Discoverรู้ขณะเดียว
รู้ขณะเดียว
Claim Ownership

รู้ขณะเดียว

Author: พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท

Subscribed: 121Played: 9,442
Share

Description

รู้สั้นๆ รู้ในปัจจุบัน รู้... แค่รู้ -- รู้ขณะเดียว
529 Episodes
Reverse
ช่วงนาทีของเนื้อหา 2:13 การตื่นรู้ 22:16 จิตเดิมแท้ 30:25 อวิชชา คอร์สออนไลน์ "พาจิตกลับบ้าน" โครงการรู้ขณิกะออนไลน์ ปิดภาคฝึกฝืน รุ่นฝืน 1 และรุ่นฝืน 3 โดย พระอาจารย์ กระสินธุ์ อนุภัทโท และ พระอาจารย์มหาราเชน สุทธจิตโต วันที่ 16 - 23 มกราคม 2564 ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว
ช่วงนาทีของเนื้อหา : 03:22 เริ่มต้นเรียนรู้ใหม่ 05:08 ตัวรู้ที่เป็นธาตุ กับ ตัวรู้ที่เป็นขันธ์ 06:05 ธาตุ 6 07:16 ธาตุ 4 กับการปรุงแต่ง 11:49 อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ 14:22 สิ่งที่ถูกรู้คือการปรุงแต่งของธาตุ 4 ขันธ์ 5 15:52 เมื่อธาตุรู้ชัดเจน จะเห็นและรู้ลักษณะของอารมณ์ชัดเจน 20:58 การปฏิเสธ การเผลอ จะปิดโอกาสให้จิตได้เรียนรู้ 26:48 สังขารอาศัย รูป เวทนา สัญญา อดีต อนาคต สร้างเรื่องขึ้นมา 28:40 การฝึกธาตุรู้ที่อยู่ในขันธ์(วิญญาณขันธ์) ต้องใส่เจตนาที่จะรู้ 35:47 รู้จักให้ชัดๆคือ รู้ลักษณะที่ปรากฏต่อหน้า 41:35 สังขารขันธ์เป็นเหมือนโรงเรียน 43:36 เห็นคิด เห็นอารมณ์ = เห็นขันธ์ทำงาน 48:19 รู้ในขันธ์ = เข้าโรงเรียน; รู้ในธาตุ = กลับบ้าน 48:44 การฝึกจะมีส่วนที่เจตนารู้ กับส่วนที่ไม่เจตนาแต่รู้สิ่งที่มากระทบ   คอร์สออนไลน์ "พาจิตกลับบ้าน" โครงการรู้ขณิกะออนไลน์ ปิดภาคฝึกฝืน รุ่นฝืน 1 และรุ่นฝืน 3 โดย พระอาจารย์ กระสินธุ์ อนุภัทโท และ พระอาจารย์มหาราเชน สุทธจิตโต วันที่16 - 23 มกราคม 2564 ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว
ข้อธรรมนำปฏิบัติ : วางจิตเพื่อเรียนรู้ คอร์สออนไลน์ "พาจิตกลับบ้าน" โครงการรู้ขณิกะออนไลน์ ปิดภาคฝึกฝืน รุ่นฝืน 1 และรุ่นฝืน 3 โดย พระอาจารย์ กระสินธุ์ อนุภัทโท และ พระอาจารย์มหาราเชน สุทธจิตโต วันที่ 16 - 23 มกราคม 2564 ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว
ข้อธรรมนำปฏิบัติ : แค่รู้ คอร์สออนไลน์ "พาจิตกลับบ้าน" โครงการรู้ขณิกะออนไลน์ ปิดภาคฝึกฝืน รุ่นฝืน 1 และรุ่นฝืน 3 โดย พระอาจารย์ กระสินธุ์ อนุภัทโท และ พระอาจารย์มหาราเชน สุทธจิตโต วันที่ 16 - 23 มกราคม 2564 ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว
คอร์สออนไลน์ "พาจิตกลับบ้าน" โครงการรู้ขณิกะออนไลน์ ปิดภาคฝึกฝืน รุ่นฝืน 1 และรุ่นฝืน 3 โดย พระอาจารย์ กระสินธุ์ อนุภัทโท และ พระอาจารย์มหาราเชน สุทธจิตโต วันที่ 16 - 23 มกราคม 2564 ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว
ข้อธรรมนำปฏิบัติ : ฝึกให้จิตตกงาน ช่วงนาทีของเนื้อหา 00:09 ฝึกจนกระทั่งจิตสามารถที่จะเห็นตามที่มันเป็น ดุจตาเห็นรูป  04:02 ตัวรู้เป็นขันธ์ ตัวเห็นเป็นธาตุ  09:17 ยอมรับธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ; อุเบกขา  12:57 ฝึกทำใจให้เหมือนแผ่นดิน น้ำ ไฟ ลม  15:42 ฝึกให้ใจไม่ทำอะไร เหมือนคนตกงาน  คอร์สออนไลน์ "พาจิตกลับบ้าน" โครงการรู้ขณิกะออนไลน์ ปิดภาคฝึกฝืน รุ่นฝืน 1 และรุ่นฝืน 3 โดย พระอาจารย์ กระสินธุ์ อนุภัทโท และ พระอาจารย์มหาราเชน สุทธจิตโต วันที่ 16 - 23 มกราคม 2564 ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว
ข้อธรรมนำปฏิบัติ : ไม่ต้าน และไม่ตาม ช่วงนาทีของเนื้อหา 00:06 ฝึกให้จิตยอมรับอารมณ์เพื่อได้ศึกษาไตรลักษณ์ 04:13 ทำจิตให้กว้างๆ ทำจิตให้มีเมตตา คอร์สออนไลน์ "พาจิตกลับบ้าน" โครงการรู้ขณิกะออนไลน์ ปิดภาคฝึกฝืน รุ่นฝืน 1 และรุ่นฝืน 3 โดย พระอาจารย์ กระสินธุ์ อนุภัทโท และ พระอาจารย์มหาราเชน สุทธจิตโต วันที่ 16 - 23 มกราคม 2564 ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว
ช่วงนาทีของเนื้อหา 00:00:09 เทศนาธรรมโดย พอจ.กระสินธุ์ เรื่อง ธรรมชาติ 00:01:34 การกระทำ, การปรุงแต่ง, การผสมเหตุปัจจัย 00:03:15 สภาวธรรม; วิเสสลักษณะ 00:07:44 ตัวธรรมชาติเดิมแท้จะแสดงกฎไตรลักษณ์ 00:09:34 ธรรมชาติของรูปอาศัยธาตุ 4 เป็นรากฐาน 00:13:05 ธรรมชาติของนามมาจากขันธ์ 00:16:25 ตาเห็น แต่ไม่เป็นแค่ตาเห็น 00:20:59 ศึกษาให้เห็นการเกิดดับเพื่ออะไร 00:23:46 ฝึกที่จะศึกษาธรรมชาติ ไม่ได้ฝึกที่จะจัดการธรรมชาติ 00:25:12 การยอมรับทุกเรื่องตามที่เขาเป็น 00:29:30 ธรรมชาติของรูปและนาม 00:30:38 เมฆกับท้องฟ้า 00:34:44 เทศนาธรรมโดย พม.ราเชน  00:37:21 อุเบกขา 00:38:59 ตัณหา 3 และอาหารของตัณหา 00:41:08 ธรรมชาติเดิมๆ กับ ธรรมชาติที่ถูกสร้าง 00:44:14 สัมผัสธรรมชาติขณะภาวนา 00:49:15 ธรรมชาติฝ่ายรูป 00:54:18 ธรรมชาติฝ่ายนาม 00:58:59 ยอมรับ รู้จักธรรมชาติ 01:03:41 เห็นและยอมรับธรรมชาติของสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้น 01:06:48 การศึกษาตัณหา อุปาทาน 01:09:23 ไม่จัดการ ไม่ต้าน ไม่ตาม แค่รู้ 01:12:21 ขณะฝึกให้เป็นธรรมชาติและผ่อนคลาย ไม่ต้องประดิษฐ์ท่า 01:16:02 ธรรมชาติในใจที่เกินจะสะท้อนมาที่กายก่อน 01:18:33 เมื่อรู้เท่าทันและยอมรับธรรมชาติที่ใจปรุงแต่ง ใจที่ปกติธรรมดาจะปรากฏ   คอร์สออนไลน์ "พาจิตกลับบ้าน" โครงการรู้ขณิกะออนไลน์ ปิดภาคฝึกฝืน รุ่นฝืน 1 และรุ่นฝืน 3 โดย พระอาจารย์ กระสินธุ์ อนุภัทโท และ พระอาจารย์มหาราเชน สุทธจิตโต วันที่ 16 - 23 มกราคม 2564 ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว
ข้อธรรมนำปฏิบัติ : ฝึกเห็นอารมณ์ รู้อารมณ์ ช่วงนาทีของเนื้อหา 00:06 ฝึกที่จะเห็นมันสั่ง แต่ไม่ทำตามสั่ง 03:19 ให้กำลังของตัวรู้ ด้วยการรู้แล้วไม่รีบทำอะไร 04:21 รู้แบบสัมผัสมันจริงๆ ทีละขณะ คอร์สออนไลน์ "พาจิตกลับบ้าน" โครงการรู้ขณิกะออนไลน์ ปิดภาคฝึกฝืน รุ่นฝืน 1 และรุ่นฝืน 3 โดย พระอาจารย์ กระสินธุ์ อนุภัทโท และ พระอาจารย์มหาราเชน สุทธจิตโต วันที่ 16 - 23 มกราคม 2564 ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว
ข้อธรรมนำปฏิบัติ : เครื่องมือ การฝึกตื่นรู้ ช่วงนาทีของเนื้อหา 00:06 ภาวะรู้สึกตัว; รถที่พาจิตไปเรียนรู้อารมณ์ 02:05 เบื้องต้น ใช้ตัวรูปเป็นเครื่องมือฝึกให้เกิดตัวรู้สึกตัว 05:40 ใช้อารมณ์ (เผลอ) เป็นเครื่องมือฝึกให้เกิดตัวรู้สึกตัว 07:53 ใช้ความคิด (คำสั่งในหัว) ความง่วง เป็นเครื่องมือฝึกให้เกิดตัวรู้สึกตัว 13:03 เผลอก็ยอมรับ และตั้งใจใหม่ 16:09 รู้แล้วไม่ต้าน ไม่ตาม 18:55 กระตุ้นตัวรู้ขึ้นมา แล้วตื่นรู้ สู่การเรียนรู้ คอร์สออนไลน์ "พาจิตกลับบ้าน" โครงการรู้ขณิกะออนไลน์ ปิดภาคฝึกฝืน รุ่นฝืน 1 และรุ่นฝืน 3 โดย พระอาจารย์ กระสินธุ์ อนุภัทโท และ พระอาจารย์มหาราเชน สุทธจิตโต วันที่ 16 - 23 มกราคม 2564 ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว
ช่วงนาทีของเนื้อหา 00:07: รูป 03:32 นาม 07:53 สติ และ สัมปชัญญะ 4 11:00 สัญชาตญาณ 17:43 ฝึกฝืน 23:17 เห็นคำสั่งในหัว 26:23 ศีล ปัจจัยให้เกิดสมาธิ 30:20 ฝึกฝืนเพื่อเรียนรู้ 38:15 ฝืนด้านใน ; เห็นตัวสั่งการภายใน 43:41 สมาธิ คืออะไร 47:55 การบ้านวันนี้ : 1 ฝึกให้เห็นร่องเดิม 2. ฝึกภาวะของสมาธิ คอร์สออนไลน์ "พาจิตกลับบ้าน" โครงการรู้ขณิกะออนไลน์ ปิดภาคฝึกฝืน รุ่นฝืน 1 และรุ่นฝืน 3 โดย พระอาจารย์ กระสินธุ์ อนุภัทโท และ พระอาจารย์มหาราเชน สุทธจิตโต วันที่ 16 - 23 มกราคม 2564 ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว
ช่วงนาทีของเนื้อหา 00:07 ฝึก(ตัวรู้)แบบใส่เจตนา 04:25 ฝึกในรูปแบบ ทบทวนการรู้ให้ชัดเจนขึ้น 08:30 ตัวรู้ : รู้รูป รู้นาม 12:50 ให้จิตได้ศึกษาอารมณ์ 18:51 ใจ : หทัยวัตถุ ; พาจิตกลับบ้าน 21:49 รู้ : รู้ลักษณะเฉพาะของอารมณ์ต่างๆ 24:06 ฝึกปฏิบัติช่วงแรก เน้นการฝึกในรูปแบบ รู้เผลอบ่อย ๆ 27:18 สภาวะรู้ กับ สภาวะที่ถูกรู้ 31:09 ควรทำใจอย่างไรเมื่อเกิดความปวดเมื่อยขณะนั่งสร้างจังหวะ 36:02 ตัวชัด /ไม่ชัดคือ ตัวอารมณ์ ; ตัวรู้ความชัด /ไม่ชัดคือ ตัวรู้ 39:51 วางใจให้ถูก คือ ยอมรับ และศึกษา เรียนรู้ความเปลี่ยนแปลง 44:12 ค่อยๆ ทำไป ; ขณะภาวนา ไม่ต้องแยกแยะเยอะ อย่ารีบ อย่ามั่ว อย่าเกิน คอร์สออนไลน์ "พาจิตกลับบ้าน" โครงการรู้ขณิกะออนไลน์ ปิดภาคฝึกฝืน รุ่นฝืน 1 และรุ่นฝืน 3 โดย พระอาจารย์ กระสินธุ์ อนุภัทโท และ พระอาจารย์มหาราเชน สุทธจิตโต วันที่ 16 - 23 มกราคม 2564 ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว
คอร์สออนไลน์ "พาจิตกลับบ้าน" โครงการรู้ขณิกะออนไลน์ ปิดภาคฝึกฝืน รุ่นฝืน 1 และรุ่นฝืน 3 โดย พระอาจารย์ กระสินธุ์ อนุภัทโท และ พระอาจารย์มหาราเชน สุทธจิตโต วันที่ 16 - 23 มกราคม 2564 ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว  
คำถามที่ 1 : เมื่อรู้สึกเมื่อย แล้วเริ่มเดินเพื่อไม่ให้ง่วง เอาความรู้สึกไปจับที่ตำแหน่งการก้าวเดิน และตรงที่รู้สึกเมื่อย ที่เท้าบ้าง สะโพกบ้าง หัวเข่าบ้าง บางครั้งมีอารมณ์สนุกกับ ‘การก้าว’ แทรกเข้ามา ว่า จะสามารถก้าวไปจนหมดเวลาได้ไหม ‘การฝึกรู้ วิ่งขึ้น-วิ่งลง’ แบบนี้ ถูกต้องหรือไม่ ตอบ : ได้นะ การฝึกรู้มี 2 วิธี คือ 1) วิ่งไปรู้ตรงโน้น ตรงนี้ ตรงนั้น 2) ตั้งรับ->รู้ และ ดู->เฉยๆ ดูสิ่งที่เข้ามาหาเรา ไม่ต้องใส่ใจว่า จะเป็นที่ไหน ตรงไหน----more----          ถ้ามีจุดประสงค์เพื่อให้อาการง่วงหายไป ก็ใช้วิธีที่ 1 แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ไม่ให้ความง่วงดูดเข้าไปหมด แต่ให้มาสนใจกับ -> อาการเจ็บ, ปวด, เมื่อย ของกาย หรือการเคลื่อนไหวของร่างกายแทน ก็ถือว่าใช้ได้          แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด ก็คือ ‘การตั้งมั่น’ อยู่กับฐานของเราคือบ้าน ไม่ต้องวิ่งไปหาแขก ให้แขกมาหาเราเอง อุปมาอารมณ์เหมือนแขก เราเพียงตั้งรับแขกที่มาเยือนอย่างเดียว กายเจ็บ ตรงโน้น ตรงนี้ กายเดิน ยืน นั่ง ใจคิด ก็ให้เขาปรากฏก่อน แล้วรู้เฉยๆ เพราะถ้าคอยวิ่งออกไปหาแขก เราจะเสียศูนย์ เสียฐานที่อยู่ ให้ตั้งมั่นอยู่กับฐาน แล้วเราจะมีกำลังเพิ่มขึ้น          ไม่ต้องกลัวผิด กลัวถูก ให้เรียนรู้อย่างเดียว ถูกก็ช่าง ผิดก็ช่าง ให้เรียนรู้เท่านั้น จะทำทีเดียวให้ถูกเลย เป็นไปไม่ได้ หากมีหมุดหมายไว้ว่า อันนี้ผิด แล้วพยายามไม่ให้มันผิด นี่แหละคือผิดไปใหญ่ ถ้าผิด->ก็เพียงรับรู้ว่าผิด, ถ้าถูก->ก็เพียงรับรู้ว่าถูก, ไม่รู้->ก็เพียงรับรู้ว่าไม่รู้, ไม่เสียหายอะไร          เพราะฉะนั้นหลักการปฏิบัติ เอาง่ายๆ ถ้ารู้ว่าอะไรเกิดขึ้นกับกายกับใจ ก็เป็นอันว่า->ใช้ได้, ถ้ารู้ว่าผิด->ก็แก้ไข, เท่านั้นเอง. คำถามที่ 2 : หากกลับไปฝึกต่อที่บ้าน มีเวลาเพียง 1 ชั่วโมง จะแบ่งการฝึกในรูปแบบ เป็น 3 รอบ ๆ ละ 20 นาที เช้า กลางวัน เย็น หรือ ฝึกเพียงครั้งเดียวตอนเช้า อย่างไหนจะดีกว่ากัน ตอบ : ไม่อยากให้ทำแบบนี้ เพราะเป็นการตั้งกติกาให้กับตนเอง เป็นภาระของจิตที่จะคอยดูแต่นาฬิกา หรือฟังแต่เสียงนาฬิกา ว่าถึงเวลาหรือยัง ดังนั้น แนะนำให้ไม่ตั้งเวลาอะไรเลย ให้เอา ‘กาย’ เป็นที่ตั้ง ถ้าเราเดิน ก็ให้เดินจนทนไม่ไหว นั่นแหละ คือเวลาของเรา หากเอาเวลาเป็นที่ตั้ง การรับรู้แบบไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีกติกา จะไม่เกิดขึ้น เมื่อกลับไปทำงาน เรามักเผลอ จมไปกับอารมณ์ต่างๆ จนความรู้สึกตัว->หายไป ก็ควรตั้งเวลาแบบนี้ ตั้งเวลาให้นาฬิกาดัง ทุกๆ 5 นาที เพื่อกระตุ้นให้ใจ ‘ออกมาจากความคิด’ ออกมาจากอารมณ์ที่เข้าไปนานเกิน เป็นการเรียนรู้ ‘การเข้า-การออก’, กลับมาอยู่กับ ‘กาย-ใจ’, นั่งอยู่ เดินอยู่-> รู้, กระพริบตา->รู้ : การตั้งเวลาแบบนี้ใช้ได้ ตั้งทั้งวันก็ได้. คำถามที่ 3 : เดินสะดุดล้ม->แล้วเจ็บ ขณะเจ็บเห็นอารมณ์โกรธด้วย สงสัยว่า เราต้องดูทั้ง ‘กายเจ็บ’ และ ‘อารมณ์โกรธ’ ทั้ง 2 นี้เลยหรือไม่ เพราะรู้สึกเหมือนทั้งสองมันรวมๆ กันอยู่ ตอบ : ใช่ รู้ทั้งสองส่วน เป็นการรับรู้แบบอิสระ สังเกตไหมว่า เวลาเดินก็มีคิด ถ้ารู้ได้ทั้งสองส่วน คือ ‘รู้เจ็บและรู้โกรธ’ กับ ‘รู้เดินและรู้คิด’ แสดงว่า ตัวรู้เริ่มเป็นเอกเทศ เป็นการรู้แบบอิสระจริงๆ กายเป็นอะไรก็เป็นเรื่องของกาย ใจคิดนึกก็เป็นเรื่องของความคิดนึก ไม่เกี่ยวกัน. คำถามที่ 4: ขณะเจ็บรู้สึกว่า การรับรู้มันโดดไปที่อารมณ์โกรธ และเมื่อรู้โกรธก็รู้สึกว่าจิตโดดไปรู้สึกเจ็บอีก ตอบ : แบบนี้เรียกว่า ‘จิตยังไม่ตั้งมั่น’ จึงถูกเหวี่ยงไปซ้ายที ขวาที หากตัวรับรู้เข้มแข็ง มี ‘สมาธิตั้งมั่น’  รู้อันหนึ่ง->ก็จบอันหนึ่ง, แค่นี้เอง  ให้สังเกตว่า ถ้าตัวรู้ยังถูกเหวี่ยงไปมา แสดงว่า ‘ตัวรู้สึกตัว’ ยังไม่มั่นคง จึงถูกอารมณ์ที่มาปรุงแต่งเหวี่ยงไปเหวี่ยงมา ถ้ารับรู้ ดูเฉยๆ จะเข้าใจว่า นี่คือ ‘ธรรมชาติ’ อารมณ์กระทบ->แล้วก็หายไป ไม่ต้องไปสนใจอีก อย่าเข้าไปในแรงเหวี่ยงของอารมณ์ ‘เพียงแต่รับรู้’ เฉยๆ. คำถามที่ 5 : เมื่อกลับไปที่บ้าน จะฝึกต่อ ควรทำอย่างไร เช่น ‘เวลาขับรถ’ ถ้าพยายามเอาจิตไปไว้ที่-> ‘ท่านั่ง หลัง-สัมผัสเบาะรองหลัง เท้า-สัมผัสพื้นรถ’ อย่างนี้ถูกหรือไม่ หรือ ‘เวลานอน’ ก็รับรู้ว่า-> ‘ตนเองนอนอยู่’  ฝึกรู้ประมาณนี้ถูกต้องหรือไม่ ตอบ : ดีแล้ว เริ่มจากตรงนี้แหละ ค่อยๆ ฝึกไป อย่าใจร้อน ฝึกให้คุ้นชินกับการเห็นภาพกายใหญ่ๆ ที่ ยืน เดิน นั่ง นอน ฝึกบ่อยๆ จนเขาเกิดความเคยชิน แล้วเขาจะค่อยๆ พัฒนาการรับรู้ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการล้างชาม ยืนอยู่-> ก็ให้เห็นการยืน, เห็นมือเคลื่อนไหว, เห็นกายร้อน-เย็น, หรือขับรถ ก็ให้เห็นการนั่ง รู้ว่าเขาสัมผัสตรงไหน ร่างกายร้อน หรือเย็น หรืออุ่น          ให้คอยสังเกตอิริยาบถทั้ง 4 เห็นทั้งกายและสิ่งปรุงแต่งกาย ต่อไปเขาจะรับรู้เรื่องจิตและเห็นตัวที่มาปรุงจิต คือความคิด และอารมณ์ที่มากระทบได้, กระทบ->แล้วก็ ผ่านไป, ฝึกบ่อยๆ, เห็นแล้ว->ไม่ต้องทำอะไร, เพียงเรียนรู้ลักษณะของกาย หรือจิตให้ชัด ว่า ‘มันไม่ใช่เรา และ เราไม่ใช่มัน’ และจะรู้จักว่า ‘นั่นเป็นเรื่องของมัน ไม่ใช่เรื่องของเรา’          หากมีเวลาก็ให้ใช้รูปแบบเข้าช่วยด้วย เพื่อฝึกให้ตัวรับรู้ของเรามีประสิทธิภาพเข้มแข็งขึ้น สามารถรู้ได้ทุกสถานการณ์ รู้ได้ทุกเรื่องราว แล้วก็เฉยได้ทุกสภาวะ ไม่ต้านแล้วก็ไม่ตาม. คำถามที่ 6 : ได้ลองเอาเทคนิค ‘การตั้งเวลา’ ไปฝึกลูก ให้หัดภาวนา สังเกตว่าลูกทำด้วยความเร็วมาก เพื่อให้ถึงเวลาเร็วๆ หรือขณะนั่งรถไปโรงเรียนได้สอนลูกให้นับการกระพริบตา พอถึงโรงเรียนก็จะถามว่านับได้กี่ที แบบนี้เป็นการใช้คำบริกรรมในใจ ไม่แน่ใจว่าทำถูกต้องหรือไม่ ตอบ : ใช้ได้ เป็นวิธีที่ทำให้เด็กหัดกลับมารู้ตนเอง ถึงแม้จะมีคำบริกรรมบ้าง เวลานี้ก็ให้ทำแค่นี้ไปก่อน ที่เหลือก็ปล่อยให้เล่นไป แล้วก็ค่อยกลับมาทำใหม่ ปัญหาคือ ทำอย่างไรให้เขาสนุกกับการทำ อาจต้องหลอกล่อด้วยรางวัล หรือคำชม ทุกครั้งที่ฝึกให้เขา ‘รู้’ ได้ -> ก็ถือว่าใช้ได้          สำหรับเด็ก เขาจะมีสภาวะการรับรู้ที่สั้นมาก แม่อาจต้องทำเป็นเพื่อน และให้เขาได้ทำบ่อยๆ เด็กจะค่อยๆ ซึมซับเอง          การสอนจิตตนเองก็คล้ายกับการสอนลูก สอนให้เขารู้ว่า ‘อารมณ์ไหนควรเอา’ และ ‘อารมณ์ไหนไม่ควรเอา’ ‘พฤติกรรมอย่างไหนควรทำ’ ‘พฤติกรรมอย่างไหนไม่ควรทำ’ พฤติกรรมบางอย่างที่ไม่ควรสนใจ ก็ไม่ต้องเอากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ไปร่วม พอนานๆ เข้า ก็จะเหลือแต่พฤติกรรมดีๆ ที่เป็นกุศล. คำถามที่ 7 : ถ้าเรามีสมาธิ ตั้งใจทำงาน หรือ ทำอะไรบางอย่างจนลืมนึกถึงกาย อย่างนี้เรียกว่า ‘หลง’ หรือไม่ ตอบ : อันนี้เขาเรียกว่า ‘สมาธิในงาน’ ไม่ใช่ ‘สมาธิในสติปัฏฐาน’ ต้องเข้าใจให้ดีๆ สมาธิในสติปัฏฐานมี ‘กายเป็นฐานหลัก’ อาการที่เกิดกับกาย เรียกว่า ‘เวทนา’ จิตก็ทำหน้าที่ ‘รับรู้’ เห็นสภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วหายไป มีสภาวะของตัวรับรู้ที่ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวไปกับอารมณ์ แต่รับรู้อารมณ์ทั้งหมด โดยไม่เข้าไปร่วม ไม่ปฏิเสธ ไม่ทำอะไร เพียงแต่ศึกษาลักษณะของมันไปเรื่อยๆ เท่านั้น. คำถามต่อเนื่อง : อย่างนี้แสดงว่า เวลามีสมาธิอะไรก็ตาม เราก็ต้องรู้กายตลอดเวลา ใช่ไหม ตอบ : ใช่ ใช้ด้วยกันได้ อาการเดียวกัน การตั้งมั่นในงานมีผลงานเป็นเป้าหมาย แต่การตั้งมั่นในกาย มีเพียงแค่การเห็นอาการของกาย แล้วก็ ‘รับรู้’ เท่านั้น  อาจเริ่มจากสมาธิในฐานกายก่อน แล้วค่อยนำไปใช้ในการทำงาน อันหนึ่งเป็นเรื่องทางโลก อีกอันเป็นเรื่องทางธรรม เรื่องของการฝึกฝนจิตขัดเกลากิเลส          คนที่ไม่มีสมาธิ สังเกตได้ง่ายๆ ว่า เวลาจะทำอะไร คิดอะไร ก็จะเป็นแบบแนวกระจาย คิดเรื่องโน้นมาเรื่องนี้ ไม่เป็นแนวดิ่ง การหัดรู้กายบ่อยๆ เป็นการสร้างสมาธิแนวดิ่ง เห็นรายละเอียดของการนั่ง มีอะไรเกิดขึ้นก็จะรับรู้ได้ ก่อนเริ่มขยายเป็นวงกว้างแต่ไม่เสียศูนย์.   เราปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร          การปฏิบัติธรรมเป็นการเรียนรู้ เรื่องของตนเอง เป็นเพียง ‘ผู้เรียนรู้’ ไม่ใช่ ‘ผู้จัดการ’ เรียนรู้อะไร-> เรียนรู้ ‘รูป’ และ ‘นาม’ เรียนรู้อย่างไร-> เรียนรู้ ‘ตามที่มันเป็น’ ไม่ใช่ตามที่เราต้องการจะเป็น ดังนั้น เรามาปฏิบัติธรรม -> เพื่อ ‘การเรียนรู้’ เท่านั้น โดยเรียนรู้ว่า โลกเรานี้ขับเคลื่อนด้วยสิ่งที่เล็กที่สุด คือพลังงาน, พลังงานขับเคลื่อนสสาร, สสารคือธาตุสี่, เราอยู่ได้ด้วยอาหารต่างๆ ที่เปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงาน, พลังงานภายใน หรืออารมณ์ข้างในที่เป็นความคิด ความพอใจ ความไม่พอใจ จะมีแรงขับ ผลักดันให้เรากระทำการต่างๆ ถ้าเราไม่เรียนรู้อารมณ์เหล่านี้ เราก็จะวิ่งไปตามแรงผลัก แรงดัน แรงต้านของมันเรื่อยไป หากเรียนรู้ก็จะทราบว่า มันเกิดขึ้นแล้วก็จะหายไปเอง เราจึงไม่ควรทำอะไรเขา ปล่อยให้เขาเกิด แล้วเขาก็ดับเอง          เวลาโกรธ หากพยายามกำจัดความโกรธ แล้วหาเหตุผลว่า ทำไมจึงโกรธ ความคิดหาเหตุผลจะแตกกระจายความคิดให้มีมากขึ้นไปอีก ยิ่งทำให้มีความโกรธมากขึ้น หรือเวลาฝึกปฏิบัติ เราพยายามจะไม่ให้คิด ไม่ให้โกรธ ซึ่งเป็นการทำผิดอย่างมาก  ที่จริงต้องรับรู้ตามที่มันเป็น ไม่ใช่ตามที่เราต้องการจะเป็น หรืออยากให้มันเป็น. โจทย์ของชีวิต ชีวิตเราเกิดมาต้องการอะไร เป้าหมายของชีวิตคืออะไร คำตอบคือ -> ต้องการความสุข สุขอย่างไร -> สุขที่เป็นอิสระจากอารมณ์ต่างๆ เป็นอิสระจากความโกรธ ความโลภ ความหลง การพัฒนาภาวะ ‘การรู้สึกตัว’  หากทำได้อย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้เราเข้าใจชีวิต ไม่ทุกข์ไปกับอารมณ์ต่างๆ เมื่อไม่ทุกข์ สุขก็ตามมา และจะรู้สึกเบา สบาย มีชีวิตเป็นปกติสุขได้ สรุป          ต่อแต่นี้ไป ขอให้พวกเราใช้ชีวิตแบบ ‘วิถีชีวิตภาวนา’ หากินและภาวนาไปด้วย การหากินเป็นเรื่องของร่างกาย ส่วนการภาวนาเป็นเรื่องของจิตใจ ‘ภาวนา’ คือการทำภาวะใดภาวะหนึ่ง ให้บ่อย ๆ มากๆ ภาวะที่ว่านี้คือ ‘ภาวะการรับรู้’ ให้จิตได้สัมผัสภาวะรู้บ่อยๆ กระพริบตา->รู้, หายใจ->รู้, เดินอยู่->รู้, นั่งอยู่->รู้, กายร้อน->รู้, โมโห->รู้, อยาก->รู้, ดีใจ->รู้ และอื่นๆ มากมาย หากไม่ฝึกรับรู้ ‘ภาวะหลง’ จะเข้าครอบงำจิต กิเลสต่างๆ ก็จะเข้าแทนที่ อารมณ์ต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้น ‘อย่าห้าม อย่าเอา อย่าตาม’ เพียงรับรู้ รับรู้ตามที่มันเป็นจริง ณ ปัจจุบันขณะ และรักษาศีล ระวังกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ไม่ต้องกลัวผิดกลัวถูก เรียนรู้ทุกอย่างให้เข้าใจ จนรู้จักธาตุสี่ ขันธ์ห้า สุดท้ายของการภาวนาคือ ‘จิตจะเข้าสู่อุเบกขา’ จิตไม่ทำอะไรกับทุกอย่าง แต่รับรู้ทุกอย่าง ท้ายสุดจิตจะมีความอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพทุกเรื่อง พอเข้าใจนะ ก็ขออนุโมทนากับทุกคนที่ตั้งใจ ขอให้มีการพัฒนาจิตวิญญาณ และเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยกันทุกท่านทุกคนเทอญ. ช่วงนาทีของเนื้อหา : 00:33 การไปจับความรู้สึกเมื่อยที่ตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกาย เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ทั่วร่างกาย หรือการเปลี่ยนท่าเดินเป็นการฝึกที่ถูกทางหรือไม่ ? 1 04:17 อย่ากลัวผิดกลัวถูก ให้เรียนรู้ไป 06:00 เปรียบเทียบใน 1 ชั่วโมง แบ่งฝึกเป็น 3 รอบ ๆ ละ 20 นาที กับ ฝึกรอบเดียว 1 ชั่วโมง อันไหนดีกว่ากัน ? 08:12 เดินสะดุดล้มแล้วเห็นความเจ็บที่กาย และเห็นอารมณ์โกรธด้วย เราต้องดูทั้ง 2 อันเลยรึเปล่า ? 13:05 ตอนนี้การฝึกมารู้สึกที่กาย จะเห็นเป็นส่วน ๆ ไม่ได้เห็นทั้งตัว ควรจะฝึกต่ออย่างไร ? 17:07 ได้เอาไปลองฝึกให้ลูกภาวนาโดยการตั้งเวลา ซึ่งถ้าสามารถทำไปได้เรื่อย ๆ ควรจะมีการเพิ่มเติมอย่างไรอีก ? 24:16 ถ้าเรามีการจดจ่อกับสิ่งภายนอก มีสมาธิในการทำงาน จนลืมกาย จะเรียกว่าหลงหรือไม่ ? 28:32 เราปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร 35:57 โจทย์ของชีวิต 39:52 สรุป ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท คอร์ส"พ่อแม่พาธรรม"  วันที่ 15 ตุลาคม 2563 บ่าย ณ บ้านจิตสบาย ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
           เราจะใช้เวลาที่เหลือสั้นๆ นี้ ฝึกกันต่อ เพื่อสามารถนำเทคนิคเบื้องต้นนี้ ไปฝึกต่อที่บ้านได้  ให้มี ‘ภาวะการตื่นรู้’ เข็มแข็งขึ้น            สำหรับคนที่ภาวะของการตื่นรู้ยังไม่เข้มแข็ง ให้ใช้เทคนิคที่ว่า เวลามีอารมณ์ใดเกิดขึ้น ไม่เอา ‘กาย วาจา ใจ’ เข้าไปร่วม เพราะจะทำให้อารมณ์นั้นมีกำลังมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ‘อารมณ์โกรธ’ หรือ ‘อารมณ์ไม่ชอบใจ’ ใดๆ เมื่อเกิดขึ้น ให้สังเกตว่า ‘ความโกรธกับความคิด’ ไม่ใช่อันเดียวกัน, ‘ความไม่ชอบใจกับความคิด’ ก็ไม่ใช่อันเดียวกัน----more---- โกรธ -> เป็นอารมณ์ลักษณะหนึ่ง ความคิด -> ก็เป็นอารมณ์ลักษณะหนึ่ง ความไม่ชอบใจ ->ก็เป็นอารมณ์อีกลักษณะหนึ่ง            เมื่อโกรธเกิดขึ้น เราเอาความคิด(มโนกรรม)เข้าร่วม แล้วมีคำพูด(วจีกรรม)เปล่งออกไปร่วมด้วย หรือบางครั้งมีการกระทำ(กายกรรม)เสริมด้วย ทั้งหมดจะเพิ่มกำลังของอารมณ์โกรธให้มีมากขึ้น ‘หากตามสังเกตเป็น’จะพบว่า ‘สิ่งที่มาเสริมให้อารมณ์มีกำลังมากขึ้น’ ก็คือ ‘กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม’             เคยโกรธแบบไม่มีความคิดบ้างไหม หากเคย จะเห็นว่า ความโกรธที่เกิดขึ้น ก็เป็นความโกรธธรรมดาๆ ไม่มีกำลังเพิ่มขึ้น ซักพักก็หายไป แต่เมื่อคิด การแสดงออกของความคิดมี 2 ลักษณะ คือ 1) มีภาพในหัว และ 2) มีคำพูดในหัว ซึ่งทั้งสองเป็นความคิดชนิดหนึ่งที่เอาภาพจากอดีต หรือเหตุการณ์ในอดีตมาร่วม มาปรุงต่อ ทำให้ความโกรธแบบธรรมดาๆ กลายเป็นความโกรธที่รุนแรง มีกำลังเพิ่มขึ้น             การที่จะฝึกให้ภาวะของการตื่นรู้เข้มแข็งขึ้นได้นั้น  ให้ ‘ฝึกใจให้รู้กาย’ หรือ ‘หัดใจให้เห็นกาย’ รวมทั้ง ‘เห็นสิ่งปรุงแต่งกาย’ ด้วย โดยยึดหลักดังนี้ ‘กายนำ ใจตาม คำพูดช่วย’ กายนำ -> หมายถึง นั่งสร้างจังหวะ หรือ ยืนสร้างจังหวะ หรือ เดินจงกรม ใจตาม -> หมายถึง เอาจิตมารับรู้การกระทำของร่างกาย รับรู้ ‘อาการ’ ของการ ยืน เดิน นั่ง ซึ่งเป็นอิริยาบถใหญ่นี้ก่อน แล้วจะ ‘เห็นสิ่งปรุงแต่งกาย’ เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง หย่อน ไหว กระพริบตา หายใจ มีความคิด ตามมา คำพูดช่วย -> หมายถึง เตือนตนเอง ในรูปความคิดที่คุยกับตนเอง หรือคำพูดในหัว            พยายามรับรู้ให้ชัด ‘หัดรับรู้’ ‘หัดดู’ ‘ดูให้เป็น’ ให้เห็น ‘อาการ’ ต่างๆ ‘บนพื้นฐานที่เกิดขึ้นจริงๆ’ อย่าอยู่บนพื้นฐานของจินตนาการ           หากฝึกได้จนคล่องแล้ว ที่นี้ไม่ว่าจะหลับตา ลืมตา ทำงานอยู่ หรือ นั่งเฉยๆ ก็สามารถมี ‘ภาวะความรู้สึกตัว’ เกิดขึ้นได้ ซึ่งทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส ทุกขณะ ไม่ว่าจะทำอะไร อยู่ที่ไหน ก็ตาม. ช่วงนาทีของเนื้อหา : 01:31 สิ่งที่ทำให้อารมณ์มีกำลังเพิ่มขึ้น 05:04 ความโกรธ กับ ความคิด 07:21 ฝึกเอามโนมารู้สึกกับอาการกาย ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท คอร์ส"พ่อแม่พาธรรม"  วันที่ 15 ตุลาคม 2563 บ่าย ณ บ้านจิตสบาย ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
