim Ownership

Prachatai Podcast

Author: prachataipodcast

Subscribed: 57Played: 531
Share

Description

ประชาไท พอดแคส | Prachatai Podcast | ใต้โต๊ะนักข่าว
310 Episodes
Reverse
'ประชาไทม์' ย้อนอดีตไปกับประชาไท ชวนย้อนคุยถึงประวัติศาสตร์ในระหว่างการเดินทางไปกับผู้สื่อข่าวและคนทำงานประชาไท พร้อมๆ ไปกับทวนความจำบริบทสังคม การเมือง และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในอดีตอีกครั้ง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อปัจจุบันหรือคนรุ่นใหม่ไม่มากก็น้อย ใน EP.2 นี้คุยกับ 'มูฮำหมัด ดือราแม' อดีตผู้สื่อข่าวประชาไท ชวนทุกคนย้อนเวลาไปในปี 2547 และปีก่อนหน้าว่ามีจุดเริ่มต้นและที่มาอย่างไร รวมถึงสะท้อนบทบาทของความรุนแรงตลอดช่วงที่ผ่านมา จนถึงสันติภาพท่ามกลางความรุนแรงที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน #ชายแดนใต้ #สามจังหวัดภาคใต้ #ประชาไทม์ #prachatime #prachatai #20ปีประชาไท #ประชาไท #podcast
ชวนทุกท่านเข้าสู่ 'ประชาไทม์' ย้อนอดีตไปกับประชาไท พอดแคสต์พิเศษ ครบรอบ 20 ปีประชาไท ชวนย้อนคุยถึงประวัติศาสตร์ในระหว่างการเดินทางไปกับผู้สื่อข่าวและคนทำงานประชาไท พร้อมๆ ไปกับทวนความจำบริบทสังคม การเมือง และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในอดีตอีกครั้ง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อปัจจุบันหรือคนรุ่นใหม่ไม่มากก็น้อย ตอนที่ 3 ชวนย้อนเวลากลับไปช่วงปี 2548-2549 ปลายสมัยรัฐบาลทักษิณจนวันที่เกิดรัฐประหาร กับสองบรรณาธิการบริหาร ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข - พิณผกา งามสม สภาพการณ์ตอนนั้นเป็นอย่างไร ประชาไทมีบทบาทตรงไหน ร่วมรำลึก ถอดบทเรียนต้นทางรัฐประหารที่ 'เสียของ' ซึ่งมีผลกับสังคมไทยต่อเนื่องอีกนับทศวรรษ #รัฐประหาร2549 #รัฐประหาร #ประชาไทม์ #prachatime #prachatai #20ปีประชาไท #ประชาไท #podcast
ชวนทุกท่านเข้าสู่ 'ประชาไทม์' ย้อนอดีตไปกับประชาไท พอดแคสต์พิเศษ ครบรอบ 20 ปีประชาไท ชวนย้อนคุยถึงประวัติศาสตร์ในระหว่างการเดินทางไปกับผู้สื่อข่าวและคนทำงานประชาไท พร้อมๆ ไปกับทวนความจำบริบทสังคม การเมือง และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในอดีตอีกครั้ง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อปัจจุบันหรือคนรุ่นใหม่ไม่มากก็น้อย ในตอนแรกนี้ เราชวนคุยถึงที่มาของเว็บไซต์ข่าวประชาไท เกิดขึ้นในช่วงไหน มีความท้าทายและประเด็นปัญหาอะไรถึงต้องมีสำนักข่าวเล็กๆ นี้ โดยคุยกับ จิ๋ว - จีรนุช เปรมชัยพร อดีตผู้อำนวยการ และ นิ้ว - อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา หนึ่งผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ #ประชาไทม์ #prachatime #prachatai #20ปีประชาไท #ประชาไท #podcast
