จากเด็กชายที่หนีความจนจากจีน สู่ผู้ก่อตั้ง ‘เวชพงศ์โอสถ’ ธุรกิจยาแผนโบราณ ที่อยู่คู่เมืองไทย 120 ปี . The Moment ชวนติดตามจังหวะชีวิตของ ‘อิ้วเจีย แซ่เอี้ยะ’ หรือ ‘อากง’ ผู้ก่อตั้ง ‘เวชพงศ์โอสถ’ ที่ยึดมั่นใน 3 หลักปรัชญา กตัญญู ขยันหมั่นเพียร และซื่อสัตย์ จนธุรกิจยาสมุนไพรจีนและไทย มีอายุยืนยาวสู่ 120 ปี แห่งความไว้วางใจ . ร่วมหาคำตอบว่า อะไรคือจุดเปลี่ยนชีวิตที่ทำให้ชายชาวจีนที่กำลังสู้ชีวิตอยู่เมืองไทย หันมาเอาดีธุรกิจยาเพื่อคุณภาพชีวิตและอายุที่ยืนยาวของคนไทย ที่คลิปนี้ . #ThePeople #TheMoment #120ปีแห่งความไว้วางใจ #เวชพงศ์โอสถ #เวชพงศา #อิ้วเจียแซ่เอี้ยะ #เจนกิจเวชพงศา #อภิญญาเวชพงศา #คนจีน #ธุรกิจ #ยา
เราอาจรู้จักเธอในฐานะศิลปินผู้มีเสียงร้องอันเป็นเอกลักษณ์ เราอาจรู้จักเธอในฐานะนักร้องจาก The Voice เมื่อหลายปีก่อน และใครหลายคนก็อาจรู้จักเธอในฐานะ ‘สวิฟตี้’ (Swiftie) หรือแฟนคลับ ‘เทย์เลอร์ สวิฟต์’(Taylor Swift) ตัวยง เมื่อกล่าวถึงชื่อของ ‘Image Suthita’ . หากกล่าวถึงชื่อศิลปินคนสำคัญสักคนในยุคไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้ ชื่อของเทย์เลอร์ สวิฟต์ ก็ต้องเป็นชื่อที่ปรากฎขึ้นมาเป็นลำดับแรก ๆ อย่างแน่นอน ดังที่สะท้อนผ่านผลงานมากมายหลายอัลบั้ม ตั้งแต่ Speak Now, Red, 1989 มาจนถึงอัลบั้มใหม่ล่าสุดที่เพิ่งปล่อยมาในปีนี้ แม้อาจจะไม่ได้ฟังผลงานของเธอจนจำชื่อเพลงได้ แต่เชื่อว่าใครหลายคนย่อมได้ยินแล้วคุ้นหูอย่างแน่นอน . ในวันนี้ The People Music จึงได้มาชวนหนึ่งในศิลปินผู้เป็นแฟนคลับที่ได้ใช้ชีวิตอยู่คู่กับเสียงเพลงของ เทย์เลอร์ สวิฟต์ มากว่า 15 ปี มาพูดคุยถึงความเป็นเทย์เลอร์ ว่าอะไรที่ทำให้บทเพลงของเธอทรงอิทธิพลมากขนาดนี้ พร้อมทั้งพูดคุยถึงประสบการณ์และความรู้สึกส่วนตัวที่มีต่อศิลปินคนนี้ด้วย ติดตามเรื่องราวทั้งหมดได้ที่วิดีโอนี้ . 00:00 | Highlight 02:04 | จุดเริ่มต้นการเป็น ‘Swiftie’ 06:42 | การเติบโตทางดนตรีของ Taylor Swift 09:05 | ชอบอะไรในแต่ละอัลบั้ม 14:46 | พรสวรรค์ทางการร้อยเรียงเขียนเพลง 18:32 | บทเพลงในดวงใจ 20:28 | ความรักระหว่าง Taylor และ Swifties 23:59 | หยิบเรื่องตัวเองมาแต่งเพลง 27:10 | ว่าด้วยเรื่องของ Taylor’s Version 28:50 | Taylor Swift vs. The Beatles 30:56 | คอนเสิร์ต The Eras Tour 32:07 | บทเพลงที่เติบโตร่วมกันมา 15 ปี 34:28 | สิ่งสำคัญที่ได้เรียนรู้จาก Taylor Swift 35:21 | เส้นทางดนตรีของ ‘อิมเมจ-สุธิตา’ 38:35 | ‘Actress’ อัลบั้มใหม่ล่าสุด 43:56 | ความสุขในชีวิตทุกวันนี้ . เนื้อหา: รัฐฐกรณ์ ศิริฤกษ์ ลำดับภาพ: สิมิลัน จำนงค์ทอง . #ThePeople #ThePeopleMusic #Culture #ดนตรี #TaylorSwift
จังหวะชีวิตของ ‘กร’ ชลากรณ์ ปัญญาโฉม เบื้องหลังความสำเร็จรายการบันเทิงของ Workpoint ที่มอบรอยยิ้มและความสุขให้คนไทยตลอดหลายปี . ในโอกาสที่ The People ครบรอบ 6 ปี ก้าวเข้าสู่ปีที่ 7 The Moment เลยได้โอกาสยกรายการไปพูดคุยกันสด ๆ กับ ‘พี่กร’ (ที่ตอนนี้ศิลปิน T-POP พากันเรียกว่า ‘Daddy K’) ถึงจังหวะชีวิตที่ทำให้พี่กรได้เติบโตอย่างงดงาม ตามธีม ‘Thrive Together’ ที่ชวนทุกคนมาเติบโตอย่างเบ่งบานและงดงามไปด้วยกัน . เหนือสิ่งอื่นใด ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ พี่กรได้ให้แง่คิดที่น่าประทับใจว่า… . “ในโมเมนตั้มของการเปลี่ยนแปลง ไม่มีใครบอกได้ว่าเราจะได้เปลี่ยนไปเจอเรื่องที่เราชอบหรือไม่ มันไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากเราต้องย้ายใจไปหาส่วนที่ชอบให้เจอ แล้วค่อยขยายผลจากสิ่งนั้น” . นอกจากนี้ พี่กรยังแนะนำเคล็ดลับสำหรับการค้นหาแรงบันดาลใจในการทำงาน, การบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่าง ‘ศิลปิน’ และ ‘นายทุน’ รวมถึงการบาลานซ์ระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว . ถึงคุณจะไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมบันเทิง แต่เรามั่นใจว่า The Moment อีพีนี้ เป็นประโยชน์กับคุณแน่นอน . #ThePeople #TheMoment #ชลากรณ์_ปัญญาโฉม #workpoint #TPOP #รายการบันเทิง #โทรทัศน์ #ค่ายเพลง
