Discoverเล่ารอบโลก
เล่ารอบโลก
Claim Ownership

เล่ารอบโลก

Author: Thai PBS Podcast

Subscribed: 401Played: 3,530
Share

Description

เปิดโลกกว้างทางความคิดด้วยมุมมองใหม่ ทำให้คุณเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยสายตาที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป พบกับ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม นักเล่าเรื่องที่เจาะลึกและไขความลับหลากประเด็น หลายมุมมอง จากทั่วทุกภูมิภาคบนโลกใบนี้

163 Episodes
Reverse
เราจะสามารถวิเคราะห์นโยบายเรื่องจีน ของ Trump จากหนังสือแนวคิดในการเจรจาธุรกิจของเขาได้หรือไม่ ทำไมคนอย่าง Trump อาจจะยอมจ่ายแพง เขาบ้า ๆ บอ ๆ หรือทุกอย่างผ่านการคิดวิเคราะห์เอาไว้แล้ว
รู้จักตัวตนของอดีตประธานาธิบดีคนที่ 45 และว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา Donald J. Trump จากหนังสือเล่มแรกของเขา Trump: The Art of the Deal หนึ่งในหนังสือคู่มือการทำธุรกิจที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในโลก
พญาแถน  เรียกให้เข้ายุคสมัยต้องเรียก บอสแถน  บอสแถนคือใคร เครือข่ายของเขาใหญ่โตเก่าแก่แค่ไหน จริงหรือไม่ที่เครือข่ายกว้างไกลไปทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียนและจีน แล้วทำไมต้องติดต่อกับบอสแถนผ่านหมอลำ  บอสแถนอยู่ที่ไหน ไปติดตามเรื่องบอสแถน บอสสูงสุดแห่งผีได้ใน ThaiPBS Podcast เล่ารอบโลกตอนนี้ 
สุดยอดผีมหาชน ชายเห็นชายรัก หญิงเห็นหญิงหลง ต้องแม่นางกวัก พบกับเรื่องราวของเธอจากคนทรง สู่เจ้าหญิงผี ก่อนถูกนำไปทำให้เป็นแขกอินเดีย และบวชเข้าพระพุทธศาสนา กับคำถามสำคัญว่า ทำไมต้องถวายน้ำแดง 
เล่ารอบโลก ร่วมฉลองเทศกาล Halloween ด้วยตำนานผีแห่งสยามประเทศ กับข้อเท็จจริงที่คุณอาจยังไม่รู้จักเธอผู้นี้ดีพอ นางนากพระโขนง และให้ทายว่าจริง ๆ แล้วสามีของเธอชื่ออะไร
เล่ารอบโลกตอนนี้ เล่าถึง 2 อดีตแม่ทัพสวรรค์สุดรันทดที่ถูกลงโทษโดยเง๊กเซียนฮ่องเต้ เพื่อให้มารอรับการปลดปล่อยโดยคณะอัญเชิญพระไตรปิฎก ที่นำโดยพระถังซัมจั๋ง เวรกรรมอะไรทำให้พวกเขากลายเป็นปีศาจหมูและปีศาจทราย
เรามักจะจำกันได้เสมอๆ ว่า หลังจากการอาละวาดบนสรวงสวรรค์ บุคคลเพียงคนเดียวที่ปราบเห้งเจียได้คือ พระยูไล แล้วท่านก็สะกดเห้งเจียไว้ใต้ภูเขานาน 500 ปีเพื่อรอคณะอัญเชิญพระไตรปิฎกของพระถังซัมจั๋ง แต่คำถามคือ แล้วใครคือ พระยูไล? บูชาอย่างไรให้เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ สายมูต้องฟัง
เพราะเหตุใดเห้งเจีย หรือ ซุนหงอคงถึงต้องถูกขังอยู่ใต้ภูเขายาวนานถึง 500 ปี ก่อนที่จะได้ไถ่บาปโดยการต้องออกไปจาริกแสวงบุญร่วมกับพระถังซัมจั๋ง คำตอบ เพราะเขาไปอาละวาดบนสวรรค์ แต่ระดับเห้งเจียแล้วการอาละวาดต้องไม่ธรรมดาแน่นอน
ราชาลิงที่กำเนิดจากไข่หินบนยอดเขาผลไม้ เขาคือใคร ถ้าเล่าเรื่องไซอิ๋ว แล้วไม่เล่าเรื่องของ ซุน หงอคง หรือ เห้งเจีย ก็เท่ากับไม่ได้เล่าเรื่อง ไซอิ๋ว
พระภิกษุที่เสียสละ อดทน เดินทางไกล จากจีนสู่อินเดีย เมื่อ 1,300 กว่าปีที่แล้ว เขาคือใคร คุณูปการของเขาเป็นอย่างไร อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ต้องเดินทางไกลขนาดนั้น ประวัติศาสตร์จริง ๆ เป็นอย่างไร แต่ที่แน่ ๆ ท่านไม่ได้เดินทางพร้อมกับ ลิง หมู และปีศาจปลา บนหลังของม้ามังกรขาวอย่างแน่นอน