27 ต.ค. 2567 หมายเหตุประเพทไทย LIVE ภาวิน มาลัยวงศ์ และต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี รีวิวแบบสับภาพยนตร์ 'ตาคลี เจเนซิส' (2024) โป๊ะหรือปัง และฝากสิ่งใดไว้ในวงการภาพยนตร์ไซไฟติดตามได้เย็นวันอาทิตย์ที่ 27 ต.ค. เวลา 18.00 น. #หมายเหตุประเพทไทย #TakleeGenesis #ตาคลีเจเนซิส ทั้งนี้ตาคลี เจเนซิส ดันเพดานของการเล่าเรื่อง (Storytelling) ในหนังไทย เศษชิ้นส่วนในหนัง ตาคลี เจเนซิส มี Mood and Tone ต่างกัน มีทั้ง ย้อนยุคอิงประวัติศาสตร์ ไซไฟระทึกขวัญ ดิสโทเปียน ดราม่าน้ำตาริน วาย เหล่านี้ถูกนำมาร้อยเรียงกันด้วยอุปกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้นจากโปรเจคต์ ตาคลี เจเนซิส ซึ่งเป็นเหมือนเครื่องย้อนกาลเวลา ส่งตัวละครเดินทางข้ามพื้นที่และมิติเวลา ลื่นไหลเดินหน้าถอยหลัง ไปพบเจอเศษชิ้นส่วนอื่น ๆ เกาะเกี่ยวกันอยู่ภายใต้แก่นเรื่องเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา การสร้างความสัมพันธภาพระหว่างเผ่าพันธุ์ทางจิตวิญญาณ (Soul Tribe) และความรักของแม่ ตาคลี เจเนซิส เปิดเรื่องด้วยสามตัวละครหลัก สเตลล่า อิษฐ์ และก้อง ทั้งสามคนล้วนแตกหักและบิดเบี้ยว เราเห็นความไม่สมบูรณ์ ชิ้นส่วนที่หายไปจากชีวิตพวกเขาเหมือนจะเป็นสิ่งสำคัญ การเดินทางทางกายข้ามมิติเวลาเพื่อค้นหาชิ้นส่วนกำไลสอดคล้องกับการเดินทางภายใน บางตัวละครพบ Soul Tribe ของตนในอดีต บางตัวละครพบ Soul Tribe ของตนในอนาคต บางตัวละครพบ Soul Tribe ของตน ณ ปัจจุบัน ความผูกพันอันยิ่งใหญ่บางครั้งเกิดขึ้นง่าย ๆ เพียงเพราะเป็นแฟนนิตยสาร ต่วย’ตูนพิเศษ เหมือนกัน ในความน่าตื่นตาตื่นใจของหนังไซไฟ ก็มีดราม่าการแสวงหาตำแหน่งแห่งที่ของตน
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี และชานันท์ ยอดหงษ์ พูดถึงนิยามของคำว่า "สหาย" หรือ "comrade" ที่ใช้เรียกขานเพื่อนร่วมอุดมการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศส และขยายไปสู่การปฏิวัติในโซเวียตรัสเซีย จีน และแพร่ขยายไปทั่วโลก พร้อมแนะนำหนังสือ Comrade: An Essay on Political Belonging (2019) by Jodi Dean ว่าคำนี้สำคัญกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม และทฤษฎีฝ่ายซ้ายอย่างไร ส่วนในภาษาจีนคำว่า "สหาย" หรือ "ถงจื้อ (同志)" ที่แปลว่า "เจตจำนงเดียวกัน" เริ่มต้นนำมาใช้โดยซุน ยัตเซ็น เพื่อเรียกผู้ติดตามพลพรรคจีนคณะชาติ แต่ภายหลังที่จีนคอมมิวนิสต์สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน คำนี้ก็ถูกใช้เรียกขาน "สหาย" ในความหมายแบบพลพรรคคอมมิวนิสต์ ใช้เรียกทุกคนทุกเพศ อย่างไรก็ตามคำว่า "ถงจื้อ" กลายเป็นศัพท์เรียกขานบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBT+ โดยชายรักชายในมาเก๊า ฮ่องกง และจีน แทนความหมายการเมืองแบบเดิม ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ชานันท์ ยอดหงษ์ และปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ แนะนำหนังสือ "A Generation Divided: The New Left, the New Right, and the 1960s" (1999) ผลงานของรีเบคกา อี แคลทช์ ที่ฉายให้เห็นภาพของทศวรรษ 1960 ในสหรัฐอเมริกาที่ไม่ใช่แค่ฮิปปี้ ขบวนการสิทธิพลเมือง ฝ่ายซ้ายใหม่ และการต่อต้านสงครามเวียดนามเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดกำเนิดคนรุ่นใหม่ของฝ่ายขวาใหม่อย่างอีกด้วย เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไปขบวนการนักศึกษาที่เป็นฝ่ายซ้ายใหม่อย่าง