“บ้านคือสิ่งที่ทำให้ชีวิตสมบูรณ์แบบ” . ถ้าต้องกล่าวถึงโครงการบ้านขึ้นมาสักชื่อ หนีไม่พ้นว่าชื่อของ ‘แสนสิริ’ (Sansiri) จะปรากฎขึ้นในคำตอบของใครหลายคน แต่การเดินทางกว่าจะเป็นแบรนด์ Top of the Mind เฉกเช่นทุกวันนี้ ต้องผ่านการก่อสร้างมานานถึง 40 ปี . และผู้ที่จะมาฉายภาพให้เราที่เห็นถึงการเดินทางและความเชื่อของแสนสิริในครั้งนี้คือ ‘คุณอุทัย อุทัยแสงสุข’ กรรมการผู้จัดการใหญ่แห่งแสนสิริ ที่อยู่กับองค์กรมาตั้งแต่ยุคบุกเบิก ผ่านวิกฤตหลายครั้ง ก่อนจะเดินทางมาถึงปัจจุบัน . ใน Leadership ตอนนี้ เราจะพาไปสำรวจเบื้องหลังแนวคิดของผู้นำแห่งแสนสิริ ที่จะว่าด้วยดีเอ็นเอที่องคกรยึดถือและปฏิบัติใช้ แนวทางในการรับมือกับปัญหาและอุปสรรค โอกาสและความท้าทายที่กำลังจะมาถึง รวมไปถึงนิยามของคำว่า ‘บ้าน’ จากมุมมองของแสนสิริ . 1:24 | หัวใจสำคัญของแสนสิริในการเดินหน้ามาถึงปีที่สี่สิบ 8:02 | ความสำคัญของ ‘Flexibility’ ในโลกธุรกิจ 11:22 | วิธีการสร้างแบรนด์และเติบโตอย่างมั่นคงและแข็งแกร่ง 14:13 | การบริหารคนหลายยุคสมัยให้ทำงานร่วมกันได้ 17:35 | ออฟฟิศที่พาให้ผู้คนมาเจอกัน 19:48 | ความท้าทายและโอกาสในโลกปัจจุบัน 25:40 | การมองปัญหาแบบ ‘แสนสิริ’ 27:51 | คุณสมบัติของผู้นำในโลกปัจจุบัน 29:47 | บทเรียนสำคัญที่ได้เรียนรู้ล 32:27 | นิยามของ ‘บ้าน’ จากมุมมองของแสนสิริ . ดำเนินรายการ & เนื้อหา: รัฐฐกรณ์ ศิริฤกษ์ . #ThePeople #Leadership #Business #ธุรกิจ #Sansiri #แสนสิริ #บ้าน #อสังหาริมทรัพย์ #ผู้นำ #ผู้บริหาร
ป้ายโฆษณาซุปแคมป์เบลล์ ภาพขวดโค้กที่ติดอยู่ตามฝาผนัง ภาพมาริลิน มอนโรในจอภาพยนตร์ ภาพของ ‘ประธานเหมา’ ในหน้าข่าว หรือภาพอื่นใดที่เป็นภาพธรรมดาที่เราเห็นในชีวิตประจำวันจนชินตาผ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ไปจนถึงแผ่นบิลบอร์ด . ภาพเหล่านี้ ใครจะเชื่อว่า วันหนึ่งจะถูกนำไปตั้งในแกลเลอรี แล้วเรียกว่าเป็น ‘งานศิลปะ’ ได้ . แต่หากย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1962 ศิลปินอเมริกันคนหนึ่งนำภาพเหล่านี้มาทำซ้ำ พร้อมเติมสีสันจัดจ้านเข้าไปด้วยการพิมพ์ด้วยเทคนิคซิลค์สกรีน ก่อนจะเรียกภาพพิมพ์เหล่านี้ว่าเป็น ‘งานศิลปะ’ แล้วนำไปขายเป็น ‘สินค้า’ ที่มีมูลค่าขึ้นมา . ผู้ ‘กระทำความป็อป’ คนนี้ คือ ‘แอนดี วอร์ฮอล’ (Andy Warhol) บุคคลที่ชื่อว่าเป็น ‘เจ้าพ่อป็อปอาร์ต’ . ลำดับภาพ: คฑาวุฒิ เผือกสอาด . #ThePeople #TheMoment #Andy_Warhol #แอนดี_วอร์ฮอล #เจ้าพ่อป็อปอาร์ต #ศิลปิน #งานศิลปะ . อ้างอิง https://www.thepeople.co/read/culture/31345
“ไม่ได้รัก แต่รู้ว่าอำนาจของมัน (หนัง) มีเยอะมาก” . ‘คุณชายอดัม’ ม.ร.ว.เฉลิมชาตรี ยุคล กล่าวถึง ‘หนัง’ ซึ่งเป็นสิ่งที่คลุกคลีมาตั้งแต่เด็ก . “….เรารู้ว่ามันมีพลังในการทำให้คนเป็นอย่างอื่นได้ เราทำให้คนเชื่อเราได้ ถ้าคนเชื่อเราได้ ผมว่าชีวิตเราโอเคนะ เป็น Soft Power เลย” . ในฐานะ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ด้านภาพยนตร์ คุณชายอดัม ยังได้ฉายภาพพฤติกรรมการเสพสื่อของคนไทย ที่ไม่ค่อยเห็นคุณค่าของการ ‘สร้าง’ เท่ากับการ ‘เสพ’ ทำให้ ‘คนทำหนัง’ ต้องยึดสูตรสำเร็จเดิม ๆ จนขาดความหลากหลาย และถึงแม้จะมีคนพยายามจะสร้างความแปลกใหม่ แต่ก็ยังขาดโครงสร้างที่จะให้การช่วยเหลือ . “เราเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรม แต่ไม่มีโครงสร้างทางวัฒนธรรม” . นอกจากนั้น บทสนทนาใน People Topics ตอนนี้ ยังโฟกัสไปที่ปัญหาในการขับเคลื่อน Soft Power ด้านภาพยนตร์ของประเทศไทย ซึ่งอาจต้องรอการเปลี่ยนผ่านนานชั่วอายุคน ควบคู่กับการค่อย ๆ ก่อร่างโครงสร้างขึ้นมา . “คนควรจะตายตั้งแต่อายุ 50 แบบสมัยต้นรัตนโกสินทร์ พอมันยืดยาวปุ๊บ ไอ้ความยืดยาวของความคิดของเขาก็จะยืดยาวตามไปด้วย… เรายังติดอยู่ในยุคของคุณชาติชายอยู่เลย เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า คนอื่นเปลี่ยนสนามการค้าไปเป็นสนามความคิดแล้ว” . ที่น่าสนใจอีกหัวข้อคือการพูดคุยถึงความน่าสนใจของงานเทศกาลภาพยนตร์ที่กำลังจะมาถึงอย่าง ‘World Film Festival of Bangkok ครั้งที่ 16’ ซึ่งทำให้เราได้คำตอบว่า “ทำไมคนไทยต้องดูหนังเป็น?” และ “การเสพศิลปะเป็นเรื่องของคนมีเงินเท่านั้นหรือไม่?” . . ‘เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 16’ หรือ ‘16th World Film Festival of Bangkok’ คือเทศกาลภาพยนตร์ที่ได้รวบรวมภาพยนตร์ที่น่าสนใจมาจากทั่วทุกมุมโลกมาฉายอยู่ ณ ใจกลางกรุงเทพอย่าง โรงภาพยนตร์เอสเอฟ เวิลด์ซีเนม่า เซ็นทรัลเวิลด์ ตั้งแต่วันที่ 7-17 พฤศจิกายน 2567 . โดยในครั้งนี้ถือเป็นการกลับมาอีกครั้งของเทศกาลอย่างเวิลด์ฟิล์มฯ พร้อมกับคอนเซ็ปต์อย่าง ‘New Horizon’ ที่ได้คัดสรรภาพยนตร์คุณภาพระดับรางวัลจากทั่วโลกกว่า 80 เรื่อง พร้อมเชิญผู้กำกับและนักแสดงในวงการภาพยนตร์โลกมาร่วมงาน . ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดอย่างเป็นทางการ ผ่านทางเว็บไซต์ของเทศกาลฯ www.worldfilmbangkok.com และ Facebook Page: World Film Festival of Bangkok Official สัมภาษณ์: พาฝัน ศรีเริงหล้า ลำดับภาพ: สิมิลัน จำนงค์ทอง #ThePeople #PeopleTopics #ภาพยนตร์ #Film #หนังไทย #WFFB #WFFB2024 #WorldFilmFestivalofBangkok #เทศกาลภาพยนตร์ 0.00 ไฮไลต์ 1.02 'อำนาจ' ของหนัง 3.27 คนไทยต้องการความคุ้มค่าสูงสุด 6.27 ประเทศที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรม แต่ไม่มีโครงสร้างทางวัฒนธรรม 7.26 Soft Power ไม่ใช่แค่ 'พลังนุ่มนิ่ม' แต่เป็นการสร้างความเชื่อ 12.37 Soft Power VS เกาะกระแส 14.48 ปัญหาในการขับเคลื่อน Soft Power ของรัฐ 16.54 "ผมต้องตายก่อน?" 19.13 เกาหลีเป็น role model? 22.03 ความน่าสนใจของ World Film Festival of Bangkok ครั้งที่ 16 23.57 ทำไมคนไทยต้องดูศิลปะเป็น? 25.15 ศิลปะเป็นเรื่องของคนมีเงิน?
“ผลงาน Death Metal ชุดไหนที่ตราตรึงใจคุณที่สุด?” . นับเป็นคำถามสุดหินที่แม้แต่คอดนตรีสายหนักอย่างเดธเมทัลก็อาจจะต้องกุมขมับเมื่อต้องเลือกว่าผลงานชุดไหนที่ตัวของเขาชอบที่สุด... . ภายหลังจากสองเดือนที่ห่างหายไป The People Music กลับมาอีกครั้ง แต่คราวนี้ผมไม่ได้กลับมาเพียงคนเดียว แต่มาพร้อมกับแขกรับเชิญสุดพิเศษอีก 2 คนที่จะชวนเราดำดิ่งลงไปในโลกของดนตรีเหล็กกล้าแห่งความตาย . พวกเขาคือวงดนตรีที่เคยเล่นเปิดให้กับ Slipknot จนเหล่าเฮฟวีเมทัลสวมหน้ากากออกมายืนดู คือวงดนตรีที่บุกเบิกแนวเดธเมทัลในประเทศไทย คือวงดนตรีใต้ดินที่ยังคงหายใจมาถึงปีที่ 30 และคือวงดนตรีที่มีนามว่า ‘Dezember’ เจ้าของผลงานอย่าง ลัทธิซาตาน (1994), บาป (1997), Naturalism (2005) และอีกมากมาย รวมถึงผลงานเพลงใหม่อย่าง ‘คิดถึงนู๋นะ รักนู๋นะ’ และคอนเสิร์ตครบรอบ 30 ปีอย่าง ‘30th Anniversary Dezember Never Dead End Concert’ ในปลายปีนี้อีกด้วย . ใน The People Music ตอนนี้ เราได้พูดคุยกับ ‘ต้น-ภัทร ชุมทอง’ มือกีตาร์ และ ‘อ๊อฟ-นรเทพ จินดามาตย์’ นักร้องนำจากวงโปรเกรซซีฟเดธเมทัลสัญชาติไทยอย่าง Dezember ที่จะดำลึกไปถึงแก่นแท้ของความเป็น Death Metal พร้อมทั้งสำรวจคำถามว่าอัลบั้มไหนจากมุมมองของพวกเขาที่ว่า ‘สุด’ ที่สุด... . 0:00 | Highlight 1:05 | Opening 2:32 | อะไรคือ Progressive Death Metal? 4:05 | ความเป็น Death Metal 5:09 | ประตูสู่ดนตรีสายหนักของ ‘DEZEMBER’ 8:21 | John Tardy แห่ง Obituary 9:20 | เพลงที่สั้นที่สุดจาก Napalm Death 10:59 | อัลบั้มในดวงใจ : อัลบั้มจาก Death 13:32 | อัลบั้มในดวงใจ : Pantera - Cowboys From Hell 14:35 | ความวิเศษของ Dream Theater 17:32 | ต้นกำเนิดของ DEZEMBER และ ‘ลัทธิซาตาน’ 19:41 | การยืนหยัดในฐานะวงใต้ดิน 22:07 | ประสบการณ์การเล่นเปิดให้ ‘Slipknot’ 24:26 | ความทรงจำที่เล่นเปิดให้ ‘A7X’ 26:30 | คอนเสิร์ตครบรอบ 30 ปี DEZEMBER 28:29 | อยากจะฝากอะไรถึงแฟน ๆ . ดำเนินรายการ & เนื้อหา: รัฐฐกรณ์ ศิริฤกษ์ ลำดับภาพ: สิมิลัน จำนงค์ทอง . #ThePeople #ThePeopleMusic #ดนตรี #Dezember #DeathMetal #เดธเมทัล #เมทัล
‘ผมไม่ได้เป็นคนชอบร้องเพลง’ นภ พรชำนิ ย้อนความหลังอย่างจริงใจ . จากชายหนุ่มขี้อาย ไม่ค่อยกล้าแสดงออก ที่ถูกบังคับให้ขึ้นแสดงสดเพื่อความอยู่รอดของบริษัท หลังจากนั้นมุมมองที่มีต่อ ‘บทเพลง’ เริ่มเปลี่ยนไปทีละน้อย . “เราคิดว่าเพลงมันเปลี่ยนชีวิตคนฟังได้ เบเกอรี่มิวสิคมีความเชื่อว่า เพลงที่มันถูกเขียนมาจากเลือดเนื้อ ชีวิตจิตใจของคนเขียน มันจะเปลี่ยนคนฟังได้ หรือไปสร้างแรงบันดาลใจในการค้นหาตัวเองของเขา” . นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ตลอดระยะเวลา 30 ปีเต็ม ศิลปินรุ่นบุกเบิกของเบเกอรี่มิวสิคผู้นี้ ไม่เคยปล่อยให้ตัวเองห่างหายจากงานเพลง ทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลัง และยังคงยืนหยัดทำหน้าที่ของตนเอง โดยยึด ‘ความเคารพ’ ที่มีต่อคนดู เหนือสิ่งอื่นใด . “ตอนที่เราร้อง คนฟังเขาตั้งใจมาฟังนะเว้ย ต้องเคารพเขา ต้องร้องให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ให้สมกับค่ารถเมล์ ค่ารถมอไซค์ หรือค่าน้ำมันที่เขาเดินทางมาฟังเราร้อง ไปถามทุกคนที่ดูการแสดงสดของพี่นภนะ ไม่มีใครผิดหวังแน่นอน พี่ใส่เต็มทุกครั้งที่พี่อยู่บนเวที แล้วทุกคนก็จะมีความสุขกับการแสดงของพี่ เท่าที่เขาจะมีความทรงจําได้ ไม่ว่าพี่จะไปร้องหน้าตลาดสด พี่ก็เต็มที่” . ในทุกความ ‘เต็มที่’ ตามแบบฉบับของพี่นภนั้น ยังรวมถึงการให้สัมภาษณ์แบบไม่กั๊กในครั้งนี้ ที่ยิ่งฟังยิ่งอยากเห็นคนตรงหน้าขึ้นเวทีไปปล่อยพลังในคอนเสิร์ต In The Mood Music Fest for the Bakerian ไว ๆ . แต่ก่อนจะไปถึงวันนั้น เราขอชวนทั้ง Bakerian และคนที่รักในเสียงเพลงทุกคน มาฟังคลิปสัมภาษณ์นี้เป็นการเรียกน้ำย่อยไปก่อนค่ะ . บัตร In The Mood Music Fest for the Bakerian สั่งซื้อได้แล้วที่นี่ https://www.thaiticketmajor.com/concert/in-the-mood-music-fest-for-the-bakerian.html . สัมภาษณ์: พาฝัน ศรีเริงหล้า . #ThePeople #TheMoment #นภ_พรชำนิ #เบเกอรี่มิวสิค #นักร้อง #POP #InTheMoodMusicFestfortheBakerian
นําชัย ชีววิวรรธน์ : จาก ‘Sapiens’ ถึง ‘Nexus’ มนุษย์ใช้ชีวิตในความฝันของคนตาย | Deep People by The People
“ซอฟต์พาวเวอร์คือคำที่นิยามง่ายแต่ปฏิบัติยาก” . ‘ซอฟต์พาวเวอร์’ ถือเป็นคำที่ได้ยินบ่อยและถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะไม่กี่ปีให้หลังมานี้ ที่ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จมากมายจากประเทศต่าง ๆ ในการส่งออกวัฒนธรรมของตน ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้ . แต่เมื่อในขณะเดียวกันกับที่มีคนหันมาสนใจเรื่องนี้มากขึ้น ก็มีผู้คนอีกไม่น้อยที่มองว่าคำ ๆ นี้ถูกพูดบ่อยจนเกร่อจนไม่ได้มีความหมายอะไร นอกจากนั้น ซอฟต์พาวเวอร์ก็มากับความท้าทายมากมาย โดยเฉพาะวิธีการส่งออกให้ไม่ดู ‘ยัดเยียด’ มากจนเกินไป . ใน Leadership ตอนนี้ เราจะชวน ‘นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี’ หรือ ‘หมอเลี้ยบ’ รองที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรีและรองประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติมาพูดคุยกันถึงคำ ๆ นี้ ครอบคลุมไปถึงเรื่องราวของภาพยนตร์ ที่ถือเป็นความหวังสำคัญที่จะส่งซอฟต์พาวเวอร์ออกไปได้ . 0.00 : Highlight 1.53 : Introduction 2.20 : นิยามของ ‘Soft Power’ คืออะไรกันแน่? 7.55 : “Soft Power ชอบยัดเยียด” แบบไหนคือสมดุล? 10.06 : โลกที่หมุนเร็วกับทางไปต่อของ Soft Power 12.28 : อะไรคือบทบาทของภาครัฐ? 15.49 : ประชาชนคนธรรมดากับ Soft Power 17.07 : ภาพยนตร์เรื่องโปรด 18.40 : กุญแจสู่ความสำเร็จของ Soft Power ต่างชาติ 20.09 : ประเทศไทยมีไอเดีย… แต่ไม่มีโอกาส 22.34 : World Film Festival of Bangkok ครั้งที่ 16 24.23 : กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงภาพยนตร์? 28.17 : อนาคตและความท้าทายของ Soft Power ไทย 30.20 : ความเป็นผู้นำที่ดีในแบบของคุณ? 33.09 : ประสบการณ์การทำงานกับ ‘นายกฯ(s)’ 35.49 : วิธีรับมือกับปัญหาและอุปสรรค 37.35 : ความแตกต่างที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ . ดำเนินรายการ & เนื้อหา: รัฐฐกรณ์ ศิริฤกษ์ ลำดับภาพ: สิมิลัน จำนงค์ทอง . #ThePeople #Leadership #ซอฟต์พาวเวอร์ #SoftPower #ภาพยนตร์ #ภาพยนตร์ไทย #หนังไทย #ความเป็นผู้นำ