ส่วนสรุปเนื้อหา วันนี้ ให้พวกเราฝึกหัดปฏิบัติ ตามที่ได้บอกเทคนิคต่างๆ ไปแล้ว ‘การฟัง’ จากคำพูด แม้มากมายเป็น ร้อยคำ พันคำ ถึงแสนคำ ก็ไม่สู้ ‘การกระทำ’ เพียงครั้งเดียว สิ่งใดที่ได้อ่าน ได้ฟัง ทั้งหมด เป็นเพียง ‘ข้อมูลดิบ’ ต้องนำไปสู่ ‘การปฏิบัติ’ จึงจะได้ ‘ข้อมูลจริง’ เห็นผลจริง และสามารถนำไปใช้ได้จริง แต่ การกระทำนี้ ก็ต้องการ ‘คนจริง’ และต้อง ‘ทำจริง’ ไม่เหลาะแหละ จึงจะเห็น ‘ผลจริง’----more---- ในระบบการศึกษาปกติ เขามีการเรียนการสอน ‘ภาคทฤษฎี’ ก่อน แล้ว ‘ลงมือทำ’ จึง ‘ได้ผล’ การเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา ก็มี ปริยัติ หรือ ทฤษฎี, ปฏิบัติ หรือ ลงมือกระทำ และ ปฏิเวธ หรือ ผลที่ได้รับ เช่นเดียวกัน เพียงใช้คำที่แตกต่างกัน หากเข้าใจสิ่งที่ฟังมาภายใน 2-3 วันนี้แล้ว ‘การทำ’ ไม่ใช่เรื่องยากเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ‘การทำที่ไม่ต้องกระทำ’ เพราะฉะนั้นให้ฝึกแบบ "ฝึกการกระทำไปสู่ที่..ไม่ต้องทำ" ไม่ใช่ฝึกแบบ "ฝึกการกระทำไปสู่..การกระทำ ไม่เลิก" ดังนั้นให้ฝึกจิตเป็นเพียงผู้ดู ->ดูอะไร..ดูอารมณ์ทำงาน จนถึงขั้น ‘จิตปล่อยวางอารมณ์เป็น’ มี ‘สติ’ และ ‘อุเบกขา’ เกิดขึ้น วิธีการทำมี 2 ขบวนการ คือ ทำขึ้น เพื่อฝึกซ้อมการรับรู้ รับรู้ แบบ ไม่ต้องทำ เมื่อฝึกบ่อยๆ จิตจะสามารถบริหารจัดการตนเองเป็น ว่า บางช่วงบางเวลา-ต้องทำขึ้น แต่บางเวลาก็-ไม่ต้องทำ -> เกิดภาวะ ‘ความรู้สึกตัว’ ได้ทั้งสองแบบ และเมื่อ ‘รู้’ แล้ว ก็ ‘ปล่อยไป’ อธิบายเปรียบเทียบได้กับสีที่ไม่ละลายน้ำ เมื่อนำผสมลงในน้ำแล้ว คนให้เข้ากัน จะทำให้น้ำเป็นสีนั้นๆ ต่อเมื่อตั้งทิ้งไว้นานๆ สีจะตกตะกอนลงนอนก้น ทำให้น้ำใสขึ้น ‘จิต’ เปรียบเสมือนน้ำ เมื่อถูกอารมณ์ หรือสี พัวพันรายล้อมอยู่รอบตัวไปหมด หากเราทำได้ถึงขั้น ฝึกจิตให้สามารถอยู่ท่ามกลางอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงที่รายล้อมอยู่ได้ นี่เรียกว่า ‘ปฏิเวธ’ คือจิตสามารถอยู่ได้ท่ามกลางอารมณ์แบบไหนก็ได้ โดยที่ไม่เป็นไปตามอารมณ์นั้นๆ ต่อไปก็ให้แยกย้ายกันไปภาวนา   รวมตัวกันก่อนไปรับประทานอาหาร : เมื่อเช้ามี คำถาม ว่า ‘การนั่งภาวนาหลับตา’ ต่างกันอย่างไรกับ ‘การภาวนาแบบเคลื่อนไหวลืมตา’ นี้ ตอบ ได้ว่า : ต่างกันที่ ‘วิธีการ’ เท่านั้น ส่วน ‘เป้าหมาย’ ไม่ต่างกัน เพราะ คือการฝึกหัดสร้าง ‘สติ สัมปชัญญะ’ ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน แต่ ‘การสร้างจังหวะ’ เป็นการกระตุ้น ‘ความรู้สึกตัว’ ได้ง่ายกว่า และเอื้อต่อการภาวนาในชีวิตประจำวัน ที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ได้ดีกว่า ที่จริงจะเป็นการเคลื่อนไหวแบบไหนก็ได้ จะยืน เดิน นั่ง หรือนอนก็ได้ หรือจะจัดแจงท่าใหม่ เทคนิคใดๆ ขึ้นมาเองก็ได้ หากสามารถทำให้ ‘ความรู้สึกตัว’ เกิดได้อย่างต่อเนื่อง ก็ใช้ได้ทั้งนั้น เดี๋ยวพวกเราไปกินข้าว ก็สามารถหัดภาวนาไปด้วยได้ ตักอาหาร อ้าปาก เคี้ยวอาหาร วางช้อน พลิกมือ วางมือ เป็นต้น ใหม่ๆ จิตจะวิ่งตามอารมณ์ คำสั่งในหัวสมองที่มีเยอะมาก ให้ฝึกฝืน ไม่ทำเร็วๆ ไม่กินตามคำสั่งของตัณหา แต่ให้เกิดสติ รู้สึกตัว ฝึกดูพฤติกรรมการกินอาหารของตนเอง ให้ค่อยๆ ฝึกไป ฝึกเล่นๆ ‘อยู่กับวิถีชีวิตที่ตื่นรู้’ อย่าอยู่กับความคิด – รับรู้ทางจมูกบ้าง รับรู้ทางลิ้นบ้าง รับรู้ทางกายบ้าง - ว่าเป็นอย่างไร -> เป็นเพียง ‘ผู้ดู-ผู้รู้’ อย่าเป็น ‘ผู้เป็น’ ให้ฝึกไปก่อน ฝึกมากๆ แล้วจะพบว่า คำถามต่างๆ จะค่อยๆ ลดน้อยลง. ช่วงนาทีของเนื้อหา : 01:03 ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ 05:46 ขบวนการทำขึ้น และไม่ได้ทำขึ้น 12:22 เงียบเสียง พอจ.ให้แยกกันไปภาวนา 12:28 มารวมตัวกัน ก่อนจะไปทานอาหาร ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท คอร์ส"พ่อแม่พาธรรม"  วันที่ 15 ตุลาคม 2563 เช้า ณ บ้านจิตสบาย ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
เนื้อหาย่อ :  เรื่องการฝึกฝน ถ้าไม่มีอุปสรรค สติปัญญาจะไม่เกิด ‘การฟัง’ เป็นแค่การชี้บอก ต้องไป ‘ฝึกจริง’ จึงจะเจอเหตุการณ์จริง ว่าเป็นอย่างไร ง่วงกี่ครั้ง แพ้กี่ครั้ง ยอมไหม สู้ไหม หรือหนี ถ้าเรา ฝึกดูแลตัวเอง จริงๆ ให้เหมือน การดูแลลูก เราจะมีวิธีรับมือกับเขาว่า เมื่อไหร่ที่เขาดื้อเราควรจะทำอย่างไร สังเกตไหมว่า เวลาเด็ก ๆ ทะเลาะกัน ตีกัน แย่งของกัน เพียงสักครู่เขาก็เล่นกันต่อ ลืมภาวะที่ทะเลาะกันก่อนหน้า เหมือนไม่มีอะไร แต่สำหรับผู้ใหญ่ มีสิ่งปรุงแต่งจิตเยอะ ใจแบกภาระมาก โกรธแล้ว หายยาก----more---- ไม่ว่าจะดูแลลูก หรือดูแลตัวเอง ให้เพียงแต่ ‘ดูแล-ไม่ยึดถือ’ ให้ฝึกเพียง ‘เป็นผู้ดูแล’ มีกาย มีลูก มีรถ มีสิ่งของ -> ก็ดูแล ‘ตามหน้าที่’ ที่ควรทำ ทำให้ดีแต่ไม่ยึดถือ เพราะหากยึด เวลาเขาเป็นอะไร เราก็จะเป็นไปด้วย การเหลือบดูนาฬิกา เคยถามตนเองหรือไม่ว่า ‘ดูทำไม’ o   รู้จัก ‘เวลาจริง’ กับ ‘เวลาสมมุติ’ ไหม : เวลาสมมุติ คือ 1, 2, 