Students for a Democratic Society (SDS) รวมทั้งฝ่ายขวาใหม่ Young Americans for Freedom (YAF) เปลี่ยนโฉมหน้าการเมืองในทศวรรษ 1980 และ 1990 อย่างไรติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี และชานันท์ ยอดหงษ์ แนะนำบทความ "การแปลงฐานที่มั่นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว : การเมืองเชิงพื้นที่ในทศวรรษ 2520" (2562) ของภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ เมื่อรัฐบาลในยุคสงครามเย็นพยายามเข้ายึดคืนฐานที่มั่นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) และเมื่อรัฐบาลสามารถเอาชนะ พคท.  ก็พยายามเปลี่ยนแปลงฐานที่มั่น พคท. ในพื้นที่ป่าเขาให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างความหมายใหม่ให้กับสถานที่เหล่านี้ ติดตามรับชมเย็นวันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคมนี้ 18.00 น. #หมายเหตุประเพทไทย
หมายเหตุประเพทไทย LIVE ชานันท์ ยอดหงษ์และปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ รีวิว "ในนามของความมั่นคงภายใน" หลังอ่านหนังสือจบ ข้อค้นพบ พร้อมฟีดแบก พบกันเย็นวันอาทิตย์ที่ 29 ก.ย. 67 เวลา 18.00 น. สำหรับหนังสือ "ในนามของความมั่นคงภายใน : การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย" ผลงานของพวงทอง ภวัครพันธุ์ ปรับปรุงมาจากผลงานภาษาอังกฤษ "Infiltrating Society: The Thai Military’s Internal Security Affairs" (2021) ภายใต้สถาบัน Yusof Ishak ISEAS โดยผู้เขียนอธิบายความพยายามแทรกซึม-ควบคุมสังคมและการเมืองผ่านกลไกต่างๆ ของกองทัพและระบบราชการ โดยเฉพาะบทบาทของ กอ.รมน. กลุ่มมวลชนอนุรักษ์นิยม โครงการและงบประมาณกองทัพที่ไม่เกี่ยวข้องกับทหาร โดยอธิบายตั้งแต่ยุคสงครามเย็น และภายหลังรัฐประหาร 2549 เป็นต้นมา ฯลฯ (อ่านรายละเอียด)  
หลังกระทรวงการคลังเสนอผลการเศึกษากาสิโนและสถานบันเทิงครบวงจร ประภาภูมิ เอี่ยมสม และภาวิน มาลัยวงศ์ ชวนคุยประวัติศาสตร์การพนันในสังคมไทยนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บางอย่างที่เป็นการละเล่น กลายเป็นการพนันในสายตาของรัฐในอดีตอย่างไร? "หวย" กลายเป็นความหวังของคนที่รอลุ้นทุกงวด แถมยังเป็นรายได้สำคัญของรัฐบาลได้อย่างไร รวมทั้งผลกระทบทั้งผลดีและผลเสียจากเทรนด์เศรษฐกิจ Fun Economy ที่รวมการท่องเที่ยว กีฬา ความบันเทิงทุกประเภทรวมทั้งการพนันครบวงจร
หมายเหตุประเพทไทย Live 18.00 น. วันอาทิตย์นี้ ภาวิน มาลัยวงศ์ และประภาภูมิ เอี่ยมสม อ่านสัญญะจากภาพยนตร์วิมานหนาม (2024) ผลงานกำกับของนฤเบศ กูโน นอกจากประเด็นสมรสเท่าเทียม ยังมีประเด็นเรื่องที่ทำกิน และความไร้รัฐไร้สัญชาติ สอดแทรกอยู่ในเรื่องด้วย #วิมานหนาม #หมายเหตุประเพทไทย