“สังคมเรามันเลี้ยงคนไม่โตอะ ให้ทำนู่นนี่นั่น แต่ไม่พยายามให้เขายืนได้ด้วยตนเอง” . ‘วีรพร นิติประภา’ หรือ ‘พี่แหม่ม’ นักเขียนนวนิยาย เจ้าของรางวัลซีไรต์ 2 สมัย ให้เวลานั่งคุยยาว ๆ ในรายการ The Moment ถึงเรื่องราวส่วนตัวที่มีทั้งเล่าออกอากาศได้ และเรื่องที่ขอเก็บไว้เมาท์กันหลังไมค์ ก่อนจะฉายภายให้เห็นแนวคิดในการเลี้ยงลูก และความหมายของการมีชีวิต ซึ่งล้วนเกี่ยวพันกับ ‘การอ่าน’ อย่างยากที่จะแยกได้ . “พี่ก็หวังว่าเขา (ลูกชาย) จะเป็นนักอ่านที่แตกฉาน หาทางไปเองได้ สมมติฉันตกท่อตาย เธอก็ยังอยู่ได้ ซึ่งก็ดังคาด เขาก็ไม่ได้มีชีวิตพิเศษกว่าใคร ก็มีช่วงที่เขาผิดหวัง มีช่วงที่เขาลำบาก ช่วงที่เขารู้สึกแย่ แล้วเขาก็มีหนังสือ ดูเหมือนเขาจะฉลาดขึ้นทุกครั้ง นั่นหมายความว่าการอ่านช่วยให้เขาสามารถเข้าใจชีวิตเขาเอง โครงสร้างของปัญหา แล้วก็ผ่านอุปสรรคได้” พี่แหม่มกล่าวถึงผลสำเร็จจากการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับลูกชาย . ในขณะเดียวกันก็ย้ำให้เห็นว่า การอ่านสำคัญต่อการพัฒนาของประเทศชาติ เพราะเป็นดั่งเครื่องมือให้เหล่านักอ่านใช้เสาะแสวงหาความหมายของการมีชีวิต . “เราไม่คุยกันเรื่องชีวิต ไม่เหมือนประเทศอื่นที่จะถามว่าชีวิตคืออะไร เราไม่ได้ถามเด็ก ๆ ว่า ชีวิตคืออะไรเลย เขาคิดว่าชีวิตคืออะไร แล้วคนส่วนใหญ่ แม้กระทั่งคนโต ๆ หรือคนแก่ ก็คือเกิดมาทํางานจ่ายภาษีแล้วก็ตาย . “เราไม่แสวงหาความหมายของการมีอยู่ของ ซึ่งมันสําคัญที่สุด แล้วมันสําคัญสําหรับประเทศชาติด้วย เราไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นมนุษย์งานแล้วก็ตาย…” . ติดตามบทสัมภาษณ์ของนักเขียนนวนิยายระดับตัวแม่ ที่ใช้ ‘ความเป็นแม่’ ขับเคลื่อนการเขียน และขับเคลื่อนสังคม ไปพร้อมกัน ที่คลิปด้านล่าง . นาที 1.19 ซิกเนเจอร์ของพี่แหม่ม วีรพร นิติประภา นาที 2.02 ใฝ่ฝันอยากเป็น 'นักร้องลูกทุ่ง' นาที2.39 เรียนเลขานุการ-ทำงานฆษณา ก่อนเป็นนักเขียน นาที 5.30 เริ่มเขียนนวนิยายตอนอายุ 48 ปี นาที 6.03 'ลูกชาย' คือแรงบันดาลใจในการเขียนหนังสือ นาที 9.25 มีเหตุผลอะไรที่เราต้องหยุดโต ** (การเติบโตคือทั้งชีวิต ถ้าคุณไม่คิดว่าชีวิตนี้คือการเติบโต ก็คือคุณแก่แล้วพัง) นาที 10.59 การมีลูกเป็นการเติบโตทางใจ นาที 13.26 ทำไมต้องปลูกฝัง 'นิสัยรักการอ่าน' ให้ลูก นาที 16.20 การอ่านสำคัญกับประเทศชาติอย่างไร? นาที 18.40 ปัญหาที่มากับ 'ชุดนักเรียน' นาที 19.50 สิ่งที่น่าเห็นใจสำหรับ 'เด็กรุ่นใหม่' นาที 23.27 ความหมายของ 'ชีวิต' สำหรับวีรพร นิติประภา . สัมภาษณ์: พาฝัน ศรีเริงหล้า ลำดับภาพ: สิมิลัน จำนงค์ทอง . #ThePeople #TheMoment #วีรพร_นิติประภา #นักเขียน #ซีไรต์ #แม่ #ความหมายของชีวิต #การอ่าน #หนังสือ
“คำว่าชีวิตของเราหมายความว่าอะไร ยังมีลมหายใจอยู่มั้ง” . นิยามความหมายที่ว่าด้วยเรื่องชีวิตของ เล็ก Greasy Cafe ที่ค้นพบว่า ชีวิตของเขานั้นเรียบง่าย แค่มีลมหายใจ ปิติยินดีในบางสิ่ง พุ่งชนทุกโอกาสที่เข้ามา และยังคงลุ่มหลงกับการทำเพลง . เพราะทุกเพลงที่เขาเขียนขึ้น เขาไม่ได้เขียนเพื่อใคร แต่เขียนเพื่อระบายความรู้สึกที่อยู่ในใจตัวเอง . “สิ่งที่เราเขียนขึ้นมา มันคือการปลอยประโลมตัวเราเอง เราไม่ได้เขียนเพื่อพี่เล็กมาแล้วครับ มาสอนน้อง ๆ บางเรื่องอย่างความรักทำให้คนตาบอด บอดยังไง ความรักทำให้ตาสว่างเถอะ” . แล้วถ้าความรักจะทำให้คนตาบอด และจะต้องเกิดขึ้นเพื่อลาจาก ต่อให้เสียใจแค่ไหน เขาก็ยอม . “ในการเกิดขึ้นของความสัมพันธ์ ถ้ามันจะเกิดขึ้นโดยปลายทางจะต้องจากกัน แล้วมันจะต้องเสียใจขนาดไหน แต่มันมีช่วงหนึ่งไม่ใช่หรอวะ ที่มึงโคตรมีค่ากับตัวมึงเอง มึงยอมกอดความเสียใจครั้งนั้นไหม เรายอมว่ะ” . คลิปวิดีโอชิ้นนี้ คือ คำบอกเล่าของ เล็ก Greasy Cafe ที่จะพาทุกคนไปสำรวจอีกแง่มุมหนึ่งของความรักและความสัมพันธ์ ที่สุดท้ายแล้ว มันก็คือความรู้สึกที่คงไม่มีเข้าใจและรู้สึกได้ดีกว่าตัวเราเอง . เนื้อหา: ณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์ ลำดับภาพ: สิมิลัน จำนงค์ทอง . #ThePeople #Interview #DeepPeople #GreasyCafe #ความหมายของการมีลมหายใจ
“ไม่ขายแล้วเอามาแสดงทำไม?” . คือคำถามที่ ‘ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์’ ประธานบริษัท สื่อสากล จำกัด และประธานจัดงานมหกรรมยานยนต์ประจำปีอันยิ่งใหญ่อย่าง ‘Thailand International Motor Expo’ หรือที่เรารู้จักในนาม ‘Motor Expo’ ได้รับเมื่อย้อนไปราวสี่ทศวรรษก่อนหน้า ในวันที่งาน Motor Expo ทำหน้าที่เพียงแค่จัดแสดง แต่ไม่ได้เปิดให้มีการขายรถยนต์ภายในงาน . ขวัญชัยมองว่า สำหรับคนไทย เวลาได้เห็นของอะไร เมื่ออยากซื้อก็ควรจะซื้อได้ เขาจึงได้ตัดสินใจที่จะเปลี่ยน Motor Expo ที่เดิมแค่จัดแสดงให้มีการขายรถยนต์ร่วมด้วย นับเป็นการเปลี่ยนแปลงก้าวสำคัญที่พา Motor Expo มาจนถึงทุกวันนี้ . นอกจากนั้นก็ยังมีการพูดคุยถึงเรื่องของอุตสาหกรรมยานยนต์กับการมาของ ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ หรือ ‘EV’ (Electric Vehicle) ที่แม้จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่ปีก่อนหน้า แต่กลับมียอดขายที่หดตัวลงในปีนี้ และหนึ่งในเหตุผลสำคัญก็มาจาก ‘สงครามราคา’ ที่เกิดขึ้นจากบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าเจ้าต่าง ๆ เอง . “ผมจะเป็นคนที่ไม่ชอบสั่ง ผมจะเป็นคนที่ชอบถามคน ว่าเขาเหล่านั้นมีความคิดเห็นอย่างไร” . การเป็นผู้นำไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะการเป็นผู้นำที่ได้นำพาองค์กรมาเกินกว่าสี่ทศวรรษอย่างต่อเนื่อง ก็นับเป็นเรื่องที่ท้าทายเข้าไปใหญ่ และเคล็ดลับหนึ่งจากผู้จัด Motor Expo คนนี้คือ ‘การรับฟัง’ และพร้อมจะ ‘ปรับตัว’ ต่อความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา . ใน Leadership ครั้งนี้ เราจะพาผู้ชมทุกท่านไปถอดบทเรียนจากผู้ถือธงนำพา Motor Expo มากว่าสี่ทศวรรษกับปรัชญาการทำงานเป็นทีมและไม่ยึดตัวเองเป็นที่ตั้งจนกลายเป็นผู้นำแบบ ‘ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์’ . . . สำหรับงาน Motor Expo ครั้งที่ 41 ในปีนี้ก็มาพร้อมกับคอนเซปต์อย่าง ‘Innovative Spirit… Futuristic Vehicles’ ที่จะหยิบยกทั้งนวัตกรรมและเทคโนโลยีล้ำสมัยมานำเสนอแก่ผู้เข้าร่วมชม ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน - 10 ธันวาคม 2567 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี . ดำเนินรายการ & เนื้อหา: รัฐฐกรณ์ ศิริฤกษ์ ลำดับภาพ: สิมิลัน จำนงค์ทอง . #ThePeople #Leadership #MotorExpo #MotorExpo2024 #รถยนต์ #รถไฟฟ้า #ยานยนต์
“หรือแท้ที่จริงแล้วสังคมไทยเรายังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงคำว่าการพัฒนาที่ยั่งยืน?” . ‘ความยั่งยืน’ (Sustainability) นับว่าเป็นหนึ่งในคำที่ถูกพูดถึงอยู่ในแทบจะทุกแห่งหน ไม่ว่าจะในระดับภาครัฐ องค์กรเอกชน หรือแม้แต่ปัจเจกบุคคล กลายเป็นว่าในยุคสมัยนี้ ใคร ๆ ต่างก็มุ่งที่จะนึกถึงความยั่งยืน . แม้ความยั่งยืนที่ได้กลายเป็นแนวคิดกระแสหลักของยุคสมัย แต่ก็ไม่ได้แปลว่าสังคมเรากำลังมุ่งหน้าไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังที่สะท้อนผ่านหลายตัวอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ดังสะท้อนผ่านงานเขียนของ ‘สฤณี อาชวานันทกุล’ นักวิชาการ นักเขียน นักแปล และกรรมการผู้จัดการแห่งป่าสาละ . ด้วยเหตุนั้น ในขณะเดียวกันกับที่เราเอ่ยคำว่า ‘ความยั่งยืน’ และมุ่งหวังที่จะใช้มันเป็นแนวคิดกระแสหลักในการเดินหน้า การย้อนกลับมาสำรวจดูอย่างละเอียดถึงนิยามของมัน ก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ว่า ‘ความยั่งยืน’ ที่เราพูดถึงกันอยู่ มันมีหน้าตาแบบไหนกันแน่? . ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ The People ชวนคุณ สฤณี อาชวานันทกุล พูดคุยถึงนิยามของความยั่งยืน พร้อมชำแหละปัญหาที่ขัดขวางสังคมไทยไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง . เนื้อหา: รัฐฐกรณ์ ศิริฤกษ์ ลำดับภาพ: สิมิลัน จำนงค์ทอง . #ThePeople #Peoplenomics #Sustainability #เศรษฐศาสตร์ #ความยั่งยืน #สิ่งแวดล้อม
“หนังไทยจะไปอย่างไรต่อ?” . นับเป็นเป็นประโยคคำถามที่ถูกหยิบมาเป็นประเด็นในการสนทนาอยู่บ่อยครั้งว่าทิศทางในการเดินหน้าต่อไปของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยจะเดินทางต่อไปในทิศทางไหน และสามารถไปได้ไกลกว่านี้ได้ขนาดไหน? . แม้จะเผชิญกับความซบเซาอย่างหนักในช่วงโควิด-19 ที่ผ่าน แต่ในไม่กี่ปีให้หลังมาจนถึงปีนี้ เราจะได้เห็นภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องที่เข้ามาเติมเต็มความสดชื่นและความหวังให้กับภาพยนตร์ไทยอย่างมีนัยสำคัญ . ใน People Topics ตอนนี้เราได้คุยกับ ‘ดรสะรณ โกวิทวณิชชา’ Festival Director จากงานเทศกาลภาพยนตร์ที่กำลังจะมาถึงอย่าง ‘World Film Festival of Bangkok ครั้งที่ 16’ ที่ได้กำลังจะมาถึงเร็ว ๆ นี้ ถึงประเด็นที่ว่าด้วยเรื่องราวของเทศกาลภาพยนตร์และหนทางไปต่อของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย . . . ‘เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 16’ หรือ ‘16th World Film Festival of Bangkok’ คือเทศกาลภาพยนตร์ที่ได้รวบรวมภาพยนตร์ที่น่าสนใจมาจากทั่วทุกมุมโลกมาฉายอยู่ ณ ใจกลางกรุงเทพอย่าง โรงภาพยนตร์เอสเอฟ เวิลด์ซีเนม่า เซ็นทรัลเวิลด์ ตั้งแต่วันที่ 7-17 พฤศจิกายน 2567 . โดยในครั้งนี้ถือเป็นการกลับมาอีกครั้งของเทศกาลอย่างเวิลด์ฟิล์มฯ พร้อมกับคอนเซ็ปต์อย่าง ‘New Horizon’ ที่ได้คัดสรรภาพยนตร์คุณภาพระดับรางวัลจากทั่วโลกกว่า 80 เรื่อง พร้อมเชิญผู้กำกับและนักแสดงในวงการภาพยนตร์โลกมาร่วมงาน . ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดอย่างเป็นทางการ ผ่านทางเว็บไซต์ของเทศกาลฯ www.worldfilmbangkok.com และ Facebook Page: World Film Festival of Bangkok Official . เนื้อหา: รัฐฐกรณ์ ศิริฤกษ์ ลำดับภาพ: สิมิลัน จำนงค์ทอง . #ThePeople #PeopleTopics #ภาพยนตร์ #Film #หนังไทย #WFFB #WFFB2024 #WorldFilmFestivalofBangkok #เทศกาลภาพยนตร์
27 กันยายน วันคล้ายวันเกิด ‘อาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี’ จักรพรรดิแห่งผืนผ้าใบจากดอยสูง . หากคำนวณกันเป็นนาที อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี น่าจะเป็นศิลปินไทยที่ค่าตัวแพงที่สุดตราบถึงทุกวันนี้ และยังครองอันดับหนึ่งอย่างเหนียวแน่นในรายชื่อศิลปินสัญชาติไทยที่ทำสถิติราคาสูงที่สุดในงานประมูลทั้งในเมืองไทย และเมืองนอก ภาพวาดขนาดใหญ่ยังมีการซื้อขายเปลี่ยนมือกันในหลักหลายสิบล้านบาทอยู่บ่อย ๆ . จังหวะชีวิตของเด็กชายจากเชียงรายที่หลงรักการวาดภาพมาตั้งแต่เด็ก ก่อนจะก้าวมาเป็นศิลปินระดับบรมครูของเมืองไทย เป็นอย่างไร ติดตามได้ใน The Moment . สัมภาษณ์: พาฝัน ศรีเริงหล้า ลำดับภาพ: สิมิลัน จำนงค์ทอง . #ThePeople #TheMoment #ถวัลย์_ดัชนี #ศิลปิน #บ้านดำ #เชียงราย #จักรพรรดิแห่งผืนผ้าใบ #ศิลป์_พีระศรี
บทเรียนชีวิตจากลูกขนไก่ตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมาของ ‘วิว’ กุลวุฒิ วิทิตศานต์ นักแบตมินตันทีมชาติไทย และเจ้าของเหรียญเงินโอลิมปิก 2024 คือ ทำให้เต็มที่ทุกการแข่งขัน . ถึงจะแพ้ก็ไม่เป็นไร เพราะทุกแมตซ์ คือ การเรียนรู้ . “ถึงแม้ว่าผมจะแพ้ก็ไม่เป็นไรครับ อย่างน้อยทุกแมตช์ที่ผมแพ้ ขอให้ผมได้เรียนรู้ว่าแพ้เพราะอะไร ถ้าแพ้ก็ยอมรับ แต่ผมไม่ได้ยอมแพ้ กลับมาพัฒนาตัวเองต่อไปไม่ไม่หยุดอยู่กับที่แน่นอน” . ชีวิตบนสนามของเขาขับเคลื่อนด้วยเป้าหมาย วันนี้เขาสามารถคว้าแชมป์โลก และเหรียญโอลิมปิกเกมส์ได้แล้ว ต่อไป คือ การคว้าแชมป์ All England แล้วไปเชียร์บอลลิเวอร์พูลที่ขอบสนาม รวมถึงฝันที่อยากจะคว้าแชมป์ร่วมกัยน้องสาวที่วันนี้กำลังโลดแล่นอยู่ในการแข่งขันแบตมินตันระดับเยาวชน . และสำหรับเขา แบตมินตัน คือ ชีวิต . “จริง ๆ แล้ว ผมอยู่สนามแบตมาครึ่งชีวิตแล้ว ถ้าไม่มีสนามแบต เราอาจไม่มีชื่อเสียงเงินทอง ดีใจมาก ๆ ที่ได้เล่นแบตมินตัน” . เส้นทางของวิว กุลวุฒิ นักกีฬาลูกขนไก่ ผู้สร้างประวัติศาสตร์ให้แบตมินตันไทยจากโอลิมปิกเกมส์ 2024 เป็นอย่างไร รับชมได้จากวิดีโอชิ้นนี้ . #ThePeople #DeepPeople #Sport #แบตมินตัน #วิวกุลวุฒิ #กุลวุฒิวิทิตศานต์ #นักกีฬาไทย
แว่นใหญ่: “เราไม่ต้องไปเป็นผู้ยิ่งใหญ่ตรงไหน เราก็เปลี่ยนแปลงโลกของเรา ในวันเวลาของเรา ให้กับคนที่เขาอยู่รอบๆ ตัวเราได้” . ในช่วงต้นของการให้สัมภาษณ์กับรายการ The Moment ‘แว่นใหญ่’ หรือ ‘พี่โอ’ โอฬาร ชูใจ พูดถึงเพลงในฐานะสิ่งที่อยู่เคียงข้างคนที่กำลังเจ็บปวด และทำให้คนเหล่านั้นสามารถก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากในชีวิตไปได้ . แต่ในช่วงท้ายรายการ ศิลปินที่ไม่ได้มีเอกลักษณ์แค่การสวมแว่นตาดำเกือบจะตลอดเวลา แต่ยังโดดเด่นด้วยบทเพลงที่ตกตะกอนจากความเศร้าและเจ็บปวด ยังได้พูดถึงความมุ่งหมายในการทำอาชีพที่เขารัก และการทำหน้าที่ของเพลงที่ไปไกลกว่านั้นอีก . “หลายครั้งเราถามตัวเองว่าเราทำอาชีพนี้ เราให้อะไรใครบ้าง นอกจากเราได้รายได้เลี้ยงชีพตัวเอง แต่คนที่เขาทานอาหารของเรา เขาได้ประโยชน์อะไร . “ผมรู้สึกว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงโลกจากจุดที่เราอยู่ได้ เราไม่ต้องไปเป็นผู้ยิ่งใหญ่ตรงไหน เราก็เปลี่ยนแปลงโลกของเรา ในวันเวลาของเรา ให้กับคนที่เขาอยู่รอบๆ ตัวเราได้ ผมเชื่อว่าความตั้งใจที่แตกต่างสามารถสร้างผลกระทบที่แตกต่างกับโลกนี้ กับผู้อื่นเหมือนกัน