3 หรือ 4 นาฬิกา แต่เวลาจริง มีอยู่แค่ ‘ขณะเดียว’ เท่านั้น => คือ ‘ขณะที่มีสิ่งมากระทบ’ กับเรา กระบวนการเรียนรู้ ให้เข้าใจวิธี ‘การวางจิต’ ให้เข้าใจว่าหัวใจของการทำงาน คือ ‘การทำ’ ส่วนหัวใจของการวางก็คือ ‘เลิกทำ’ เมื่อปฏิบัติธรรมมากเข้า จะเข้าใจหลักของธรรมชาติที่ตรงข้ามกัน ‘ร่างกายต้องเคลื่อนไหว จิตใจต้องหยุดนิ่ง’ หากทำกลับกัน ให้ ‘ร่างกายหยุดนิ่ง จิตเคลื่อนไหว’ -> เป็นการผิดหลักธรรมชาติ ‘จะเกิดโรค เกิดป่วย’ ตามมา หากจิตเคลื่อนไหวมาก วิ่งตามอารมณ์ วิ่งตามการปรุงแต่ง ‘ใจจะไม่มีกำลัง’ เมื่อจะวาง ทำได้ยาก ดังนั้นต้องหัดฝึกใจให้นิ่ง ‘นิ่งนี้’ หมายถึง ‘แค่รู้’ ก็พอ ไม่ต้องทำอะไร เพราะฉะนั้นต้องฝึกจิตใจ ให้นิ่งให้มาก ไม่วิ่งไปเกาะโน่น-นี่-นั่น มันจะไม่จบ ให้จิตแค่ ‘รับรู้’ ก็พอแล้ว หากมีการปรุงแต่ง อันไหนที่เป็นกุศล เราก็เอามาใช้ ที่เป็นอกุศล เราก็ปล่อยไป บางเรื่องเฉยๆ ก็ได้ ไม่ยุ่งไปกับมัน เมื่อจิตมีกำลังแล้ว ก็จะสามารถเลือกได้ วิธีฝึกวางตามที่แนะนำ คือ เบื้องต้นฝึกตัวรับรู้ก่อน รับรู้ทุกเรื่อง จะเป็นอารมณ์ไหนก็รับรู้ ไม่เลือก เปิดใจกว้างๆ เพราะนั่นคือการทำงานของธรรมชาติ o   ตา -> มีไว้รับรู้เรื่องรูป จะเป็นรูปดี หรือไม่ดี แล้วแต่เขา o   กาย -> มีไว้รับรู้ เย็น ร้อน ปวด เมื่อย เดี๋ยวเจ็บโน่น เจ็บนี่ ก็เพียงแต่รับรู้ เห็นเป็นเรื่องปกติ o   ใจ -> มีความอยากไหม ร้อนแล้วอยากเย็น ปวดแล้วอยากหาย ก็เพียงรับรู้ ต้องขอบคุณที่ยังรู้สึกเจ็บ รู้สึกหิว รู้สึกร้อน รู้สึกเย็น -> อย่าขุ่นเคือง เพียงรับรู้ o   อารมณ์ทุกอารมณ์ สิ่งที่มากระทบกับเราทุกอย่าง เกิดจากธาตุ 4 ขันธ์ 5 เขาสมบูรณ์แบบในรูปแบบของตัวเขาเองเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปทำอะไรอีก เคยสังเกตไหมว่า ทำไมเราไม่กล้าจับไฟ เพราะเราเคยจับ แล้วเรียนรู้มาแล้วว่า การถูกไฟลวกเป็นอย่างไร ใจก็เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดอารมณ์ที่เป็นทุกข์ บีบคั้นใจมาก เช่นโกรธมาก ให้ฝึกหัดดูเฉยๆ ไม่เข้าไปยุ่งด้วย ไม่สมยอม ไม่ทำตาม แต่ก็ไม่ปฏิเสธ เพียงศึกษาและสังเกต จนมันหายไป ใจเราก็จะสบายขึ้น เพราะฉะนั้นให้ฝึกรู้ใจ เรียนรู้ และคอยดักรับรู้ทุกเรื่อง เวลาฝึกภาวนาไปนานๆ อารมณ์คิดเชิงบวกจะมากขึ้น เมื่อฝึกซ้อมการรับรู้มากๆ เข้า หัดศึกษา หัดไม่เป็นไปกับอารมณ์ เพียงรับรู้ ดูลักษณะของมันเท่านั้น ดูกระบวนการทำงานของธาตุขันธ์ ว่าทำงานอย่างไร แยกให้เป็นว่า อารมณ์เป็นอารมณ์ ใจเป็นใจ ธรรมชาติปรุงแต่งเป็นธรรมชาติปรุงแต่ง แตกต่างกัน อย่าคิดว่า เวลาปฏิบัติธรรมแล้วจะต้องเจอแต่อารมณ์ดีๆ มันไม่เป็นอย่างนั้น ในเบื้องต้น ให้รับรู้อาการของการปรุงแต่ง ฝึกมากๆ และบ่อยๆ ไว้ก่อน o   รู้->จบ, รู้->จบ,  กระทบ->รู้->จบ o   เป็นแค่แวบเดียวหาย รับรู้เพียงแค่นี้ จิตจะสบาย มีสิ่งต่างๆ รอบตัวที่วุ่นวาย แต่ใจกลับนิ่ง_สบาย นี่คือ ‘ใจหยุดนิ่ง’ แล้วใจจะมีกำลัง ‘เห็นอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงเคลื่อนไหว แต่ใจไม่เป็นไปด้วย’ ดังนั้น ขอให้ตั้งใจ เอาสิ่งที่ดีๆ ที่ชีวิตควรมี ควรได้ ควรเป็น ควรอยู่ อย่าอยู่กับสิ่งที่เราเคยอยู่มาแล้ว แล้วทำให้เป็นทุกข์มาก ให้ตั้งใจทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ จนวันตาย สะสมอุปนิสัยนี้ไปเรื่อยๆ จนใจค่อยๆ มีกำลัง เกิดกำลังขึ้นทุกวัน จะทำให้ชีวิตนี้มีคุณค่า สมกับที่เกิดมาเป็นมนุษย์ได้พบพระพุทธศาสนา เข้าถึงประโยชน์สูงสุดในตัวเองได้. ช่วงนาทีของเนื้อหา : 03:16 ดูแล กับ ยึดถือ 08:10 ร่างกายต้องเคลื่อนไหว จิตใจต้องหยุดนิ่ง 15:00 หัดดูมัน... ศึกษากับมัน... ไม่เป็นไปด้วยกับมัน 21:32 ฝึกรู้กายแล้วได้อะไร ? ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท คอร์ส"พ่อแม่พาธรรม"  วันที่ 14 ตุลาคม 2563 บ่าย ณ บ้านจิตสบาย ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
         อายตนะที่ทำงานมากสุด บ่อยสุด ในบรรดาอายตนะทั้ง 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) คือ ‘กาย’ เพราะมีสิ่งปรุงแต่งมากที่สุด มีทั้ง เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่ง ตึง ไหว เมื่อย เพลีย อยู่ตลอดเวลา และมี หายใจบ้าง กระพริบตาบ้าง และอื่นๆ อีกมากมาย อายตนะที่ทำงานมากอันดับต่อมาคือ ตา หู จมูก และ ลิ้น ตามลำดับ โดยลิ้นทำงานน้อยที่สุด แต่ขณะรับประทานอาหาร อายตนะที่ทำงานชัดเจนที่สุด คือ จมูก & ลิ้น ทำหน้าที่ รู้กลิ่น & รู้รส ของอาหาร----more---- วิธีฝึกภาวนา ‘ขณะ’ รับประทานอาหาร : อย่านำอาหารใส่ปากโดยไม่พิจารณา ให้สังเกต ‘กลิ่น’ -> กลิ่นอาหาร ที่มากระทบ ‘จมูก’ เป็นอย่างไร ‘รส’ -> รสชาดอาหาร ที่กระทบ ‘ลิ้น’ เป็นอย่างไร ไม่คุย เพราะถ้าคุยสมองจะทำงาน คิดไปตามเรื่องที่คุย โน่นนี่นั่นเรื่อยเปื่อย การรู้สึกตัวจะหายไป ไม่รู้ใจที่ถูกอารมณ์ปรุงแต่ง ให้อารมณ์มากระทบก่อน แล้วตามรู้ คือ กลิ่น มากระทบ จมูก -> รู้...ชอบ/ไม่ชอบ -> รู้ รส มากระทบ ลิ้น -> รู้...อร่อย/ไม่อร่อย -> รู้ ในขณะเดียวกัน ให้สังเกตอิริยาบถ ‘นั่ง’ ด้วย นั่งอยู่ -> รู้ ‘อาการนั่ง’ ไหม และ รู้กลิ่น_ที่มากระทบจมูก ‘ขณะนั่ง’ หรือไม่ รู้รส_ที่มากระทบลิ้น ‘ขณะนั่ง’ หรือไม่ รู้เสียง_ที่มากระทบหู ‘ขณะนั่ง’ หรือไม่ รู้รูป_ที่มากระทบตา ‘ขณะนั่ง’ หรือไม่ การรับรู้มี 2 อย่าง คือ ให้จิตวิ่งเข้า-วิ่งออก -> ไปรู้ ตั้งรับ ให้อารมณ์มากระทบก่อน -> แล้วรู้ การรับรู้ขณะรับประทานอาหาร : เราเพียงแต่ ตั้งรับ ไม่วิ่งไปรู้ เพราะถ้าวิ่งไปรู้ -> เป็นการทำให้จิตทำงาน ดังนั้นให้อารมณ์มากระทบก่อน แล้วจึงรู้ เพราะฉะนั้น ขณะรับประทานอาหาร ก็สามารถ เจริญกรรมฐาน ได้ด้วย.   