นับตั้งแต่ปี 2563 มีการฟ้องคดีอาญามาตรา 112 อย่างน้อยกว่าสามร้อยคดี เกินกว่าครึ่งเป็นคดีที่มาจากการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ ซึ่งจำนวนมากไม่ได้เกิดขึ้นต่อนักกิจกรรมทางการเมืองเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้มีพื้นที่บนหน้าข่าวหรือเป็นที่รู้จักมากนัก เนื้อหาของการโพสต์เหล่านี้มีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการแชร์ต่อเฉย ๆ การเล่าเรื่อง กาวิพากษ์วิจารณ์ หรือโพสต์เนื้อหาที่มีความขำขัน หลายกรณีเป็นคดีฟ้องทางไกล ทำให้ผู้ถูกดำเนินคดีประสบความยากลำบากในการต่อสู้คดีและเข้าถึงความช่วยเหลือต่าง ๆ อย่างเกินจำเป็น นอกจากคดี ม.112 แล้ว ยังมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และอื่น ๆ ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอาจต้องพบเจอจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองบนโลกออนไลน์ การดำเนินคดีเหล่านี้กำลังส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างไร คดีเหล่านี้มีความผิดปกติอย่างไร และหากเราเป็นผู้ถูกดำเนินคดี เราสามารถทำอะไรได้บ้าง ประชาไทชวนคุยกับ 'พูนสุข พูนสุขเจริญ' ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในพอดแคส "มนุษย์ออนไลน์ ปี 2 EP.6 : แค่โพสต์ ก็อาจโดนคดี! การฟ้องคดีแสดงออกบนโลกออนไลน์" #ม112 #พรบคอม #มนุษย์ออนไลน์
เพกาซัส ไม่ใช่แค่ม้ามีปีกในเทพนิยาย แต่เป็นสปายแวร์สอดแนมของ NSO Group บริษัทด้านข่าวกรองทางไซเบอร์ของอิสราเอล ที่ถูกซื้อขายให้แก่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ และมักถูกนำมาใช้สอดแนมผู้ที่รัฐมองว่าเป็นภัยความมั่นคง โดยเคยมีกรณีร้ายแรงถึงชีวิตเกิดขึ้นกับนักข่าวที่วิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีเบาะแสชี้ว่าบุคคลนั้นถูกสอดแนมโดยเพกาซัสก่อนจะเกิดเหตุ หลังกระแสการชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองช่วงปี 2563-2564 ในรัฐบาลประยุทธ์ สปายแวร์เพกาซัสกลายเป็นที่สนใจในสังคมไทยหลังจากมีข่าวว่านักกิจกรรมไทยได้รับแจ้งเตือนจาก Apple ว่าถูกสอดแนมโดยสปายแวร์ดังกล่าว ผู้มีส่วนได้รับผลกระทบจึงรวมตัวกันฟ้องคดีต่อรัฐบาลประยุทธ์และบริษัท NSO Group ในการใช้สปายแวร์ดังกล่าวสอดแนมนักกิจกรรม ความคืบหน้าเป็นอย่างไร อุปสรรรคและความคาดหวังของเครือข่ายพลเมืองที่มีต่อการดำเนินคดีเป็นแบบไหน ชวนคุยกับเจ้าหน้าที่ iLaw และทีมทนายความได้ใน “มนุษย์ออนไลน์ ปี 2 EP.5 : พลเมืองฟ้องกลับ!! สปายแวร์เพกาซัส” #สปายแวร์ #เพกาซัส #สปายแวร์เพกาซัส #Pegasus #NSO #NSOGroup #iLaw
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้พบกับ ต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี และปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ พูดถึงขบวนการฝ่ายขวาในญี่ปุ่น ที่ส่งผลกระทบกับเยาวชนในระบบการศึกษา ในขณะที่ภาครัฐยังขาดมาตรการที่เหมาะสมในการรับมือกับกลุ่มเหล่านี้ โดยยกกรณีศึกษาการตั้งเป้าเกลียดชังนักเรียนและโรงเรียนของชุมชนชาวเกาหลีและชาวจีนที่อพยพมาอยู่ญี่ปุ่นในยุคจักรวรรดิญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามจนในยุคปัจจุบันพวกเขาก็ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมญี่ปุ่น ยังเผชิญรูปแบบการเลือกปฏิบัติและใช้ความเกลียดชังรังแกหลายกรณี ทั้งหมดนี้ติดตามในรายการหมายเหตุประเพทไทย เนื้อหาแนะนำ หมายเหตุประเพทไทย ฝ่ายขวาฉ่ำกระหน่ำการเมืองโลก | หมายเหตุประเพทไทย EP.529 ถอนรากหลังอาณานิคม ถอนไปถึงไหน | หมายเหตุประเพทไทย EP.527 หอยนางรมในวรรณกรรมกับจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม | หมายเหตุประเพทไทย EP.516
