Discoverมองอดีต
มองอดีต
Claim Ownership

มองอดีต

Author: Thai PBS Podcast

Subscribed: 677Played: 6,659
Share

Description

ฟังเรื่องเล่าประวัติศาสตร์ชาติไทยและเพื่อนบ้าน ที่มาที่ไปของบางสิ่งที่อยากรู้ บางอย่างที่ต้องหาคำตอบกับ ผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรม อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาตร์หน่วยวิชาอารยธรรมไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

182 Episodes
Reverse
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐบาลคณะราษฎร ได้ฟื้นฟูการทูตสวนสัตว์โดยในปี 2478 โดยได้ส่งช้างไปสานสัมพันธ์ตามคำขอของรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ชื่อ พังวันดี ซึ่งได้รับการต้อนรับจากชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก โดยได้เปลี่ยนชื่อเป็น พังฮานาโกะ แต่ในเวลาไม่นานเกิดอาการป่วยและล้มในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (สงครามมหาเอเชียบูรพา) และในยุคที่ญี่ปุ่นกำลังฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลก รัฐบาลไทยได้ส่งตัวแทน คือ ร.อ.สมหวัง สารสาส นำช้างที่มีชื่อว่า พังคชา ไปให้ญีปุ่น จัดแสดงที่สวนสัตว์อุเอโนะ โดยชาวญีปุ่นให้ชื่อว่า พังฮานาโกะ ตัวที่ 2 โดยเดินทางไปในเดือนกันยายน พ.ศ. 2492 และได้ล้มลงในปี 2559 รวมอายุ 69 ปี
ในคราวที่สร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ได้มีการสร้างช้างสำริดขึ้นบริเวณอัฒจรรย์ทางขึ้นพระที่นั่ง โดยรัชกาลที่ 5 มีพระราชประสงค์เป็น 2 นัยคือ 1. เพื่อทบทวนอดีตของตำแหน่งที่ตั้งของพระที่นั่ง โดยตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 เคยเป็นโรงช้างเผือก 2. เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของบ้านเมืองและพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรูปปั้นช้างไปที่ไซ่ง่อน อีกด้วย
ในขณะนั้นกลุ่มประเทศตะวันตกได้จัดให้มีการตั้งสวนสัตว์ขึ้น โดยรวบรวมสัตว์จากต่างประเทศทั่วโลกไปจัดแสดง รัชกาลที่ 4 ทรงทราบว่าประเทศสหรัฐอเมริกาไม่มีช้างเป็นสัตว์ประจำถิ่น พระองค์มีพระราชหัตถเลขาถึงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่จะส่งช้างไป 1 คู่ เพื่อจัดแสดงในสวนสัตว์รวมทั้งเพาะขยายพันธุ์ โดยประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ได้ตอบปฏิเสธและให้เหตุผลว่า ภูมิอากาศไม่เหมาะกับช้าง รวมถึงพลังเครื่องจักรไอน้ำเริ่มเจริญมากขึ้น นอกจากนี้รัชกาลที่ 4 ยังได้ติดต่อสัมพันธ์กับทางอังกฤษและฝรั่งเศสอีกด้วย
การติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติผ่านเรือสินค้าไปยังต่างประเทศ สิ่งที่ยืนยันความเป็นรัฐของเรือแต่ละลำคือการประดับด้วยธง สมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้นำรูปช้างเผือกสีขาวติดลงบนธงสีแดง ถือเป็นสัญลักษณ์ของสยาม นอกจากนี้ยังติดต่อค้าขายกับประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยในสมัยประธานาธิบดีแอนดรูว์ แจ็กสัน ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ 3 มีนโยบายติดต่อการค้ากับสยาม ได้ส่งนายเอดมันต์ โรเบิตส์ มาเป็นทูต พร้อมทั้งนำสารของประธานาธิบดีและเครื่องบรรณาการเข้ามาถวายรัชกาลที่ 3 โดยหนึ่งในเครื่องบรรณาการคือ ดาบและฝักทองคำ โดยฝักทองคำแกะสลักเป็นดวงดาว ด้ามดาบทำเป็นรูปสัตว์ 2 ชนิดคือ นกอินทรีและช้างเผือก ทำให้ทราบว่าขณะนั้นในโลกตะวันตกรู้ว่าสัญลักษณ์สำคัญของสยามคือ ช้างเผือก