วิธีฝึกภาวนา ‘หลัง’ รับประทานอาหาร : สิ่งที่จะเจอหลังรับประทานอาหาร คือ ‘ความง่วง’ ให้เตรียมตัวให้พร้อม สาเหตุของความง่วง ได้แก่ กินข้าวอิ่ม ไฟธาตุมาเลี้ยงที่ ‘กระเพาะอาหาร’ มากกว่าไปเลี้ยงที่ ‘สมอง’ ทำให้ง่วง ร่างกายต้องการ ‘การพักผ่อน’ ลักษณะของความง่วง มีที่มาคือ มาจากร่างกาย : ที่กินอาหารอิ่ม แล้วต้องการการย่อยที่อาศัยธาตุไฟมาทำงานที่ท้อง เพื่อช่วยย่อยอาหาร มากกว่าไปที่สมอง ทำให้ง่วง มาจากใจ : ที่จดจ่ออยู่กับการสร้างจังหวะ หรือการก้าวเดิน มากเกินไป วิธีแก้ไข มีดังนี้ ฝึกรู้ตัวทั่วพร้อม : นั่ง -> รู้ว่านั่ง, กระพริบตา -> รู้ว่ากระพริบตา, หายใจ -> รู้ว่าหายใจ, ร้อน -> รู้ว่าร้อน, เย็น -> รู้ว่าเย็น, ไหว -> รู้ว่าไหว ; พยายามไม่เอาจิตมาจดจ่อที่มือหรือเท้ามากเกินไป เพราะจะไม่มีความคิด แล้วความง่วงจะเข้ามาแทนที่ การรับรู้ : ให้ ‘รู้สั้นๆ’ ไม่ประคอง แค่ ‘รู้’ เมื่อง่วงแล้ว ให้สังเกต ‘จิต ว่ามีท่าทีอย่างไร ‘สมยอม’ (มองหาที่พักหลบนอน หรือที่พิงหลังเพื่อนอน) -> ให้ ‘ใช้ตัวช่วย’ โดยการเปลี่ยนอิริยาบถ อย่าให้ ‘กาย’ เอื้อต่อการง่วง เช่น ยืนสร้างจังหวะ หรือยืนขาเดียว เป็นต้น ‘เป็นศัตรู’ (ต่อสู้ ขัดขืน) -> อย่าปฏิเสธอาการง่วง ‘เป็นครู’ (ศึกษาและสังเกต) -> ให้ใช้ท่าทีนี้ ศึกษาและสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นในร่างกาย ให้ตั้งสติเรียนรู้พฤติกรรมว่าจะทำอะไร โดยที่เราไม่สมยอม ไม่ปฏิเสธ เพียงศึกษาให้มาก แล้วจิตจะเรียนรู้เอง. ช่วงนาทีของเนื้อหา : 00:22 ภาวนาระหว่างทานอาหาร ช่วงนาทีที่ 05:41 เสียงเงียบ .. เป็นช่วงพักไปทานอาหาร 07:17 ว่าด้วยเรื่องความง่วงหลังอาหาร 09:34 รู้ตัวทั่วพร้อม 13:08 ท่าทีต่อความง่วง 15:48 อย่าให้กายมันเอื้อต่ออาการง่วง ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท คอร์ส"พ่อแม่พาธรรม"  วันที่ 14 ตุลาคม 2563 เช้า ณ บ้านจิตสบาย ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
การฝึกวาง คือ การวางจิตไม่ทำอะไร ทั้งนี้ต้องศึกษาให้ชัดเจนและเข้าใจ ว่า ‘ทุกอย่าง’ธรรมชาติจะทำของเขาเองอยู่แล้ว ธรรมชาติจะปรุงแต่งและทำงานให้เราโดยที่ ‘ไม่มีตัวเราเข้าไปทำ’ ตัวอย่างการวาง เช่น : การวางงาน : คือ หยุดทำงาน ไม่ทำต่อ การวางสิ่งของ : คือ วางของลง มือเป็นมือ ของเป็นของ มือและของไม่ติดกัน จิตก็เช่นเดียวกัน ถ้าจิตยังทำอยู่ เช่น ‘ทำกรรมฐาน’ ก็ ‘ไม่ใช่วาง’ แต่เป็น ‘การทำ’ ที่มี ‘ตัณหา’ อยู่เบื้องหลังของเจตนาการทำนั้น----more---- ตัณหา -> จะทำอยู่ 2 อย่าง คือ ‘เอาเข้า’ หรือ ‘เอาออก’ เอาเข้า หมายถึง -> พยายามทำให้ได้อารมณ์ที่ชอบ เอาออก หมายถึง -> พยายามให้อารมณ์ที่ไม่ชอบหายไป เมื่อภาวนาแล้วเกิด ความสงบ เกิดตัณหา ชอบ แล้วอยากให้อยู่นานๆ พยายามประคองบ้าง รักษาไว้บ้าง สร้างวิธีการต่างๆ ขึ้นมา เป็นการ ‘เอาเข้า’ แต่เมื่อมีอารมณ์ ฟุ้งซ่าน เกิดตัณหา ไม่ชอบ อยากสงบ มีคำถามกับตัวเอง หรือทะเลาะกับอารมณ์นั้น ‘ทำไมถึงไม่สงบ’ อยาก ‘เอาออก’ ความเป็นจริงแล้วทั้งอาการที่ชอบและไม่ชอบ มันไม่อยู่นาน เดี๋ยวก็หายไป ทำให้เหนื่อยเปล่า ในการทะเลาะกับอารมณ์ ซึ่งจะมีผลต่อการกระทำภายนอก เมื่อข้างในทะเลาะกัน ก็จะส่งผลให้ไปทะเลาะกับผู้อื่นข้างนอกได้ด้วย ทุกอย่างบนโลกใบนี้ ธรรมชาติเขาเป็นของเขาอยู่ ปรุงแต่งอยู่ โดยอาศัยธาตุ 4 มี ดิน น้ำ ลม ไฟ มาประกอบกัน เป็นพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืช เช่น คน นก ปลา ต้นไม้ ฯลฯ แล้วปรุงแต่งให้แต่อย่างมีลักษณะต่างกัน หากพิจารณากายก็จะเข้าใจว่า มีการปรุง ทั้งรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และใจ เป็นอารมณ์ต่างๆ รวมเป็น ‘ขันธ์ 5’ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ โดยมี ‘สังขาร’ เป็นพ่อครัวใหญ่ นำทุกอย่างมาปรุงแต่ง ทำให้ลักษณะแต่ละอย่างมีความแตกต่างกัน ซึ่งเรียกว่า ‘วิเสสลักษณะ’ แต่_ในลักษณะแต่ละอย่างที่แตกต่างกันนี้ มีอาการอยู่ 3 อย่างที่เหมือนกัน คือ ทุกข์ : ทุกข์ทุกเรื่อง อนิจจัง : เปลี่ยนแปลงตลอดทุกเรื่อง อนัตตา : มีการสลายหายไปทุกเรื่อง หากเข้าใจ ก็ไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะเขาจะหายไปเองตามธรรมชาติ ตราบใดที่ภาวนาไปแล้ว ยังอยากเอาบางอย่าง รังเกียจบางอย่าง นั่นคืออาการที่จิตยัง ‘ทำงานไม่เลิก’ ไม่ได้วางอย่างแท้จริง ทุกเรื่องทุกอารมณ์มีปัจจัยประกอบ 4 อย่างคือ มันทำงานอยู่แล้ว โดยใช้วัตถุดิบจากธาตุสี่มาปรุงแต่ง มีลักษณะไม่เหมือนกัน แตกต่างกันไป เป็น ‘วิเสสลักษณะ’ มีตัวกำจัดอยู่แล้วคือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เป็น ‘สามัญญลักษณะ’ เกิดขึ้นบนรากฐานที่มีปัจจัยประกอบ ไม่ใช่เกิดขึ้นมาลอยๆ ถ้าจิตรู้อย่างลึกซึ้งแล้ว จะรีบวาง แล้วรับรู้เฉยๆ ปัญญาก็จะเกิด จิตไม่เข้าไปแทรกแซง มีความเข้าใจว่า ทุกเรื่อง เป็นเรื่องของธรรมชาติ ภาวะอุเบกขาก็จะเกิดขึ้น ผลการฝึกปฏิบัติธรรม คือ ไม่ได้อะไรเลย ถ้าปฏิบัติแบบไม่หวังอะไร พยายามสร้างเหตุไปเรื่อย ๆ เราจะรู้สึกได้ว่า ตัวเองมีความเบาสบายขึ้น ไม่ถือสาอะไรมากขึ้น ปล่อยวางง่ายขึ้น ทั้งความโกรธ ความโลภ ความหลง ความไม่พอใจ ความพอใจ ความอยากได้ทั้งหลายทั้งปวง จะปล่อยวางได้ เป็นการพัฒนาตนเองมาสู่ภาวะของ ‘การตื่นรู้’ -> ตื่นมารับรู้ความเป็นจริงของชีวิต แล้ว ‘วาง’ สรุปจุดเด่น ของขั้นตอนการฝึกรู้สึกตัวทั้งหมด มีดังนี้ ฝึกรู้ : มีกาย และอารมณ์ของรูป เป็นจุดเด่น ฝึกออกและฝึกฝืน : มีปัจจุบันขณะ, กายกรรม, วจีกรรม และมโนกรรม เป็นจุดเด่น ฝึกวาง : ปล่อยทุกเรื่องให้ทำงานเอง จิตไม่ทำอะไร เป็นจุดเด่น ขณะฝึก เมื่อเกิดขั้นตอนที่ 1 ก็จะมีขั้นตอนที่ 2 และ 3 เกิด เมื่อฝึกขั้นตอนที่ 2 ก็จะมีขั้นตอนที่ 1 และ 3 เกิด เมื่อฝึกขั้นตอนที่ 3 ก็จะมีขั้นตอนที่ 1 และ 2 เกิดด้วย จุดเด่นอีกอย่างคือ -> สร้างขึ้นมาก่อนแล้วรู้ กับ ให้เกิดเองเป็นธรรมชาติแล้วรู้. ปัจฉิมโอวาท ขอให้ทุกคนจงพัฒนาจิตวิญญาณของตนเอง ให้มีพละ มีกำลัง ในการก้าวข้ามความทุกข์ อยู่กับมันอย่างที่มันเป็น แต่เราเป็นสุขอยู่เสมอ ด้วยกันทุกท่านทุกคนเทอญ. ช่วงนาทีของเนื้อหา : 01:19 คำว่า วาง คือ 05:18 จิตทะเลาะกับอารมณ์ของตัวเอง 07:50 เบื้องหลังการปรุงแต่ง 13:29 รูปร่างลักษณะ : วิเสสลักษณะ 16:11 ปัจจัยประกอบ 20:52 ผลของการปฏิบัติธรรม 30:10 ภาวะของรู้สึกตัว 36:16 บทสรุป ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท คอร์ส"พ่อแม่พาธรรม"  วันที่ 14 ตุลาคม 2563 เช้า ณ บ้านจิตสบาย ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