ก็หวังว่าสิ่งนี้จะช่วยเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างได้” . ตลอดคลิปความยาวเกือบ 23 นาที เจ้าพ่อเพลงเศร้าที่ชีวิตมีความทุกข์และความผิดหวังเป็น ‘เพื่อน’ ที่แวะมาเยี่ยมเยือนบ่อยครั้ง ยังบอกเล่าถึงจังหวะชีวิตที่สำคัญ ทั้งการก้าวจาก ‘เด็กจิตวิทยา’ มาเป็น ‘นักดนตรี’ รวมถึงจุดเปลี่ยนที่เกิดขึ้นหลังความพลิกผันของ ‘Room39’ และการทำเพลง ‘ร้อยล้านวิว’ ที่เจ้าตัวไม่ยอมรับว่าเกิดจาก ‘ความเจ๋ง’ ของตัวเอง . ติดตามเรื่องราวและแนวคิดของเขาได้ที่คลิปด้านล่าง . สัมภาษณ์: พาฝัน ศรีเริงหล้า ลำดับภาพ: สิมิลัน จำนงค์ทอง . #ThePeople #TheMoment #แว่นใหญ่ #โอฬาร_ชูใจ #เธอคือของขวัญ #นักร้อง #เพลง #เจ้าพ่อเพลงเศร้า . นาที 2.16 ฉายา 'เจ้าพ่อเพลงเศร้า' นาที 3.45 สูญเสียเพื่อนจากซึมเศร้า นาที 4.28 ความแตกต่างระหว่าง 'โอฬาร' กับ 'แว่นใหญ่' นาที 5.15 จาก 'เด็กจิตวิทยา' มาเป็น 'นักดนตรี' นาที 6.20 "ถ้าเรารักมันจริง เราจะไม่ล้มเลิก" นาที 7.35 จุดเปลี่ยน Room39 นาที 8.41 การเติบโตมาพร้อมกับ 'ความผิดหวัง' นาที 10.57 ความท้าทายในฐานะ 'ศิลปินเดี่ยว' นาที 12.57 ทำเพลงยังไงให้ได้ร้อยล้านวิว นาที 14.21 การก้าวข้ามความทุกข์ฉบับ 'แว่นใหญ่' นาที 15.32 นิยามความรักของ 'แว่นใหญ่' นาที 16.25 ที่มาเพลง 'รักของเธอคือของขวัญ' นาที 20.10 หน้าที่ของเพลง
“จริง ๆ วิธีการแก้สูตรสําเร็จคือเราต้องตั้งโจทย์ใหม่” . ด้วยประสบการณ์การทำงานการทำคอนเสิร์ตมามากกว่า 20 ปีของ ‘พล หุยประเสริฐ’ Design Director และเจ้าของ H.U.I หรือ ‘ทีมหุย’ ที่เรามักจะได้ยินศิลปินกล่าวของคุณอยู่เสมอ ๆ . ขณะที่ต้องพาองค์กรวิ่งไปให้ทันกับอุตสาหกรรม สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือ การพาคนในทีมหุยที่ประกอบด้วยคนหลายเจนวิ่งไปพร้อมกันให้ได้ . ซึ่งพลก็ยอมรับตรง ๆ ว่า “พี่ไม่ใช่คนที่ทำสิ่งนี้ได้ดี” เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา สิ่งที่ฮีลใจเขา คือ การกรี๊ด ระบายความรู้สึกในใจออกมา แต่วิธีนี้อาจสร้างความไม่สบายใจให้กับเหล่าน้องใหม่ที่มีอายุต่างกันไป . “ต้องเชื่อว่าเราอยากอยู่กับเขา เราต้องทำอะไรบ้าง จะทำให้เรามีสติ . “บางทีพี่ก็ต้องอดทน มันพัง เข้าใจไหม มึงยกได้ไหม มึงยกสิ้ ยกไม่ได้ เอาใหม่ ทำใหม่ พี่ว่าวันนี้โลกไม่ได้เดินด้วยพี่ แต่เดินด้วยคนรุ่นต่อไป” . เพราะบทเรียนสำคัญของพล หุยประเสริฐวันนี้ คือ ไม่มีใครนำทุกอย่างได้ตลอดหรือทำได้ดีตลอด วันหนึ่งก็จะมีวันที่เราต้อง Down . สูตร (ไม่) สำเร็จของชายที่มีใจรักในการออกแบบ เดินทางมาเป็นผู้นำที่อยู่เบื้องหลังคอนเสิร์ตไทยได้อย่างไร หาคำตอบได้จากวิดีโอชิ้นนี้ . เนื้อหา: รัฐฐกรณ์ ศิริฤกษ์, ณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์ . #ThePeople #Leadership #พล_หุยประเสริฐ #HUI #HUIProduction #HUITeamDesign #Colorist #WhatTheDuck
‘ศิลป์ พีระศรี’ ชาวอิตาลีผู้ได้ชื่อว่าเป็น ‘บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยไทย’ ผู้ให้กำเนิดมหาวิทยาลัยศิลปากร . นอกจากผลงานศิลปะมากมายที่ยังคงอยู่ตราบจนถึงวันนี้ อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ยังได้ช่วยบ่มเพาะศิลปินท้องถิ่น ทำให้ไทยลดการพึ่งพาช่างและศิลปินนำเข้าได้มาก ด้วยความเป็นครูที่มีความขยันขันแข็ง และตั้งใจถ่ายทอดวิชาให้แก่ศิษย์อย่างจริงจัง . The Moment ชวนติดตามจังหวะชีวิตของ อาจารย์ ศิลป์ พีระศรี ชายผู้ข้ามน้ำข้ามทะเลจากอิตาลีมายังสยาม และเกือบจะโดนควบคุมตัวไปเป็นเชลยศึก แต่รอดพ้นมาได้จากการเปลี่ยนสัญชาติและเปลี่ยนชื่อ ก่อนจะอุทิศชีวิตจนลมหายใจสุดท้ายเพื่อวงการศิลปะไทย . อ้างอิง: https://www.thepeople.co/read/history/12071 https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/959856 https://www.finearts.go.th/promotion/view/36216-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87--%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5--15-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99---part1 . ลำดับภาพ: คฑาวุฒ เผือกสอาด . #ThePeople #TheMoment #ศิลป์_พีระศรี #ศิลปากร #ศิลปิน #ศิลปะ #บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยไทย #อาจารย์