จากเกมส์ online ชื่อดัง Black Myth: Wukong สู่พงศาวดารราชวงศ์ถังว่าด้วยภูมิภาคตะวันตก และ ปริศนาธรรมแห่งพุทธศาสนามหายาน ทั้ง 3 เรื่อง เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร ฟังได้ใน เล่ารอบโลก
หากจะให้ Reading List สำหรับการอ่านเพื่อให้เข้าใจว่าเพราะเหตุใด ASEAN คือ DNA ของประเทศไทย และประเทศไทยต้องเดินหน้าอย่างไรในเวทีความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ขอแนะนำหนังสือชุดนี้
ปี ค.ศ. 1970-1990 ทุกคนคาดการณ์กันว่าอาเซียนจะกลายเป็นเสือเศรษฐกิจแห่งเอเชีย ทุกอย่างในเรื่องการทำมาหากินดูเหมือนจะเดินหน้าไปได้อย่างสวยงาม อาเซียนเองก็เตรียมความร่วมมือสำหรับวันดีคืนดีเหล่านี้อย่างแข็งขัน   เราไปสำรวจร่วมกันว่า อาเซียนได้ทำอะไรไปบ้างในมิติความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ก่อนที่พายุวิกฤตการเงินกำลังจะก่อตัว
เมื่อสงครามเย็นยุติในปี 1991 ระเบียบโลกเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกาภิวัตน์ การค้า การลงทุน กลไกตลาด เข้ามาแทนที่การเผชิญหน้าทางการทหาร ประเทศไทยเดินหน้านโยบาย เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า และเล่นบทบาทนำในการก่อกำเนิด AFTA ได้อย่างไร ขอเชิญรับฟัง
เอกสารสำคัญจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 1 ที่จะกำหนดแนวทางการปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกอาเซียนและคู่เจรจาต่อไปอีกยาวนานมากกว่า 30 ปี มีรายละเอียดอย่างไร ไปติดตามกัน
หลังจากสหรัฐฯ พ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม สูญญากาศเชิงอำนาจและภัยคุกคามครั้งใหม่ในภูมิภาคกำลังจะเกิดขึ้น อาเซียนจึงยกระดับตนเองจากการประชุมระดับรัฐมนตรี สู่การประชุมระดับสุดยอดผู้นำ สถาปนาสำนักเลขาธิการอาเซียน วางกฎระเบียบและกำหนดให้อาเซียนเป็น Zone of Peace, Freedom, and Nutrality พร้อมทั้งกำหนดหลักนิยมดีๆ ที่ยังทันสมัยจนถึงทุกวันนี้ อาทิ Inclusive, Sustainable และ Resilience
เล่ารอบโลกขอนำคำแถลงของทั้ง 5 founding fathers ของอาเซียนมาทำความเข้าใจ เพื่อให้เราได้เห็นวิสัยทัศน์ของทั้ง 5 ประเทศ ณ เวลานั้นในทศวรรษ 1960 ท่ามกลางจุดสูงสุดของสงครามเย็น และการแทรกแซงของมหาอำนาจทั้งสองขั้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เดินทางมาพบกันอีกครั้งที่ บางแสน เพื่อจะสร้างมิตรภาพ จนในที่สุด เอกสารสำคัญที่สุดที่ทำให้ทั้ง 5 ประเทศมาสร้างความร่วมมือกันในนาม ปฏิญญากรุงเทพฯ หรือ ปฏิญญาอาเซียน ก็เกิดขึ้น ในวันที่ 8 สิงหาคม 1967 ว่าแต่ว่า เบื้องหลังและเกร็ดประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์สำคัญครั้งนั้นเป็นอย่างไร เชิญรับฟังครับ
57 ปีที่แล้วในท่ามกลางความขัดแย้งทั้งภายในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และความขัดแย้งจากภายนอกของสงครามเย็น  ที่มหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ กำลังจะกรีฑาทัพเข้ามาในภูมิภาค  อาเซียนก่อกำเนิดขึ้นมาท่ามกลางความขัดแย้งเหล่านี้ได้อย่างไร  ไปหาคำตอบร่วมกัน
จะเป็นอย่างไรหากเราใช้หลัก 6 ประการของการดำเนินโยบายต่างประเทศ (SHADGUNYA SIDDHANT หรือ six-fold policy) แห่งคัมภีร์อรรถศาสตร์ โดย จาณักยะ หรือ เกาฏิลยะ ที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี มาวิเคราะห์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ภูมิเศรษฐศาสตร์ ณ ปัจจุบันในศตวรรษที่ 21
loading