ทบทวนหลัก ฝึกรู้.. ออก.. ฝืน ก่อนที่จะฝึกวาง ให้ทบทวนศึกษา ‘ภาวะรู้’ แบบเข้าใจทุกแง่ทุกมุม ด้วยการสร้างเหตุสร้างองค์ประกอบให้จิตได้ศึกษาและเรียนรู้อย่างถ่องแท้ก่อน เมื่อรู้แล้วก็จะวางเป็น ทั้งนี้ต้องไม่สร้างเหตุหรือสร้างองค์ประกอบบางอย่างที่ ‘เกินไปจากที่มันเป็นอยู่’ ตัวอย่างเช่น สร้างความสงบ สร้างอารมณ์ดีๆ หรือมุ่งมั่นสร้างสมาธิ หรือมุ่งมั่นจะกำจัดความคิด -> ให้รู้อย่างที่มันเป็นเท่านั้น----more---- หัวใจของการฝึก: รู้ ออก ฝืน และ วาง->คือ ‘การพาจิตให้พ้นจากอารมณ์’ โดยมีหลักว่า ต้องเรียนรู้อารมณ์จนเข้าใจ จึงจะทำให้จิต ‘วางอารมณ์’ ได้  ปกติในชีวิตเรา มี’ภาวการณ์รับรู้’อยู่แล้ว แต่มีแบบไม่โดดเด่น มีแบบคลุมเครือ ไม่มีพละกำลังที่สามารถออกมาสู่ ‘การตื่นรู้’ ได้ ดังนั้นให้ทบทวน ’จุดเด่น’ และ ‘หลัก’ ของการ ฝึกรู้ ฝึกออกและฝึกฝืน ก่อนที่จะฝึกวาง ดังนี้ อาศัยรูป คือ กายกับสิ่งปรุงแต่งกาย และอารมณ์ของรูปทางทวารทั้ง 6 เป็นหลัก เพื่อให้ภาวะการฝึกเป็นแบบ ‘เจโตวิมุตติ’ ใช้เจตนาเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่ ‘ปัญญาวิมุติ’ ซึ่งเป็นการใช้ความคิดเป็นที่ตั้ง แต่ท้ายที่สุดแล้วได้ผลเหมือนกันคือ ‘ให้ใจยอมรับ-ตามที่มันเป็นจริง’ ส่วนใหญ่พวกเราไม่ค่อยอยู่กับร่างกายอย่างที่เขาเป็น แต่พยายามจัดสรรให้อยู่ในรูปแบบที่เราต้องการ คือ ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่แก่ ไม่ตาย ซึ่งสวนทางกับความเป็นจริง ทำให้จิตดิ้นรน ต่อสู้ ขัดขืน เกิดทุกข์ทรมานตามมา รู้ปัจจุบัน รู้เรื่องราวต่างๆ เฉพาะหน้า เดี๋ยวนี้ ที่นี่ ตรงนี้ ที่มีการไหลผ่านตลอด คือ ‘รู้แล้วผ่าน’  ไม่ ‘แช่’ หรือ ‘จม’ ไปกับความคิด ซึ่งไม่ใช่อารมณ์ปัจจุบัน กล่าวอีกแบบหนึ่งคือ รับรู้ความเป็น ‘ขณะหนึ่ง’ ของรูปที่มากระทบ ‘รู้สั้นๆ ไม่ยาว’ เพราะอารมณ์ที่มากระทบเกิดสั้นๆ แต่ถี่ ใจแม้รับได้ทีละอารมณ์ แต่การรับรู้จะเร็วมาก ทำให้รู้สึกเสมือนว่าแต่ละอารมณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน ใช้อุบายช่วยการฝึก 2 ส่วน คือ ‘สร้างขึ้นแล้วรู้’ กับ ‘เกิดก่อนแล้วรู้’ จะใช้การยกมือสร้างจังหวะ หรือดูลมหายใจเข้าออก หรือบริกรรมพุทโธ อย่างไหนก็ได้ เป็นการฝึกให้จิต ‘รู้สึกตัว’ แต่อย่าติดในรูปแบบ ให้เข้าใจว่าแต่ละวิธีเป็นเพียงอุปกรณ์ หรืออุบายการฝึกรู้สึกตัวเท่านั้น ‘จุดเด่น’ และ ‘หลัก’ ของการ ฝึกออก มีดังนี้ : ใช้หลักเดียวกันกับการฝึกรู้ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ เพราะเมื่อจิตเข้าไปร่วมกับอารมณ์ เลียนแบบอารมณ์ ตามอารมณ์ ไม่ยอมออกจากอารมณ์ ก็ต้องช่วยให้มันออกมา เมื่อจิตเข้าไปร่วมกับอารมณ์จะสังเกตได้จาก : ความคิดยาวขึ้น มีความคิดเยอะขึ้น อารมณ์ที่เกิดยาววนเวียนไม่รู้จบ มีสิ่งที่หายไป คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (ผัสสะที่เกิดปัจจุบันหายไป) ถ้าจิตออกมาจากอารมณ์แล้ว -> ปัจจุบันจะชัด กายชัด ผัสสะตรงหน้าชัด ความคิดเมื่อวานหรือพรุ่งนี้จะไม่มี มีแต่เดี๋ยวนี้ เมื่อรู้ว่าเข้า -> ก็คือออกแล้ว และเมื่อรู้ว่าออก -> ก็ไม่ยึดออกไว้  ถ้าพยายามจะออกคือไม่ออก -> เพราะเป็นอาการของการเข้าไปแล้ว เช่นเมื่อรู้ว่าคิด แล้วพยายามออกจากคิด นี่ไม่ใช่ออก เป็นการคิดซ้อนคิด ถ้าเป็นภาวะของการออกจริงๆ จะไม่มีการสนใจอะไรเลย จะเข้า จะออก ก็ไม่สนใจ ให้เฝ้าดูความซับซ้อนของจิตที่หลากหลายลักษณะ แบบ ‘ซื่อๆ’ หรือ ‘รู้แบบซื่อๆ’ ตรงๆ ไม่สนใจว่าเขาจะหายหรือไม่หาย เพียงแต่รับรู้ทีละขณะๆ ผ่านไป แค่รับรู้พฤติกรรมของมันเฉยๆ จนเกิด ‘ภาวะอิสระจากอารมณ์’  ‘จุดเด่น’ และ ‘หลัก’ ของการ ฝึกฝืน มีดังนี้ : สิ่งสำคัญในการฝึกฝืนคือ ตัวส่งเสริมสนับสนุน เพราะสิ่งนี้จะทำให้อารมณ์ทั้งหลาย-> มีกำลังมากขึ้น หรือทำให้อารมณ์ทั้งหลาย-> หมดกำลังลงได้ เป็นได้ทั้งฝ่ายดี และฝ่ายชั่ว ให้ใช้หลัก ‘อดทน’ และใช้ ‘ศรัทธา & วิริยะ’ เข้าช่วย เพื่อ ‘กล้า’ ที่จะเผชิญกับความเป็นจริง ไม่หลบ ไม่เลี่ยง ไม่เกี่ยงงอนใดๆ ทั้งสิ้น อดทนที่จะไม่ทำอะไร เพียงเป็นผู้ดู ผู้รู้ เท่านั้น          อาศัยการฝืน ‘กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม’ ซึ่งบางครั้งมโนกรรมอาจเข้าไปร่วมกับอารมณ์แล้ว เช่น โกรธ ขัดเคือง หรืออยากทำโน่นทำนี่มีคำสั่งในหัวมากมาย ก็ไม่ให้เอากายกรรมและวจีกรรมไปร่วม ให้ฝืนไว้ มีศรัทธาและความเพียร ไม่ย่อท้อ โดยเฝ้าดูและเรียนรู้เฉยๆ จะช่วยให้อารมณ์นั้นๆ ‘อ่อนกำลัง’ ลงได้ ช่วงนาทีของเนื้อหา : 05:26 พาจิตให้พ้นจากอารมณ์ 08:37 จุดเด่นของการฝึกรู้ -- รูป 11:31 รู้ปัจจุบันเป็นหลัก 14:14 หลักในการฝึกรู้เบื้องต้น 18:28 หมูสนามจริง สิงห์สนามซ้อม 24:50 2 วิธีการฝึกรู้ 28:19 จิต “เข้า” ไปในอารมณ์ – จิต “ออก” จากอารมณ์ 37:34 สิ่งที่สนับสนุนให้เกิดกำลังฝ่ายดี และฝ่ายชั่ว ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท คอร์ส"พ่อแม่พาธรรม"  วันที่ 14 ตุลาคม 2563 เช้า ณ บ้านจิตสบาย ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์ Podcast : รู้ขณะเดียว ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
loading
Comments 
Download from Google Play
Download from App Store