ในยุคสมัยที่ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อมนุษย์ในแทบจะทุกมิติ โดยเฉพาะเชิงข้อมูลข่าวสารบนโลกดิจิทัล จนอาจเรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญต่อมุมมองโลกทัศน์ของมนุษย์ยุคปัจจุบัน สิ่งที่ตามมาคือข้อถกเถียงเกี่ยวกับความท้าทายในการออกแบบ ใช้สอย และอยู่ร่วมกับเอไอ เพื่อประโยชน์สูงสุดของมนุษย์ผู้ใช้งานและสังคม เป็นไปได้ไหมที่จะออกแบบเอไอที่มีหัวจิตหัวใจความเป็นมนุษย์และใส่ใจคุณค่าทางสังคม คุยกับ 'จิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล' ผู้แปลหนังสือ 'AI ที่มีหัวใจ' ใน "มนุษย์ออนไลน์ ปี 2 EP.4 : AI ที่มีหัวใจ" #อัลกอริทึม #เอไอ #AI #AIที่มีหัวใจ #มนุษย์ออนไลน์
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้พูดคุยกับ สพล ตัณฑ์ประพันธ์ นักวิจัยสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศในประเด็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบสิงคโปร์ ซึ่งเผชิญความท้าทายเรื่องทรัพยากรบุคคล เข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัย มีประชากรเกิดน้อย ในทางเศรษฐกิจยังต้องการให้ประชากรวัยแรงงานทำงานและชะลอการเกษียณอายุ แต่ทักษะที่เคยเรียนรู้ในอดีต มาถึงยุคนี้ใช้ไม่ได้อีกแล้ว นำมาสู่โปรแกรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่รัฐบาลสิงคโปร์เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2015 จะประสบผลสำเร็จอย่างไรติดตามได้ในรายการ #หมายเหตุประเพทไทย #lifelonglearning
💡จากเค้าโครงเรื่องจริง สู่การนำมาร้อยเรียงเป็นบทภาพยนตร์สะท้อนสังคม… 🕯️ เนื่องในวันที่ 30 สิงหาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น ‘วันผู้สูญหายสากล’ Talk อะ Rights Podcast Episode นี้ แอมเนสตี้และประชาไท ชวนทุกคนมาคุยและฟังเรื่องราวสิทธิมนุษยชนผ่านมุมมองภาพยนตร์ ‘ดอยบอย’ ในปีนี้ . ผู้ลี้ภัย คนชายขอบ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ค้าบริการ นักกิจกรรม ความหลากหลายทางเพศ และการบังคับบุคคลให้สูญหาย เป็นประเด็นหลักๆ ที่ ‘นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ ในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ #ดอยบอย ต้องการสื่อสารและบอกเล่าเรื่องราวการละเมิดสิทธิมนุษยชนผ่านมุมมองตัวละครที่มีความแตกต่างและหลากหลาย . พบกัน‼️ ในงาน MOVIES THAT MATTER วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม เราจะพาหนัง ‘ดอยบอย (DOI BOY) เข้าโรงภาพยนตร์ ให้ทุกคนได้ดูกันแบบจัดเต็มเป็นครั้งแรก . 📌สำหรับใครที่ลงทะเบียนแล้ว สามารถนำ SMS มายืนยันสิทธิพร้อมรับตั๋วหนังได้ ณ จุดลงทะเบียน Paragon Cineplex ชั้น 5 สยามพารากอน กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 16.00 – 18.00 น. . 🎬 หนังเริ่มฉายเวลา 18.00 - 22.00 น. I Paragon Cineplex โรง 8 ชั้น 5 สยามพารากอน กรุงเทพฯ . เพราะการทำให้ความจริงปรากฎคือหนทางของการชดใช้เยียวยาและคืนศักดิ์ศรีแด่ผู้ถูกบังคับให้สูญหายทุกคน✨ . 🕯️เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของทุกคน . #Amnesty #AmnestyThailand #HumanRights #MoviesThatMatter #DOIBOI #ดอยบอย