ช้าง สัตว์คู่บ้านคู่เมืองของชนชาวภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ ที่มีความสำคัญโดยได้รับความเชื่อมาจากวัฒนธรรมอินเดีย โดยเฉพาะช้างเผือก ถือว่าเป็นสัตว์ที่ส่งเสริมพระบารมีของพระมหากษัตริย์ ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงได้รับการขนานพระนามว่า พระเจ้าช้างเผือก เพราะทรงมีช้างเผือกครอบครองจำนวนมาก ความทราบถึงพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์แห่งพม่า พระองค์จึงส่งราชทูตเชิญพระราชสาส์นมาขอพระราชทานช้างเผือก แต่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้เหตุผลเชิงปฏิเสธ ทำให้พระเจ้าบุเรงนองไม่พอพระทัย จึงถือสาเหตุนั้น ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ท้ายที่สุดแล้ว สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ต้องเสด็จไปเจรจากับพระเจ้าบุเรงนอง โดยได้มอบช้างเผือก พร้อมกับพระราเมศวร พระยาจักรี และพระสุนทรสงครามให้แก่พม่า เหตุการครั้งนี้เรียกว่า สงครามช้างเผือก  
การสร้างพระสยามเทวาธิราช ของรัชกาลที่ 4 มีต้นแบบของความเชื่อเกี่ยวกับการเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในราชอาณาจักรมาจาก เทพีบริทาเนีย (Britannia) แห่งราชวงศ์อังกฤษ แต่ในขณะนั้นการจะพูดถึงการเป็นศูนย์รวมจิตใจกับประชาชน คงเป็นเรื่องยากในการทำความเข้าใจ รัชกาลที่ 4 จึงได้นำความเชื่อเกี่ยวกับการปกปักษ์รักษาเมืองให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข โดยได้ยกสถานะพระสยามเทวาธิราชเป็นเทพคุ้มครองปกป้องเมือง ที่อยู่เหนือเทพยดาหลักเมืองและเทพารักษ์ทั้ง 5 คือ เจ้าพ่อหอกลอง เจ้าพ่อเจตคุปต์ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระกาฬไชยศรี
ก่อนที่ศาสนาจะเข้ามาเผยแผ่ในดินแดนอุษาคเนย์ ผีที่ได้รับความเคารพนับถือยังไม่มีการแบ่งชนชั้นหรือลักษณะของผีสาง เมื่อศาสนาและความเชื่่อเกี่ยวกับเทพเทวดาเข้ามามีบทบาทในพื้นที่แห่งนี้ ผีบ้านผีเมืองที่มีลักษณะ หรืออภินิหาญคล้ายคลึงกับเทพ จึงได้รับการยกสถานะขึ้นเป็นเทพเทวดาปกปักษ์รักษาคุ้มครองป้องกันภัย โดยได้จำแนก 4 - 5 ประเภท
ในกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไต - ไท ในดินแดนเอเชียอาคเนย์ ทางตอนใต้ของจีน และต่างตะวันออกของอินเดีย มีความเชื่อเกี่ยวกับผีบ้านผีเมืองไปในทิศทางเดียวกัน นั่นทำให้คนในกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กันในลักษณะเครือญาติ
ความเชื่อเกี่ยวกับผีและวิญญาณ เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์เริ่มอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มก้อนเป็นสังคมที่ใหญ่ขึ้น เมื่อความตายเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดคำถามว่า “ตายแล้วไปไหน” จึงเกิดเป็นความเชื่อการมีตัวตนของโลกหน้า ส่งผลให้เกิดวิธีปฏิบัติด้วยการนำข้าวของเครื่องใช้หรือเครื่องประดับใส่ลงไปในหลุมศพ ซึ่งจริง ๆ แล้ว สาเหตุนั้นเกิดจากความกลัวและความไม่รู้