ข่าวการเมืองไม่ขึ้นหน้าฟีด มองเห็นคอนเทนต์จากเพจที่เคยติดตามน้อยลง เกิดอะไรขึ้นกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย นโยบายจำกัดการแนะนำเนื้อหาการเมืองทำให้ความหลากหลายของคอนเทนต์ออนไลน์น้อยลงหรือเปล่า พูดคุยกับ 'อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล' ผู้ประสานเครือข่ายพลเมืองเน็ต เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวใน "มนุษย์ออนไลน์ ปี 2 EP.3 : อัลกอริทึม & ความหลากหลายคอนเทนต์ออนไลน์" #อัลกอริทึม #เอไอ #คอนเทนต์ออนไลน์ #มนุษย์ออนไลน์
พูดคุยกับ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ในประเด็นอิทธิพลญี่ปุ่นนิยมในสังคมไทย โดยเฉพาะในมิติสังคม และวัฒนธรรม ความฮอตปังใดๆ เกี่ยวกับญี่ปุ่น พบกันได้ในรายการ หมายเหตุประเพทไทย (Live) วันอาทิตย์ที่ 25 ส.ค 2567  
ภาวิน มาลัยวงศ์ และประภาภูมิ เอี่ยมสม พูดนิทรรศการ "กีกี้ Voice - Art Experience" ผลงานของ 12 ศิลปินรุ่นใหม่จัดแสดงที่ 1559 Space Gallery ระหว่าง 11 กรกฎาคม ถึง 3 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยตัวนิทรรศการนำเสนอสิ่งที่อวัยวะเพศหญิงหรือ ‘กีกี้’ อยากบอก ให้ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย เข้าใจ และรัก ‘กีกี้’ ได้ดีกว่าเดิม โดยช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจะพบว่าสังคมไทย เปิดพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการที่พูดถึงอวัยวะเพศหญิงในแง่มุมต่างๆ มากขึ้น นับตั้งแต่‘นิทรรศกี เพื่อผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า' (2022) จัดที่พรรคเพื่อไทย มาจนถึง 'กีกี้ Voice - Art Experience' (2024) ฯลฯ ทั้งนี้แต่เดิมเรื่องของอวัยวะเพศ ไปจนถึงประเด็นทางเพศ ถูกพูดถึง/ปรึกษาในพื้นที่ส่วนตัว กลุ่มเพื่อนเฉพาะ แต่ไม่มีพื้นที่เปิดเพื่อสนทนา เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ ไปจนถึงข้อเสนอทางนโยบาย ดังนั้นการคลี่คลายปัญหาบางอย่าง การหาคำตอบจึงเกิดจากการพูดคุยกันเอง หรืออาจจะไม่เคยถูกพูดถึงเลย ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ประภาภูมิ เอี่ยมสม และชานันท์ ยอดหงษ์ พูดถึงชุดพิธีการและชุดแข่งขันของนักกีฬาทีมชาติในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2024 ที่ปารีส ซึ่งมีทั้งว้าวปัง ทั้งดรามา รวมทั้งดรามาชุดพิธีการของทีมชาติไทย ซึ่งมีการเปลี่ยนเป็นชุดวอร์มจากแกรนด์สปอร์ตในท้ายที่สุด โดยนอกจากจะเป็นโอกาสนำเสนออัตลักษณ์ของชาติที่ร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกแล้ว ยังเป็นการเผยให้เห็นศักยภาพของอุตสาหกรรมผลิตชุดแข่งขันกีฬา เสื้อผ้าของประเทศนั้นๆ ด้วย โดยมูลค่าของอุตสาหกรรมชุดแข่งขันกีฬาของโลกในปี 2023 อยู่ที่ 213 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
loading