ปัญหาการเมืองการปกครองของสยามเกี่ยวกับการแย่งชิงราชสมบัติ ในประวัติศาสตร์พบว่า นอกจากการช่วยเหลือจากกลุ่มคนสยามด้วยกันแล้ว ยังมีชาวต่างชาติที่ร่วมกระทำการในแต่ละครั้งด้วย เช่น ชาวญี่ปุ่น แขก หรือแม้กระทั่งการได้รับการสนับสนุนจากราชวงศ์ของจีน
เมื่อกรุงศรีอยุธยามีความเจริญรุ่งเรือง ชาวต่างชาติได้ติดต่อค้าขายมากขึ้น ทำให้กรุงศรีอยุธยากลายเป็นจุดหมายหนึ่งของชาวต่างชาติที่จะแวะเวียนเข้ามาทั้งการติดต่อส่วนราชการและการค้าขายจนได้ชื่อว่า เป็นเมืองท่านานาชาติอีกแห่งหนึ่งของเอเชียอาคเนย์ในสมัยนั้น
หลังจากการร่างสร้างเมืองของกรุงศรีอยุธยา ที่มีชัยภูมิติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้การค้าขายไม่ได้ทำเพียงแค่ทางบกเท่านั้น ยังสามารถติดต่อผ่านทางน้ำได้อีกด้วย จึงทำให้เริ่มมีชาติตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายกันมากขึ้น
ชาวต่างชาติในช่วงแรกของกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นช่วงรอยต่อจากการปกครองของกรุงสุโขทัย ในขณะนั้นมีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติผ่านเส้นทางบนบก เช่น พ่อค้าจากชาวจีน และบ้านเมืองในอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
แม้การกัลปนา จะเป็นเรื่องการทำบุญทำทานแต่ยังแฝงไปด้วยการเมืองอีกด้วย ดังเช่นการทำนุบำรุงหรือกัลปนาวัดบริเวณทะเลสาปสงขลา ด้วยการส่งทาสจากเมืองหลวงไปยังพื้นที่ดังกล่าว ทำให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชและสงขลา ต่างหวาดหวั่นจนถึงขั้นนอนไม่หลับ เนื่องจากทาสที่ได้จากการกัลปนาจากพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานมา ถือเป็นสิทธิ์ขาดของเจ้าอาวาส ผู้อื่นจะเข้ามายุ่งเกี่ยวไม่ได้ ที่สำคัญทาสเหล่านี้บางส่วนอาจส่งมาในฐานะผู้หาข่าวติดตามความเคลื่อนไหวก่อนจะส่งข่าวกลับไปยังเมืองหลวง
ในด้านเศรษฐกิจแล้ว การกัลปนาในที่วัดต่าง ๆ ถือว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากปริมาณในการเพาะปลูกที่มีอยู่จำนวนมาก นอกจากจะใช้เลี้ยงนักบวชและข้าทาสต่าง ๆ แล้ว ยังเหลือที่จะส่งเป็นส่วยเข้าไปในวังหลวง เพื่อเป็นเสบียงใช้ในยามศึกสงครามและนำไปค้าขายกับต่างเมืองได้อีก โดยทรัพย์ที่ได้จากการค้าขายจะมีส่วนหนึ่งที่ส่งกลับไปทำนุบำรุงศาสนสถานนั้น ๆ อีกด้วย
ในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ถือเป็นการเริ่มต้นของรัฐบ้านเมืองที่เป็นคนไทย ธรรมเนียมปฏิบัติที่พระมหากษัตริย์ต้องปฏิบัติคือ การสร้างวัด ไม่ว่าจะสร้างภายในเขตเมืองหรือชายขอบของเมือง จะต้องมีการกัลปนาด้วย ตามปกติแล้ววัดที่สร้าง ณ จุดใด พื้นที่โดยรอบวัด พระมหากษัตริย์จะอุทิศให้ แต่หากภายในเมืองที่สร้างวัดจนแน่น จะใช้วิธีการให้ที่ดินที่อยู่นอกตัวเมืองแทน
ในพื้นที่เอเชียอาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในยุคที่ยังไม่มีการปักปันเขตแดน และยังคงเป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ รัฐอาณาจักรเขมร เป็นตัวอย่างที่เห็นได้เด่นชัดในการทำกัลปนา โดยพระมหากษัตริย์อาณาจักรเขมรในขณะนั้นนิยมสร้างเทวสถานขึ้น เมื่อสร้าแล้วจะมีการกัลปนา ทั้งที่ดินโดยรอบ สัตว์เลี้ยงต่าง ๆ และทาส เพื่อปฏิบัติรับใช้ภายในเทวสถานและทำไร่นาเพื่อบำรุงนักบวชและส่งกลับไปยังพระนคร แต่การสร้างวัดเป็นจำนวนมาก ย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาได้เช่นที่เมืองพุกาม (เมียนมา) มีการสร้างวัดและเจดีย์จำนวนมาก จนทำให้พระสงฆ์ร่ำรวยกว่าพระมหากษัตริย์ ทำให้ต้องออกพระราชบัญญัติริบทรัพย์คืนท้องพระคลัง เนื่องจากทรัพย์ในท้องพระคลังหมดเกลี้ยง 
การกัลปนา คือการทำมหาทานหรือการอุทิศที่พระมหากษัตริย์ เจ้าผู้ครองเมือง เจ้าขุนมูลนาย หรือผู้ที่มีทรัพย์ถวายแก่วัดหรือเทวสถาน เช่น ที่ดินโดยรอบหรือพื้นที่อื่น ๆ พืชพันธุ์ธัญญาหาร สัตว์เลี้ยง หรือแม้กระทั่งทาส ซึ่งกัลปนา เกิดขึ้นมาเป็นเวลาช้านานนับย้อนไปตั้งแต่สมัยอียิปต์ หรือดินแดนเมโสโปเตเมีย ในวัฒนธรรมอินเดียก็มีการทำกัลปนา เช่นกัน
เป็นระยะเวลา 13 ปี กรณีพิพาทการเข้าปกครองกัมพูชาของสยามและเวียดนามในสมัยรัชกาลที่ 3 เกิดความสูญเสียอย่างมาก จึงมีการเจรจาตกลงแบ่งพื้นที่การปกครองกัมพูชาจึงยุติการทำสงคราม ต่อมาในรัชกาลที่ 6 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 แม้เหตุการณ์นี้จะเกิดในในทวีปยุโรปแต่สยามเลือกอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร จนเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ประเทศไทย โดยเจรจาขอใช้ไทยเป็นทางผ่านไปยังพม่าและหัวเมืองในแหลมลายู อินโดนีเซีย สุดท้ายไทยเข้าร่วมสงครามในครั้งนี้โดยอยู่ฝ่ายเดียวกับญี่ปุ่น ในระหว่างนั้น ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอักครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และพรรคพวกได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทย เมื่อสิ้นสุดสงครามทำให้ไทยไม่อยู่ในข่ายประเทศแพ้สงครามและไม่ต้องเสียค่าปฏิกรณ์สงครามอีกด้วย โดยความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาที่ให้การรับรองไทย แม้อังกฤษและฝรั่งเศสไม่เห็นด้วย
ธรรมเนียมปฏิบัติของเจ้าผู้ครองนครของรัฐต่าง ๆ อย่างหนึ่งคือ การแสดงแสนยานุภาพและอำนาจของผู้ครองนครนั้น ๆ ต่อเมืองอื่น ๆ โดยรอบ ซึ่งสยามกับพม่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีการทำศึกสงครามกันบ่อยครั้ง การเสียกรุงของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาทั้ง 2 ครั้งมีความแตกต่างกัน โดยการเสียกรุงครั้งที่ 1 นั้น แนวคิดของพม่า ไม่ต้องการทำลายบ้านเมือง เพียงแต่ย้ายเจ้าผู้ครองนครนั้น ๆ กลับไปพร้อมกับทัพพม่า แต่การเสียกรุงครั้งที่ 2 พม่าเริ่มมีแนวคิดการไม่รุกรานแต่หากเป็นปฏิปักษ์ต่อพม่าจะต้องทำลายเมืองนั้นให้สิ้น 
loading
Comments (1)

Sopon Warabhandisal

ยอดเยี่ยมครับได้สาระน่ารู้ดี

Oct 28th
Reply
loading
Download from Google Play
Download from App Store